Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สภามหาวิทยาลัยกับการกำกับคุณภาพการศึกษา

พิมพ์ PDF

ในการอบรมหลักสูตร ธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา รุ่นที่ ๑๗   หัวข้อ บทบาทสภามหาวิทยาลัยในการกำกับคุณภาพวิชาการ :  การอนุมัติการเปิดสอนหลักสูตร  โดยมี ศ. กิตติคุณ ปทีป เมธาคุณวุฒิ เป็นวิทยากร    เมื่อวันที่ ๒๖ ก.ย. ๕๖  ในตอนท้าย ท่านนำเรื่องการเปิดหลักสูตรแปลกใหม่ ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเฉพาะทาง มาให้ดู

 

ได้แก่  วิทยาลัยดุสิตธานี,    มหาวิทยาลัยเนชั่น,    สถาบันกันตนา,    สถาบันการจัดการปัญญาภิวัตน์,    สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น,   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ปตท. ระยอง,   สถาบันอาศรมศิลป์

 

แล้วขอให้ผู้เข้าหลักสูตรอภิปรายกันว่า มหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว จะปรับตัวอย่างไร   เกิดการอภิปรายที่สนุกสนานมาก   ในที่สุดก็เกิดการตื่นตัวขึ้นว่า    หากมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วยังเปิดหลักสูตร จัดการเรียนการสอนอย่างในปัจจุบัน    ในไม่ช้าบัณฑิตของตนจะตกงาน   มีผลให้คนไม่มาเข้าเรียน

 

ก่อนจบการเรียนในช่วงนี้ ผมยกมือขอทำ reflection ส่วนตัว    ว่าในโอกาสที่ผมได้เข้าเป็นลูกศิษย์ท่าน เป็นเวลาสองชั่วโมงเศษ ผมได้เรียนรู้อะไร

 

ผมเรียนรู้ว่า สภามหาวิทยาลัยต้องกำกับดูแลคุณภาพการศึกษา     โดยจัดให้มีระบบกำกับคุณภาพ หลักสูตร ที่ไม่ใช่แค่อนุมัติหลักสูตรในกระดาษ    ต้องกำหนดให้มีการตรวจสอบคุณภาพของการเรียนการสอน และคุณภาพของบัณฑิต ตลอดเส้นทาง

 

ที่จริงท่าน ศ. ดร. ปทีป ได้แนะนำที่ประชุมว่า วิธีการจัดการคุณภาพการศึกษาด้วย Academic Board ของ University of Sydney เป็นระบบที่น่าสนใจมาก   และมีนักศึกษาร่วมเป็นกรรมการด้วย    จึงนำมาบันทึกไว้    ท่านที่สนใจเข้าไปดูได้ที่ เว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัย ซิดนีย์

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ให้โอกาสวงการวิชาการ วงการวิจัย ทำงานวิชาการเพื่อสังคม

พิมพ์ PDF

ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ให้โอกาสวงการวิชาการ วงการวิจัย ทำงานวิชาการเพื่อสังคม

เป็นโอกาสที่วงการวิจัย จะทำงานใหญ่ให้แก่สังคม

ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ให้โอกาสวงการวิชาการ วงการวิจัย ทำงานวิชาการเพื่อสังคม

เช้าวันที่ ๖ พ.ย. ๕๖ ผมฟังข่าววิทยุ ทราบว่าทางจุฬาฯ ตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่องร่าง พรบ. นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย เพื่อบอกแก่สังคม   ทำให้นึกขึ้นได้ว่า วิกฤติการเมืองไทยครั้งนี้เป็นโอกาสใหญ่ไปด้วยในตัว   โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสที่ประชาชนไทยจะได้เรียนรู้ความซับซ้อนของการเมือง   ที่มีทั้งมิติสร้างสรรค์ และมิติทำลายสังคมในระยะยาว

เวลานี้ การเมืองไทย กำลังอยู่ในมิติทำลายความเข้มแข็งของสังคมไทย   โดยคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว   ทำลายในคราบหรือข้ออ้างประชาธิปไตย

ความซับซ้อนซ่อนเงื่อนเช่นนี้แหละคือโอกาสที่วงการวิชาการ วงการวิจัย จะทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง

ผมจึงชื่นชม และภูมิใจ อย่างยิ่ง ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ที่ผมเป็นศิษย์เก่าคนหนึ่ง) จัดระบบการทำงานวิชาการในเรื่องนี้ เพื่อบอกแก่สังคมไทย   บอกอย่างเป็นวิชาการ มีข้อมูลหลักฐาน   ไม่ใช่บอกด้วยอารมณ์ หรือความต้องการเอาชนะ

โจทย์ที่สำคัญคือ ข้อความตามร่าง พรบ. ที่ผ่านวาระ ๓ ของสภาผู้แทนฯ จะมีผลต่อเนื่องอย่างไรบ้าง   ใครบ้างที่จะได้รับผลกระทบ   และได้รับในทางใด    ใครบ้างที่จะไม่ได้รับผลกระทบ   และในภาพรวม กฎหมายนี้จะก่อผลอย่างไรบ้าง ต่อสังคมไทย

คำตอบต้องมาจากการวิจัย   ไม่ใช่แค่ความเห็น   และต้องเป็นผลการวิจัยที่ผ่านการตรวจสอบของเพื่อนนักวิชาการ ที่เรียกว่า peer review คือเวลานี้ สังคมไทยต้องการความรู้ที่ไม่เจือปนอารมณ์   หรือที่เป็นกลาง หรือแม่นยำ    เกี่ยวกับผลกระทบที่แท้จริงของร่างกฎหมายนี้

ผมจึงเสนอความเห็นมายังมหาวิทยาลัยทั้งหลาย และต่อ สกว.   ว่าเป็นโอกาสที่วงการวิจัย จะทำงานใหญ่ให้แก่สังคม

วิจารณ์ พานิช

๖ พ.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 08 พฤศจิกายน 2013 เวลา 13:40 น.
 

คอรัปชั่นโดยนักการเมืองระบาดสุดเหวี่ยง

พิมพ์ PDF
การโกงเมืองของไทยยกระดับจากโกง 30% เป็นโกง 2,900%

คอรัปชั่นโดยนักการเมืองระบาดสุดเหวี่ยง

วันที่ ๕ พ.ย. ๕๖ ผมได้รับบอกเล่าจากผู้ใหญ่ของบ้านเมือง    ที่ก่อนเกษียณอายุราชการดำรงตำแหน่งสูงสุดขององค์กรใหญ่มาก   และเป็นคนตงฉิน เชื่อถือได้

ท่านบอกว่า ในช่วงเวลา ๑ เดือนมานี้ คอรัปชั่นโดยนักการเมืองระบาดรุนแรง   โดยเขาจะเอาโครงการไปให้หน่วยงาน   เป็นโครงการเพื่อยกย่องพระราชวงศ์หรืออะไรทำนองนั้น (ผมเขียนให้ชัดไม่ได้)    ให้หน่วยงานเขียนของบประมาณ    ตัวเลขสมมติคือ ๑๕ ล้านบาท   โดยที่คนที่รู้ราคา จะบอกว่า ราคาจริงๆ เพียง ๕ แสนบาท

เมื่อก่อนเขาลือกันว่าการโกงเป็นการชัก 30%   แต่ดูตัวเลขให้ดีๆ นะครับ   ของ 5 แสน ให้ตั้งงบประมาณ 15 ล้าน แล้วเขาจะจัดหาให้    เป็นการโกง 2,900% นะครับ   ภายใต้รัฐบาลนี้ การโกงเมืองของไทยยกระดับจากโกง 30%  เป็นโกง 2,900%   ไม่ทราบว่าวงเงินทั้งหมดเป็นเท่าไร

ท่านผู้นี้เล่าว่า เรื่องกำลังระบาดใหญ่ช่วงหนึ่งเดือนมานี่เอง   ไม่ทราบว่าเชื่อมโยงกับโอกาสได้รับนิรโทษกรรมจากร่างกฎหมายที่เรากำลังคัดค้านกันอยู่หรือเปล่า

วิจารณ์ พานิช

๖ พ.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 08 พฤศจิกายน 2013 เวลา 13:42 น.
 

URAP 2013

พิมพ์ PDF
ประเทศไทย อันดับมหาวิทยาลัย “ตกทั้งแผง” เพราะรัฐบาลไทยทำตรงกันข้ามกับมาเลเซีย ทั้งๆ ที่มีนโยบายให้ประเทศหลุด middle-income trap เช่นเดียวกัน

URAP 2013

ผมได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังนี้

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ใน University Ranking By Academic Performance2013 (URAP 2013) จำนวน 16 แห่ง ตามลำดับ (Country Ranking/World Ranking) โดยรวม เมื่อเทียบกับปี 2012 ดังนี้

Mahidol University (1/368 จากเดิมอันดับ 356)

Chulalongkorn University (2/439 จากเดิมอันดับ 418)

Chiang Mai University (3/648 จากเดิมอันดับ 621)

Khon Kaen University (4 จากเดิมอันดับ 5/802 จากเดิมอันดับ 805)

Prince of Songkla University (5 จากเดิมอันดับ 4/820 จากเดิมอันดับ 775)

Kasetsart University (6/931 จากเดิมอันดับ 903)

King Mongkut's University of Technology Thonburi (7/1285 จากเดิมอันดับ 1230)

Thammasat University (8/1344 จากเดิมอันดับ 1293)

Suranaree University of Technology (9/1485 จากเดิมอันดับ 1458)

Asian Institute of Technology (10/1563 จากเดิมอันดับ 1465)

King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (11/1566 จากเดิมอันดับ 1536)

Naresuan University (12/1588 จากเดิมอันดับ 1570)

Srinakharinwirot University (13 จากเดิมอันดับ 14/1717 จากเดิมอันดับ 1711)

Silpakorn University (14 จากเดิมอันดับ 13/1767 จากเดิมอันดับ 1654)

Mae Fah Luang University (15 จากเดิมอันดับ 16/1767 จากเดิมอันดับ 1867)

Mahasarakham University (16 จากเดิมอันดับ 15/1880 จากเดิมอันดับ 1761)

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย URAP 2013 ปรากฏว่าอันดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศของไทยเปลี่ยนไปน้อยมาก แต่อันดับมหาวิทยาลัยโลกของไทยแย่ลงแทบทุกสถาบัน (ยกเว้นมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่อันดับโลกขยับขึ้น และมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งได้รับการจัดเป็นอันดับ 17 ของไทย และ 1878 ของโลกในปี 2555 ไม่ได้รับการจัดอันดับในปี 2556 นี้ ทั้งนี้เกณฑ์ในการพิจารณาจัดอันดับ URAP 2013 ยังเป็นเกณฑ์เดิมที่ใช้ใน URAP 2012 คือประกอบด้วยตัวชี้วัด 6 ตัว คือ 1) Number of Articles 2) Citation 3) Total Document 4) Journal Impact Total 5) Journal Citation Impact Total 6) International Collaboration

ทั้งนี้ รายละเอียดทั้งหมดของการจัดอันดับ URAP 2013 สามารถดูได้ที่เว็บลิงค์ต่อไปนี้

http://www.urapcenter.org/2013

ผมจึงขอส่งเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อพิจารณานำขึ้นบล็อกสภามหาวิทยาลัย เพื่อ ลปรร. กันต่อไปตามที่อาจารย์จะเห็นสมควรด้วย จักขอบคุณยิ่ง

มงคล รายะนาคร

ผมขอเพิ่มเติมว่า   ที่จริงมหาวิทยาลัยไทยพัฒนาขึ้นในภาพรวม   แต่พัฒนาขึ้นช้ากว่าภาพรวมของโลก   อันดับของเราจึงตกลง   ประเทศที่อันดับของมหาวิทยาลัยดีขึ้นอย่างชัดเจน และ “ขึ้นทั้งแผง” คือมาเลเซีย   เพราะรัฐบาลของเขามีนโยบายส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่มหาวิทยาลัย   เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศให้หลุดกับดักรายได้ปานกลาง

ประเทศไทย อันดับมหาวิทยาลัย “ตกทั้งแผง”    เพราะรัฐบาลไทยทำตรงกันข้ามกับมาเลเซีย   ทั้งๆ ที่มีนโยบายให้ประเทศหลุด middle-income trap เช่นเดียวกัน

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 08:05 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๒๕a. ภาษาปักษ์ใต้นานๆ คำ : (๔) เวน้อง

พิมพ์ PDF

ในวงสนทนากับน้องๆ ในห้องนอนป่วยของแม่ ที่โรงพยาบาลชุมพร    เมื่อวันที่ ๒๙ ก.ย. ๕๖    เราคุยกันเรื่องชีวิตสมัยเด็ก ตอนหนึ่งผมเอ่ยถึงความน่าเบื่อในการไกวเปลน้อง     น้องชายคนที่ ๔ (นับผมเป็นคนที่ ๑) เอ่ยภาษาปักษ์ใต้ขนานแท้ว่า เหว่หน่อง(เวน้อง) ซึ่งหมายถึงไกวเปลน้อง

 

ที่จริงเราคุยกันเรื่องพัฒนาการของเด็ก    เพราะมีเหลนคนที่ ๗ ของแม่ อายุ ๗ เดือน เป็นเหลนสาวตาโต    เห็นหน้าใครก็จ้องหน้า     ผมจึงอธิบายให้น้องและหลานฟังว่า หลานสาวตัวเล็กกำลังเรียนวิธีจำหน้าคน    ตามที่ผมกำลังอ่านเรื่อง Primal Brain in the Modern Classroomค้างอยู่    ผมอธิบายว่า การที่เด็กเล็กได้พบหน้าคน ได้มีคนมาเล่นด้วย    หรือร้องเพลงให้ฟัง เป็นการกระตุ้นสมอง ให้เจริญเติบโต    ช่วยให้เด็กมีสมองดี

 

เมื่อ ๖๐ ปีที่แล้ว เด็กทุกคนนอนเปล   และมีคนคอยไกวและร้องเพลงกล่อม   ถือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง    สมัยนั้นเดินเข้าไปในหมู่บ้าน ตอนสายๆ จะได้ยินเสียงเพลงกล่อมเด็กมาจากหลายบ้าน    ตอนนั้นประเทศต้องการมีพลเมืองมากๆ  เพื่อจะได้เป็นมหาอำนาจ    ตอนผมเริ่มเป็นหนุ่ม เราพูดล้อเลียนเพื่อนที่สงสัยว่าจะมีความสัมพันธ์กับสาวว่า “สร้างชาติ”

 

วัฒนธรรมนอนเปล มีคนไกว และร้องเพลงกล่อม ค่อยๆ หมดไป    คงจะเป็นเพราะวิถีชีวิตของคนเรายุ่งขึ้น    ไม่มีเวลานั่งไกวเปลเป็นครึ่งค่อนชั่วโมงจนทารกหลับ    แล้วจึงย่องไปเล่นได้   หากน้องตื่นและเปลหยุดน้องจะร้อง    เราต้องรีบกลับมาไกวเปลและร้องเพลงกล่อมต่อ    ยกเว้นน้องนอนนานพอแล้ว เรียกว่าน้องตื่นแล้ว    อาจหิวนม ก็พาไปกินนมแม่ หรือชงนมให้กิน

 

นึกภาษาปักษ์ใต้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้อีกคำหนึ่งคือ แหมทาน (แม่ทาน)    หมายถึงหมอตำแย    ผมและน้องๆ ทำคลอดโดยแม่ทานหลายคน   มาน้องคนหลังๆ ที่ทำคลอดโดยผดุงครรภ์    เข้าใจว่าไม่มีใครเลยที่ทำคลอดโดยแพทย์

 

แหมทาน ของผมชื่อ “ยายอุ่น” เป็นคนอายุมาก    ถือเป็นแหมทานที่ชำนาญมากของตำบล   ผมรู้แต่ว่าแหมทานของผม ชื่อยายอุ่น แต่ไม่รู้จักตัวยายอุ่น    เข้าใจว่าคงจะตายเสียก่อนผมจำความได้    แม่เคยเล่าเป็นเลาๆ ว่า ยายอุ่นบอกว่าผมคลอดออกมา โดยมีสายรกคล้องคอ   คล้ายๆ มีสายสังวาลย์คล้องคอ แสดงว่าจะมีบุญ    แม่ไม่พูดเรื่องนี้มากนัก คงเกรงลูกจะทะนงตัวและเหลิง

 

ที่จริงการที่ทารกมีสายสะดือยาว  และพันรอบคอ ถือเป็นความเสี่ยงต่อชีวิตอย่างหนึ่ง    เพราะอาจรัดคอทำให้ขาดเลือด ไปสมอง ทำให้สมองพิการหรือตายได้  

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 08:11 น.
 


หน้า 424 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8555813

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า