Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ความร่วมมือ ในการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

โชคดีจริงๆ ที่ผมได้ไปฟัง Ms. Cheryl SH Lim แห่งบริษัท McKinsey พูดเรื่อง Learning a Living : Radical Innovation in Education for Work ในงาน  by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">Asia Education Leaders Forum เมื่อวันที่ ๑๑ ต.ค. ๕๖   ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์    โดยผมมาค้นพบภายหลังว่า Ms. Lim พูดตามผลการวิจัยในรายงานเรื่อง Education to Employment : Designing aSystem that Works

สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก คือคนที่จบการศึกษาหางานไม่ได้ ตกงาน    และในขณะเดียวกันบริษัทต่างๆ หาพนักงานไม่ได้ มีตำแหน่งว่างมากมาย

ความไม่ลงตัวนี้เกิดจากสถานศึกษาสร้างคนไม่ตรงกับความต้องการของนายจ้าง    และสภาพในโลกปัจจุบัน สถานศึกษาผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของนายจ้างยากขึ้นทุกวัน    เพราะเทคโนโลยีในที่ทำงานเปลี่ยนเร็ว    สถานศึกษาไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สถานประกอบการใช้    ผู้จบการศึกษาจึงไม่ได้รับการฝึก ให้พร้อมไปปฏิบัติงาน    นอกจากนั้น อาจารย์ในสถานศึกษาก็ไม่มีประสบการณ์ตรงในสถานประกอบการ    การเรียนการสอนจึงไม่สอดคล้องกับงานที่จะไปทำ

สภาพเช่นนี้ บอกเราว่า การศึกษาเพื่อการมีงานทำ ไม่สามารถจัดได้โดยฝ่ายภาคการศึกษาฝ่ายเดียว    ฝ่ายสถานประกอบการต้องเข้ามาแสดงบทบาทด้วย   นศ. ต้องมีโอกาสไปฝึกงานในสถานประกอบการโดยตรง    เพื่อให้ได้ทำงานกับเครื่องมือสมัยใหม่  และคุ้นกับบรรรยากาศการทำงานในสถานประกอบการ

“การศึกษาเพื่อการมีงานทำ” ชื่อบอกชัดอยู่แล้วว่า ต้องจัดโดยความร่วมมือระหว่างฝ่ายจ้างงาน กับฝ่ายการศึกษา

ในประเทศไทย ๒ ฝ่ายนี้ต่างคนต่างอยู่   แต่ฝ่ายผู้ประกอบการเสียงดังกว่า    โวยวายเสียงดัง ว่าบัณฑิตหรือผู้จบการศึกษาทำงานไม่เป็น  ไม่มีสมรรถนะที่ต้องการ  ไม่มี work values / work ethics   การโวยวายนี้จะไม่แก้ปัญหา    สิ่งที่จะแก้ปัญหาคือความร่วมมือ

ฝ่ายสถาบันการศึกษา ก็ต้องทะลายรั้วกำแพง    ออกไปแสวงหาความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือฝ่ายใช้ผู้จบการศึกษาของตน   เพื่อร่วมกันจัดการเรียนรู้ให้ได้สมรรถนะสำหรับออกไปทำงานได้ตามที่ต้องการ

ระบบการทำงานของสถาบันการศึกษา ที่เน้นการผลิตคนออกไปหางานทำ  จะต้องเปลี่ยนไปอย่างมากมาย    การกำหนดหน้าที่ของอาจารย์ กำหนดเวลาของการปฏิบัติงาน   จะต้องเปลี่ยนไป   ภารกิจการติดต่อสื่อสารกับภาคีใน real sector จะต้องกำหนดเป็นหน้าที่ ความรับผิดชอบ   และกำหนดเป็นเวลาทำงาน    การทำหน้าที่เหล่านั้น จะต้องพัฒนาเป็นผลงานวิชาการ แบบ Scholarship of Application ได้

ทักษะความร่วมมือทางวิชาการกับสถานประกอบการ เป็นทักษะที่ต้องการจากอาจารย์    และหลักสูตรเพื่อผลิตคนออกไปหางานทำ ต้องเป็นหลักสูตรร่วมมือกับสถานประกอบการ หรือสถานจ้างงานทั้งหมด    หรือหาก นศ. ต้องการเป็นผู้ประกอบการเอง    ก็มีวิชาฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการ   โดยอาจมีศิษย์เก่ารุ่นพี่ช่วยเป็นพี่เลี้ยง

ในสหราชอาณาจักร มีองค์กร NACUE ทำหน้าที่ส่งเสริมให้นักศึกษาฝึกฝนทักษะการเป็นผู้ประกอบการ   โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ ด้านการศึกษา    และมี UnLtd ทำหน้าที่สร้างทักษะและฉันทะการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม

สถาบันการศึกษาเพื่อการมีงานทำ มีความท้าทายที่ต้องคิดค้นวิธีการต่างๆ ด้วยการร่วมมือกับหลากหลายฝ่าย   เพื่อจัดให้บัณฑิตของตนมีสมรรถนะพร้อมที่จะทำงาน   และในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีทักษะด้านการเรียนรู้ต่อเนื่องด้วยตนเอง และทักษะการเรียนรู้เป็นทีมจากเพื่อนร่วมงาน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการเรียนรู้จากการทำงาน    สถาบันการศึกษาต้องฝึกทักษะนี้ให้แก่ศิษย์ของตน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2013 เวลา 08:18 น.
 

ข้าราชการย่อมมีสิทธิ์แสดงจุดยืนทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติ

พิมพ์ PDF
คนทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพในการแสดงจุดยืนของตน ในฐานะที่เป็นพลเมืองคนหนึ่ง ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด คนที่ข่มขู่ว่าจะจดชื่อหรือติดตามลงโทษ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ข้าราชการย่อมมีสิทธิ์แสดงจุดยืนทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติ

อ่านได้ ที่นี่ คนทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพในการแสดงจุดยืนของตน ในฐานะที่เป็นพลเมืองคนหนึ่ง    ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด    คนที่ข่มขู่ว่าจะจดชื่อหรือติดตามลงโทษ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

วิจารณ์ พานิช

๒๕ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2013 เวลา 08:20 น.
 

วิจารณ์การขับไล่รัฐบาล

พิมพ์ PDF

โดย....Chayanin Vitayagaseat · นักวิจารณ์เด่น · Ramkhamhaeng University

++ ผมเชื่อว่าผู้ชุมนุมเป็นคนที่ยอมรับและอยู่ในระบบกฎหมายมาโดยตลอด การออกมาขับไล่รัฐบาลที่มาจากระบบการทุจริตและไม่เคารพกฎหมาย แต่อาศัยกฎหมายมาเป็นเสื้อคลุมเพื่อที่จะรักษาอำนาจไว้โดยไม่ได้มีจิตสำนึกในการกระทำ และไม่ยึดถือนิติธรรมและนิติรัฐพยายามแก้ไขกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาให้กับพวกพ้องและการทุจริตโกงกิน สุดท้ายแล้วก็จะปกครองประเทศไม่ได้............

++ มีบางท่านเขียนแนะนำว่า ทำไม! ไม่รอให้ครบ 4 ปี แล้วมาเลือกตั้งใหม่ตามระบบประชาธิปไตย ส่วนตัวอยากอธิบายดังนี้ครับ.....

(1) . การเลือกตั้ง เป็นกระบวนการในการเลือก สส. เข้ามาในสภา เพื่อมาทำการตั้ง รบ.บริหารประเทศ และที่เหลือเป็นฝ่ายค้าน ผลดีผลเสียในการบริหารเป็นคนละส่วนกัน เพราะนโยบายในการหาเสียงไม่ใช้ผลงานในการบริหารประเทศ

(2). รัฐบาลที่มาปกครองประเทศ ที่มาจากการเลือกตั้ง มีความรับผิดชอลต่อคนไทย 65 ล้านคน ไม่ใช้เฉพาะฝ่ายที่เลือกตนเองเท่านั้น ถ้าเทียบสัดส่วนจำนวนคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง 47 ล้านคน ฝ่ายรัฐบาล 15 ล้านคน ก็ไม่ใช้เสียงข้างมากตามความเป็นจริง

(3). ความรับผิดชอบของรัฐบาลไม่ได้ดูจากระยะเวลาตามที่กฏหมาย รธน.ระบุไว้ตามอายุสภามีวาระ 4 ปี แต่เป็นความรับผิดชอบต่อการบริหารถ้าส่อไปในทางทุจริตและเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ยกตัวอย่างเช่น การโกงรับจำนำข้าว , การใช้กลไก สส.ฝ่ายรัฐบาล ออก พรบ.นิรโทษกรรม ซึ่งความเสียหายจาก 2 เรื่องดังกล่าว รัฐบาลในประเทศที่เจริญแล้ว ก็ต้องแสดงความรับผิดชอบ คือ ลาออก,หรือยุบสภา

(4). วิธีคิดของรัฐบาล นายกยิ่งลักษณ์ + นช.ทักษิณ ตลอด 2 ปี มานี้ชัดเจน คือ การแก้กฎหมาย รัฐธรรมนูญเพื่อล้างผิดและแก้ไขกฎระเบียบเพื่อเปิดช่องให้ นช.ทักษิณ กลับประเทศ และแบ่งแยกประชาชน โดยดูจากการพูดถึงการให้เงินงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่ที่ มี สส.ของฝ่ายตนเองก่อนเท่านั้น

(5).ปัญหาความเดือดร้อนด้านเศรษฐกิจไม่ได้แก้ไข รวมถึงนโยบายที่ซื้อเสียงทางอ้อมแต่สร้างภาระหนี้สินให้กับประเทศอย่างมหาศาล เช่น รับจำนำข้าว , รถคันแรก ซึ่งปกปิดข้อมูลความเสียหายมาโดยตลอด

**** โดยสรุปการเลือกตั้ง สส.เพื่อจัดตั้ง รัฐบาลนั้น ความรับผิดชอบในการปกครองประเทศอยู่ที่ผลงานของรัฐบาลเป็นสำคัญ ไม่ได้อยู่ที่อายุสภา 4 ปี รอครบวาระแล้วไปเลือกตั้งใหม่ ถ้าประเทศนี้เปรียบเหมือนบริษัทหรือกิจการของส่วนตัวคุณเอง ถ้าผู้จัดการที่คุณจ้างมาบริหารกิจการจนขาดทุน+เกิดหนี้สินล้นพ้นตัว ท่านจะให้ผู้จัดการของบริษัทหรือกิจการของท่าน บริหารต่อไหม หรือต้องเปลี่ยนตัวผู้จัดการคนใหม่*

 

'มีชัย'เปรียบผู้ร้ายไม่ยอมรับผิด ชี้ไม่รับอำนาจศาล เกิดกลียุค

พิมพ์ PDF

มีชัย ฤชุพันธุ์ ย้ำชัดประธานสภา สภา และรัฐบาล ออกมาประกาศไม่ยอมรับคำวินิจฉัยศาลรธน.กรณีร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของส.ว. มีผลกระทบต่อความรู้สึกผู้คน และหลักการปกครองประเทศอย่างรุนแรง เตือนอย่าเอาน้ำมันราดลงไปบนกองเพลิง อย่าเล่นกับความแค้นของประชาชนเป็นอันขาด


เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ตอบคำถาม ในเว็บไซต์ http://www.meechaithailand.com/ ถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญการได้มาของส.ว.ที่ฝ่ายนิติบัญญัติเสนอนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และบอกว่า ศาลไม่มีอำนาจรับเรื่องร้องเรียนและเป็นการก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ แม้ประธานรัฐสภาก็ไม่ยอมรับ ประชาชนอย่างควรจะเชื่อฝ่ายไหนดี การที่ศาลมีคำวินิฉัยออกมาแล้วอย่างนี้แต่ไม่ยอมรับกันแล้วจะอยู่กันอย่างไร

นายมีชัย ระบุว่า โดยทั่ว ๆ ไป เวลาที่ผู้ร้ายหรือผู้ทำผิดและถูกศาลตัดสินลงโทษ ส่วนใหญ่ก็มักจะพูดหรือคิดอยู่ในใจว่า ตนเองไม่ผิด และไม่ยอมรับคำพิพากษานั้น แต่คนอื่น ๆ ที่เขามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา เขาก็ปฏิบัติไป เอาตัวไปเข้าคุก หรือประหารชีวิต สุดแต่กรณี 

"การที่คนทำผิดจะรับหรือไม่รับ จึงไม่มีผลอะไร แต่บังเอิญคราวนี้คนทำผิดคือ ประธานสภา สภา และรัฐบาล เวลาออกมาประกาศว่า ไม่ยอมรับ จึงมีผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้คน และหลักการปกครองประเทศอย่างรุนแรง

แม้ว่าในทางหลักนิติธรรมการปฏิเสธนั้นจะไม่มีผลในทางกฎหมายใด ๆ แต่ก็อาจสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายและอันตรายต่อความสงบสุขของประเทศได้อย่างมาก เช่น ถ้าสภาหรือรัฐบาลเดินหน้าต่อไปเสมือนหนึ่งไม่มีคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างที่มีคนบ้า ๆ คิดจะทำหรือเสนอให้ทำอยู่ บ้านเมืองคงเกิดกลียุค เพราะเท่ากับเอาน้ำมันราดลงไปบนกองเพลิง ประชาชนคงไม่ยอม และคงจะโกรธแค้นอย่างรุนแรง คนที่พูดหรือทำอย่างนั้นพร้อมทั้งครอบครัวจะตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิตอย่างอนาถ อย่าเล่นกับความแค้นของประชาชนเป็นอันขาด"

ที่ถามว่าในฐานะประชาชนจะควรเชื่ออย่างไร นายมีชัย ระบุว่า คำตอบก็คือ เราเป็นประชาชน ไม่ใช่อันธพาล จึงต้องปฏิบัติตามคำตัดสินอันเป็นที่สุดของศาล ต้องประพฤติตนตามกติกาของบ้านเมือง การจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยย่อมทำได้และเป็นของธรรมดา แต่จะปฏิเสธหรือไม่ยอมรับหรือไม่รับรู้ เห็นจะไม่ได้ เพราะถ้าบ้านเมืองไร้ขื่อแป จะมีผลต่อเราโดยตรง ไม่เหมือนคนที่เป็นนักการเมืองที่กอบโกยเงินทองไว้ล้นเหลือ ที่ถึงเวลาเขาก็คงหอบเงินและลูกเมียไปเสวยสุขยังต่างประเทศได้

"ที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกับคณะท่านออกมาพูดปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ท่านคงลืมไปว่าท่านยังเป็นรัฐมนตรีอยู่ และอยู่ในกระทรวงที่รับผิดชอบการปกครองซึ่งต้องดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎกติกา 

การปกครองบ้านเมืองนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสียงข้างมากอย่างเดียว แต่อยู่ที่ความเชื่อถือศรัทธาที่ประชาชนมีต่อผู้ปกครองบ้านเมืองด้วยเป็นสำคัญ ถ้าประชาชนขาดความเชื่อถือศรัทธาแล้ว ต่อให้มีเสียงข้างมากอย่างไร ก็ถูลู่ถูกังไปได้เพียงระยะเดียว ไม่ว่าจะทำอะไรคนก็จะไม่เชื่อ มีแต่ความระแวงสงสัย

ดูเหตุการณ์สองสามวันนี้ก็จะรู้ มีใครก็ไม่รู้เอาตะปูไปโรยเพื่อสกัดไม่ให้คนเดินทางมาชุมนุม ไม่ว่ารัฐบาล คนของรัฐบาล และตำรวจ จะออกมาบอกอย่างไรว่า ไม่รู้ไม่เห็น แต่ลองไปถามคนร้อยทั้งร้อย แม้แต่คนเสื้อแดงก็เถอะ เขาก็ปักใจว่า เป็นการกระทำของรัฐบาล คนของรัฐบาล และตำรวจทั้งนั้น และเมื่อเขาเชื่ออย่างนั้น เขาก็เลยต้องหาทางมากันให้ได้ ใครที่ไม่ได้คิดว่าจะมา ก็ทนอยู่ไม่ได้ ต้องพยายามออกมากันจนล้นฟ้าอย่างที่เห็น ด้วยความเชื่อที่ว่ารัฐบาลอำมหิต รังแกประชาชนโดยไม่สนใจว่า ถ้ารถยางแตก ชาวบ้านจะเจ็บตายกันอย่างไร คนเป็นรัฐบาลถ้าถูกกล่าวหาอย่างนั้น จะบริหารงานต่อไปได้อย่างไร"


ที่มา สำนักข่าวอิศรา
26 พฤศจิกายน 2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2013 เวลา 11:41 น.
 

คุณหญิงหมอ... เมื่อเช้าได้สัมภาษณ์ว่า

พิมพ์ PDF

คุณหญิงหมอ... เมื่อเช้าได้สัมภาษณ์ว่า

1.การเสียบบัตรแทนเป็นการผิดจริยธรรมที่นักเรียนนักศึกษาจะถูกตัดสิทธิ์ ข้าราชการพนักงานบริษัทถูกสอบสวนหรือให้ออก

2.กฎหมายที่ร่างให้มีศาลหรือองค์กรต่างๆล้วนเกิดจากมนุษย์ทำขึ้น เปลี่ยนไปมา แก้ไขด้วยมนุษย์ เมื่อไม่เห็นด้วยรัฐบาลจะเลือกปฏิเสธเฉพาะที่เสียประโยชน์ไม่ได้ เช่น เรื่องซุกหุ้นค้างด้านจริยธรรม แต่รัฐบาลได้ประโยชน์จึงยอมรับได้ แต่ครั้งนี้ไม่รับ เป็นกลไกที่ไม่ถูกต้อง

3.คนไทยถูกดึงให้ทั้งเกลียดและรักคนๆเดียวกัน คือ ทักษิณ ทั้งๆที่เขาไม่ได้เอาเงินเขาให้แต่เอาภาษี ปปช.มาให้ ซึ่งไม่ยั่งยืน ทั้งๆที่คนไทยมีในหลวงผู้ทรงทำนุบำรุงแผ่นดินมาโดยตลอด ควรที่จะรักและเทิดทูนพระองค์

4.การแก้ปัญหาต้องให้ล้างไพ่ สร้างเรือใหม่ เรือเก่าผุพังสร้างผิด ไม่เหมาะที่จะใช้ขับเคลื่อนอีกแล้ว ต้องช่วงกันลดช่องว่างทางสังคมแบบยั่งยืนด้วยการสร้างความรู้ สร้างอาชีพ ไม่ใช่การทำประชานิยม

5.ประเทศยังมีความหวัง พลังคนรุ่นใหม่มีมาก ประเทศไทยต้องรอดแน่นอน

เห็นด้วยกันไหม ?

คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์
อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
instagram : porntip_nai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2013 เวลา 11:47 น.
 


หน้า 418 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590242

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า