Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๖. รู้เท่าทัน

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๒๐ก.ย. ๕๖ ฝนตกหนัก    โดยตกหนักมาตั้งแต่ตอนดึก    ผมอดออกไปเดินออกกำลังกาย    เปิดอีเมล์พบคุณบัณฑูร นิยมาภา (ซึ่งผมไม่รู้จัก) เขียนมาบอกเรื่องรณรงค์ให้กัญชาถูกฎหมาย ที่ผมเอาไปลงความเห็นไว้ที่www.gotoknow.org/posts/426448 ทำให้ผมนึกถึงบันทึกเรื่อง อารมณ์ดีไร้กัญชา

 

และทำให้แวบคิดขึ้นว่า การดำรงชีวิตที่ดีในโลกยุคปัจจุบัน จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย    คือหากเรียนรู้ฝึกฝนตนไว้ให้ดี การดำรงชีวิตที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก     แม้ต่อไปในอนาคตโลกมันจะยิ่งสับสนยุ่งเหยิง เราก็เรียนรู้ได้    รู้เท่าทันได้

 

แต่คนที่อ่อนแอ ไม่ได้ฝึกฝนเรียนรู้จนจิตใจเข้มแข็ง และรู้เท่าทัน ก็ตกเป็นเหยื่อของสิ่งต่างๆ รอบตัว ได้โดยง่าย

 

ยิ่งในอนาคต โลกจะยิ่งซับซ้อนสับสนและหลอกลวง    คนที่อ่อนแอจะยิ่งตกเป็นเหยื่อง่าย

 

กล่าวอย่างนี้อาจจะผิด    เพราะไปโทษสังคมภายนอก    ที่จริงตัวการที่ทำให้เราอ่อนแอ อาจจะมีสาเหตุหลักมาจากภายในของเราเอง    เพราะเราไม่ได้เรียนรู้ฝึกฝนด้านในของตัวเองให้เข้มแข็ง    ให้รู้จักตัวเอง    ให้ควบคุมกำกับตัวเองได้    เราจึงตกเป็นเหยื่อของสิ่งหลอกลวงรอบตัวได้ง่าย

 

สิ่งลวง ไม่มีอะไรลวงได้ลึกและหลงสนิท เท่าตัวเองลวงตัวเอง

 

วิธีคิดตามแนวที่เขียนข้างบนนั้น เดิมผมคิดไม่เป็น    แต่โชคดีมีโอกาสได้เรียนจาก “ครู” หลายท่าน    ใช้วิธีเรียนแบบลักจำ หรือแอบเรียนจากครู โดยครูไม่รู้ตัว

 

อย่างเมื่อบ่ายวันที่ ๑๙ ก.ย. ๕๖ ในการประชุมสภาสถาบันอาศรมศิลป์    ผมตั้งใจเรียนจาก “ครู” ระพี สาคริก ท่านนายกสภาเต็มที่    โดยที่คนที่อยู่ในห้องประชุมอาจรู้สึกว่า ท่านดูจะหลง    แต่ผมกลับมองว่า ท่านอยู่ในสภาพสมองที่ “สร้างสรรค์” เต็มที่    ผมใช้iPad mini บันทึกสิ่งที่ผมลักจำจากท่านไว้ ดังนี้

 

“ต้องกล้าแตกต่าง

 

ปัญหาของสังคมในปัจจุบัน

  • ดูถูกของเล็ก
  • มองข้ามสิ่งใกล้ตัว
  • มีของดี แต่รักษาไว้ไม่ได้
  • หลงเรียนสิ่งสมมติ ไม่เรียนของจริง”

 

ยอดปรารถนาในชีวิตของมนุษย์คือความสุข    แล้วมนุษย์ส่วนใหญ่ก็แสวงหาสิ่งต่างๆ มาปรนเปรอความสุข    โดยลืมไปว่า หรือไม่รู้ว่า ความสุขอยู่ภายในใจเรา

 

ความสุขจากความพอเพียง    และรู้เท่าทัน

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

คำนิยม หนังสือ “พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์”

พิมพ์ PDF
การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือชุมชน ของนักวิชาการ ดำเนินการเพื่อนำผลงานวิชาการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และช่วยกันให้คำแนะนำให้ยกระดับผลงานวิชาการ ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เป็นกลไกสำคัญยิ่งของการพัฒนาวิชาการ

คำนิยม หนังสือ “พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์

 

 

คำนิยม

หนังสือ พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์

 

ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช

ประธานมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (ม.สคส.)

……………

 

ผมขอขอบคุณ ดร. เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์ บรรณาธิการ ที่ให้เกียรติผมเขียนคำนิยมหนังสือเล่มนี้   ทั้งๆ ที่ผมไม่มีความรู้เรื่องวิศวกรรมไฟฟ้าเลย   ผมเดาว่าคงเป็นเพราะชื่อรองของหนังสือ คือ “ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์”

ดร. เกียรติศักดิ์ และผมมีจริตร่วมกันในเรื่องนี้

หลังจากได้อ่านต้นฉบับของหนังสือ ผมก็เกิดปิติ ที่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของพัฒนาการ  ที่ไม่ใช่แค่ของการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าของประเทศไทย ที่ดำเนินการมาครบ ๓๕ ปีเท่านั้น   แต่ได้เรียนรู้พัฒนาการของศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าของประเทศไทยทั้งหมดทีเดียว   และเป็นช่วงเวลาที่ยาวกว่า ๓๕ ปี   การได้เห็นภาพรวมของเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นบ่อเกิดของปัญญา   หนังสือเล่มนี้จะเป็นขุมปัญญาของคนไทย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวงการวิศวกรรมไฟฟ้า   ไปอีกนานเท่านาน

ผมติดใจคำพูด (ที่จริงเขียน) ของ ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ในบทที่ ๖ ที่กล่าวว่า “โดยหลักการแล้ววิศวกรรมไฟฟ้าก็คือฟิสิกส์ประยุกต์ วิศวกรไฟฟ้าก็คือนักฟิสิกส์ประยุกต์”

ในบทที่ ๗ เป็นเรื่องของนักฟิสิกส์ คือ ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน ที่ช่วยตอกย้ำคำกล่าวของ ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ว่า ศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า จะก้าวหน้าได้ ต้องมีพื้นฐานวิชาการที่มั่นคง    และผมขอเพิ่มเติมว่า ต้องมีการเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ อย่างกว้างขวางและเหมาะสมด้วย

การเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นเกิดขึ้นได้ง่าย หรือเป็นอัตโนมัติ ณ จุดประยุกต์ใช้ความรู้    คือ ณ จุดของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนากระบวนการนั้น ต้องนำเอาความรู้จากศาสตร์ต่างๆ มาใช้อย่างบูรณาการ   ผมเคยอ่านพบว่า ในบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน ไอที มีการจ้าง นักมานุษยวิทยาสังคม (Social Anthropologist) มาทำหน้าที่ในหน่วยศึกษาความสัมพันธ์กับลูกค้า   มีหน้าที่เดินทางไปในประเทศต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้เครื่องมือไอทีของผู้คน   สำหรับนำมาบอกฝ่ายพัฒนา hardware และ software ให้พัฒนาให้เหมาะสมต่อพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า

ผมจึงมีข้อเสนอต่อคณะผู้จัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย   ว่าควรพิจารณายกระดับการประชุมนี้ใน ๒ ประเด็นใหญ่    (๑) คือการส่งเสริมให้ฝ่าย “ผู้ใช้” หรือฝ่ายอุตสาหกรรม/ธุรกิจ นำเอาประสบการณ์ประยุกต์ใช้ความรู้ของตน (เท่าที่จะเปิดเผยได้) มานำเสนอในที่ประชุม    ซึ่งจะนำไปสู่โจทย์วิจัยให้แก่นักวิจัยในมหาวิทยาลัย   ให้ทำวิจัยตามโจทย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของฝ่ายผู้ใช้    และนำไปสู่ความร่วมมือกัน   และ (๒) การเชิญชวนให้นักวิจัยสาขาอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่มีผลงานวิจัยเกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าที่มีเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าอยู่ภายใน   ให้มานำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทยด้วย

หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ของการประชุมวิชาการเท่านั้น   แต่ยังนำเสนอเรื่องราวที่นำไปสู่พัฒนาการของศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าของประเทศไทย อย่างน่าสนใจยิ่ง    ดังตัวอย่างบทที่ ๘ ศ. ดร. โมไนย ไกรฤกษ์ นักวิชาการสายพันธุ์ไทยแท้  และบทที่ ๑๐ บทบาทวิศวกรสตรี รศ. ดร. ทิพรัตน์ วงษ์เจริญ    ซึ่งจะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิชาการรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี   วิธีคิดในการพัฒนาตนเอง สร้างโอกาสแก่ตนเอง แบบไม่เดินตามแนวที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ของ ดร. ทิพรัตน์ น่าสนใจมาก

ที่จริง ทุกบทของหนังสือเล่มนี้ ให้ความรู้ และให้ข้อคิดที่มีคุณค่าสูงส่ง ทั้งสิ้น   โปรดอ่านคำนำของบรรณาธิการ เพื่อให้ได้คุณค่าในภาพรวม

หนังสือเล่มนี้บอกเราว่า การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือชุมชน ของนักวิชาการ   ดำเนินการเพื่อนำผลงานวิชาการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   และช่วยกันให้คำแนะนำให้ยกระดับผลงานวิชาการ ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น   เป็นกลไกสำคัญยิ่งของการพัฒนาวิชาการ

วิชาการที่เป็นเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้คือ วิศวกรรมไฟฟ้า    ซึ่งในช่วงเวลา ๓๕ ปีที่ผ่านมามีการขยายตัวพัฒนาการเชื่อมโยงออกไปอย่างกว้างขวาง   ทำคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนอย่างเหลือคณา

วิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าใน ๓๕ ปีข้างหน้า จะก้าวหน้ารวดเร็วยิ่งกว่า ๓๕ ปีที่ผ่านมา   และผมขอทำนายว่า พัฒนาการจากมุมของฝ่ายธุรกิจ หรือฝ่ายประยุกต์ จะมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าพัฒนาการของฝ่ายวิชาการโดยตรง   ดังนั้นคณะผู้จัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย จึงควรพิจารณาเชื้อเชิญ “นักวิชาการ” หรือจริงๆ แล้วคือนักพัฒนา จากภาคธุรกิจเอกชน เข้าร่วมเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย    ผมคิดว่า นักวิชาการหรือนักพัฒนาในภาคธุรกิจเอกชนนี่แหละ คือผู้ดำเนินการข้าม “หุบเหวมรณะ” ที่ระบุในบทความของ ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์

และต้องไม่ลืมเชิญชวน นักวิจัย/พัฒนา ในสาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมด้วย

ผมขอขอบคุณคณะผู้จัดทำหนังสือ พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์เล่มนี้ แทนสังคมไทย   ผมเชื่อว่า หนังสือเล่มนี้จะทำหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิชาการและนักพัฒนาวิศวกรรมไฟฟ้าของไทยรุ่นใหม่ ไปอีกนานเท่านาน

วิจารณ์ พานิช

๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:59 น.
 

สภาการหนังสือพิมพ์ออกแถลงการณ์ หยุดทำร้ายประเทศชาติ

พิมพ์ PDF
เราขอคัดค้านการบังคับใช้ให้เป็นไปตามร่างกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมนี้ ขอสนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล รวมทั้งกระบวนการอันชอบธรรมที่จะคัดค้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างถึงที่สุด และขอเรียกร้องให้วุฒิสภา อันประกอบด้วยผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย ได้ใช้วิจารณญาณในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้อย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในคุณค่าของความดี และคนดีของสังคมนี้

สภาการหนังสือพิมพ์ออกแถลงการณ์ หยุดทำร้ายประเทศชาติ

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2556 สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ออกแถลงการณ์ หยุดทำร้ายประเทศชาติ ว่า “การผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมิได้เป็นไปตามหลักการ มีลักษณะขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่นมากขึ้นในสังคมไทย อีกทั้งเป็นการบั่นทอนกำลังใจ คนดีมีคุณธรรม และลดทอนคุณค่าของคุณงาม ความดี นับเป็นภัยร้ายแรงอย่างยิ่งสำหรับประเทศชาติในอนาคต

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ อันเป็นองค์กรอิสระ มีหน้าที่ในการควบคุมกันเอง ส่งเสริมให้หนังสือพิมพ์ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชน ยึดถือความยุติธรรม และความเที่ยงธรรมเป็นหลักในการประกอบวิชาชีพ ได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้ ที่จะส่งเสริม และสนับสนุน ความดี และคนดี ภายใต้รัฐและผู้ปกครองที่ดี และแสดงให้เห็นประจักษ์แก่สังคมทั่วไป

รัฐที่ดีจะต้องปกครองด้วยกฎหมายมิใช่มนุษย์ และไม่ใช่ปกครองด้วยกฎหมายซึ่งมาจาก “เสียงข้างมาก” ที่ไม่ได้สะท้อนผลประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างแท้จริง หากมุ่งหมายเพื่อตนเองและพวกพ้อง ในขณะเดียวกันอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารตามหลักการที่ถูกต้องได้ ในแง่ของความเป็นธรรม หรือหลัก “นิติธรรม” ซึ่งหมายถึงความเป็นธรรมที่มีอยู่ในกฎหมาย เป็นกฎ ระเบียบ แบบแผนที่สังคมยอมรับ และยินยอมพร้อมใจปฎิบัติตาม เมื่อพิจารณาประกอบกับเนื้อหาและเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้แล้ว เห็นว่าขัดกับหลักการทั้งเรื่อง นิติรัฐ และนิติธรรมอย่างสิ้นเชิง

เมื่อกฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ คนทำผิดกฎหมาย ทั้งที่มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณา สามารถที่จะยกเลิกเพิกถอนคำพิพากษานั้นได้ในภายหลัง หรือพ้นไปจากข้อกล่าวหาโดยยังไม่มีการพิสูจน์ความผิดใดๆ การปฎิบัติตามกฎหมายก็จะไม่สำคัญอีกต่อไป อำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดโดยหลักการ ที่จะเป็นหลักประกันว่า บุคคลทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และหากกระทำความผิดไม่ว่าคดีแพ่ง หรืออาญา ก็จะต้องได้รับการพิจารณาพิพากษาโดยศาลเดียวกัน อย่างเสมอหน้ากัน ก็จะไม่สามารถเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนได้อีก

เราเห็นว่า มติจากเสียงข้างมาก หากมิได้อยู่บนหลักการและพื้นฐานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็ไม่สามารถรับรองความถูกต้องตามหลักการของการตรากฎหมาย ที่จะต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรม และไม่สามารถที่จะอ้างความชอบธรรมได้ เราขอคัดค้านการบังคับใช้ให้เป็นไปตามร่างกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมนี้ ขอสนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล รวมทั้งกระบวนการอันชอบธรรมที่จะคัดค้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างถึงที่สุด และขอเรียกร้องให้วุฒิสภา อันประกอบด้วยผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย ได้ใช้วิจารณญาณในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้อย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในคุณค่าของความดี และคนดีของสังคมนี้”

วิจารณ์ พานิช

๒ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:03 น.
 

องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น เดินหน้าต่อต้าน พรบ. นิรโทษกรรม

พิมพ์ PDF

องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น เดินหน้าต่อต้าน พรบ. นิรโทษกรรม

เดินหน้าค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลก ที่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ที่คอร์รัปชั่น

องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น เดินหน้าต่อต้าน พรบ. นิรโทษกรรม

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

องศ์กรต้านคอร์รัปชั่น ยื่นหนังสือ สถานทูตสหรัฐ เดินหน้าค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลก ที่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ที่คอร์รัปชั่น

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม รองประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนจำนวนหนึ่ง ได้เดินทางเข้ามายื่นหนังสือแถลงการณ์ ให้กับสถานเอกอักคราชฑูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย

โดยคุณหญิงชฎา ได้บอกว่า องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ประเทศไทย ต้องการแสดงจุดยืน ให้สังคมนานาชาติรับรู้ว่า องค์กรฯ พร้อมด้วยองค์กรจากภาคธุรกิจ การเงิน และการลงทุน รวมทั้งภาคประชาชน ให้ความสำคัญกับการต่อสู้ เพื่อแก้ไขปัญหาการคอรรัปชั่นภายในประเทศไทย

หลังจากเห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมความในร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม มาตรา 3  มีเนื้อหาให้ความสำคัญในการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือมีความขัดแย้งทางการเมือง รวมถึงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด โดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว สืบต่อมาระหว่างปี 2547 จนถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2556

แต่อย่างไรก็ตามแม้สภาจะมีมติผ่านร่างในวาระ3 แล้ว แต่กฎหมายขณะนี้ก็ยังออกไม่ได้ เนื่องจากต้องรอการตีความจากศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งการยื่นหนังสือครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณให้นานาชาติ  เห็นว่าพ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นการล้างผิดคดีทุจริต และอาจจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลก ที่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับคดีอันเป็นความผิดฐานคอร์รัปชั่น แม้ประเทศจะมีการลงนามให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาขององค์กรสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของประชาคมโลกในอนาคต

 

คัดค้านการนิรโทษกรรมแบบ “สุดซอย”

พิมพ์ PDF

เพราะไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีคอรัปชั่น

อ่านข่าวนักวิชาการคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับ “เหมาเข่ง” ที่นี่

ดูตามร่างกฎหมายฉบับนายวรชัย เหมะ ที่นี่ ไม่เห็นประเด็นเหมาเข่ง หรือสุดซอย เลย    คนไม่ติดตามข่าวอย่างผมจึงสงสัยว่า   ฉบับสุดซอย คงจะมาจากคณะกรรมาธิการ    เป็นเล่ห์กลทางการเมืองอย่างไร ผมไม่เข้าใจ

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 08:08 น.
 


หน้า 425 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559176

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า