Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๘๖. การเมืองเรื่องน้ำ

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๕ ม.๕๗ ผมฟังวิทยุ เอฟเอ็ม ๑๐๑ ระหว่างเดินออกกำลัง    ในรายการเวทีปฏิรูป คุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ สัมภาษณ์คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ    เรื่องการปฏิรูประบบบริหารจัดการน้ำ    ที่จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศไทย    ฟังแล้วเกิดความประทับใจในความรอบรู้ และน้ำเสียงเห็นแก่ส่วนรวม

สาระที่ประทับใจคือคำว่า น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ    ที่ผมไม่เคยรู้จัก    เขาบอกว่าการปิดๆ เปิดน้ำจากเขื่อน    ช่วงปิดก็ปิดตาย น้ำในแม่น้ำแห้ง    จะทำลายระบบนิเวศ    ต้องปล่อยน้ำลงมาพอสมควรเพื่อรักษาระบบนิเวศ    แต่เขื่อนมักไม่ได้ทำ    แต่พอฟังข่าววิทยุแห่งประเทศไทย ๗ โมงเช้า    มีข่าวเรื่องขอร้องให้งดทำนานอกฤดู เพราะน้ำในเขื่อนจะไม่พอใช้    ต้องแบ่งปันกันใช้หลายทาง    เขาเอ่ยถึงน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศด้วย

จากการฟังข่าวจาก ๒ ทางนี้   ทำให้ผมสงสัยว่าจะเชื่อใครดี    เพราะคุณหาญณรงค์บอกว่า น้ำในเขื่อนมีกว่า ๗๐%   แต่คุณหาญณรงค์ว่ามีให้ใช้ได้เพียงร้อยละ ๕๐ เศษๆ เท่านั้น

ผมลองมาค้นด้วย กูเกิ้ล พบ ข่าวนี้ และ การอภิปรายนี้

เป็นที่รู้กันว่าในอนาคตเรื่องน้ำ จะเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของโลก และสังคม    ถ้าไม่จัดระบบให้ดีจะก่อปัญหามากมาย    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิง    เป็นส่วนหนึ่งของการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นส่วนสำคัญของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของคนที่ไม่มีกำลังต่อรอง คือชาวบ้าน    โดยฝ่ายที่มีอำนาจ ได้แก่อำนาจรัฐ หรือฝ่ายที่มีอำนาจเงิน    โดยมีตัวอย่างที่เกิดมาแล้ว มากมาย เช่นเขื่อนปากมูล

เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอรัปชั่นที่เรากำลังต้องการขจัดในขบวนการปฏิรูปประเทศไทยในขณะนี้    ถ้าท่านอ่านข่าวที่ลิ้งค์ให้แล้ว จะเห็นร่องรอยของ คอรัปชั่นเชิงนโยบาย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2014 เวลา 07:52 น.
 

ใครไม่เคารพประชาธิปไตยกันแน่ - The Guardian

พิมพ์ PDF

ใครไม่เคารพประชาธิปไตยกันแน่ - The Guardian

But the truth is more complex, with the protesters being arguably – and paradoxically – more democratically minded than the elected government they oppose. To understand how this is possible, one has to scratch beneath the surface of Thai politics and dispel some myths.

ใครไม่เคารพประชาธิปไตยกันแน่ - The Guardian

อ่าน ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2014 เวลา 07:55 น.
 

Thai Middle Way offers an exit – Jeffrey Race

พิมพ์ PDF

Thai Middle Way offers an exit – Jeffrey Race

But Thaksin's Thai Rak Thai Party, even as such a beneficiary, was dismantling democracy's supporting elements as fast as it could through threats and strong-arming of the press, use of bank credit for commercial blackmail, prejudicial use of the police, and intimidation and bribery of the courts. For the Shinawatra family, ruling the state is a business, similar to running a telecom firm. Elections, blackmail and bribes are all tactics their affiliated political parties use to keep the money coming in. The opening to the lower classes is just another tactic that will be abandoned as soon as it is safe, and plenty of red shirt leaders are worried about just this.

Thai Middle Way offers an exit – Jeffrey Race

อ่าน ที่นี่ ที่จริงผมเคยเอามาลงครั้งหนึ่งแล้ว โดย link จาก Asia Times   คราวนี้ เดอะเนชั่น นำมาลงเมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค. ๕๗    เป็นบทความที่เขียนดีมาก

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2014 เวลา 07:57 น.
 

เราควรออกไปเลือกตั้งหรือไม่ โดย มีชัย ฤชุพันธุ์

พิมพ์ PDF

เราควรออกไปเลือกตั้งหรือไม่ โดย มีชัย ฤชุพันธุ์

ที่สำคัญที่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็ต้องออกไป เพื่อเป็นกำลังใจให้รัฐบาล ในขณะเดียวกันคนที่ไม่เห็นด้วยก็ต้องออกไปเพื่อไปแสดงออกให้เป็นที่ประจักษ์ ด้วยการ vote no คนจำนวนมากเขาลำบากตรากตรำ พลัดที่นาคาที่อยู่ มากินนอนกลางถนนด้วยความเหนื่อยยากเป็นเดือนๆ....

เราควรออกไปเลือกตั้งหรือไม่ โดย มีชัย ฤชุพันธุ์

อ่าน ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ม.ค.๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2014 เวลา 08:00 น.
 

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

พิมพ์ PDF
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 
เป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อวงการแพทย์ การสาธารณสุข การพยาบาล การเภสัชกรรม ทันตศึกษา การประมง กองทัพเรือ และการศึกษาของประเทศ เป็นคุณูปการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับการแพทย์ของประเทศไทย ทรงทำนุบำรุงโรงเรียนราชแพทยาลัย และโรงพยาบาลศิริราชให้ทันสมัย ทั้งทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ ให้มาช่วยเหลือปรับปรุงการแพทย์ของไทย เป็นการวางรากฐานให้การแพทย์ของไทย เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศในปัจจุบัน จนได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย และองค์บิดาแห่งการสาธารณสุขของไทย เป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณให้พระเกียรติยืนยง อยู่ในแผ่นดินนี้และแผ่ขจรขจายไปทั่วโลก

ประวัติ
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ด้วยการริเริ่มของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในวโรกาสเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพ ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครบ 100 ปี ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินการมอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ถวายเป็นพระราชอนุสรณ์ และเพื่อเผยแพร่พระราชเกียรติคุณ แห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย”

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
เผยแพร่พระเกียรติคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 
มอบรางวัลแก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน และ/หรือวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษยชาติ 
มอบรางวัลแก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงานดีเด่นทางด้านการสาธารณสุข เป็นประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมนุษยชาติ 
ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ 
ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด 

รายละเอียดของรางวัล
รางวัล มีการให้รางวัลเป็นประจำทุกปี ๆ ละ 2 รางวัล คือ

รางวัลทางการแพทย์ มอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน และ/หรือวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์ อันก่อประโยชน์แก่มนุษยชาติ 
รางวัลทางสาธารณสุขมอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงานดีเด่นทางด้านสาธารณสุข เป็นประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมนุษยชาติ 
รางวัลประกอบด้วย 
เหรียญรางวัล 
ประกาศนียบัตร 
เงินรางวัลๆ ละ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (นับตั้งแต่ พ.ศ. 2555) 
ขั้นตอนการเสนอชื่อและการตัดสินผู้ได้รับรางวัล[แก้]คณะบุคคล หรือองค์กรใด ๆ ทั่วโลก ส่งรายนามบุคคล กลุ่มบุคคลหรือ องค์กร ที่สมควรได้รับรางวัลถึงเลขาธิการ มูลนิธิฯ โดยกรอกแบบฟอร์มการเสนอชื่อแล้วส่งผ่านเว็บไซต์หรือทางไปรษณีย์

คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการ จะพิจารณา กลั่นกรองรายชื่อ สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม 
คณะกรรมการรางวัลนานาชาติ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและมีชื่อเสียงระดับโลก พิจารณารายชื่อที่อยู่ในเกณฑ์การได้รับรางวัล นำเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ 
คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
ฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิฯ ตัดสินผู้สมควรได้รับรางวัล
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 29 มกราคม 2014 เวลา 20:03 น.
 


หน้า 393 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8589494

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า