Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ถาม-ตอบ ปัญหาเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

พิมพ์ PDF
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องร่วมมือทั้ง 3 ภาคส่วน ภาคของผู้ประกอบการ ภาคแรงงาน ภาคการศึกษา ด้วยการสนุบสนุนจากภาครัฐ

คำถามจากคุณ วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์ ( 5 มีนาคม 2554)

ปัญหาในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนเศรษฐกิจ  ค่อนข้างจะเป็นประเด็นใหญ่ที่ต่างก็พูดถึงกันมาก  ทั้ง ๆ ที่ ไทยเราเองก็มีทรัพยากร แหล่งธรรมชาติที่สวยงาม คนไทยก็มีใจรักในด้านบริการ แล้วอะไรล่ะที่ทำให้เกิดปัญหา ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้มีผลต่อทิศทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยมากที่สุด และเพราะอะไร?

  1. ปัญหาการกำหนดนโยบายของภาครัฐ ต่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร  ความไม่ชัดเจน  หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ?

คำตอบ: ทั้งสองอย่างครับ นโยบายไม่ครอบคลุม และไม่ชัดเจน แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเป็นแผนที่มีการบูรณาการนำเอาส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนขององค์กรรัฐ ภาคธุรกิจ และชุมชน กำหนดเรื่องของแผนการพัฒนาทุนมนุษย์ในแต่ละอาชีพโดยทำให้เกิดทุนมนุษย์ภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจอย่างสมดุล

สำหรับเรื่องการนำไปปฏิบัติก็เป็นปัญหาอย่างมากเพราะระบบและขบวนการปฏิบัติมักจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการปฏิบัติ เรามักจะมีแผนมากมายแต่ไม่ครอบคลุมอย่างที่กล่าวในเบื้องต้น จึงทำให้ไม่มีการนำไปปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ได้ ในส่วนของภาครัฐมีส่วนของความเข้าใจของผู้ได้รับมอบหมายให้นำไปปฏิบัติ กำลังของหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ โดยเฉพาะไม่มีงบประมาณที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม หรือไม่มีงบประมาณ ผู้บริหารมอบหมายงานแต่ไม่ได้ให้กำลังคนและงบประมาณที่เหมาะสม

นโยบายของภาครัฐ แบ่งออกเป็นดังนี้

1.1นโยบายระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผนที่ 1-7 เน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รองรับการเติบโตของระบบทุนนิยม (เศรษฐกิจนำสังคม) และเป็นแผนที่กำหนดโดยภาครัฐเป็นหลักไม่ได้ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนมากนัก

ตั้งแต่แผนที่ 8- ร่างแผนที่ 11 ที่กำลังจะนำออกใช้ในเดือนตุลาคม 2554 ได้มีการปรับแผนโดยเน้นเรื่องคนเป็นหลักให้ความสำคัญในด้านคนมากขึ้น นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมมากขึ้น เน้นความสำคัญด้านสังคมนำเศรษฐกิจ (ผมเห็นด้วยเพราะเมื่อสังคมเข้มแข็งเศรษฐกิจจะตามมาเอง)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนในภาพใหญ่เป็นภาพรวมของแต่ละประเทศ ผมอ่านร่างแล้ว คิดว่าแผนในภาพกว้างค่อนข้างดีแต่ยังมีเวลาในการเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังไม่ชัดเจน

1.2 แผนของแต่ละกระทรวง ปัจจุบันเป็นแผนที่ปรับเปลี่ยนตามรัฐมนตรี ไม่ได้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เป็นแผนหลัก อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

นอกเหนือจากนั้นแล้วก็ยังมีแผนของกรม และแผนของหน่วยงาน ต่างๆ มากมาย ที่ไม่รองรับซึ่งกันและกัน ต่างแผนต่างไปคนละทาง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ดังนั้นจะหวังพึงแต่แผนของภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้ เอกชนต้องมีแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคส่วนของธุรกิจ ขององค์กร และของชุมชนแต่ละชุมชนเอง โดยภาครัฐต้องเน้นที่แผนพัฒนาคนของภาครัฐเป็นสำคัญ ตั้งแต่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ (ทรัพยากรมนุษย์) เพื่อให้เน้นเรื่องการมีจริยธรรม คุณธรรม และการให้การสนับสนุนภาคเอกชนและชุมชนเป็นหลัก สร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในภาครัฐให้มีทุนสังคมมากๆ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าจะเกิดผลสำเร็จได้ภาคเอกชนต้องเป็นตัวขับเคลื่อน ภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน

การนำนโยบายไปปฏิบัติยิ่งเป็นปัญหาหนักเพราะเมื่อตัวแผนนโยบายเองมีปัญหา การนำไปปฏิบัติก็ยิ่งมีปัญหา เพราะปฏิบัติกันไปคนละทิศละทาง เสียเงินงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ กิจกรรมที่ควรจะได้รับการสนับสนุนก็ไม่ได้ งบประมาณถูกใช้ไปกับกิจกรรมที่ง่ายๆเพื่อให้เกิดผลงานว่าได้ทำแต่ไม่ได้คำนึงถึงผลของความสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง จึงทำให้คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

 

 

2.ปัญหาเรื่องของค่าแรงของไทย

คำตอบ : จริงๆค่าแรงงานที่เรากำหนดกันเป็นสิ่งที่ผิดพลาด เพราะไม่ได้คำนึงถึงความจริง เรามีการกำหนดเฉพาะค่าแรงของแรงงานไร้ฝีมือ คิดว่าถ้าแรงงานต่ำจะทำให้ภาคการลงทุนในประเทศขยายตัว แต่ไม่ได้คิดถึงค่าครองชีพที่แท้จริง เศรษฐกิจของประเทศไม่ได้อยู่ที่แรงงานขั้นต่ำ  รายได้ของมนุษย์เงินเดือนมีความสำคัญกับแรงจูงใจ และเป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทย?

เรื่องค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพียงการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ จริงๆการแก้ปัญหาเรื่องค่าจ้างที่เหมาะสมและถูกต้อง จะต้องทำให้เกิดสภาวิชาชีพบริการ เพื่อให้มีองค์กรที่มาขับเคลื่อนในการสร้างมาตรฐานแรงงานและกำหนดอัตราที่เหมาะสม ในแต่ละธุรกิจ

การกำหนดอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำมีขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ในการคำนวณค่าแรงให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะภาคการผลิต ฝ่ายตัวแทนของผู้ประกอบการพยายามกดค่าแรงขั้นต่ำเพราะต้องการให้ทุนการผลิตต่ำ รัฐก็ไม่ต้องการให้ค่าแรงสูงเพราะกลัวว่าต่างชาติจะไม่มาลงทุน แต่ในความเป็นจริง แรงงานที่มีฝีมือถูกจ้างในราคาที่สูงกว่าแรงงานขั้นต่ำหลายเท่า อีกตัวที่เกี่ยวข้องกับค่าแรงขั้นต่ำคือการจ่ายค่าชดเชยของผู้ประกอบการที่เลิกจ้าง เป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบแรงงาน

 

 

3. ปัญหาความรู้ความสามารถของคนไทย?

คำตอบ : คนไทยเป็นคนที่มีความสามารถในตัวเองสูง ส่วนของผู้ประกอบการ (เจ้าของ) ขาดการมองระยะไกล มองผลประโยชน์ของตัวเอง แข่งขันชิงดีชิงเด่นกันเอง ไม่ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน ขาดการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพ หวังผลระยะสั้น ขาดความจริงใจ ไม่เห็นความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไม่ลงทุนด้านคน

มนุษย์เงินเดือน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เนื่องจากไม่ได้รับการตอบแทนที่เหมาะสมกับค่าครองชีพ ขาดความมั่นคงทางอาชีพ ไม่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมด้านการพัฒนาทุนมนุษย์จากผู้ประกอบการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องร่วมมือกันทั้งสามฝ่าย ได้แก่ฝ่ายผู้ประกอบการ ฝ่ายมนุษย์เงินเดือน ฝ่ายการศึกษา โดยต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

คนไทยเก่งและฉลาดแต่ขาดโอกาสในการเรียนรู้ และขาดการสนับสนุน คนไทยสู้ต่างชาติได้สบายถ้าได้รับการพัฒนาทุนมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

ปัญหาและอุปสรรค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่ระบบและกลไกของธุรกิจ SMEs และ MSEs ไทย ต้องแก้ที่ระบบและกลไกของภาคธุรกิจ ทำให้ธุรกิจ SMEs และ MSEs ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมพอเพียงกับค่าครองชีพ ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มองเห็นอนาคตในอาชีพ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

มีนาคม 2554

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชาญโชติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 09:29 น.
 

ชมรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเมือง

พิมพ์ PDF

ผมเองเคยพยายามจัดตั้ง ชมรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านที่ผมอยู่ โดยเริ่มจากการจัดหาองค์กรที่สามารถให้การสนับสนุนได้ และผมก็สามารถหาผู้สนับสนุน จากมหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิต โรงเรียนราชวินิจ บางเขน โรงเรียนการเคหะท่าทราย โรงเรียนอนุบาลเข็มทอง องค์กรเหล่านี้จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนโดยการเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในหน่วยงานของตน ทำให้ผมสามารถสร้างเครือข่ายได้ในทุกระดับ คือระดับอุดมศึกษา มอบหมายให้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เป็นผู้ขับเคลื่อน ระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย ให้ โรงเรียนราชวินิต บางเขน เป็นผู้ขับเคลื่อน ร่วมกับ โรงเรียนการเคหะท่าทราย และโรงเรียนอนุบาลเข็มทองเป็นผู้ขับเคลือนเด็กอนุบาลและผู้ปกครอง สถาบันการศึกษาทั้ง 4 ให้ความร่วมมือ หลังจากนั้นจึงได้ติดต่อเขต และผู้นำท้องถิ่น และผู้แทนท้องถิ่น เมื่อทุกภาคส่วนเห็นด้วย จึงกำหนดให้แต่ละส่วนจัดหาสมาชิก เพื่อมาเลือกกรรมการเพื่อบริหารงาน ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แต่ปรากฎว่าไม่มีผู้ขับเคลื่อนในการหาสมาชิก และช่วงนั้นผมต้องไปต่างประเทศเป็นเวลา เดือนกว่าๆ เมื่อกลับมาทุกอย่างไม่ก้าวหน้า และผมก็มีงานยุ่งมาก จึงไม่ได้ดำเนินการต่อ

การเรียนรู้ทางทฤษฏีอย่างเดียวไม่เกิดผล ต้องสร้างสังคมที่เรียนรู้จากการปฎิบัติ มีหัวหน้าและกิจกรรมในแต่ละวัย ผมมีการจัดเป็นแผนงานไว้ทุกขั้นตอน แต่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนนั้นๆ ต้องมีทั้งผู้ให้และผู้รับ สร้างงานให้คนในชุมชน ต้องทำให้คนที่ไม่มีงานทำมีรายได้ บริหารความเป็นอยู่ในชุมชนให้สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ ผู้นำชุมชน หรือผู้แทนชุมชนต้องลงมามีส่วนร่วม

ผมได้นำความคิดและการดำเนินการที่ผ่านมาไปนำเสนอในการประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง เมื่อต้นเดือน กันยายน ที่ผ่านมา และได้รับความสนใจจากหลายๆท่านุ ทำให้เห็นช่องทางที่จะนำเข้าเป็นโครงการของวุฒิอาสาธนาคารสทอง ท่านใดสนใจมีส่วนร่วมโปรดติดต่อผมได้ที่ e-mail address: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือโทร 089-1381950

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

 

Seminar on Linked Open Data

พิมพ์ PDF

Seminar on Linked Open Data

(Attached to The 1st SRII Asia Summit 2013)

Centara Grand & Bangkok Convention Centre, Central World, Bangkok
September 18th, 2013

09:00 - 10:00 Introduction to Linked Data and its Life-Cycle
by Soren Auer, University of Bonn and Fraunhofer IAIS, Germany
10:00 - 11:00 From Unstructured information to Linked Data
by Axel-C. Ngonga Ngomo, University of Leipzig
11:00 - 11:15 Coffee Break
11:15 - 12:15 Localization issues to the LOD cloud
by Key-Sun Choi, Korea Advanced Institute of Science and Technology, Korea
12:15 - 13:00 Lunch
13:00 - 13:45 โครงการ Data Taxonomy กรมสรรพสามิต
โดย จุมพล ริมสาคร กรมสรรพสามิต
13:45 - 14:30 Linked Open Government Data
โดย วิลาศ วูวงศ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14:30 - 15:15 การประยุกต์ใช้ Linked Data ในโครงการ Data Taxonomy กรมสรรพสามิต และสาธิตผลงานโครงการ Data Taxonomy กรมสรรพสามิต
โดย ชุติพร อนุตริยะ, มหาวิทยาลัยชินวัตร และทีมงาน
15:15 - 15:30 Coffee Break
15:30 - 16:00 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับ Linked Data โดยใช้โปรแกรม OAM
Development of Linked Data Applications using OAM Tools
โดย มารุต บูรณรัช, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

https://sites.google.com/site/lod2013bkk/
 

สังคมไทย

พิมพ์ PDF

วันนี้เข้าร่วมประชุมเชิงวิชาการนานาชาติ The 1st SRII Asia Summit 2013 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ช่วงเช้าเลือกเข้าห้อง Lotus 5-6 Seminar on Linked Open Data หัวข้อ "Introduction to Linked Data and its Life-Cycle by Soren Auer,University of Bonn and Fraunhofer IAIS,Germany  ใช้เวลา 1 ชั่วโมง พอเข้าใจแต่ไม่ทั้งหมด หัวข้อต่อไปได้แก่ "From Unstructured information to Linked Data" by Axel-C.Ngonga Ngomo,University of Leipzig ผู้บรรยายมีความตั้งใจมาก ทำให้ผู้ฟังตื่นตัวและให้ความสนใจ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลทาง IT ซึ่งผมไม่ใช่คนที่เรียนและทำงานด้านไอที จึงไม่เข้าใจ แต่ก็ทนนั่งฟังสักพักใหญ่ๆ เนื่องจากนั่งโต๊ะหน้าและกลัวว่าถ้าลุกออกไปจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดคิดว่าเขาพูดไม่ได้เรื่องผมจึงลุกออกไป แต่ในที่สุดก็ต้องลุกออกไปเนื่องจากไม่เข้าใจจริงๆ และห้องอื่นก็ยังมีเรื่องที่น่าสนใจ จึงไม่ควรเสียเวลาไปโดยไม่ได้อะไร จึงลุกไปเข้าร่วมในห้องใหญ่เป็น Keynote&Panel ในหัวข้อ " Services Innovation Method,Model,and Tool เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ที่เลือกเข้าฟังในห้องนี้ (จะนำสาระมาเผยแพร่ให้ฟังในบันทึกอื่น)

หลังทานอาหารกลางวันช่วงบ่ายได้เลือกเข้าห้องเดิมที่เข้าฟังในช่วงเช้า เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกับช่วงเช้า แต่ครั้งนี้เป็นการบรรยายภาษาไทย หัวข้อ "Linked Open Government Data" บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิลาศ วูวงศ์ ในการบรรยายหัวข้อนี้ ผู้บรรยายได้กล่าวถึงลักษณะของสังคมไทย ทำให้ผู้บรรยายนึกถึงเรื่อง DATA ผมเห็นว่าน่าสนใจและเห็นด้วยจึงขอนำมาเผยแพร่ดังนี้

"สังคมไทยเป็นระบบสังคมที่หลักการหลวม" "Loosely Principled Social System"

เมื่อพึ่งหลักการไม่ได้ก็ต้องพึ่งข้อมูลอย่างเดียว

ลักษณะของสังคมที่หลักการหลวม

๑.เป็นสังคมพรรคพวก เนื่องจากพึ่งหลักการไม่ได้ จึงต้องหาและสร้างพรรคสร้างพวกไว้เป็นที่พึ่ง

๒.เป็นสังคมอุปถัมภ์ ต้องพึ่ง "ผู้ใหญ่" หรือ"ผู้มีบารมี" เพราะพึ่งหลักการไม่ได้ เกิดเป็นการอุปถัมภ์กันขึ้นมา

๓.เป็นสังคมที่ยอมรับความไม่สอดคล้อง เพราะหลักการหลวม จึงยอมรับสิ่งที่ขัดแย้งกันได้โดยไม่รู้สึกอะไร

๔.เป็นสังคมสองหรือหลายมาตรฐาน เพราะยอมรับความไม่สอดคล้องได้โดยไม่รู้สึกอะไร

๕.ย้ายพวกหรือย้ายพรรคกันง่าย เพราะการรวมตัวเป็นพวกเป็นพรรคไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของหลักการ แต่อยู่ที่ผลประโยชน์มากกว่า

๖.ผลประโยชน์ของพวกมาก่อนผลประโยชน์ส่วนรวม (Local optimization over global optimization)

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

18 กันยายน 2556

 

รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา

พิมพ์ PDF

รมตศึกษาธิการคนใหม่ (อย่าเปลี่ยนบ่อยได้ไหมจาตุรนต์ ฉายแสง ประกาศนโยบาย รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา อ่านได้ที่ http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33340&Key=hotnews

เป็นนโยบายที่ผมสนับสนุนเต็มที่ทุกข้อ   แต่มีข้อกังขาว่า รมตจะบริหารงานอย่างไร เพื่อแก้ไขสภาพที่ กลไกในกระทรวงศึกษาธิการ และกลไกทางการเมืองที่เข้าไปครอบงำ และทำร้าย วงการศึกษาของประเทศ กำจัดความชั่วร้าย ในวงการศึกษา    ให้กลไกต่างๆ ดำเนินไปตามคลองธรรม และเพื่อเป้าหมายคุณภาพของการศึกษาอย่างแท้จริง    ไม่ใช่ผลประโยชน์ทางการเมือง หรือผลประโยชน์ส่วนตนของคนบางกลุ่ม

จะเกิดผลได้จริง ต้องลดขนาดของกระทรวงศึกษาธิการส่วนกลางลงสัก ๑๐ เท่า    คนที่ทำหน้าที่ด้านบริหารงาน ๔๐,๐๐๐ คน   ลดลงเหลือ ๔,๐๐๐ คน ก็ยังน่าจะมากเกินไป

ผมสนใจมาตรการข้อ ๖ 6.ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัด และสนับสนุนการศึกษามากขึ้น โดยรัฐจะเข้าไปกำกับควบคุมเท่าที่จำเป็น เพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐาน โดยขอเสนอว่า วิธีดำเนินการตามข้อนี้อย่างจริงจัง คือการใช้เงินงบประมาณจากภาษีของประชาชน สนับสนุนโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชน อย่างเท่าเทียมกัน    คือค่าใช้จ่ายต่อหัวนักเรียนของ รร. รัฐเป็นเงินเท่าไร  รัฐต้องจ่ายให้ รร. เอกชนเท่ากัน เลือกสนับสนุนเฉพาะ รร. เอกชนที่พิสูจน์แล้วว่าคุณภาพสูง

ผมมีความเห็นว่า ปัญหาการศึกษาไทย เป็นปัญหาที่ลึกในระดับโครงสร้าง    ที่ หัวโต” (แต่ไม่มีสมอง และอยู่ที่บริหารแบบรวมศูนย์ โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลงานที่ตกต่ำ

นี่คือการเข้าร่วมมือของผมกับ รมต. จาตุรนต์ ตามข้อ ๖ นี้   คือร่วมโดยให้ข้อคิดเห็น

ผมขอแสดงความชื่นชมมาตรการข้อ ๒ ส่วนที่ว่า มีการพัฒนาระบบประเมินวิทยฐานะครูให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

ในมาตรการข้อ ๑ ปฏิรูปให้มีการเชื่อมโยงกันทั้งหลักสูตร และการเรียนการสอนในโลกยุคใหม่ การพัฒนาครู ระบบการทดสอบ การวัดและประเมินผล”   ผมขอเสนอว่า ต้องกระจายอำนาจในเรื่องเหล่านี้ ให้แก่โรงเรียนและครู   เริ่มด้วยการกระจายอำนาจ และความรับผิดชอบ และสนับสนุนทรัพยากรในการทำงาน ให้แก่โรงเรียนหรือครูที่มีผลงานดี   ผลงานดีหมายถึงผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ดี และจัดกระบวนการเรียนรู้ดี   ซึ่งจะต้องมีการนิยาม สำหรับใช้งาน   ต้องไม่คิดตื้นๆ เพียงที่ผลสอบ O-NET

ระบบคิด วัฒนธรรมรวมศูนย์ วัฒนธรรมอำนาจ สั่งการจากเบื้องบน ในวงการศึกษา คือตัวการบั่นทอนคุณภาพการศึกษาไทย   ทำให้ครูไร้ศักดิ์ศรี  มุ่งแต่ทำตามคำสั่ง ไม่มีโอกาสฝึกฝนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   ไม่มีความภูมิใจในศักดิ์ศรีของความเป็นครู

ระบบวัฒนธรรมของวงการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นครู

มาตรการตามข้อ ๑ หากยังดำเนินการตามวัฒนธรรม คุณค่า เดิมๆ จะไม่ทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น

นี่คือการตอบสนองข้อเรียกร้องของท่าน รมตศึกษาธิการ จาตุรนต์ ฉายแสง

 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ส.๕๖

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2013 เวลา 09:31 น.
 


หน้า 449 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8599024

facebook

Twitter


บทความเก่า