Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ทุนมนุษย์ภาคบริการ

พิมพ์ PDF

1. โครงสร้าง
มาตรฐานของบุคลากรในประเทศที่ควรได้รับการพัฒนามีดังต่อไปนี้คือ ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะด้านบริหารจัดการ การวางแผน การตลาด ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรฐานด้านฝีมือแรงงาน มาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานการให้บริการ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งยังด้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่อยู่มาก นอกจากนี้ควรมีการตั้งโครงการสาคัญ (Winning Project) ด้านการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ภาคบริการเพื่อช่วยพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ และให้สภาวิชาชีพทำงานร่วมกับภาคเอกชน ภาคการศึกษาและภาครัฐเพื่อให้เกิดบูรณาการ
2. ความเชื่อมโยงและเครือข่าย
ภาครัฐควรสร้างนโยบายและแผนงานด้านทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีภาคบริการอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม มีการสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐมากกว่านี้ ภาครัฐควรประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้มากขึ้นภาครัฐควรประสานงานกับเอกชนให้มากขึ้น นอกจากนี้ควรมีการจัดตั้งสภาทุนมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ
3. การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
การปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน การฝึกอบรมระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านทักษะภาษาต่างประเทศ การสร้างเครื่องมือรับรองคุณภาพมาตรฐานของบัณฑิตให้เท่าเทียมกัน ควรนาจุดเด่นของไทยไปใช้ในการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่นการหลอมรวมศิลปวัฒนธรรมและศิลปวิทยา และความเป็นเสน่ห์ไทยในงานบริการ
4. อุปสรรค
การขาดข้อมูลพื้นฐานเช่น ภาวะต่างคนต่างทำ ข้อมูลกระจัดกระจายไม่เป็นระบบ และปัญหาค่านิยมเช่นการไม่นิยมงานบริการ นอกจากนี้ยังมีการขาดแคลนบุคลากรระดับปฏิบัติการ
5. โอกาส
การสร้างงานจากการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะสูง และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้
6. ความเสี่ยง
การแย่งงานในประเทศ และปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะไปยังต่างประเทศ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:35 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๕๙. ยุครุ่งโรจน์รอบใหม่ของสหรัฐอเมริกา

พิมพ์ PDF

ระหว่างนั่งเครื่องบิน Airbus A380-800 ไปแฟรงค์เฟิร์ต คืนวันที่ ๘ มิ.ย. ๕๖  ผมได้อ่านคอลัมน์ Book Review ของ นสพ. The Wall Street Journal ฉบับวันที่ ๗-๙ มิ.ย. ๕๖ อย่างอิ่มใจ

เรื่องแรกคือเรื่อง The New Prometheus review หนังสือ Comebackเขียนโดย Charles R. Morris  เป็นการทำนายว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่ง  จากการค้นพบหินแก๊ส (shale gas) มากมายมหาศาล  ซึ่งจะทำให้สหรัฐอเมริกามีพลังงานราคาถูก  และมีการจ้างงานเพิ่ม ๑.๗ ล้านคนในปัจจุบัน  และคาดว่าจะเพิ่มเป็น ๔ ล้านคนในปี ค.ศ. ๒๐๒๐

Promethius เป็นเทพในนิยายโบราณ ที่เป็นผู้ขโมยไฟจากพระเจ้า เอามาให้มนุษย์  ทำไมพระเจ้าจึงใจแคบอย่างนั้นก็ไม่รู้

สภาพดังกล่าว ผสมกับการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่เคยรับ outsource การผลิตสินค้า high tech จากอเมริกา  จะดึงให้ต้นทุนการผลิตสินค้าในสหรัฐอเมริกาต่ำลงเมื่อเทียบกับการจ้างผลิตในต่างประเทศ  และบริษัทต่างๆ ก็จะหันกลับมาใช้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นฐานการผลิต

ผู้ review หนังสือเล่มนี้คือ Daniel Yergin รองประธานของบริษัทวิจัยและที่ปรึกษา ชื่อ IHS ผู้เขียนหนังสือ The Quest : Energy, Security, and the Remaking of the Modern World

ตอนนี้เริ่มมีข่าวความหวังของยุคอุตสาหกรรมใหม่ในสหรัฐอเมริกา หนาหูขึ้นเรื่อยๆ  ผู้เขียนบอกว่า ในไม่ช้าเรื่องการขาดดุลการเงินของรัฐบาลสหรัฐก็จะกลายเป็นอดีต และประเด็นการเมืองก็จะเปลี่ยนไป

ผู้เขียนหนังสือบอกว่า สหรัฐต้องเตรียมตัวรับยุครุ่งโรจน์รอบใหม่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน  เพื่อความสะดวกในการสื่อสารคมนาคม และกิจการอื่นๆ

เขาบอกว่า การค้นพบแหล่งพลังงานมหาศาลเมื่อปี 2008 นี้ มีทั้ง shale gas และ tight oil ซึ่งใช้เทคโนโลยีเดียวกันในการสะกัดออกมา  ของ shale gas เขาใช้วิธีฉีดน้ำผสมทรายและสารเคมี ฉีดเข้าไปในชั้นหินแก๊ส ให้เกิดรอยแยก ให้แก๊สไหลไปรวมตัวกันที่รูที่เจาะเอาแก๊สออกมา

กระบวนการเช่นนั้น รบกวนสภาพแวดล้อมอย่างแน่นอน  ตอนแรกประมาณกันว่าจะมีก๊าสมีเธนปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศมหาศาล  เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีฤทธิ์สูงกว่าคาร์บอนไดอ็อกไซด์ถึง ๒๕ เท่า  แต่ตอนนี้ผลการวิจัยบอกว่า จะมีก๊าซมีเธนปลดปล่อยออกไปในปริมาณที่น้อยกว่าเดิมมาก

คุณสุเมธ ตันธุวณิชย์ อดีตกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ที่เพิ่งพ้นวาระไป บอกผมเมื่อตอนต้นปีว่า  การค้นพบ shale gas ค้นพบทั่วโลก  แต่เทคโนโลยีการจัดการ shale gas ของสหรัฐก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ มาก  เขาจะเปลี่ยนแก๊สเป็นกระแสไฟฟ้าราคาถูก  การขนส่งไฟฟ้าราคาถูกกว่าขนน้ำมันหรือแก๊สมาก  ดังนั้นต่อไปนี้จะเป็นยุคใช้กระแสไฟฟ้า  ในไม่ช้ารถยนต์จะเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด  ผมเดาว่าโลกใน 20 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนไปมากทีเดียว  ความท้าทายร่วมกันของคนทั้งโลกคือ ภาวะโลกร้อนและภูมิอากาศวิปริตจะทุเลาลงหรือรุนแรงยิ่งขึ้น

ยุครุ่งโรจน์ กับยุคหายนะ อาจเป็นสิ่งคู่กัน  หากไม่เอาใจใส่ด้านลบของความรุ่งโรจน์นั้น  ไม่ว่าจะเป็นความรุ่งโรจน์ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับองค์กร และระดับบุคคล

วันที่ ๑๓ มิ.ย. ๕๖ อ่าน Financial Times พบโฆษณา The FT Global Shale Energy Summit www.ft-live.com/shalesummit ๒๑ ต.ค. ๕๖ ที่ลอนดอน

 

วิจารณ์ พานิช

๙ มิ.ย. ๕๖  ปรับปรุง ๑๘ มิ.ย. ๕๖

บนเครื่องบิน Airbus A380-800 บินไปแฟรงค์เฟิร์ต

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543564

 

องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัยไทย เป็น potential conflict of interest

พิมพ์ PDF

สภามหาวิทยาลัยไทย มีองค์ประกอบเป็นไตรภาคี  คือมีฝ่ายคณาจารย์หรือบุคลากร  ฝ่ายบริหาร  และฝ่ายผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก  ฝ่ายละเท่าๆ กัน

ที่จริง ไม่ว่ากรรมการจากสภามหาวิทยาลัยจากฝ่ายไหน ต่างก็มี potential conflict of interest ทั้งสิ้น  เช่นกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อาจมี potential conflict of interest ที่ต้องการดึงมหาวิทยาลัยไปทำประโยชน์ให้แก่กิจการที่ตนสนใจ หรือตนมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง  หรือต้องการเอาพรรคพวกของตนเข้าทำงานในมหาวิทยาลัย  หรือต้องการให้มหาวิทยาลัยเปิดสอนสาขาที่พวกตนต้องการ

สภาพตามย่อหน้าบน อาจเป็น conflict of interest หรือไม่ก็ได้  ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น และเจตนาของผู้นั้น   เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ไม่มีเส้นแบ่งชัดเจน  นี่คือความยากในเรื่องเชิงจริยธรรม

หลักการที่ง่ายที่สุด ในการดูแลไม่ให้เกิด conflict of interest คือ กรรมการสภามหาวิทยาลัยทุกคน ต้องเข้ามาทำหน้าที่โดยยึดถือผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เป็นที่ตั้ง  ไม่เข้ามาเอาตำแหน่งกรรมการสภาฯ เป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์อย่างอื่น   นี่คือหลักการ ที่ฟังดูง่าย  แต่ในทางปฏิบัติ ทุกคนที่เป็นปุถุชน ก็เบี่ยงเบนได้ง่าย  ต้องมีการเตือนสติ มีกลไกให้ระมัดระวัง  และหากมีสัญญาณว่าเกิดพฤติกรรมที่ส่อว่า กรรมการท่านใดท่านหนึ่งกำลังทำสิ่งที่เน้นประโยชน์ตนเหนือประโยชน์ขององค์กร  ก็ต้องมีคนเตือน โดยเพื่อนกรรมการสภาฯ ด้วยกันช่วยเตือน  และบุคคลที่สำคัญที่สุดคือนายกสภาฯ

จริงๆ แล้ว potential conflict of interest สูงที่สุดในคนที่ทำงานในมหาวิทยาลัยนั่นเอง  คือทั้งกรรมการสภาฯ ผู้แทนฝ่ายบริหาร  ผู้แทนคณาจารย์  และผู้แทนบุคลากรสายสนับสนุน ต่างก็มีโอกาสเกิด “ผลประโยชน์ขัดกัน” ได้ง่าย  และที่ร้ายที่สุดคือ ตอนตัดสินเลือกผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดขององค์กร

จึงเกิดความรวนเร ไม่สงบ ทะเลาะเบาะแว้ง ได้บ่อย ในการสรรหาอธิการบดี  ในสภาพปัจจุบัน มหาวิทยาลัยที่มีวัฒนธรรมความดีงามเข้มแข็ง ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเคารพเชื่อถือกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ  โอกาสที่ความขัดแย้งจะสงบโดยเร็วก็สูง  แต่ยังมีมหาวิทยาลัยอีกจำนวนมากในประเทศไทย ที่สภาพไม่เป็นเช่นนั้น  โอกาสที่ความขัดแย้งลุกลามจึงสูง

ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า  องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัยไทยแบบไตรภาคี อย่างในปัจจุบัน ยังจะต้องมีวิวัฒนาการต่อไปอีก  และเดาว่า ต่อไปจะต้องเป็นสภาฯ ที่องค์ประกอบเป็นกรรมการภายนอกทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด  โดยที่คนเหล่านี้ต้องเสียสละทำงานให้แก่สังคม และต้องรู้และมีทักษะด้านการกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา

 

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ค. ๕๖

คัดลอก http://www.gotoknow.org/posts/543565

 

สมุดปกขาว (White Paper)

พิมพ์ PDF

ผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ธุรกิจบริการ: ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” โดย
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ที่มาและความสาคัญ

การพัฒนาโครงสร้างของธุรกิจบริการไทยให้เข้มแข็งจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยั่งยืนไม่ว่าสถานการณ์การเปิดเสรีทางการค้าของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใด หากพิจารณาโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะพบว่าภาคบริการมีความสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันโดยสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภาคบริการมีอัตราส่วนสูงกว่าภาคอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2553 (ภาคบริการร้อยละ 45.1/ ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 43.3: World Economic Outlook Database ค.ศ. 2010) ยิ่งไปกว่านั้น ภาคบริการถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิต ทั้งนี้ โครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายต่างก็มีภาคบริการเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทบทั้งสิ้น โดยการเจรจาการค้าในปัจจุบันต่างให้ความสาคัญกับการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน ประเทศไทยเองไม่เพียงแค่เจรจาเปิดเสรีภาคบริการในกรอบอาเซียนเท่านั้นแต่ยังเจรจาเปิดเสรีภาคบริการกับประเทศอื่นๆ ในกรอบการเจรจาแบบทวิภาคี กระแสการเปิดเสรีทางการค้ามีแนวโน้มที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงในหลายมิติ จึงไม่สามารถแยกบริบทด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนออกจากกัน รวมทั้งภาคบริการยังเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี นวัตกรรม การเคลื่อนย้ายของทุน การเงินและทุนมนุษย์ ประเด็นเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องพัฒนาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ตั้งแต่ประเทศไทยจัดตั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 จุดเน้นของประเทศคือการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้าและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก สาหรับภาคบริการนั้นปัจจุบันยังไม่ปรากฏแนวทางหรือแผนแม่บทในการพัฒนาธุรกิจภาคบริการในภาพรวมทั้งๆ ที่แนวโน้มการเจริญเติบโตในภาคบริการมีมากขึ้น ในปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศหันมาเน้นธุรกิจภาคบริการมากขึ้น หนึ่งในสาเหตุหลักเนื่องมาจากเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมตกอยู่ในมือของประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ประเทศกาลังพัฒนาไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากเท่าที่ควร การพัฒนาธุรกิจบริการจึงมีความสาคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเพื่อหลุดพ้นจากสถานะประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Country) แต่ธุรกิจบริการไทยต้องประสบปัญหากับกรอบนโยบายและทิศทางที่ไม่ชัดเจน อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ อาทิเช่นมาตรฐานการให้บริการ กฎระเบียบและข้อกฎหมายบางประการนั้นไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน ทำให้กลไกการพัฒนาภาคบริการโดยรวมไม่สามารถที่จะใช้จุดแข็งและโอกาสที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจบริการเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งและสร้างความคุ้มกันต่อความผันผวนภายนอกเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจเพื่อขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเป็นประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO)

กระบวนการเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนซึ่งเริ่มเปิดตลาดระหว่างกันมากขึ้นเป็นลำดับตามที่ระบุไว้ในข้อผูกพันการเปิดตลาดชุดที่ 1-7 และจากชุดที่ 8-11 ระดับการเปิดตลาดจะทวีความเข้มข้นขึ้น โดยจะอนุญาตให้ผู้ให้บริการอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการทุกสาขาได้เกินกึ่งหนึ่งเริ่มตั้งแต่ข้อผูกพันการเปิดตลาดฯ ชุดที่ 8 และอย่างน้อยร้อยละ 70 ในสาขาบริการเร่งรัด และทยอยยกเลิกอุปสรรคในการเข้ามาให้บริการทั้งหมดตามที่อาเซียนกำหนดเมื่อปี 2558 ขณะเดียวกันอาเซียนยังดำเนินการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการกับคู่เจรจาอื่นๆ และประเทศไทยเองมีการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการแบบทวิภาคีกับคู่เจรจาในหลายประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การเปิดเสรีการค้าบริการของไทยเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องกาหนดยุทธศาสตร์มาตรการ กฎเกณฑ์ และกลไกที่จะพัฒนาและส่งเสริมภาคบริการให้สอดรับกับกระแสการเปิดเสรีและสถานะของธุรกิจบริการไทยเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การเปิดเสรีในกรอบอาเซียนทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันในระดับที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคในภูมิภาคมีทางเลือกในการใช้บริการ ถ้าหากภาคบริการไทยสามารถพัฒนาศักยภาพในการให้บริการที่มีคุณภาพ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยจะเติบโตได้มากในอนาคต ประเทศไทยจึงควรที่จะใช้นโยบายการเปิดเสรีภาคบริการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาภาคบริการของประเทศให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและย่อมซึ่งมีจำนวนประมาณร้อยละ 90 ของผู้ประกอบธุรกิจบริการทั้งหมด ตลอดจนส่งเสริมให้ธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับนโยบายของภาครัฐและภาคเอกชนให้สอดคล้องกันเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประเทศเพื่อเปิดรับโอกาสและการแข่งขันที่จะมีมากขึ้น
เนื่องด้วยการพัฒนาธุรกิจบริการไทยจำเป็นต้องเกี่ยวพันกับหลายภาคส่วน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงจัดสัมมนาเรื่อง “ธุรกิจบริการ ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” ในวันเสาร์ที่ 18 และวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา ซึ่งจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการสาหรับกลุ่มธุรกิจบริการสี่กลุ่มหลักคือ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจโลจิสติกส์ และอีกกลุ่มที่เป็นพื้นฐานของการบูรณาการธุรกิจในทุกกลุ่ม นั่นคือ เรื่องทุนมนุษย์ในภาคบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมฯ ซึ่งมาจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาธุรกิจการค้าภาคบริการเชิงโครงสร้าง และเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการนั้นได้นำมารวบรวมเป็นสมุดปกขาว (White Paper) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์ในการพัฒนาธุรกิจบริการไทยให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
พฤศจิกายน 2555

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 27 กรกฏาคม 2013 เวลา 23:56 น.
 

ปล่อยกลิ่นเต่า ด้วยรายงานประจำปีของมหาวิทยาลัย

พิมพ์ PDF

ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งหนึ่ง มีการนำเสนอรายงานประจำปี ๒๕๕๕ อย่างมีรายละเอียดครบถ้วนและสะท้อนผลสำเร็จของมหาวิทยาลัยอย่างดีมาก

แต่กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ แนะนำเป็นเสียงเดียวกันว่า มหาวิทยาลัยชั้นดีอย่างนั้น ต้องจัดพิมพ์รายงานประจำปีที่มีบุคลิกแตกต่างออกไป  คือต้องแสดงทิศทางเป้าหมายที่ใฝ่ฝันให้ชัดเจน  และบอกว่าเดินมาถึงไหนแล้ว  มีผลงานอะไรที่น่าภาคภูมิใจตามทิศทางเป้าหมายนั้น  และจะดำเนินการอะไร/อย่างไร ต่อไปอีก

รายงานประจำปีชิ้นนี้ เน้นความครอบคลุม  และจัดทำแบบราชการ โชว์ input & process และผู้บริหาร ในเบื้องต้น  output มาทีหลัง  และยังไม่แยกแยะ output ที่เด่นเป็นพิเศษ ตามปณิธานความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัย

คำแนะนำของกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ให้แสดงปณิธานความมุ่งมั่นที่ชัดเจนออกมาเช่นนี้ สำหรับผม คิดว่าเป็นการปล่อยเสน่ห์ หรือ pheromones ให้ partners หรือภาคีความร่วมมือ “ได้กลิ่น”  ดึงดูดเขาเข้ามาหา

ผลการวิจัยบอกว่า กลิ่นเต่า ของคน คือตัวดึงดูดเพศตรงข้าม  เป็นการดึงดูดแบบไม่รู้ตัว  ไม่ได้ใช้สมอง แต่ผ่านระบบฮอร์โมนหรือระบบสารเคมี

สมัยนี้ มหาวิทยาลัยต้องมีวิธีดึงดูด partners ที่จะร่วมมือกัน  เพราะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า มหาวิทยาลัยต้องไม่ทำงานแบบโดดเดี่ยว  ต้องหาทางร่วมมือกับภาคีที่หลากหลาย  ทั้งภาคีที่เป็นผู้ใช้/จ้าง บัณฑิต  ภาคีวิจัย/พัฒนา  และภาคีในต่างประเทศ เพื่อสร้างทักษะนานาชาติให้แก่ นศ./บัณฑิต

วิธีปล่อยเสน่ห์ (pheromones) ของสถาบันอุดมศึกษา ทำโดยสื่อสารผลงาน  วิธีนี้มหาวิทยาลัยไทยถนัด  โดยบางครั้งก็สื่อสารแบบโอ้อวดเกินจริง

วิธีที่มหาวิทยาลัยไทยไม่ถนัด คือวิธีปล่อยเสน่ห์ด้วยปณิธานความมุ่งมั่น หรือเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่  ผสมกับหลักฐานว่า มีทั้งฝันและทั้งทำจริง มีผลงานจริง  ไม่ใช่ฝันลมๆแล้งๆ  ช่องทางของการปล่อยเสน่ห์แบบนี้ มีทั้งในรายงานประจำปี  ในเว็บไซต์  และในสื่อมวลชน  รวมทั้งต่อนักวิชาการ หรือผู้สนใจ ที่มาเยี่ยมเยือน

คน/สถาบันอุดมศึกษา ที่ถือว่า “มีดี” นั้น  ไม่ใช่อยู่ที่ผลงานเท่านั้น  แต่อยู่ที่เป้าหมายหรือความฝันที่ยิ่งใหญ่ บวกกับความมานะบากบั่นที่จะบรรลุจัดหมายที่ยากนั้น  “ของดี” เช่นนี้ ต้องหาทางให้มันขจรขจายออกไปแบบเดียวกับ pheromones หรือ “กลิ่นเต่า”

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543253

 


หน้า 461 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5601
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8585320

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า