Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

พิมพ์ PDF

คศน. ฟอรั่ม เชิญผมไปพูดเรื่อง ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงสังคม เมื่อวันที่ ๒๐ ก.ค. ๕๖

จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่นี่

ผมพูด ๗๕ นาที มีเวลาเสวนา ๔๕ นาที ในการเสวนามีคนถามว่า ที่ผมพูด เน้นผู้นำที่ลงมือทำ แล้วผู้นำทางความคิดมีไหม ตอนเสวนาไม่ได้บันทึกเสียงลงใน ppt ผมจึงขอนำความเป็นเรื่องนี้มาบันทึกไว้ ว่า ผู้นำทางความคิดอย่างที่มีในสมัยอดีตจะมีได้ยากขึ้นทุกๆ วัน ด้วยนิสัยคนสมัยใหม่ที่ถือตนเองเป็นที่ตั้ง ดัง บันทึกนี้ แต่ความเห็นนี้อาจผิดก็ได้ เพราะในสมัยใหม่ การสื่อสารมีพลังมาก คนที่ต้องการตั้งตนเป็นศาสดา เผยแพร่ลัทธิของตนในคนวงกว้างง่ายกว่าสมัยก่อน

แต่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยคนจำนวนมาก หรือโดยคนส่วนใหญ่ ต้องไม่ยึดมั่น เชื่อ “ผู้นำทางทฤษฎี” โดยไม่ผ่านการทดสอบโดยการปฏิบัติ เพราะทฤษฎีผิดได้ง่าย หากไม่ผ่านการพิสูจน์เสียก่อน ไม่ควรเชื่อทฤษฎี คือต้องยึดหลักกาลามสูตร

 

วิจารณ์ พานิช
๒๒ ก.ค. ๕๖

คัดลอกจากhttp://www.gotoknow.org/posts/546255

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2013 เวลา 09:06 น.
 

เกิดเป็นคนต้องได้ปริญญาสองใบ

พิมพ์ PDF

.ที่เมืองไทยปีที่แล้วมีข่าวเกรียวกราวมาก
คือมีดาราคนหนึ่งซึ่งมีชื่อดังมาก
เป็นคนดำเนินรายการคนค้นคน
ดร.อภิวัฒน์ วัฒนางกูร นะ
มาเรียนที่อเมริกา
เป็นคนเพอร์เฟคชั่นนิส
ทำงานทุกอย่างต้องดูดีที่สุดแม้กระทั้งล้างจาน
ล้างเสร็จแล้วแกต้องเอามาดมดู
ว่าสะอาดจริงมั้ย
กลับไปเมืองไทยก็ไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
มีแฟนก็จีบดาวมหาวิทยาลัยเลย
ต้องให้ดีที่สุด
เวลาแกไปเสนองานอะไรต่าง ๆ
เขียนไว้สามแผน
แผนที่หนึ่งลูกค้าไม่ซื้อ
แกเสนอแผนที่สอง
แผนที่สองลูกค้าไม่ซื้อแกเสนอแผนที่สาม
ใครไปดีลงานกับแกติดทุกราย
แกมีบ้าน มีรถ มีลูก มีภรรยา
มีธุรกิจ
มีชื่อเสียงทุกอย่าง
แกมีทุกอย่าง
วันหนึ่งแกพักผ่อน
หลังจากที่ทำงานแบบไม่ได้พักเลย
ลูกเมียไปขอพบ
บอกไปเจอพ่อที่ออฟฟิต
วันหนึ่งแกไปพักที่ปากช่อง
ตื่นขึ้นมากลางวันล้มฟุ๊บลงไป
ภรรยาพาเข้าโรงบาล
ตรวจพบมะเร็ง
พอพบปุ๊บเป็นระยะสุดท้ายเลย
จริง ๆ เค้าก็เตือนตลอด
แต่พอไม่มีเวลาไปตรวจมันก็แก้ไม่ได้
แกไปนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล
แล้วก็สารภาพให้รายการคนค้นคน
บันทึกชีวิตแก
ก่อนจะเสียชีวิต
แกก็ไปนอนให้พ่อแม่เช็ดเนื้อเช็ดตัว
แกก็บอกว่าสังเวชตัวเองมากแทนที่ลูกจะได้ดูแลพ่อแม่
กลับมาเป็นว่าพ่อแม่ต้องมาดูแลลูก

ก่อนจะเสียชีวิตแกให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์คมชัดลึกบอกว่า
พ่อผมเคยบอกว่า ...
เกิดเป็นคนต้องได้ปริญญาสองใบ

1...ปริญญาใบที่หนึ่ง ....
"ปริญญาวิชาชีพ"
เราจะต้องทำมาหากินเป็น
กินอิ่ม นอนอุ่น พูดง่าย ๆ
ล้วงไปในกระเป๋าแล้วมีเงินใช้
อยากจะนอนมีบ้านเป็นของตัวเอง
แค่นี้คือปริญญาวิชาชีพ

2...แต่"ปริญญาวิชาชีวิต" ..
ซึ่งเป็นปริญญาใบที่สองที่พ่อแกบอกไว้
แกบอกว่าผมสอบตกโดยสิ้นเชิง
ผมเป็นดอกเตอร์จากอเมริกาได้ปริญญาวิชาชีพ
แต่ปริญญาวิชาชีวิตสอบตก
เพราะอะไร
เพราะทำงานจนป่วยตาย

ก่อนที่จะเสียชีวิตแกได้สารภาพว่าผมได้เตรียมทุกอย่าง
บ้าน รถ
มอบมันให้กับลูกและภรรยา
แต่ในวันที่ผมมีทุกสิ่งทุกอย่าง
ผมกลับลืมมอบหนึ่งอย่างให้กับลูกและภรรยา
สิ่งนั้นคือสิ่งที่ผมลืมและทำให้ผมล้มเจ็บใหญ่ครั้งนี้
สิ่งที่ว่านี้คือผมลืมมอบตัวเองเป็นของขวัญให้กับลูกและเมีย
เพราะทำงานหนักจนกระทั่งป่วยตาย

...นี่คือปริญญาวิชาชีวิต ...
ธรรมะเราจะต้องมี
ถ้าเราไม่มีธรรมะ
เราจะกลายเป็นหุ่นยนต์เท่านั้นเอง
ที่ทำงานแทบล้มประดาตายแล้วสุขภาพไม่ดี
ดังนั้นเมื่อเราทุกคนทำงานแล้ว
อย่าลืมชั่วโมงสุขภาพของตัวเองในแต่ละวันนะ
แต่ละวันควรจะมี
ให้ดูแลตัวเอง ดูจิต
ดูใจตัวเอง
ว่าเราเอ๊ะมันทุกข์
มันทุกข์มากเกินไปรึเปล่า
แบกเรื่องโน้นเรื่องนี้
เกินไปหรือเปล่า
พยายามลดลงในแต่ละวัน ๆ
เพื่อที่ว่าอะไร
เพื่อที่ว่าเราจะได้ปริญญาสองใบในชีวิต
หนึ่งปริญญาวิชาชีพ
เราทำมาหากินจนประสบความสำเร็จร่ำรวยมั่งคั่ง
มีเงินมีทองใช้มีบ้านอยู่
แต่ต้องไม่ลืมปริญญาใบที่สอง
คือวิชาธรรมะ
สำหรับจะดูแลชีวิตให้ดำเนินอยู่ในทางสายกลาง
ไม่ทุกข์เกินไปไม่เดือนร้อนเกินไป
ทำอะไรให้พอดี
พอดีอยู่ดีมีสุข
อยากเที่ยวให้ได้เที่ยว
อยากพักให้ได้พัก
อยากทำบุญให้ได้ทำบุญ
ลูกหลานมาหาก็ให้ได้มีเวลากับลูกกับหลานบ้าง
อย่าวิ่งไปจนซ้ายสุด ขวาสุด
และมารู้สึกตัวอีกทำจนล้มเจ็บใหญ่ไม่ดี
เพราะอะไร
เพราะว่าสิ่งสูงค่าทีสุดในชีวิตของเรา

เคยมีคนไปทูลถามพระพุทธเจ้า..
ว่าอะไรคือสิ่งสูงค่าที่สุด
บางคนก็ตอบเงิน
บางคนก็ตอบเพชร
บางคนก็ตอบทอง
บางคนก็ตอบอำนาจ
บางคนก็ตอบราชบัลลังก์

พระพุทธเจ้าบอกไม่ใช่
สิ่งสูงค่าที่สุดในชีวิตของพวกเธอคือสุขภาพและชีวิต..
สุขภาพก็คือการที่เราไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
คนที่สุขภาพดีดื่มน้ำธรรมดาก็อร่อยนะ
และก็ชีวิตของเรา

หากบุญกุศลอันใดจะเกิดได้จากการเผยแพร่เรื่องราว 
ผู้บันทึกก็ขอให้กุศลผลบุญนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขเพื่อปัญญาของเพื่อนผู้ร่วมวัฏฏะทุกท่าน และขอให้ ดร.อภิวัฒน์ ไม่ว่าจะไปอยู่ภพไหนหนใดก็ขอให้มีปัญญาเท่าทันต้นเหตุแห่งทุกข์เช่นที่ท่าน ได้ถ่ายทอดเรื่องราวเตือนสติผู้อื่นไว้...
...ขอขอบพระคุณในข้อคิดดีดี...

คัดลอกมาจาก facebook

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๗๐. งานมอบรางวัลสิปปนนท์ ครั้งที่ ๖

พิมพ์ PDF

ผมบันทึกเรื่องงานมอบรางวัลสิปปนนท์ครั้งที่ ๔ เมื่อปี ๒๕๕๔ ไว้ที่นี่ ปีที่แล้วผมไม่ได้ไปร่วมเพราะติดนัดไปต่างจังหวัดเสียก่อนทราบกำหนดวันมอบรางวัล ท่านที่สนใจงานมอบรางวัลสิปปนนท์ ครั้งที่ ๕ ชมได้ ที่นี่ คราวนี้พิธีจัดวันที่ ๕.. ๕๖ ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ที่ท่านอาจารย์สิปปนนท์เป็นนายกสภาอยู่จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต โดยองค์ปาฐกปีนี้คือ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร   บรรยายเรื่อง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย สู่ประชาคมอาเซียน

 

ผู้ได้รับรางวัล ๒ ใน ๕ คนมารับรางวัลเองไม่ได้   คุณแม่มารับแทน   ตอนช่วงสัมภาษณ์ผู้ได้รับรางวัลโดยมี นศ. ของ มธบ. เป็นผู้สัมภาษณ์สนุกมาก   เพราะคุณแม่ ๒ คนเล่าเรื่องลูกสนุกมาก    คนที่เล่าเก่งที่สุดมาจากหาดใหญ่เป็นแม่ของ นส. กรวีร์ พฤกษานุศักดิ์ ซึ่งได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา     ผมเห็นนามสกุลก็จำได้ ว่าน่าจะเป็นลูกของ ผศ. นพ. โกวิทย์ พฤกษานุศักดิ์ อาจารย์ภาควิชาโสต ศอ นาสิกฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์    ที่มีลูก ๓ คน สอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้ทุกคน   คนโตตอนนี้เรียนแพทย์ที่จุฬาฯ    คนนี้เป็นคนที่ ๒   ส่วนคนที่ ๓ อยู่ชั้น ม. ผมได้แสดงความยินดีกับคุณแม่ ที่เลี้ยงลูกเก่ง เวลาลูกได้ดี เราจะสรรเสริญแม่

 

 

ในช่วงการสัมภาษณ์ นิสิตที่มารับรางวัลทั้ง ๓ คน (เรียนจุฬาฯ ทั้ง ๓ คน) บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า    ที่ผลการเรียนดีนั้น เพราะรู้จักแบ่งเวลา    กำกับการเรียนของตนเองได้    ผมสรุปกับตนเองว่า คนหนุ่มสาวเหล่านี้เป็นคนที่มีวินัยในตน หรือบังคับตัวเองได้    ไม่เกียจคร้าน ไม่คบเพื่อนไปในทางเสื่อม

 

 

ช่วงที่ประเทืองปัญญาอย่างยิ่งคือ ปาฐกถาของ ดร. กฤษณพงศ์ ซึ่งท่านพูดกว้างกว่าหัวข้อ   คือกล่าวถึง การสร้างความเข้มแข็งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย ทั้งหมด    ยกเอาตัวอย่างดีๆ ในต่างประเทศ ที่ท่านเคยไปดูงาน    ฟังแล้วผมรู้สึกว่า ท่านได้รู้ได้เห็นกว้างมาก   ทำให้นึกถึงตนเองว่า ผมเป็นคนรู้น้อย    โอกาสเรียนรู้มาจากการอ่านและการสังเกตเป็นหลัก   ไม่มีโอกาสไปเห็นที่ต่างๆ ในต่างประเทศ

 

ในงานแจกเอกสาร ๒ชุด คือ () ศักยภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยอยู่ตรงไหน () รายงานการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ และข้อเสนอเชิงนโยบาย เสนอต่อ สวทน. เสียดายที่เอกสารชุดที่สองนี้ไม่มีใน อินเทอร์เน็ต

 

 

ดร. กฤษณพงศ์ พูดเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษเป็นหลัก    และพูดได้ดีจริงๆ รวมทั้งประเทศไทยก็เอาใจใส่เรื่องนี้มาก และทำได้ดีในระดับหนึ่ง    แต่ยังไม่เข้มข้นหรือมีคุณภาพสูง เท่าที่ทำกันในประเทศตะวันตก และเรามักให้ นร./นศ. ได้ฝึกฝนเรียนรู้เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์    แต่เด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศจะได้รับการฝึกด้านความรับผิดชอบ  ด้านศิลปะ  และด้านอื่นๆ ด้วย    ผมนึกในใจว่า การศึกษาของเขาเป็นการเรียนรู้ครบด้าน   แต่วงการศึกษาของไทยให้คุณค่าการเรียนเฉพาะวิชา ไม่เน้นการเรียนที่ครบด้าน

 

 

ผมดีใจ ที่มีการใช้ท่าน ศ. ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต เป็นตัวอย่างของบุคคลที่เก่งและเป็นคนดี    รศ. ดร. มารินา เกตุทัต คาร์นส ธิดาของท่าน ผู้ทำหน้าที่พิธีกร   ได้กล่าวย้ำกับนิสิตที่มารับรางวัลว่า เก่งอย่างเดียวไม่พอนะลูก  ต้องเป็นคนดีด้วยท่านอธิการยดี มธบ. รศ. ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ ก็ย้ำ และ ดร. กฤษณพงศ์ ก็กล่าวย้ำแล้วย้ำอีก

 

ท่านอาจารย์สิปปนนท์ เป็นครูของผม   เป็นครูจากการทำงานร่วมกัน    ไปร่วมงานนี้ทีไร ผมนำเงินจำนวนหนึ่งไปร่วมบริจาคเข้ากองทุนรางวัลสิปปนนท์ เกตุทัตด้วย    ผมขอเชิญชวนให้ท่านที่เคารพนับถือท่านร่วมกันบริจาค    เพื่อนำเงินไปทำประโยชน์แก่สังคม โดยอาศัยความดีของท่านเป็นเครื่องชี้นำ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ก.ค. ๕๖

 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/545391

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2013 เวลา 06:52 น.
 

ขบวนการปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพไทยเดินหน้า

พิมพ์ PDF

วันที่ ๕ - ๖ ก.ค. ๕๖ มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ Leadership Forum on Health Professional Development ครั้งที่ ๒ ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล   ผมไปร่วมเช้าวันที่ ๕ ได้ครึ่งวัน   ได้ฟังและให้ความเห็นต่อโครงการจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ๓ โครงการ    จากทั้งหมด ๙ โครงการที่จะมีการนำเสนอในการประชุมครั้งนี้

 

ดูรูปหมู่ของการประชุม Leadership Forum ครั้งที่ ๑ ได้ ที่นี่ การประชุมนี้จัดที่กระบี่ระหว่างวันที่ ๒๓ ๒๔ เม.ย. ๕๖ เสียดายที่ผมยุ่งๆ เริ่มเขียนบันทึกแล้วเผลอลืมไป    การประชุมครั้งนั้นได้ผลดี มีการนำเสนอโครงการวิจัยที่จะดำเนินการ ๑๑ โครงการ    และมีแนวโน้มจะเกิดโครงการพัฒนาและวิจัย เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ของวิชาชีพสุขภาพหมายวิชาชีพ   จนตกลงกันว่าจะมีการประชุม Leadership Forum ครั้งที่ ๒ โดยคณะแพทยศาสคร์ศิริราชพยาบาลเป็นเจ้าภาพ    และครั้งที่ ๓ ที่รามาฯ

 

ผมเขียนบันทึกเล่าเรื่องการปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพไทยไว้ ที่นี่ ท่านที่สนใจความเคลื่อนไหวในประเทศไทยทั้งหมด ดูได้ ที่นี่

 

ขบวนการปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพไทยเดินหน้าด้วย สองขา”   คือขาศึกษาภาพรวมของการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพไทยในปัจจุบัน    โดยทำร่วมกัน ๕ ประเทศ คือ บังคลาเทศ  จีน  อินเดีย  เวียดนาม  และไทย    เลือกทำเฉพาะ ๓ วิชาชีพ คือ สาธารณสุข  พยาบาล  และแพทย์    แต่ไทยทำเพียง ๒ วิชาชีพ คือพยาบาล กับแพทย์   เพราะวิชาชีพสาธารณสุขของไทยมีความหลากลายซับซ้อนมาก จนคิดว่าจะทำไม่ทันตามกำหนดเวลา

 

ขาที่สองคือ Leadership Forum นี่แหละ    เป็นยุทธศาสตร์ต่อยอดกิจกรรมการดำเนินการพัฒนา วิธีการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทาง 21st Century Health Professional Education Reform ที่มีอยู่แล้ว    ที่อาจเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์เล็กๆ โดยอาจารย์ไม่กี่คน หรือคนเดียว   แต่เป็นโครงการที่จะนำไปสู่ การปฏิรูปใหญ่ได้    นำมา ลปรร. กัน และช่วยกันสนับสนุนให้ทำได้ อย่างมีพื้นฐานของวิธีวิทยาด้านการวิจัย หนักแน่น   ให้เป็นผลงานวิชาการด้านการเรียนการสอนได้

 

การสนับสนุนขาที่สองนี้ จะทำอย่างเป็นระบบ ครบวงจร   จะมีการดำเนินการปรับปรุงระบบการเข้าสู่ ตำแหน่งวิชาการให้ยอมรับผลงานวิชาการด้านการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอน

 

จากการริเริ่มสร้างสรรค์ของคนเล็กคนน้อย จะมีกระบวนการรวมตัวกันเป็นขบวนการเปลี่ยนแปลง ระบบ   ให้ระบบการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพไทย เป็นระบบที่ก้าวหน้า    หนุนระบบสุขภาพที่เราภาคภูมิใจ ว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง   ภายใต้แนวคิด Good Health at Low Cost และมีระบบคุ้มครอง สุขภาพถ้วนหน้า (UHC – Universal Health Coverageที่เข้มแข็งและคุณภาพดี   ให้พัฒนาต่อเนื่องยิ่งๆ ขึ้นไป   ฟันฝ่าความท้าทายกระแสทุนนิยมสุดขั้วที่จะเข้ามากัดกร่อนระบบสุขภาพของเราได้    และให้ระบบการศึกษากับระบบบริการสุขภาพมีความเชื่อมโยงเอื้อต่อกัน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ก.ค. ๕๖

คัดลอก http://www.gotoknow.org/posts/545392

 

 

 

บรรยากาศในห้องประชุม

 

อีกมุมหนึ่ง

 

ศ. นพ. อุดม คชิณทร คณบดีศิริราชกล่าวต้อนรับ

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2013 เวลา 06:56 น.
 

บรรยายในหัวข้อ AEC2015-Thailand as a hub for the Greater Mekong Subregion Implication to Hong Kong

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2556 ได้รับเกียรติจากประธานThailand-Hong Kong Business Counsil คุณวงศ์ทิพย์ ชุ่มภาณี ให้ผมบรรยายในหัวข้อ AEC2015-Thailand as a hub for the Greater Mekong Subregion Implication to Hong Kong ให้กับนักธุรกิจชาวฮ่องกง 30 คน ณ โรงแรม Grand Hyatt Erawan Bangkok ครับ

 

 

 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/545373

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2013 เวลา 23:45 น.
 


หน้า 453 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8560418

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า