Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 603. การสนทนาเพื่อปลดปล่อยความรู้ฝังลึก

พิมพ์ PDF
การพูดคุยแบบรังสรรค์ (generative conversation) จะช่วยให้ความรู้ที่ซ่อนอยู่ เผยตัวออกมา การพูดคุยแบบนี้เน้นการตั้งคำถาม ในบรรยากาศเท่าเทียมกัน และร่วมมือกัน คุยกันด้วยท่าทีเปิดกว้าง มีการตั้งคำถาม เพื่อเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายหนึ่งออกความเห็นออกมาจากใจ ไม่เน้นถูก-ผิด

 

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ  : 603. การสนทนาเพื่อปลดปล่อยความรู้ฝังลึก

หนังสือ The Inquiring Organization : Tacit Knowledge, Conversation, and Knowledge Creation Skills For 21st Century Organization ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004   บทที่ ๘ เรื่อง Tacit Knowledge and Conversation  แนะนำวิธีสนทนาเพื่อให้ความรู้ฝังลึกออกมาทำงาน

การพูดคุยแบบใช้อำนาจเหนือ จะปิดกั้นความรู้ฝังลึก ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์  การพูดคุยแบบรังสรรค์ (generative conversation) จะช่วยให้ความรู้ที่ซ่อนอยู่ เผยตัวออกมา  การพูดคุยแบบนี้เน้นการตั้งคำถาม  ในบรรยากาศเท่าเทียมกัน และร่วมมือกัน  คุยกันด้วยท่าทีเปิดกว้าง  มีการตั้งคำถาม เพื่อเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายหนึ่งออกความเห็นออกมาจากใจ ไม่เน้นถูก-ผิด

ท่าที ๓ อย่าง มีความสำคัญต่อการปลดปล่อยความรู้ฝังลึก  และช่วยให้เกิดการสร้างความรู้

1.  เป็น “ผู้ไม่รู้ ท่าทีเช่นนี้ จะเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายหนึ่ง หรือคนอื่นๆ แสดงความคิดเห็นออกมา  รวมทั้งช่วยสร้างบรรยากาศของความเท่าเทียมกัน  ไม่เน้นอันดับการบังคับบัญชา  ท่าที “ผู้ไม่รู้” ของฝ่ายผู้ฟัง จะช่วยให้ฝ่ายผู้ฟังเอาใจใส่ “การสนทนาออกมาภายนอก” (outer conversation) ของผู้อื่น  และในขณะเดียวกัน เอาใจใส่ “การสนทนาภายใน” (inner conversation) ของตนเอง

2.  สนใจอยากรู้ การแสดงความคิดเห็นของคนที่อยู่ในสภาพนี้ จะอยู่ในท่าทีไม่สรุป ไม่มั่นใจ  และอยากฟังข้อคิดเห็นแบบอื่น  จะช่วยกระตุ้นผู้อื่นให้แสดงข้อคิดเห็นที่หลากหลายออกมา

3. ร่วมมือช่วยเหลือกัน เพื่อให้ความรู้ฝังลึกที่ร่วมกันปลดปล่อยออกมา รวมตัวและสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ หรือการแก้ปัญหา

ท่าทีทั้งสาม ทำให้เกิดบรรยากาศของการตั้งคำถาม หรือสนใจใคร่รู้ร่วมกัน  ทำให้เกิดความร่วมมือกันมองหา หรือสร้าง มุมมอง โอกาส แนวคิด หรือแนวทางใหม่ๆ ร่วมกัน

ท่าทีทั้งสามจึงเป็นบ่อเกิดของความสร้างสรรค์ (creativity)  แบบที่เป็นความสร้างสรรค์ร่วม (collective creativity)

วิจารณ์ พานิช

๗ ส.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/545269

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 14:13 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๖๘. เข็มทิศสังคม

พิมพ์ PDF

อ. ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และ อ. สุภรต์ จรัสสิทธิ์ แห่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม. มหิดล นัดมาสัมภาษณ์ เช้าวันที่ ๒ ก.ค. ๕๖ เพื่อประเมินแผนงาน NPI ของ สสส.  ที่ผมเป็นประธานคณะกรรมการชี้ทิศทาง  และเคยเล่าเรื่องราวไว้ ที่นี่ และมีเว็บไซต์ของโครงการ ที่นี่ โครงการนี้ดำเนินการโดยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ

ผมมองโครงการ NPI เป็น “เข็มทิศสังคม”  เราต้องการเข็มทิศใหม่  เพราะเข็มทิศเดิมที่ใช้อยู่มันชักนำโลก ไปในทางที่บิดเบี้ยว หรือสุดโต่ง ไร้สมดุลหรือความพอดี

เข็มทิศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ GDP  ชี้แต่ผลสำเร็จทางเศรษฐกิจ  ยิ่งนับวันก็จะเห็นว่า มันชักนำผู้คนและสังคม ไปในทางแห่งความโลภ เห็นแต่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นหลัก

มีความพยายามที่จะหาเข็มทิศใหม่มาใช้นำทางสังคม  NPI เป็นหนึ่งในนั้น

แผนงาน NPI ระยะแรกดำเนินการมาเกือบ ๓ ปี  และได้ข่าวว่า สสส. จะให้ทุนสนับสนุนต่อในระยะที่ ๒  เพื่อสนับสนุนการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับตำบล  อำเภอ  และจังหวัด

GDP มีจุดแข็งตรงที่มันเป็นตัวเลขตัวเดียว ดูง่าย เข้าใจง่าย ใช้เปรียบเทียบได้ง่าย  และจุดอ่อนของมันก็คือสิ่งเดียวกันกับจุดแข็ง  คือมันง่ายจนมันไม่ได้บอก “สุขภาวะ” ที่แท้จริงของสังคม  และผู้คนมักโมเมว่าตัวเลข GDP บอกความเจริญก้าวหน้าของสังคม  ซึ่งจริงเพียงไม่ถึงครึ่ง  ยังมีส่วนอื่นที่ GDP ไม่ได้บอกหรือบอกไม่ได้  แต่มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนมากเท่าหรือมากกว่า คือด้าน

วิจารณ์ พานิช

๒ ก.ค. ๕๖

คัดลอกจาก

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 14:30 น.
 

บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก

พิมพ์ PDF

บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก

ข่าวนี้ บอกเราว่า มีผู้เรียนในสาขาวิทยาศาสตร์น้อยเกินไป  แต่เมื่ออ่านรายละเอียดแล้ว พบว่าเป็นข่าวที่ไม่แม่นยำอย่างยิ่ง  และในความเห็นของผม เป็นการให้ความเห็นผิดๆ ต่อสาธารณชน  แต่ข่าวนี้มีส่วนน่าสนใจตรงนำเราไปสู่บทความในวารสาร Nature เรื่องEducation : The PhD Factory ที่น่าอ่านมาก

บทความใน Nature นี้ เป็นการนำเสนอสถานภาพของบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอกของทั่วโลก  เปรียบเทียบระหว่างประเทศ

เริ่มด้วยประเทศญี่ปุ่น ที่มีปัญหามาก  รัฐบาลมีนโยบายและแผนเพิ่มจำนวนผู้จบปริญญาเอก และ postdoc  แต่เมื่อจบแล้วคนเหล่านี้ไม่มีงานทำ  รัฐบาลถึงกับต้องจ่ายเงินให้บริษัทจ้างคนเหล่านี้ไปทำงาน  แต่บริษัทก็บอกว่า ไม่รู้จะจ้างไปทำไม เพราะความรู้ความสามารถไม่ตรงความต้องการ  ผมไม่นึกเลยว่าจะได้ยินเรื่องแบบนี้จากประเทศญี่ปุ่น ที่ผมนับถือว่ามีความรอบคอบสูง

ถัดมาคือจีน ที่เวลานี้ผลิตบัณฑิต ป. เอกสูงที่สุดในโลก คือปีละ ๕ หมื่นคน  แต่มีปัญหาคุณภาพ  และเขามีวิธีแก้ปัญหาหลายอย่าง

สหรัฐอเมริกา ผลิต ป. เอกได้มากเป็นที่ ๒ รองจากจีน  มีความท้าทายเรื่อง การผลิตให้ตรงความต้องการ  ข้อมูลในบทความเกี่ยวกับเงินเดือน น้อยกว่าที่ผมคิดมาก  และบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์ตกงานมากอย่างน่าตกใจ  ในขณะที่คนจบ ป. เอกสาขาสังคมศาสตร์หางานง่ายกว่ามาก  เป็นความจริงที่ผมแปลกใจ

เยอรมนี ดูจะเป็นประเทศที่มีความสำเร็จสูงที่สุด  โดยที่ในอดีตมีปัญหาผลิตมากเกินไป  การเรียน ป. เอกในเยอรมันมีลกษณะพิเศษ ๒ อย่าง  (๑) ไม่ถือเป็น นศ.  แต่ถือเป็นทีมวิจัย  (๒) ไม่เน้นผลิตไปทำงานวิชาการเท่านั้น  แต่เน้นผลิตไปทำงานในภาคการผลิตด้วย  เขาบอกว่า เพียงร้อยละ ๖ ของคนจบ ป. เอกสายวิทย์ ไปทำงานในภาควิชาการ  คำอธิบายคือ เงินเดือนต่ำ และก้าวหน้าช้า

อีก ๓ ประเทศที่เขาเอ่ยถึงคือ โปแลนด์  อียิปต์ และอินเดีย

สรุปได้ว่า ประเด็นสำคัญของการศึกษาระดับปริญญาเอกก็คือ ทำอย่างไรให้มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบ การพัฒนาประเทศ  ให้มันสอดคล้องกับงาน และความต้องการคนของภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ   ในประเด็นนี้ ตรงกับข่าวในเดอะเนชั่น  ที่รองเลขาธิการ กกอ. บอกว่า  สกอ. ไม่มีตัวเลขทำนายความต้องการ ของประเทศ  แต่ผมคิดว่า สกอ. น่าจะมีตัวเลขจำนวนการผลิตในสาขาต่างๆ มาบอกสังคม  และตามข่าว ที่บอกว่า ประเทศไทยขาดแคลนคนจบ ป. เอกด้านการศึกษานั้น ผมคิดว่าไม่จริง  ผมคิดว่าเราผลิต ป. เอกด้านการศึกษาแบบเฟ้อจำนวน แต่หย่อนคุณภาพอย่างน่าตกใจ

ผมคิดว่า ประเทศไทยต้องดำเนินการวางแผนการผลิต ป. เอกของตนเอง  เชื่อมโยงกับแผนการส่งคน ไปเรียนต่อต่างประเทศ  เราไม่ควรมองว่า หากจะให้ได้บัณฑิต ป. เอกที่มีคุณภาพ ต้องส่งไปเรียนต่างประเทศ เท่านั้น

และในขณะเดียวกัน ต้องหาทางป้องกัน การผลิต ป. เอก แบบคุณภาพต่ำ

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/544529

 

ทบทวนความรู้เรื่อง Knowledge Translation

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง  Is it time to drop the ‘knowledge translation’ metaphore? A critical literature review ให้ความรู้เรื่อง knowledge translation และ tacit knowledge ดีมาก  โดยเป็นบทความที่ตีพิมพ์ในปี ๒๕๕๔  ผมชอบคำ from bench to bedside (T1)  และ from campus to clinic (T2)  และหากเติมภาคไทย จากหิ้งสู่ห้าง ก็จะยิ่งครบถ้วนมากขึ้น   แนวคิด KT เป็นตัวบอกว่า จากผลงานวิจัยสู่การประยุต์ใช้มีหลายขั้นตอน  ความคิดว่านักวิจัยคนเดียวต้องวิจัยขั้นตอนเดียว สู่การประยุกต์ใช้ได้เลย เป็นความคิดที่ตื้นเขิน  ไม่เป็นไปตามธรรมชาติของการวิจัยโดยทั่วไป

อ่านบทความแล้วผมนึกถึง Technology Assessment  ซึ่งผมตีความว่า ต้องมี TA ก็เพราะ KT มันมีจุดอ่อนที่มักเข้าข้างตัวเอง   และอาจเผลอคิดแบบ linear  ไม่คิดแบบซับซ้อน

จากการที่เรื้อจากวงการวิชาการไปนาน ผมอ่านบทความแล้วตื่นตาตื่นใจไปกับวิธีวิทยาที่หลากหลายขึ้น  มีคำใหม่ๆ ได้แก่systematic reviewoverviewconcept mapnarrative synthesis

ผมชอบมาก ที่เขาอ้าง อริสโตเติ้ล ว่า ความรู้มี ๓ ส่วน คือ ความจริง (fact)  ทักษะ (skill)  และ ปัญญาปฏิบัติ หรือ

ปัญญาญาณ (phronesis หรือ intuition)  และผมเองก็เชื่อเช่นนั้น  การเรียนรู้มีเป้าหมายให้บรรลุ ความรู้ทั้งสามส่วนนี้อย่างครบถ้วน จึงจะเรียกว่า รู้จริง

และชอบที่มีคนบอกว่า เวชปฏิบัติไม่ได้เป็นศิลปะ และไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการปฏิบัติ เป็นการตัดสินใจลงมือปฏิบัติตามสถานการณ์ที่จำเพาะ ภายใต้ความรู้เชิงทฤษฎีที่มีอยู่   ผมนึกขึ้นว่า จะปฏิบัติได้ดีต้องมีความรู้เป็นพื้นฐานมาก และมีการฝึกใช้ความรู้นั้นจนคล่องแคล่วในหลากหลายสถานการณ์  ดังนั้น ในยุคปัจจุบัน คำว่า “รู้มากยากนาน” จึงไม่เป็นความจริง  จะจริงต่อเมื่อมีแค่รู้ ไม่ได้ฝึกใช้ความรู้

เขาเรียกความรู้เพื่อการปฏิบัติงานว่า “knowledge-in-practice-in-context”  คือแม้แพทย์จะรู้ว่าเรื่องนั้นมี guidelines อยู่ ก็จะไม่เปิดดูทุกครั้งที่ปฏิบัติรักษาผู้ป่วย  แต่จะใช้ “mindlines” ภายในใจของตน  ซึ่งผมตีความว่า แพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจะมีชุดความรู้อยู่เป็นชุดๆ ภายในใจของตน (เรียกว่า schema)  ให้หยิบเอามาใช้ได้ทันที

KT เป็นกระบวนการทิศทางเดียว และเต็มไปด้วยอคติ หรือผลประโยชน์แอบแฝง

อ่านบทความนี้แล้ว ผมสรุปกับตนเองว่า กระบวนการของการเรียนรู้ และความรู้ มันซับซ้อนเกินกว่าถ้อยคำที่จะบรรยายได้  คำๆ เดียวจึงไม่เพียงพอสำหรับใช้งาน

เขามีคำอีกหลายคำเสนอมาให้ใช้ทดแทน KT ในสถานการณ์ต่างๆ ได้แก่ phronesis, mindlines, knowledge intermediation, และ language games  รวมทั้งเสนอประเด็นวิจัย เพื่อช่วยให้ความรู้ไปสู่ผู้ใช้หรือผู้กำหนดนโยบายง่ายขึ้น

ทำให้ผมนึกถึงสมัยทำงานที่ สกว.  เราจัดกระบวนการจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนา  ที่ “ผู้ใช้” เข้ามาร่วมตั้งโจทย์ และร่วมกระบวนการวิจัยเป็นระยะๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ  เราพบว่า intelligent users สามารถมา capture ความรู้ไปใช้ได้เอง ตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆ ของกระบวนการวิจัย  ผมได้เขียนไว้ในหนังสือ การบริหารงานวิจัย : แนวคิดจากประสบการณ์ ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็น in situ knowledge translation

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๔ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/544421

 

Service Learning (เรียนโดยบริการสังคม)

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmer และ Arthur Zajonc ซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี “พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit)  หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน (Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษา เข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว  แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน  ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๕ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของ Appendix B : Beyond the Classroom  เรื่อง Service Learning : Inspired by a Student เขียนโดย Marshall C. Eakin, Director of the Ingram Scholars Program, Professor of History, Vanderbilt University   เล่าเรื่องการเกิดรายวิชาเรียนที่บูรณาการการเรียนวิชากับการบริการชุมชน/สังคม เข้าด้วยกัน  โดยผู้มาจุดประกายเป็น นศ.  เหตุเกิดปี พ.ศ. ๒๕๓๙ หรือ ๑๗ ปีมาแล้ว

นศ. หญิงผู้นี้ชื่อ Rachel McDonald เพิ่งไปเข้าค่ายพัฒนาชุมชนที่ประเทศเปรู  กับ ASB (Alternative Spring Braek)  และคิดว่ากิจกรรมค่ายพัฒนาน่าจะจัดร่วมกับวิชาเรียนได้  เช่นการไปเข้าค่ายพัฒนาประเทศในละตินอเมริกา น่าจะจัดร่วมกับการเรียนวิชาละตินอเมริกาได้  เธอไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาของเธอ ซึ่งรู้จัก ศ. เอกิ้น ว่าสอนวิชานี้  จึงแนะนำให้มาหา

ปะเหมาะกับช่วงเวลานั้น ศ. เอกิ้น ทำหน้าที่เป็นกรรมการประเมินการทำหน้าที่บริการวิชาการแก่สาธารณะและจิตอาสาในวิทยาเขต  ทำให้ได้พบอาจารย์และ นศ. ที่เอาจริงเอาจังด้านบริการสาธารณะหลายคน  โดยมีบางคนเป็นอาจารย์ที่ Peabody Collegeของมหาวิทยาลัย แวนเดอร์บิ๊ลท์  และที่นี่มีรายวิชา service-learning อยู่ด้วย   เป็นครั้งแรกที่ ศ. เอกิ้น ได้รู้จัก service learning หรือการเรียนแบบให้บริการไปพร้อมกัน

ศ. เอกิ้น กับราเชลจึงร่วมมือกันศึกษาลู่ทางจัดรายวิชา service learning ในประเทศละตินอเมริกา  ซึ่งในที่สุดก็เลือกประเทศชิลี  ในปี ๒๕๔๐ ราเชล ไปศึกษาเตรียมความพร้อมในพื้นที่ร่วมกับเพื่อน ที่เรียนวิชาเอก Latin American Studies   โดยราเชลได้รับ Ingram Scholarship  แล้วในปี ๒๕๔๑ ก็เกิดรายวิชา ๓ หน่วยกิต ชื่อ The Historical Roots of Contemporary Chilean Social Problems  สอนโดย ศ. เอกิ้น มีราเชลเป็น นศ. ผู้ช่วย  มี นศ. ลงทะเบียนเรียน ๑๒ คน   ในช่วงเวลา Maymester (เดือนพฤษภาคม)   ไปทำงานอาสาที่หมู่บ้านเล็กๆ ที่มีประชากร ๓๐๐ คน ในชิลี  โดยไปพักและทำงานร่วมกับโรงเรียนอาชีวศึกษาระดับมัธยมที่เป็นโรงเรียนกินนอน  ไปสร้างห้องซักผ้าให้  และสอนนักเรียน  พร้อมกับเรียนวิชาอย่างเข้มข้น  ใช้เวลา ๔ สัปดาห์

ประสบการณ์นี้สร้างความกระตือรือร้นแก่ ศ. เอกิ้นมาก  และได้ร่วมมือกับอาจารย์ท่านอื่่นจัดรายวิชา service learning ขึ้นในชุมชน ฮิสปานิก ในเมืองแนชวิลล์ ที่มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิ๊ลท์ ตั้งอยู่

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิ๊ลท์ ตั้ง VIO (Vanderbilt International Offoce)  ศ. เอกิ้น ก็ได้มีส่วนผลักดันให้เกิด โปรแกรม VISAGE (Vanderbilt Initiative for Scholarship and Global Engagement)  ที่ นศ. ได้รับทุนเรียนวิชา ๓ หน่วยกิต โดยไปทำ service learning ในต่างประเทศ

อ่านเรื่องนี้แล้วผมนึกถึงประชาคมอาเซียน  สถาบันอุดมศึกษาไทยน่าจะร่วมมือกับ สกอ.  สมาคมประชาคมอาเซียน  และสำนักงานเลขาธิการอาเซียน  จัดหลักสูตร service learning ทำนองนี้  โดยก่อน นศ. ออกไปต่างประเทศ ควรได้เรียนภาคทฤษฎี และฝึกทักษะ AAR เพื่อเตรียมความพร้อมเสียก่อน

ที่จริงในประเทศไทยมีอาจารย์ (และเป็นผู้บริหารด้วย คือเป็นรองอธิการบดี) คือ ผศ. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มีประสบการณ์และความชำนาญมากในการจัดการเรียนรู้แบบ service learning  อ่านรายละเอียด ที่นี่ และ ที่นี่

ผมมีความเห็นว่า การเรียนวิชาจากการทำงานบริการสังคมนี้  อาจได้ผลดี เกิดการเรียนรู้บูรณาการรอบด้าน และได้เรียนวิชาอย่างรู้จริง  (mastery learning) หรือไม่ก็ได้  ขึ้นอยู่กับทักษะของอาจารย์ ในการตั้งโจทย์การทำงานและโจทย์เพื่อการเรียนรู้ของ นศ.  ดังนั้นการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริง  และเวทีฝึกทักษะการทำหน้าที่ “คุณอำนวย” ให้แก่อาจารย์ จึงมีความสำคัญยิ่ง  โดยเฉพาะทักษะการเป็น “คุณอำนวย” ในกระบวนการ AAR หลังทำกิจกรรมเป็นระยะๆ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างรู้รอบและรู้จริง

 

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543466

 


หน้า 456 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8555863

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า