Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ละครเวที "เพื่อชาติ เพื่อ HUMANITY" Fri, 2013-06-21 16:17

พิมพ์ PDF

ละครเวที "เพื่อชาติ เพื่อ HUMANITY"

 

ครั้งแรกของนิสิตเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับละครเวทีอิงประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  “เพื่อชาติ เพื่อ HUMANITY”  รอบเดียวเท่านั้น ในวันเสาร์ที่  31 สิงหาคม 2556  ณ  โรงละครสดใส พันธุมโกมล   ชั้น 6  อาคารมหาจักรีสิรินธร  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง และชมรมศิษย์เศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัดงาน “เศรษฐศาสตร์การเมืองในมิติวัฒนธรรมชุมชน” เนื่องในโอกาส  72 ปี  ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และอาจารย์ ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ ซึ่งภายในงาน จะมีการปาฐกถา “เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องการเรียนรู้เพื่อชาติ เพื่อชุมชน” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช  พร้อมด้วยการแสดงละครเวทีเกี่ยวกับขบวนการเสรีไทยและวีรกรรมของชีวิตนายจำกัด พลางกูร เรื่อง “เพื่อชาติ เพื่อ HUMANITY” แสดงโดยศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบัน  คณะเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งต้นฉบับแรกของบทละครเรื่องนี้  เขียนโดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

“ในการค้นคว้าเรื่องขบวนการเสรีไทย ผมพบว่าคุณจำกัด พลางกูร มีความสำคัญอย่างมากต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย เพราะเขาคือผู้ที่ยอมสละชีวิต เสี่ยงภัยเดินทางไปยังเมืองจีนเพื่อขอเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร  ให้รับทราบการเกิดขึ้นของขบวนการเสรีไทยในประเทศ  และให้การยอมรับสถานะของขบวนการจนกระทั่งส่งผลให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงครามในที่สุด”  ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา  ประธานการจัดงานครั้งนี้กล่าว

เรื่องราวของนายจำกัด พลางกูร  ผู้ร่วมขบวนการเสรีไทยในประเทศ กับภารกิจสำคัญที่สุดในชีวิตของเขาคือ การปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากนายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำขบวนการ  เดินทางเสี่ยงการถูกฝ่ายทหารญี่ปุ่นจับตัว  เพื่อไปยังแผ่นดินจีนและหาโอกาสเจรจากับนายพลเจียงไคเช็ค ผู้นำกองกำลังทหารพรรคก๊กมินตั๋ง และประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรให้รับทราบและรับรองขบวนการเสรีไทยที่ต่อต้านฝ่ายอักษะ  พร้อมหาทางให้นายปรีดี พนมยงค์ จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในประเทศอินเดีย

บันทึกประจำวัน เขียนด้วยลายมือ ความหนานับพันหน้าของนายจำกัด พลางกูร และจดหมายโต้ตอบนับหลายฉบับระหว่างเขากับ พ.ท.ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัฒน์  คณะกู้ชาติสายอังกฤษ  ได้เผยสภาพความเป็นอยู่อันยากแค้นของเขาระหว่างปฏิบัติภารกิจสำคัญจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต  ที่สำคัญที่สุดคือความจริงที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ช่วงปีพ.ศ.2486  เบื้องหลังการธำรงเอกราชของชาติไว้ได้  ทำให้สถานภาพของประเทศไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่ตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม

คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกูล  กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย ในฐานะประธานชมรมศิษย์เศรษฐศาสตร์การเมืองและนักแสดงหลักในละครเรื่องนี้  เผยว่า “เราทุกคนได้อ่านเรื่องของนายจำกัดแล้วจากหนังสือชื่อ เพื่อชาติ เพื่อ HUMANITY เขียนโดยท่านอาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา แล้วรู้สึกภูมิใจมากที่ประเทศไทยมีคนกล้า ยอมเสียสละแม้ชีวิตเพื่อชาติ เสี่ยงภัยที่ไม่อาจคาดเดาได้ จนฟันฝ่าไปถึงจุดหมายและมุ่งมั่นจัดการภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง ถ้าขาดเขา ปานนี้ไม่รู้ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรเลย”

คณะผู้จัดงานและการแสดงละครเวที  คาดหวังว่าการจัดการแสดงละครครั้งนี้ จะลบข้อครหาที่เคยมีผู้กล่าวว่า นายจำกัด พลางกูร ได้มอบชีวิตของเขาให้แก่ประเทศชาติ แต่ทุกวันนี้ กลับมีคนน้อยมากที่รับรู้และสัมผัสได้อย่างลึกซึ้งถึงความรักชาติและความกล้าหาญของเขา

ผู้สนใจร่วมงานครั้งนี้ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ตั้งแต่การแสดงปาฐกถา “เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องการเรียนรู้เพื่อชาติ เพื่อชุมชน” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช  เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป  ณ ชั้น 9 ห้องอเนกประสงค์ อาคารมหาจักรีสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   และชมการแสดงละครเวทีเรื่อง “เพื่อชาติ เพื่อ HUMANITY” ต่อ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น (แสดงรอบเดียวเท่านั้น)    เวลา 15.45 – 17.45 น. (ประตูเปิดเวลา 15.20 น.)  ณ  โรงละครสดใส พันธุมโกมล  ชั้น 6 อาคารเดียวกัน (อาคารมหาจักรีสิรินธร)  วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2556

Contact:
โรงละครสดใส พันธุมโกมล
 

บทเรียนจากธนาคารอาคารสงเคราะห์

พิมพ์ PDF

บทเรียนจากธนาคารอาคารสงเคราะห์

ผมเป็นลูกค้าเงินกู้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ตั้งแต่ปี 2540 ได้กู้เงินมาปรับปรุงต่อเติมบ้าน จำนวนเงิน 820,000 บาท (แปดแสนสองหมื่นบาท) โดยมี บ้านและที่ดิน จำนองเป็นประกัน ต่อมาในปี 2544 ผมได้เพิ่มเงินกู้ และได้เพิ่มเงินจำนองเป็นประกันอีก 307,000 บาท รวมเป็นเงินจำนองประกันทั้งสิ้น 1,127,000 บาท โดยได้ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามเงื่อนไขทุกอย่างโดยไม่มีการผิดสัญญาทั้งจำนวนเงินผ่อนชำระในแต่ละงวดและกำหนดวันผ่อนชำระในแต่ละงวด

ปลายเดือนสิงหาคม 2556 ผมได้โทรปรึกษา ผู้จัดการเขตสำนักงานใหญ่ กทม และปริมณฑล ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อขอเพิ่มเงินกู้ และได้แจ้งว่าจะให้เจ้าหน้าที่ติดต่อผมภายในวันนี้ ซึ่งก็ได้รับการติดต่อกลับมาโดยเจ้าหน้าที่อีกท่าน และได้แจ้งว่า ทางธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้รับการอนุมัติวงเงินจำนวนหนึ่งจากทางรัฐบาลเพื่อให้ทางธนาคารเพิ่มเงินกู้ให้กับลูกค้าชั้นดีในจำนวนเงินที่ไม่เกินวงเงินที่จำนองเป็นประกัน และได้นัดวันให้ผมไปติดต่อทำเรื่องขอกู้กับหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อสาขาแจ้งวัฒนะ

วันที่ 9 กันยายน 2556 ผมได้นำเอกสารทั้งหมดที่ต้องใช้ไปพบกับหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อสาขาแจ้งวัฒนะตามนัด เจ้าหน้าที่ได้เช็คประวัติของผมและได้แจ้งว่า ผมสามารถกู้ได้จำนวนเงิน 536,717 บาท (ห้าแสนสามหมื่นหกพันเจ็ดร้อยสิบเจ็ดบาท  เนื่องจากผมได้ทำจำนองประกันไว้ในวงเงิน 1,127,000 บาท และขณะนี้ผมได้ชำระหนี้ไปแล้วจนเหลือหนี้คงเหลือ 590,282 บาท หลังจากนั้นไม่ถึง 5 นาที เจ้าหน้าที่คนเดิมก็แจ้งว่าเมื่อเช็คเงื่อนไขแล้วปรากฏว่าผมจะกู้ได้แค่ 7 หมื่นกว่าๆ เนื่องจาก ผมอายุ 63 ปี และไม่มีรายได้ จึงสามารถให้เวลาในการผ่อนชำระได้ไม่เกิน 7 ปี ขณะนี้ผมผ่อนอยู่งวดละ 8,000 บาท เมื่อคำนวณและพิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระเงินได้ จึงไม่สามารถให้ผมกู้ได้ในวงเงินที่ได้แจ้งในครั้งแรก

ผมเริ่มสงสัยในขั้นตอนและหลักการในการพิจารณา และได้ยืนยันความต้องการที่จะกู้ตามวงเงินที่แจ้งไว้โดยสามารถผ่อนชำระได้โดยอยู่ในเงื่อนไขไม่เกิน 7 ปี แต่เจ้าหน้าที่ก็อ้างว่าผมไม่มีเอกสารยืนยันว่ามีรายได้ ผมจึงได้มอบเอกสารทั้งหมดและได้อธิบายให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นและผู้ช่วยผู้จัดการสาขาทราบ ซึ่งดูเหมือนกับผู้ช่วยผู้จัดการท่านนั้นจะเข้าใจเป็นอย่างดีและยินดีจะทำเรื่องให้ หลังจากนั้นก็ไม่มีการติดต่อกลับมา จนวันที่ 23 กันยายน ผมได้โทรศัพท์ติดต่อไปที่ผู้ช่วยผู้จัดการที่ดำเนินเรื่องให้ผม แต่ไม่สามารถติดต่อได้ อย่างไรก็ตามได้พูดกับผู้จัดการสาขา และผู้จัดการสาขาแจ้งว่าจะให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ ไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้ใดติดต่อกลับมา ผมจึงได้โทรไปหาผู้จัดการเขต ซึ่งท่านก็แจ้งว่าท่านอยู่นอกสำนักงาน เมื่อกลับเข้าสำนักงานจะตามเรื่องให้ สุดท้ายแล้วปรากฏว่าเป็นเจ้าหน้าที่ท่านอื่นติดต่อกลับมาพูดว่าได้โทรคุยกับทางสาขาแล้ว โดยทางสาขาจะเป็นผู้โทรมาหาผมเอง ผมได้โทรไปหาเจ้าหน้าที่ท่านนั้นอีกแต่ก็ไม่สามารถหาข้อสรุปได้

บังเอิญผมไปชำระค่าประกันสังคมที่ธนาคารกรุงไทย และได้มีโอกาสพบผู้จัดการสาขา ขอคำปรึกษาถึงความเป็นไปได้ในการกู้เงินโดยเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ผู้จัดการฟัง รวมทั้งปัญหาจากการติดต่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้จัดการได้ให้คำแนะนำที่ดีเป็นประโยชน์ต่อผมมาก ทำให้ผมได้รับเงื่อนไขที่ดีกว่า สะดวกกว่า และเป็นประโยชน์กับผมมากกว่าการติดต่อกับธนาคารอาคารสงเคราะห์มาก ผมหลงผิดคิดว่าธนาคารอาคารสงเคราะห์ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐจะเป็นธนาคารที่ดีและช่วยเหลือประชาชนในเรื่องการกู้เงินโดยใช้ที่ดินและบ้านค้ำประกัน แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ผมตาสว่าง และทราบว่าผมสูญเสียสิทธิประโยชน์ของผม อันเนื่องมาจากปัญหาการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่และผู้บริหารของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย หรือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บริหารเอง ความจริงผมควรจะหยุดเพียงเท่านี้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ แต่เมื่อมาคิดถึง คนอื่นๆที่อาจเจอปัญหาเช่นเดียวกับผม และเขาอยู่ในฐานะที่ลำบาก ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะต้องมาวิพากษ์วิจารณ์ระบบการทำงานของธนาคาร คนทุกคนมีศักดิ์ศรีและคุณค่า แต่กลับถูกคนเพียงไม่กี่คนมากำหนดว่าใครมีคุณค่าอย่างไร มีความสามารถแค่ไหน ถ้าคนกลุ่มนั้นมีการพิจารณาด้วยเหตุผลที่เป็นจริง ก็ยังพออนุโลมเพราะเป็นการกลั่นกรองอย่างมีเหตุผลและเป็นธรรมกับผู้ถูกประเมิน กรณีที่เกิดกับผม ผมไม่สามารถยอมรับผู้ประเมินว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะทำการประเมินผมได้ ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะปัญหาเรื่องความเข้าใจในเนื้องานของพนักงาน ปัญหาเรื่องกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือปัญหาในระดับนโยบายขององค์กร

บทเรียนที่ผมได้รับ ทำให้ผมไม่สามารถยอมรับหลักการและข้อกำหนดที่เจ้าหน้าที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์อ้างดังนี้

1.พิจารณาว่าผมไม่สามารถผ่อนเงินกู้ได้เกินเดือนละ 8,000 บาท โดยอ้างว่าผมเป็นผู้ที่ไม่มีรายได้เนื่องจากไม่มีเอกสารมายืนยัน เชื่อเอกสารมากกว่าประวัติและศักดิ์ศรีของคน  ผมอายุ 63 ปี ย่าง 64 ปี ผมมีผลงานปรากฏและนำมาอ้างอิงได้ ไม่เคยมีประวัติเสียหายด้านการเงิน และด้านใดๆทั้งสิน ไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียชื่อเสียง ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน เป็นคนดีทำงานเพื่อสังคม อย่างแท้จริงไม่ใช่ทำเพื่อเอาชื่อเสียง  ไม่เคยแตะต้องทำงานสีเทา เมื่อลาออกจากงานประจำก็มีตำแหน่งงานหลายตำแหน่งที่เป็นงานเพื่อสังคม ไม่มีรายรับประจำ แต่ก็มีรายได้จากการเป็นวิทยากร และที่ปรึกษา มีทั้งที่มีรายได้และไม่มีรายได้ ผมหันมาทำงานเพื่อสังคมโดยไม่คิดที่จะต้องการผลประโยชน์ของตัวเอง จึงไม่ได้สนใจที่จะเรียกร้องเงินจากค่าดำเนินการหรือค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น แล้วแต่หน่วยงานหรือคนที่ผมทำงานให้จะพิจารณา ถ้าผมตั้งใจหาเงินจริงๆก็สามารถกลับไปทำงานรับจ้างเป็นผู้บริหารบริษัทต่างๆได้  ผมมีความรับผิดชอบและทำตามเงื่อนไขและข้อสัญญาต่างๆที่ตกลงกันไว้ โดยไม่เคยผิดสัญญาและเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น เช่นประวัติการชำระเงินกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ตลอดระยะเวลา 16 ปี  ชำระเงินครบตามเงินงวด และชำระภายในวันที่กำหนด ไม่เคยผิดนัดและผิดสัญญาใดๆ  และข้อสำคัญคือ ผมใช้บ้านและที่ดินที่ผมอาศัยอยู่เป็นประกันการกู้ มีการทำจำนองประกันในวงเงิน 1,127,000  บาท ทั้งๆที่มูลค่าที่ดินและบ้านมีราคามากกว่า 3,500,000 บาท

ผมอธิบายและนำเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางสังคม เช่นตำแหน่งหน้าที่การงาน เอกสารแต่งตั้ง และเอกสารเชิญผมเป็นวิทยากร พร้อมกับหลักฐานต่างๆที่ผมบันทึกไว้ในที่ต่างๆ ที่ปรากฏทั่วไป สามารถสืบค้นและอ้างอิงได้ใน Internet ทั้งในเวปไซด์หลายๆแห่ง และในเฟสบุ๊คของผม  ให้กับเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธผมได้ ว่าผมเป็นผู้ที่มีความสามารถในการหาเงินได้ใน จำนวนเงินที่มากกว่าที่ธนาคารคำนวณตามเอกสารที่มี ผมสามารถทำเอกสารตามที่ธนาคารต้องการได้เช่น ใบรับรองรายได้ ผมสามารถติดต่อหน่วยงานให้รับรองรายได้เท่าไหร่ก็ได้ และสามารถนำเงินเข้าบัญชีธนาคารตามจำนวนเท่ากับใบรับรองเงินเดือน ได้  แต่ผมไม่ทำเพราะไม่ใช่เรื่องจริง ผมจึงเห็นว่าหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้าธนาคารไม่ถูกต้อง กับหลักความเป็นจริง เป็นการตั้งข้อบังคับหลักเกณฑ์ที่ไม่สมเหตุผล

ธนาคารเอาเปรียบลูกค้า (ผู้บริโภค) อย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุผลดังนี้

1.ผมมีหนี้อยู่กับธนาคาร 590,282 บาท มีบ้านและที่ดินจำนองค้ำประกันในวงเงิน 1,127,000 การที่ผมจะเพิ่มเงินกู้อีก 536,717 หลักประกันแค่นี้ยังไม่เพียงพอหรือ ทั้งๆที่บ้านและที่ดินมูลค่าจริงราคามากกว่า 3,500,000 บาท

2.ที่ดินและบ้านที่จำนองเป็นที่พักอาศัยของผมและครอบครัว ผมและครอบครัวจะไม่ยอมปล่อยให้บ้านและที่ดินถูกยึดเพราะไม่ชำระเงินกู้ในจำนวนที่ต่ำกว่ามูลค่าจริง 3-4 เท่าเป็นอันขาด

3.ผมยังมีงานทำและมีความสามารถในการหาเงิน มีร่างการแข็งแรง สุขภาพดี สามารถหาเงินมาผ่อนหนี้ได้ตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่ธนาคารกำหนดได้อย่างสบาย ภาระของผมในปัจจุบันไม่มีอะไรมาก ลูกๆจบหมดแล้วมีงานทำ และไม่มีภาระหนี้สินใดๆนอกจากเงินกู้จากธนาคารอาคารสงเคราะห์ ลูกๆจบแล้ว มีงานทำทุกคน สามารถผ่อนค่างวดแทนได้ถ้าผมติดขัด

4.สาเหตุที่ต้องการกู้เงินเพิ่มจำนวน 5 แสนบาท เนื่องจากการประเมินรายได้หลังจากลาออกจากงานประจำที่มีรายได้ประจำผิดพลาด เนื่องจากหลายปัจจัย จึงทำให้รายได้น้อยกว่ารายจ่าย จึงใช้เงิน OD สลับกับเงินกู้ส่วนบุคคลระยะสั้นที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพง 16-28% และต้องชำระขั้นต่ำ 10% ของเงินที่นำมาใช้ในแต่ละเดือน ทำให้มีภาระในการใช้เงินหมุนเวียนจำนวนมากถึงห้าหมื่นบาทต่อเดือน เสียดอกเบี้ยเดือนละ  ร่วมหมื่นบาท จึงต้องการที่จะลดค่าใช้จ่ายประจำ โดยการกู้เงินจากธนาคารอาคารสงเคราะห์จำนวนเงิน 5 แสนบาท มาปิดเงินกู้ระยะสั้นและเงิน OD ซึ่งจะทำให้ ผมลดค่าใช้จ่ายประจำในแต่ละเดือนลงไป เดือนละ 5 หมื่น บาท ถึงแม้นจะต้องมาผ่อนธนาคารอาคารสงเคราะห์เพิ่มอีก หนึ่งหมื่นบาท ก็เท่ากับผมลดค่าใช้จ่ายประจำไปเดือนละ 4 หมื่นบาท จากประวัติที่ผ่านมาผมสามารถบริหารเงินของผมได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขใดๆกับใคร แต่ทำให้ผมมีหนี้เพิ่มขึ้นเพราะเสียดอกเบี้ยเดือนละ 10,000 บาท ดังนั้นการกู้เงินเพิ่มของผมครั้งนี้ไม่ได้เป็นการนำเงินไปใช้จ่ายเพื่อเพิ่มหนี้ แต่เป็นการไปลดหนี้ให้ต่ำลง และลดภาระในการผ่อนชำระให้น้อยลง ลดจำนวนเงินที่ต้องชำระเดือนละ 4 หมื่นบาท และลดดอกเบี้ยเป็นจำนวนประมาณ 16-20 % ต่อปี

5.ถ้าการดำเนินการกู้ในข้อ 4 ผมเรียบร้อย ก็เท่ากับเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนๆละไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นบาท(ธนาคารอาจนำไปคิดว่า เท่ากับผมมีรายได้เพิ่ม 4 หมื่นบาทก็ได้ ) จะทำให้ผม มีสมาธิในการทำงานและมีโอกาสสร้างรายได้ที่มากขึ้น เนื่องจากลดความกดดัน  ประกอบกับ  ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาผมได้สร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ในการดำรงชีวิต จากมนุษย์เงินเดือน มาเป็นนักธุรกิจ เพิ่มความรู้และเครือข่าย  เปลี่ยนวิธีการหารายได้  โดยการใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และภาพพจน์ ของตัวเองเป็นสินค้า ในการให้บริการด้านความรู้ ในการเป็นวิทยากร โค้ช และที่ปรึกษา ให้กับผู้ที่ต้องการบริการทั้งบุคคล และ หน่วยงานต่างๆ  ดังนั้นผมยังเป็นคนมีอนาคต มีความรู้ความสามารถ ในการหารายได้ที่มากขึ้น แถมทำงานให้กับประเทศชาติรับใช้สังคมโดยไม่เห็นแก่รายได้และผลประโยชน์ของตัวเอง

6.กรณีที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในทางลบ เช่นผมเกิดตายก่อนผ่อนหนี้หมด ธนาคารก็ไม่สูญเงินที่ให้ผมกู้เพราะทายาทที่รับมรดกของผมก็จะต้องใช้หนี้แทนผมเพื่อไปไถ่ถอนบ้านและที่ดินคืนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป คงไม่ปล่อยให้ธนาคารยึดเพื่อนำไปขายทอดตลาดแน่นอน

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานอกจาก ธนาคารจะเอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับลูกค้าชั้นดี (ผู้บริโภค) แล้ว ธนาคารยังมีนโยบายสวนทางกับนโยบายของรัฐ ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเนื่องจากมีรายได้ไม่พอเพียงกับรายจ่าย และไม่สามารถกู้เงินในระบบได้  โดยมอบหมายให้ธนาคารรัฐเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ  สิ่งที่ธนาคารปฏิบัติกับผม ไม่เพียงแต่ขัดนโยบายของรัฐ แต่ยังส่งเสริมให้ผมต้องวิ่งเข้าไปหาเงินกู้นอกระบบ หรือไปหาแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยสูง ธนาคารอาจจะอ้างว่าเป็นระเบียบของธนาคารชาติหรือเป็นนโยบายของใครก็ตาม ผมถือว่าเป็นนโยบายเต่าล้านปี ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ที่ ทำร้ายประชาชนผู้ด้อยโอกาส แต่ถ้าท่านอ่านบทความนี้และยอมรับสิ่งผิดพลาดที่ท่านได้ก่อไว้ และนำมาแก้ไขให้ถูกต้อง ผมก็ขอแสดงความยินดี และขออนุโมทนาด้วย และขอให้ท่านเจริญรุ่งเรื่องยิ่งๆขึ้นไป

ท่านใดเห็นด้วยและประสบปัญหาเช่นเดียวกับผม หรือคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ขอได้โปรดแสดงความคิดเห็นและร่วมกันรณรงค์เพื่อสร้างความยุติธรรมให้กับสังคมไทยต่อไป และถ้าท่านผู้ที่เกี่ยวข้อง มีเหตุผลที่ดีและรับฟังได้ผมก็ยินดีรับฟังและนำมาพิจารณาครับ ถ้าผมผิดผมยินดีรับผิดและยินดีขอโทษและประกาศให้ทุกท่านรับทราบถึงความผิดพลาดของผม และยินดีแก้ไขสิ่งที่ทำไปตามความเหมาะสมต่อไป

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

 

ตุลาคม 2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 03 ตุลาคม 2013 เวลา 09:26 น.
 

บทบาทของผู้บริหารในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

มรภ. เลย จัดการสัมมนา นศ. ระดับปริญญาเอกและปริญญาโท ที่กรุงเทพ และเชิญผมไปบรรยายเรื่อง บทบาทของผู้บริหารในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นเวลา ๓ ชั่วโมง

จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่ และ 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ส.ค. ๕๖

 

บรรยากาศในห้องประชุม

 

ผู้ถามท่านแรก นายฤตธวัช พินิจนึก

 

ผู้ถามท่านที่สอง ผศ. ดร.มัณฑนา อินทุสมิต

 

ถ่ายภาพร่วมกับอาจารย์ที่มาร่วมฟัง

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 03 ตุลาคม 2013 เวลา 06:58 น.
 

บทเรียนดีๆ ที่เยอรมนี กับการพัฒนาทุนมนุษย์ของ กสทช.

พิมพ์ PDF

บทเรียนดีๆ ที่เยอรมนี กับการพัฒนาทุนมนุษย์ของ กสทช.

ผมเขียนมาจากเมือง Boppard ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำไรน์ของเยอรมัน ขณะนำคณะผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนัก กสทช. 26 คนมาศึกษาดูงานเปิดโลกทัศน์ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

การเรียนรู้ในครั้งนี้ ลูกศิษย์ของผมทั้ง 26 คนได้ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้ภายในประเทศที่กรุงเทพฯ มาแล้ว 6 วันเต็ม การมาทัศนศึกษาที่เยอรมันทำให้การเรียนมีความหมายและมีคุณค่ามากขึ้น อย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญต่อการทำงานและการพัฒนาองค์กร ต้องทำให้ดี มีประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่มต่อผู้เข้าอบรมให้สามารถค้นหาตัวเอง และเกิดแรงบันดาลใจ ที่จะทำประโยชน์สู่องค์กรอย่าง กสทช. เมื่อผมได้มีโอกาสก็จะทำให้ดีที่สุด

มีตัวอย่างที่เคยทำมาแล้วอย่างต่อเนื่องในหลายองค์กร เช่น ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องรวม 9 รุ่น ถือว่าเป็นโครงการที่สร้างผู้นำอย่างแท้จริงและได้ผล

สำหรับสำนักงาน กสทช. รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 หลังจากที่ได้ทำรุ่น 1 ไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว หวังว่าจะได้สร้างผู้นำอย่างต่อเนื่อง เพราะกสทช. เป็นองค์กรที่สำคัญและเป็นที่พึ่งของคนไทย

การมาครั้งนี้มีกิจกรรมศึกษาดูงาน 3 แห่ง ดังนี้

แห่งแรกที่เมืองมิวนิค ณ Siemens AG บริษัทที่เก่าแก่กว่า 100 ปี ของเยอรมัน เป็นองค์กรระดับข้ามชาติที่ติดอันดับต้น ๆ ของโลก มีธุรกิจกับประเทศไทยในหลาย ๆ ด้านที่น่าสนใจมาก ก็คือ ซีเมนส์ซึ่งมองอนาคตอยู่เสมอว่าจะเกิดอะไรขึ้น มองแนวโน้มที่สำคัญของโลก และจะปรับตัวเองให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะวิเคราะห์แนวโน้มที่จะมีผลกระทบต่อสังคม เรียกว่า “Mega Trends” ประกอบด้วย

- ภาวะโลกร้อน

- ประชากรสูงอายุของโลก

- การขยายตัวของเมือง

- โลกาภิวัตน์

ซึ่งทั้ง 4 เรื่องนี้ทำให้บริษัทฯ ต้องมีนโยบายที่จะสร้างธุรกิจใหม่เพื่อรองรับ เช่น

- พลังงานทดแทน

- การดูแลสิ่งแวดล้อม

- การสร้างภูมิคุ้มกันกับผู้สูงอายุ เช่น สุขภาพอนามัย และการรักษาพยาบาลแบบใหม่

- และการมองโครงสร้างพื้นฐานโดยเน้นการพัฒนาเมืองที่พึ่มขึ้นใหม่ ๆ อย่างมียุทธศาสตร์

เน้นการสร้างนวัตกรรม Innovations ซึ่งมาจากการลงทุน R&D ของบริษัทเอง ให้สัดส่วนถึง 5% จากรายได้ของบริษัท

การพัฒนา R&D จะเน้นการพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งมีบทบาทสำคัญและสร้างทุนมนุษย์ที่อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลกไม่ใช่เน้นเฉพาะคนเยอรมัน ดังเช่น บริษัท ซีเมนส์ฯ ที่ประเทศไทยมีผู้บริหารระดับสูงเป็นคนไทยหลายตำแหน่ง

ผมคิดว่าบทเรียนสำคัญของ กสทช. คือ กสทช. ต้องกำหนดยุทธศาสตร์ระยะยาวของกสทช.อีก 10-20 ปีข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไรโดยดูเรื่อง Trends ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อประเทศไทยและ ASEAN ต้องเตรียมยุทธศาสตร์และทุนมนุษย์ที่จะสร้างในอนาคต ถ้ากสทช.สนใจเรื่องคุณภาพของทุนมนุษย์อย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า กสทช.จะเป็นองค์กรที่คนไทยยอมรับมากขึ้น

จากการที่ได้สัมผัสกับผู้นำทั้ง 26 ท่าน พบว่า มีศักยภาพสูงมากและมีหลากหลายสาขาวิชาชีพ น่าภูมิใจที่จะเป็นหลักของประเทศต่อไป

หน่วยงานที่ได้ไปดูก็คือ Benz ที่เมือง Stuttgart

น่าสนใจที่พวกเราได้เข้าไปดู Museum ของเขา น่าประทับใจมาก ได้รับบทเรียนว่า

-เกิดจากความชำนาญเรื่องวิศวกรรมเครื่องกลของผู้ก่อตั้ง 3 ท่าน

-การจะทำอะไรสำเร็จต้องอดทนต่อเนื่องเป็นเวลานาน ล้มเหลวก่อน จึงสำเร็จ

-ความสำเร็จของ Benz ไม่ได้มาง่ายๆ

แม้จะเป็นรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จ ต้องพบปัญหาอย่างต่อเนื่องใหม่ๆท้าทาย มีอุปสรรคมากมาย ต้องคิดถึงสิ่งที่ผู้บริโภคและตลาดยอมรับ

ได้รับฟังการบรรยายถึงยุทธวิธีของ Benz ในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งคล้ายๆกับซีเมนส์คือ ผู้บริหารจะมองการณ์ไกล บริหารโอกาสและพร้อมรับภัยคุกคามได้อย่างไร

ผมประทับใจตรงที่กว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในระดับต้นๆของโลก ก็ไม่ได้ประมาท ต้องมองอนาคตว่าจะเกิดความท้าทายใหม่จากปัจจัยอะไรบ้าง พัฒนาทุนมนุษย์ของพนักงานบริษัทเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนสร้าง Brand ของตัวเอง เพราะมีปัจจัยท้าทายมากมายเช่น

-ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่พอเพียง เช่น ถนนและจราจรที่ติดขัด

-พลังงานแพง

-ปัญหาสิ่งแวดล้อม

-ค่านิยมการใช้รถที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะวัยรุ่นจะมองรถยนต์สำคัญน้อยลง

-คู่แข่งรถยนต์ที่จะเกิดอย่างน่ากลัวเช่นประเทศจีนเป็นต้น

บทเรียนจากทั้งสองบริษัทที่น่าสนใจคือ วิธีการนำเสนอ ทำได้ดี ชัดเจนและเน้นภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท ซึ่งในอนาคต กสทช.จะต้องมีวิธีการนำเสนอภาพลักษณ์ขององค์กรให้อยู่ในระดับสากล สำคัญที่สุดคือ กำหนดยุทธศาสตร์ของกสทช.ในอนาคต 10 ปีว่า จะนำอะไรไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนที่เสียเปรียบให้มากที่สุด

เป็นองค์กรอิสระซึ่งเป็นที่ไว้ใจของประชาชน ทำงานเพื่ออนาคตของประเทศไทย เช่น มีส่วนร่วมสร้างการศึกษาให้มีคุณภาพ มีส่วนร่วมในการสาธารณสุข แก้ปัญหาส่วนรวม รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย

สุดท้ายที่ Frankfurt ได้เข้าเยี่ยมพบรองกงสุลใหญ่ คุณจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ ผมภูมิใจในตัวลูกศิษย์ทั้ง 26คนมากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านกงสุลอย่างกว้างขวางโดยเน้นถึงปัญหาของประเทศ แสดงให้เห็นว่าการมา Germany ครั้งนี้ ทั้ง 26 ท่านมีความใฝ่รู้ที่กว้างและลึก สามารถที่จะนำความรู้เหล่านี้มาใช้ที่องค์การอย่าง กสทช. เพื่อประโยชน์ของประเทศต่อไป

ภาพบรรยากาศกิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน วันที่ 9 กันยายน 2556 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นำคณะผู้บริหารของสำนักงาน กสทช.  ดูงานณ บริษัท Siemens AG เมือง Munich สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับผู้อำนวยการกลุ่มงานของสำนักงาน กสทช. ขอขอบคุณ Mr. Guenther Petrasch,Head of International Relations, CorporateCommunications and Government Affairs (CC GA)  ที่ให้เกียรติบรรยายและต้อนรับคณะเป็นอย่างดี

ภาพบรรยากาศกิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน วันที่ 10 กันยายน  2556 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นำคณะผู้บริหารของสำนักงาน กสทช.  มาดูงาน ณ บริษัท Daimler AG เมือง Stuttgart ขอขอบคุณ Mr. Gerd-Udo Hauser, Director Intl. Diplomatic Relations ที่ให้เกียรติบรรยายให้ความรู้แก่คณะ

ภาพบรรยากาศกิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน วันที่ 11 กันยายน 2556  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  นำคณะผู้บริหารของสำนักงาน กสทช. มาที่สถานกงสุลใหญ่ เพื่อเยี่ยมคารวะพร้อมรับฟังความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมนีจากท่านรองกงสุลใหญ่ นครแฟรงค์เฟริต คุณจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ และท่านกงสุล ภานุฤทธิ์ จำรัสโรมรัน

จีระ หงส์ลดารมภ์

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์ 0-2273-0181


แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 ตุลาคม 2013 เวลา 10:35 น.
 

บทเรียนราคาแพงจากการต่อสู้ของ 2 คู่กัด Obama (โอบามา)/Putin (ปูติน)และ Mayweather (เมย์เวทเธอร์)/Alvarez (อัลวาเรซ)

พิมพ์ PDF

เดือนกันยายนเป็นฤดูฝนที่ถึงแม้น้ำจะไม่ท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ แต่ฝนก็ตกหนักและท่วมเป็นจุดๆ

n ปัญหาม็อบของภาคใต้ยังไม่จบ รัฐบาลอย่าประมาทควรเอาใจใส่แก้ปัญหาหาทางออกให้สำเร็จ

n อนาคตประเทศไทยไปทางไหน ยังไม่มีใครทราบเพราะมีรัฐบาลที่เน้นผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม

n อยากได้รัฐบาลเป็นที่พึ่งระยะยาวของคนไทยทั้งประเทศ แต่ก็ยังไม่มี

n อยากได้รัฐบาลที่มีความรู้ ทันโลกภายนอกได้ พร้อมจะปรับและเปลี่ยนแปลง

n แต่ก็ยังต้องรอไปก่อน

สุดท้ายขอเตือนคนไทยทุกๆ คนว่า ความเสี่ยงเรื่องรักษาวินัยทางการคลัง อันตรายจากการจัดสรรงบประมาณที่เน้นประชานิยมและความตกต่ำทางเศรษฐกิจอันน่าวิตกในระยะยาว

สัปดาห์นี้มีบทเรียนราคาแพงมาฝากผู้อ่านจากการต่อสู้กัน 2 คู่ คู่หนึ่งเป็นระดับการเมือง อีกคู่หนึ่งในระดับกีฬา

ขอพูดเรื่องกีฬาก่อน เพราะในเมืองไทยจะมองกีฬาเป็นเรื่องของผู้สนใจกีฬาเท่านั้น ไม่ได้มองกีฬาเป็นภาพใหญ่เป็นบทเรียนของชีวิตของการทำงาน

ผมโชคดีได้เล่นกีฬาตั้งแต่เด็กๆ ปัจจุบันก็จะออกกำลังกายอยู่เสมอ ติดตามดูและอ่านวิเคราะห์กีฬาอย่างต่อเนื่องเป็นชีวิตที่มีค่า มีความสุขจากการได้บทเรียนดีๆ ปัจจุบันก็ช่วยสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยในฐานะอุปนายกคนที่ 1

ตัวอย่าง คู่กัดที่น่าสนใจคือ มวยคู่หยุดโลก ระหว่าง Mayweather กับ Alvarez มีบทเรียนที่น่าสนใจเป็นควันหลงหลังสามารถนำมาเรียนรู้หลายๆ เรื่อง

Alvarez เป็นชาวเม็กซิกัน หนุ่มกว่า Mayweather เกือบ 13 ปี คือ อายุแค่ 23 ปี แถมยังเป็นนักมวยที่มีน้ำหนักมากกว่าคือ รุ่นใหญ่กว่า

ส่วน Mayweather ถือว่าเป็นนักมวยอายุมาก คือ 36 ปี การชกครั้งนี้แบกน้ำหนักกว่า 15 ปอนด์ ก่อนชกคาดว่านักมวยหนุ่มสด และน้ำหนักมากกว่าน่าจะชนะสบายๆ เพราะมีพละกำลังดีกว่า ฝีมือก็สูสี

แต่ปรากฏผลออกมาผิดคาดเพราะใน 12 ยก ที่ชกกัน Mayweather ชกชนะแบบสบายอย่างคาดไม่ถึง จึงมีบทเรียนวิเคราะห์กันว่า

- ประสบการณ์สำคัญกว่าความหนุ่ม

- ลำพังเพียงความหนุ่มและพละกำลังไม่พอ

อะไรจะสำคัญกว่ากันจากผลของมวยคู่นี้พบว่าความหนุ่มที่มีพละกำลังมากกว่า แต่ขาดประสบการณ์ทำไม่สำเร็จและพ่ายแพ้ในที่สุด

ดังนั้นยุคสังคมผู้สูงอายุในเมืองไทยยังมีประสบการณ์ที่จะช่วยประเทศได้มาก ดังนั้น คนทุกๆ วัยไม่ว่าหนุ่มสาวหรือแก่ ต้องทำงานร่วมกันคือผสมระหว่างประสบการณ์และวัยหนุ่มพลังมากเข้าด้วยกัน ผมจะขอเรียกว่าเป็นระบบ Synergy

แต่ปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างวัยหรือระหว่างรุ่น Generation ในเมืองไทยมีมากมายต่างคนต่างคิดว่ามีดีถ้าไม่สร้างสะพาน (Bridge) ให้วัยหนุ่มกับวัยสูงอายุได้ทำงานร่วมกัน ผลงานก็จะได้ไม่เป็นเลิศ

ดังนั้นจึงฝากให้ช่วยกันคิดว่า วัยแก่ที่พยายามเรียนรู้จากวัยหนุ่ม ขณะที่วัยหนุ่มก็ต้องยอมรับฟังและศึกษาประสบการณ์ของวัยสูงอายุด้วย

แต่ที่ยังทำไม่สำเร็จ เพราะยังไม่มีสะพานเชื่อม 2 วัยเข้าด้วยกัน จึงเป็นบทเรียนราคาแพง จึงไม่ไปสู่มูลค่าจากความหลากหลาย (Value Diversity)

ส่วนอีกคู่ ระหว่างโอบามากับปูตินเป็นบทเรียนทฤษฎีผู้นำของผมเรื่องจังหวะและความเร็วให้เป็นประโยชน์ (Rhythm and Speed) ซึ่งผมได้เขียนไว้ในการกำหนดคุณสมบัติของผู้นำหลายปีแล้ว

ต้องยอมรับว่าปัญหาซีเรียมีทางออกแบบฉลาดเฉลียวจากการที่ปูตินซึ่งตามปกติจะค้านนโยบายของสหรัฐทุกๆ ด้าน แต่เมื่อปูตินเห็นโอกาสและจังหวะก็ได้แสดงออกมาว่า “ฉันต้องการจะเป็นแนวร่วมกับโอบามา” ด้วยการเจรจาให้ซีเรียยอมรับว่ามีอาวุธเคมีพร้อมที่จะให้สหประชาชาติ ร่วมกับสหรัฐทำลายอาวุธเคมีที่มีอยู่

ผลประโยชน์ของรัสเซียคืออะไร?

1.รัสเซียไม่ต้องการให้มีอิสลามหัวรุนแรงเป็นศัตรูกับรัสเซียในอนาคต ถ้าอิสลามหัวรุนแรงมีอาวุธเคมีด้วย วันหนึ่งจะต้องย้อนกลับมาถล่มรัสเซีย เพราะรัสเซียมีชาวมุสลิมเป็นศัตรูในประเทศอยู่หลายกลุ่ม

2.ประเด็นที่ 2 ในช่วง 20 ปี หลังสงครามเย็น รัสเซียถูกสหรัฐ ครองเป็นเจ้าโลกคนเดียว สหรัฐเป็นผู้นำของโลก การที่ปูตินเสนอให้ทำลายอาวุธเคมีของซีเรียแสดงให้เห็นว่า รัสเซียมีอิทธิพลในความเป็นผู้นำของโลกเท่าๆ กับสหรัฐ หากสำเร็จก็จะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

และโอบามาได้อะไร? โอบามาต้องการหลีกเลี่ยงสงครามเพราะต้องใช้เงินมาก เศรษฐกิจไม่แข็งพอ

-ถ้าโจมตีซีเรียก็ไม่จบ คงจะมีผลกระทบต่อเนื่องแบบในอิรักและอเมริกาอาจจะถูกโจมตีกลับ แบบ 9/11

-การใช้วิธีการทูต ให้ได้ถือว่าโอบามาใช้จังหวะและความเร็ว เช่นกัน

แต่ข้อเสียก็คือ คนในอเมริกา มองโอบามาว่าอ่อนแอ ไม่เด็ดขาด ไม่ได้แสดงความเป็นผู้นำให้เป็นที่พึ่งของโลก

ผู้อ่านก็ลองไปคิดว่าบทเรียนของคู่กัดทั้งสองคู่ น่าสนใจและนำมาใช้ได้อย่างไร?

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์ 0-2273-0181

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 ตุลาคม 2013 เวลา 10:38 น.
 


หน้า 440 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591553

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า