Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เรียนวิธีอธิบายข้อเท็จจริง

พิมพ์ PDF

เรียนวิธีอธิบายข้อเท็จจริง

ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ ๒๑ ก.ย. ๕๖มีวาระขอคำแนะนำ จากคณะกรรมการสภาฯ เรื่องการบริหารงานบุคคลสายวิชาการ    ทำให้มีข้อแนะนำดีๆ มากมาย

มีการย้ำให้ทั้ง นศ. และ อจ. เรียนจากการปฏิบัติจริง ในการทำงานจริง ให้มากขึ้น เพื่อทำความเข้าใจ ทฤษฎี ผ่านแว่นของการปฏิบัติ    หรือผ่านสัมผัสตรงของผู้เรียน    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมากเห็นด้วย กับแนวทางนี้

แต่ ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ เฉียบกว่านั้น

ท่านบอกว่า เราคิดแยกการเรียนทฤษฎี กับปฏิบัติ มากเกินไป    การเรียนรู้ที่แท้จริง ไม่ได้แยกกัน    การเรียนรู้คือการเรียนวิธีอธิบายข้อเท็จจริง (ผมขยายต่อ ว่า ไม่ใช่การเรียนข้อเท็จจริง)    คนที่มีประสบการณ์ จากภาคปฏิบัติ จะมีวิธีอธิบายเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา     คือความรู้จากการปฏิบัติจะเข้ามาผสมผสาน กับความรู้เชิงทฤษฎีอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้แยกกัน

การแยกความรู้ทฤษฎี กับความรู้ปฏิบัติ จึงไม่น่าจะถูกต้อง    เพราะในความเป็นจริง มันไม่ได้แยกกัน    ทั้งความรู้ทฤษฎี และความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ ต่างก็เป็นความรู้ที่ประกอบกันเข้า สำหรับใช้อธิบายข้อเท็จจริง

คำอธิบายแบบนี้ น่าจะเป็นมุมมองแบบหนึ่ง ของ การเรียนรู้บูรณาการ”    คือบูรณาการความรู้ ปฏิบัติกับความรู้ทฤษฎี

ขอย้ำนะครับ ว่าการเรียนรู้คือการเดินทางเข้าหาความจริง    หาทางทำความเข้าใจความจริง ให้ชัดขึ้น มองได้หลากหลายแง่มุมมากขึ้น และเข้าใกล้มากขึ้น    ผมไม่คิดว่าผมรู้ความจริง แต่สนุกกับการค้นหา    และเห็นคุณค่าของการค้นหา แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมิตรสหาย และนำมาหาทางทำให้สังคมดีขึ้น    และที่สำคัญที่สุด เรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเอง (transformative learning)

ผมตีความว่า ด้วยวิธีคิดแบบของ ศ. ดร. นิธิ    ผลของการเรียน คือความสามารถในการอธิบาย ข้อเท็จจริงมีความแจ่มชัด และอธิบายได้หลากหลายมุมมอง    ซึ่งก็ทำให้ตีความต่อได้ว่า วิธีประเมินผลการเรียน ด้วยการวัดว่าจำทฤษฎีได้หรือไม่    ไม่ใช่วิธีประเมินผลการเรียนที่ถูกต้อง    วิธีที่ถูกต้อง ทำโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้อธิบายเอง

ด้วยนิสัยส่วนตัว ผมอดเถียง ศ. ดร. นิธิ ไม่ได้    ว่าตามแนวทางของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑   การเรียนรู้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะ    และทักษะสำคัญคือทักษะประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อการทำงานหรือ เพื่อการดำรงชีวิต    ดังนั้นการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพลังอธิบาย ยังไม่เพียงพอ    ต้องเรียนเพื่อเพิ่มพลังปฏิบัติด้วย

แต่ตอนประชุม ผมนึกหาคำเถียงไม่ออก   เพราะมัวดื่มด่ำซาบซึ้งกับคำอธิบายของท่านเสีย

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2013 เวลา 14:57 น.
 

KM วันละคำ : 606. ความสงสัยเป็นชนวนสู่การสร้างความรู้

พิมพ์ PDF

KM วันละคำ : 606. ความสงสัยเป็นชนวนสู่การสร้างความรู้

หนังสือ The Inquiring Organization : Tacit Knowledge, Conversation, and Knowledge Creation Skills For 21st Century Organization บทสุดท้าย อธิบายกลไกหรือขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนยิ่ง    ที่การพูดคุยกันด้วยท่าทีของ “ผู้ไม่รู้”  “ผู้อยากฟัง อยากรู้”  และ อย่างเป็นกัลยาณมิตร   กระตุ้นให้สมาชิกของวงสนทนา พูด “สิ่งที่ยังไม่ได้พูด” ออกมา

“สิ่งที่ยังไม่ได้พูด” เหล่านี้ มีความไม่ชัดเจน    และเปิดมุมมองใหม่ที่ยังไม่ชัดเจน    ก่อให้เกิดความสงสัย ของสมาชิกในวงสนทนา   กระตุ้นให้สมาชิกคนอื่นๆ พูด “สิ่งที่ยังไม่ได้พูด” ของตนออกมา    เกิดเป็น “อสงไขของสิ่งที่ยังไม่ได้พูด” (infinity of the unsaid) แล้วค่อยๆ ก่อตัวกันเป็นความรู้ใหม่

ความรู้ใหม่นี้ อาจมีหลายชุด หลายแนว    เมื่อมีคนนำไปลองใช้ในการทำงานหรือการสร้างสรรค์    ก็จะพบความรู้ใหม่ที่ใช้การได้ เกิดผลดีกว่าเดิม หรือเกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น

การสร้างความรู้ที่ใช้พลังของ ความรู้ฝังลึก ต้องผ่านวงสนทนา ปลดปล่อย สิ่งที่ไม่ชัดเจน ที่ยังไม่ได้พูด” ออกมา    วงสนทนาแบบนี้จะเป็นตัวการกระตุ้นความสงสัยในสมาชิกของวงสนทนาแต่ละคน   ทำให้มีการปลดปล่อย  “สิ่งที่ยังไม่ได้พูด” ออกมามากมาย    แล้วสมาชิกแต่ละคนเลือกนำความรู้ที่ตนสนใจ ไปผ่านการปฏิบัติแบบอิสระ ไม่มีการบังคับ    ก็จะได้ผลของการสร้างความรู้ ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน

ในหลายกรณี เจ้าของ สิ่งที่ยังไม่ได้พูด” นั้นเอง คือผู้สงสัย   ว่าสิ่งที่ตนจะพูดออกมานั้น ตนเข้าใจถูกต้องหรือไม่    ความกล้าหาญที่จะพูดสิ่งนี้ออกมา มีความสำคัญอย่างยิ่ง    โดยมีบรรยากาศเปิดกว้างและเป็นมิตรเป็นตัวกระตุ้น   ให้ความสงสัยเอาชนะความไม่กล้า

นำไปสู่การสร้างความรู้ ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ย. ๕๖

บางแสน

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2013 เวลา 15:03 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๙๘. “อ่าน” หนังสือพิมพ์

พิมพ์ PDF

บนเครื่องบินการบินไทยไปขอนแก่น เช้าวันที่ ๒๒ ส.ค. ๕๖ ผมอ่าน นสพ. The Wall Street Journalฉบับวันที่ ๒๒ ส.ค. ๕๖   ซึ่งข่าวเด่นที่สุดที่หน้า ๑ คือ Media Savvy Is Bo’s Wild Card at Trial ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักการเมืองดาวเด่นของจีน นายโบซิหลาย โดนจับและขึ้นศาลในคดีคอรัปชั่น

 

 

ดีที่ นสพ. ฝรั่งเขาลงชื่อผู้เขียนบทความด้วย   บทความนี้คนเขียนชื่อ Jeremy Page ในขณะที่ นสพ. ไทยมักปกปิดผู้เขียนข่าว   ดังกรณีที่ตัวผมเองโดนไทยรัฐเขียนข่าวที่ผู้เขียนนั่งเทียนเขียนเล่นงาน ๕ วัน   เมื่อขอคุยกับบรรณาธิการและให้ข้อมูล โดยผมขอให้ผู้เขียนข่าวร่วมคุยด้วย   เขาบอกว่าเขาไม่มีนโยบายให้ผู้เขียนข่าวเผยตัว

 

 

บทความเกี่ยวกับคดีนายโบซิหลายบทความนี้ผมอ่านระหว่างบรรทัดว่า ผู้เขียนเขียนด้วยมุมมองให้คนคิดว่า เป็นเรื่องการ ต่อสู้แย่งอำนาจกันทางการเมือง   ไม่ได้มองเน้นที่ประเด็นคอรัปชั่นว่าเป็นอย่างไร   ผมไม่แน่ใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของการที่ฝรั่ง พยายามบั่นทอนชื่อเสียงของประเทศจีนหรือไม่

 

บทความชี้ว่า นายโบซิหลายมีความสามารถในการใช้สื่อ ปลุกปั่นมวลชน หรือสร้างภาพให้แก่ตนเอง    โดยที่ระหว่างการพิจารณาในศาลตนเองจะทำไม่ได้มาก เพราะทางการจีนคุมเข้ม   แต่เขาอาจใช้ญาติพี่น้อง หรือพรรคพวกที่มีอยู่มาก เป็นผู้ทำ

 

เรื่องที่ซับซ้อนแบบนี้ ผมอ่าน นสพ. แบบฟังหูไว้หู   และตระหนักว่าวงการ นสพ. ยึดหลักขายข่าว    จริงเท็จค่อยว่ากันทีหลัง    มีข่าวก็เขียนไปก่อน เพื่อให้ขายได้    ไม่แคร์ว่าหากเป็นข่าวเท็จจะสร้างความเสียหายให้คนในข่าว    คือวงการสื่อมีจริยธรรมในระดับนี้   โดยผมพบกับตัวเองกรณีไทยรัฐเมื่อราวๆ ปี ๒๕๓๘ ที่เป็นจริยธรรมที่ต่ำกว่านั้น คือนั่งเทียนเขียนด่าทีเดียว

 

โปรดอ่าน ข่าวนี้ จะเห็นว่า วงการสื่อตกเป็นเหยื่อของธนาธิปไตยอย่างไร

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓ ส.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2013 เวลา 11:02 น.
 

มายาคติเรื่องขนาดของชั้นเรียน กับผลสัมฤทธิ์ของการเรียน

พิมพ์ PDF

ในการประชุมระดมความคิดเห็นในหัวข้อ แนวทางการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของครูสู่ศตวรรษที่ ๒๑” ที่ศศนิเวศ จัดโดย SIGA    มีการนำเสนอผลการประมวลสาเหตุของความด้อยคุณภาพของการศึกษาไทย    ว่าาเหตุหนึ่งคือ สัดส่วนของจำนวนนักเรียนต่อครูสูง หรือขนาดของชั้นเรียนใหญ่

 

 

ทำให้ระลึกถึงข้อความในหนังสือ Visible Learning : A Synthesis of Over 800 Meta-Analyses Relating to Achievement บทที่ 6 The contributions from school  หัวข้อย่อย Class size  เล่าผล meta-analysis ของผลการวิจัย ๙๖ ชิ้น  ครอบคลุมจำนวนคนที่อยู่ในกลุ่มได้รับการทดลอง ๕๕๐,๓๓๙ คน    สรุปได้ว่า การลดขนาดจำนวนนักเรียนต่อชั้น (class size) มีผลยกระดับผลสัมฤทธิ์ของการเรียนของนักเรียนน้อยมาก

 

ฝ่ายที่อ้างว่าการลดขนาดชั้นเรียน มีผลบวกต่อผลสัมฤทธิ์ บอกว่า การลดขนาดชั้นเรียนนำไปสู่การเรียน ที่เอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายคนมากขึ้น,   การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น,   เปิดช่องให้เกิดนวัตกรรมในการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง,   เพิ่มขวัญกำลังใจของครู,  ลดปัญหาในชั้นเรียน,  ปัญหาความประพฤติของนักเรียนน้อยลง,  และดึงดูดความสนใจของนักเรียน ต่อชั้นเรียนง่ายขึ้น

 

 

ในทางตรงกันข้าม ผลการวิจัยจำนวนมากมาย ไม่สนับสนุนความคิดที่ว่า ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนจะดีขึ้น เมื่อลดขนาดของชั้นเรียนลง

 

 

เมื่อผู้เขียนหนังสือนี้ (John Hattie) ศึกษาเข้าไปในรายละเอียด จึงสรุปว่าผลบวกที่เกิดขึ้น จากการลดขนาดชั้นเรียน มีน้อยมาก   ผลบวกที่พบเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ ด้านสภาพการทำงาน    ส่วนผลบวกที่เป็นผลด้านผลสัมฤทธิ์ในการเรียนมี น้อยมาก

 

 

ย้ำอีกทีว่า การลดขนาดชั้นเรียน ทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูดีขึ้นอย่างแน่นอน   แต่ปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นนั้น อาจส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ดีขึ้น หรือไม่ดีขึ้น ก็ได้

 

 

ข้อสรุปนี้เป็นจริงในทุกระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน   และมาจากผลงานวิจัยในหลากหลายประเทศ

 

 

คำอธิบาย ว่าทำไมการลดขนาดชั้นเรียนไม่เพิ่มผลสัมฤทธิ์ก็คือ เป็นเพราะครูไม่เปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้   ยังคงใช้วิธีสอนแบบเดิม

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ส.ค. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2013 เวลา 11:07 น.
 

ปฏิรูปประเทศไทย

พิมพ์ PDF
ปัญหาสำคัญยิ่งในสายตาของผมคือ เวลานี้ เงินซื้ออำนาจการเมืองไทยได้ ซื้อโดยคนคนเดียว

ปฏิรูปประเทศไทย

อ่านข่าวนี้แล้ว ผมเห็นด้วยกับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง    และเห็นด้วยกับทุกความเห็นในข่าวนี้

ผมขอเชิญชวนให้อ่าน บทความนี้ และรายงานของคณะกรรมการปฏิรูป รายงานนี้ เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย

ปัญหาสำคัญยิ่งในสายตาของผมคือ เวลานี้ เงินซื้ออำนาจการเมืองไทยได้    ซื้อโดยคนคนเดียว

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2013 เวลา 10:14 น.
 


หน้า 444 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8557499

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า