Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สงครามกลางเมือง

พิมพ์ PDF
พฤติการณ์ของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นบทที่น่าอัปยศอดสูที่สุดบทหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย เพราะสามารถเอาชนะในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงเหนือพรรคอื่น ๆ พรรคเพื่อไทยจึงสามารถตั้งน.ส.ยิ่ง ลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรีหุ่น (โดยมี (พ.ต.ท.)ทักษิณ ชินวัตร)เป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริง) และเมื่อยึดรัฐสภาและรัฐบาลได้แล้ว สมุนของ (พ.ต.ท.)ทักษิณก็รุกคืบต่อไปด้วยการแก้ไขรัฐธรรม นูญและออกกฎหมายนิรโทษกรรม รัฐธรรมนูญฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น เห็นได้ชัดว่าทำเพื่อเสริมอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ส่วนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่ง ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและได้ส่งไปให้วุฒิสภาพิจารณาแล้วนั้น ก็เห็นได้ชัดเช่นกันว่าทำเพื่อนิรโทษหรือล้างผิดโดยปราศจากเงื่อนไขให้แก่อาชญากรที่ปล้น ฆ่าและโกงบ้าน โกงเมือง โดยมี(พ.ต.ท.)ทักษิณเป็นหัวหน้าอาชญากร

สงครามกลางเมือง

โดย วสิษฐ์ เดชกุญชร   อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 20:45 น.
 

อธิการบดี ๑๔ สถาบัน ออกแถลงการณ์ ค้านกฎหมายนิรโทษกรรม

พิมพ์ PDF
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เห็นว่า การที่ ร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม มีเนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเท่ากับเป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องขึ้นในสังคมไทย เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า การทุจริตคอรัปชั่นมิใช่สิ่งร้ายแรง และในท้ายที่สุดก็สามารถหลุดพ้นจากความรับผิดได้ด้วยการนิรโทษกรรม การนิรโทษกรรม การกระทำความผิด ในเรื่องทุจริตคอรัปชั่นจะทำให้การต่อสู้กับปัญหาคอรัปชั่นในสังคมไทยในปัจจุบันไม่ประสบผลสำเร็จและจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับการกระทำในลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต

อธิการบดี ๑๔ สถาบัน ออกแถลงการณ์ ค้านกฎหมายนิรโทษกรรม

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๔ พ.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 20:48 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๕. สร้างสะพานข้ามหุบเหวมรณะให้แก่ประเทศไทย

พิมพ์ PDF

เมื่อวันที่ ๑๘ก.ย. ๕๖ สภามหาวิทยาลัยมหิดล อนุมัติการจัดตั้ง MITI (Mahidol Institute of Technology Transfer and Innovation - สถาบันวิวัฒน์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นหน่วยงานอิสระ   มีบอร์ดของตนเอง   ทำหน้าที่ “วิเคราะห์และยกระดับกลไกการผลักดันงานวิจัยสู่นโยบายระดับชาติ และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคสังคมและธุรกิจ”

 

ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ผมตีความว่า มหาวิทยาลัยมหิดล กำลังจัดตั้ง “วิสาหกิจเพื่อสังคม” (social enterprise) ทำหน้าที่เชื่อมสองฝั่งของหุบเหวมรณะ   ที่ขวางกั้นระหว่างการสร้างสรรค์ทางวิชาการ หรือวิจัยและพัฒนา     กับฝั่งการนำไปประยุกต์เป็นธุรกิจอุตสาหกรรม หรือการทำประโยชน์แก่สังคม ในเชิงนโยบาย หรือด้านอื่นๆ    หรือที่ผมเรียกว่า เป็นการทำ downstream management ของการวิจัยและพัฒนานั่นเอง

 

ทำให้ผมนึกถึง UCLB ที่ผมเพิ่งไปดูงานที่ลอนดอน   และคณะผู้วางรูปแบบ MITI เอ่ยถึง Cambridge Enterprise และมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอื่นๆ ที่ต่างก็มีบริษัทจัดการเทคโนโลยีและความร่วมมือกับฝ่าย “ผู้ใช้” ทั้งสิ้น   โดยทำงานอย่างมืออาชีพ   มีความเข้าใจความต้องการของฝ่าย “ผู้ใช้”   ที่ ดร. พานิช เหล่าศิริรัตน์ ที่จะมาเป็นผู้อำนวยการ MITI กล่าวว่า จะทำงานแบบ outside-in   และมีเป้าหมายเลี้ยงตัวเองได้    และในที่สุดเป็นหน่วยสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล

 

แม้จะชื่อ MITI ผมก็เชื่อว่าในที่สุดแล้วหน่วยงานนี้จะไม่เพียงทำงานให้แก่นักวิจัยของ มหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น best replica rolex  แต่จะทำงานให้แก่หน่วยงานวิจัยทั้งประเทศ    หรือทำงานให้แก่ประเทศไทยนั่นเอง

 

ผมเชื่อว่า MITI จะริเริ่มสร้างสรรค์ และสั่งสมความรู้และทักษะของประเทศ   ในการข้ามหุบเหวมรณะแห่งการวิจัยสู่อุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์ทางการค้า และประโยชน์สาธารณะ

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2013 เวลา 21:16 น.
 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๑๐. ดูเขา แล้วย้อนดูเรา

พิมพ์ PDF

ผมตั้งใจเขียนบันทึกชุดเดินทางไปดูงานที่อังกฤษ ๑๐ บันทึกนี้ ด้วยการตีความอย่างสุดๆ    ไม่เขียนแบบบันทึกการดูงาน    ซึ่งเมื่ออ่านทบทวนบันทึกที่ ๑ - ๙ แล้ว    ก็พบว่าได้ “ย้อนดูตัว” ไปมากมายแล้ว     ในลักษณะรำพึงรำพัน    ซึ่งแน่นอนว่า มีความคิดที่ปนอคติส่วนตัวออกมาด้วย    กล่าวอย่างนี้แปลว่า ไม่รับรองความถูกต้อง

 

ข้อแตกต่างกันมากระหว่างอังกฤษกับไทย ในเรื่องระบบอุดมศึกษา    แตกต่างกันอย่างฟ้ากับดิน  หรือคนละกระบวนทัศน์   คือระบบการจัดการอุดมศึกษา ของเขารัฐบาลคิดเรื่องใหญ่ๆ เป้าหมายใหญ่ๆ ระยะยาว  ว่าจะต้องการให้อุดมศึกษาทำประโยชน์ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้แก่สังคม   แล้วเขาก็สร้าง เงื่อนไขต่างๆ (เช่นออกกฎหมายเปลี่ยนระบบการเงิน)    เพื่อให้อุดมศึกษาหาวิธีสนอง    โดยแต่ละสถาบัน ทำแตกต่างกัน   เพราะแต่ละสถาบันมีประวัติความเป็นมา จุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกัน    เขาบริหารระบบ โดยบอกเป้า และสร้างเงื่อนไขที่แตกต่าง    แล้วปล่อยให้สถาบันอุดมศึกษาหาวิธีปรับตัวเอาเอง    ไม่กำหนดรายละเอียดของขั้นตอนการทำงาน อย่างของประเทศไทย

 

อังกฤษจัดการระบบอุดมศึกษาแบบ Complex Adaptive Systems ในขณะที่ไทยจัดการแบบ Simple & Linear System

 

อังกฤษใช้ยุทธศาสตร์จัดการเปลี่ยนแปลงระบบแบบ empowerment ในขณะที่ไทยใช้ยุทธศาสตร์ top-down, command and control   ซึ่งได้ผลในการสร้างการเปลี่ยนแปลงต่างกัน    และสร้างอารมณ์คนละแบบในกลุ่ม ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (หรือถูกเปลี่ยนแปลง)    ในแบบอังกฤษ จะมี prime mover หรือ change agent จำนวน หนึ่ง จากทุกระดับการทำงาน   ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำดำเนินการเปลี่ยนแปลง    หรือจริงๆ แล้ว เขาอาจทำแนวนั้น มาก่อนแล้ว แต่ไม่มีคนเห็น   แต่ในระบบใหม่ เขาจะกลายป็นดาราขึ้นมาทันที   คนเหล่านี้จะมีพลังมาก ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

 

ไทยเราใช้ยุทธศาสตร์ผู้มีอำนาจกำหนดรายละเอียดแบบพิมพ์เขียวในการสร้างบ้าน (ผมเพิ่งพบว่า นายกรัฐมนตรี และคนในรัฐบาลชอบพูดคำว่า blueprint)   ทั้งๆ ที่ในการเปลี่ยนแปลงระบบที่ซับซ้อน ไม่มีทางเขียนพิมพ์เขียวได้    ในแนวทางนี้ “ดารา” คือผู้มีอำนาจ   คือนักการเมือง และข้าราชการระดับสูง    คนในระดับผู้ปฏิบัติไม่มีโอกาสเป็นดารา

 

ผมมีความเชื่อ (โดยไม่รู้ว่าเชื่อถูก หรือเชื่อผิด) ว่าคนเรามีความสร้างสรรค์อยู่ในตัวทุกคน   และความสร้างสรรค์นั้นจะออกมาทำคุณประโยชน์ หากมีโอกาส หรือมีการให้โอกาส (empowerment)    ในสังคมที่ความสัมพันธ์ในสังคมมีความเท่าเทียมกันสูง    หรือเป็นสังคมแนวระนาบ   โอกาสที่คนจะทำงาน สร้างสรรค์ให้แก่สังคมจะมาก

 

แต่ในทางตรงกันข้าม สังคมแนวดิ่ง เน้นใช้อำนาจสั่งการในรายละเอียด    โอกาสที่คนจะทำงาน สร้างสรรค์ให้แก่สังคมจะน้อย

 

คณะไปศึกษาดูงานมีเป้าหมายไปศึกษา ๒ เรื่อง    คือเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน   กับการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการสังคมให้แก่นักศึกษา    ซึ่งผมตีความว่า ทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องเดียวกัน    คือการทำหน้าที่อุดมศึกษา เพื่อสร้างคุณค่าในมิติใหม่ๆ ให้แก่นักศึกษา     ซึ่งก็คือการดึงศักยภาพในการ สร้างสรรค์ออกมา ทั้งเพื่อทำธุรกิจเพื่อกำไรเป็นเงิน และผลประโยชน์แบบอื่น เพื่อประโยชน์ตน   และเพื่อทำธุรกิจ ที่มีเป้าหมายเพื่อสังคมที่ดีขึ้น

 

การสร้างคุณค่าดังกล่าวแก่นักศึกษา ทำไม่ได้โดยวิธีสอนที่อาจารย์สอนวิชาแบบเก่า    แต่ทำได้โดยอาจารย์เปลี่ยนมาทำหน้าที่ตามกรอบมาตรฐานการทำหน้าที่อาจารย์(PSF) ในบันทึกแรกของชุดนี้

 

ที่จริงสังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดกว้าง เปิดรับพัฒนาการต่างๆ ในโลกได้อย่างรวดเร็ว    แต่เมื่อรับมาแล้ว เราทำ ๓ อย่าง ที่เชื่อมโยงกัน คือ

 

๑. เราทำแบบแยกส่วน ต่างหน่วยงานต่างทำ หรือบ่อยครั้งแย่งซีนกัน

๒. เราทำแบบผิวเผิน  เอามาแต่ส่วนเปลือก จับแก่นไม่ได้    หรืออาจจงใจเอาแต่เปลือก ไม่เอาแก่น

๓ ราปรับให้เข้ากับสังคมไทย    หรือเข้ากับผลประโยชน์ที่ซับซ้อนในสังคม ที่มีอยู่แล้ว    ซึ่งก็จะไปสอดรับกับข้อ ๑ และข้อ ๒

 

และเมื่อประกอบเข้ากับระบอบการบริหารบ้านเมืองแบบควบคุม-สั่งการ หรือเน้นอำนาจแนวดิ่ง    การหาลู่ทางพัฒนาระบบอุดมศึกษาของเราในแง่มุมต่างๆ จึงทำได้อย่างจำกัด   ย้ำว่าทำได้ เพราะเราเปิดกว้าง adopt เร็ว    และ adapt ด้วย    แต่ทั้ง adopt & adapt นั้น จะผิวเผินหรือศรีธนญชัย    ไม่เกิดผลดีจริงจัง   เนื่องจากเหตุผล ตามคำอธิบายที่กล่าวแล้ว

ผมภาวนาให้ข้อคิดเห็นเชิงรำพึงรำพันนี้ เป็นสิ่งที่ผิด ไม่ตรงกับความเป็นจริง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2013 เวลา 21:21 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๔. ส่งมอบประเทศไทยให้ลูกหลาน

พิมพ์ PDF

เมื่อวันที่ ๖ ก.ย. ๕๖ อดัม คาเฮน วิทยากร ที่ปรึกษาเพื่อก้าวข้ามความขัดแย้ง จากประเทศสหรัฐอเมริกา    ได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษา จัดกระบวนการ “วิธีสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการออกแบบชุดภาพอนาคต” (Transformative Scenario Planning)  ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง    ได้นำเสนอเรื่อง “ถอดบทเรียนเปลี่ยนอนาคต : ประสบการณ์ ๒๐ ปี จาก ๒๐​ประเทศทั่วโลก ของ อดัม คาเฮน”    และสื่อมวลชนได้เสนอข่าวที่ http://www.thairath.co.th/content/pol/368249, www.posttoday.com/245416/5 เครื่องมือหลุดบ่วงขัดแย้งจาก-คาเฮน

 

โครงการส่งมอบประเทศไทยให้ลูกหลานจะส่งมอบผลงานขั้นต้นในเดือนนี้    โดยหลากหลายฝ่าย จะต้องนำเอาไปดำเนินการต่อ   เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับกระบวนทัศน์ขึ้นในสังคมไทย   จนถึงจุด tipping point ก็จะเกิดผลที่การยุติความขัดแย้ง ที่ยังรุนแรงยิ่งในขณะนี้

 

เครื่องมือสำคัญอย่างยิ่ง ตามที่ระบุในปาฐกถาของ อดัม คาเฮน คือ สภาพจิตที่เรียกว่า presencing ซึ่งเข้าใจยากมาก   ผมเข้าใจว่าหมายถึงสภาพจิตที่อยู่กับภายในของตนเอง    พร้อมที่จะใช้พลังเพื่อสร้างศักยภาพ แห่งอนาคต   ไปสู่การลงมือทำให้เกิดผลได้ตามจิตมุ่งมั่น

 

ผมตีความต่อว่า    จุดสำคัญคือการหลุดจากวังวนแห่งความขัดแย้งในอดีต    มาอยู่กับปัจจุบัน    แล้วใช้ฐานที่มั่นปัจจุบัน    ในการสั่งสมพลัง เพื่อไปดำเนินการสร้างอนาคตที่ตนใฝ่ฝันร่วมกันที่จะให้เกิด

 

สภาพเช่นนี้  คนที่มีส่วนร่วมต้องไม่รอให้คนอื่นเป็นผู้ลงมือ    ตนเองต้องเป็นผู้กระทำ ไม่ใช่ผู้รอคอย    ไม่ใช่ผู้รอให้คนอื่นทำ แล้วตนจึงตาม   ต้องมีผู้ที่อยู่ในสภาพ presencing มากพอ   จึงจะเกิดพลังร่วม

 

ต้องใช้ฐานที่มั่นที่อยู่กับจิตที่มั่นอยู่กับภายในตน   และมีความปรารถนาอันแรงกล้า ที่จะให้อนาคตมีภาพ หรือสภาพ ตามที่ตนใฝ่ฝัน   ความใฝ่ฝันร่วมโดยคนจำนวนมาก จะเป็นพลังมหัศจรรย์ ให้ความใฝ่ฝันนั้นเป็นจริง

 

ผมฝันจะมีส่วนร่วมกันส่งมอบประเทศไทยที่ผู้คนมีความสามัคคีกัน เลิกแบ่งพวกแบ่งฝ่าย เพื่อเอาชนะคะคานกัน

สังคมไทยในอุดมคติ เขียนไว้ในรายงานของคณะปฏิรูป อ่านได้ ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2013 เวลา 19:12 น.
 


หน้า 428 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3047
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8594616

facebook

Twitter


บทความเก่า