Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

รายงานประชุมคณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

ครั้งที่ 1/2556

วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556

เวลา 14.00-16.30 น.

ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

388 ชั้น 7 เอสพีอาคารบี ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ

กรรมการผู้เข้าร่วมประชุม

1. ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                               ประธานกรรมการ

2. ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก                                 รองประธานกรรมการ

3. นายกิตติ คัมภีระ                                            รองประธานกรรมการ

4. น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย                         รองประธานกรรมการ

5. นายธวัชชัย แสงห้าว                                     รองประธานกรรมการ

6. ดร.วีรชัย วงศ์บุญสิน                                     กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

7.รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล                                 กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

8.นางโสทรินทร์ โชคคติวัฒน์                         กรรมการ

9. นายสยาม เศรษฐบุตร                                    กรรมการ

10. นายทำนอง ดาศรี                                         กรรมการ

11. นายชนินท์ ธำรงวิทวัสพงค์                       กรรมการ

12. ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ                กรรมการ

13. นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์                              กรรมการ

14. ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี                          กรรมการและเหรัญญิก

15. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท                               กรรมการและเลขาธิการ

16. น.ส.จิตรลดา ลียากาศ                                 ผู้ช่วยเลขาธิการ

กรรมการผู้ลาประชุม

1.ดร.ธรรมชัย เชาว์ปรีชา                                  รองประธานกรรมการ

2.นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล                        กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

3.นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล                      กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

4.นายสามารถ ดวงวิจิตรกุล                              กรรมการ

5.นายพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล                              กรรมการ

6.นายวิสูตร เทศสมบูรณ์                                   กรรมการ

7.นายกรพชร สุขเสริม                                      กรรมการ

ผู้เข้าร่วมประชุม

1.นายกิตติ  ชยางคกุล                                        ที่ปรึกษาด้านวิชาการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

2.นายสุภวัส วรมาลี                                            ที่ปรึกษาด้านวิชาการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

3.นายวรวุฒิ โตมอญ                                          ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

4.นายโยธิน ณ ระนอง                                      สมาชิกสมาคมผู้บริโภค

5.นายขวัญชัย  ไทยภิรมย์                                 นายกสมาคมคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชน

6.น.ส.พิชญามณญ์ วงษ์สถิต                           กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเอ็นจี พาวเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด

7.นายเกรียงไกร ภูวณิชย์                                  Executive Government Program IBM Thailand Company Limited

 

วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ได้กล่าวเปิดประชุมและขอบคุณคณะกรรมการและแขกผู้มีเกียรติที่ได้สละเวลาเข้าร่วมประชุมเพื่อสนับสนุนการพัฒนามูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าตามวัตถุประสงค์ของศบม.เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืนประธานกรรมการได้ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการสรุปได้ดังนี้

1.วันนี้เป็นการพบกันเพื่อทบทวนความคืบหน้าการดำเนินงานของมูลนิธิ สรุปกฎระเบียบ และแผนการทำงานร่วมกัน ซึ่งจากประสบการณ์ที่ได้ทำงานมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมาเป็นเวลานาน พบว่า ถ้าเราทำด้วยความโปร่งใส มีเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องการเงิน และมีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ ก็จะทำให้การดำเนินงานของมูลนิธิบรรลุเป้าหมายได้ ทั้งนี้ ควรเน้นวิธีการทำงาน โดยเมื่อมีกรรมการ และมีทรัพยากรแล้ว ต้องมีผลงาน และสร้างอิทธิพลต่อสังคม ในฐานะที่ทำงานมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมานาน จึงอยากให้กำลังใจทุกคน และจะสนับสนุนทุกอย่างที่ ศบม.นี้ต้องการ งานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของพวกเราทุกคน การทำงานควรเป็นบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หารือกัน ตกลงกันแล้วทำ เพราะโครงการต่างๆที่จะเกิดขึ้น ต้องสร้างผลกระทบต่อสังคมของเราให้ได้

2. ส่วนในการดำเนินงานนั้น ขอให้กำหนดทิศทางให้ชัดเจน ถ้ามาทำงานด้วยความรู้สึกอยากทำประโยชน์ มีแรงบันดาลใจ จะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีช่องว่างและโอกาสที่เราสามารถฉกฉวยมันได้ อยากให้ทุกคนให้ความเห็นที่ปฏิบัติได้ อยากให้มีกรรมการบริหาร โดยต้องเน้นคนมีความรู้ ใช้ปัญญาบริหารจัดการ การประชุมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของปี ดังนั้นทุกเรื่องที่เราสรุปต้องมีคนดำเนินการต่อ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศสามารถให้ยืมทรัพยากรมนุษย์บางคนได้ เช่น จัดการประชุม ทำเอกสาร แต่เราต้องหาทรัพยากรหรือความช่วยเหลือที่ไม่ใช่ตัวเงิน ถ้าไม่มีก็ต้องนำอาสาสมัครมาทำงาน

3. เนื่องจากปีนี้ เป็นปีที่ศบม.ต้องดำเนินการเต็มตัว ดังนั้นใน 3 เดือนข้างหน้า กรรมการชุดนี้ควรวางแผนว่าจะเปิดตัวอย่างไร ส่วนเงินก็ต้องระมัดระวังเพราะมีความเสี่ยง ถ้าเราเปิดตัว เราก็ต้องมีความสามารถในการดึงเอาสปอนเซอร์เข้ามา  จากประสบการณ์ที่เคยทำงานที่สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เราจะเปิดตัว Big Bang ถ้าเราเงียบๆและทำการฝึกอบรมก็ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ยินดีจะช่วยโครงการนี้ อยากให้ทุกคนคิดถึงการเปิดตัว โดยควรจัดระดับชาติ ซึ่งคุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุลได้ให้คำแนะนำแล้วว่า อีก 20ปีข้างหน้า ควรถามว่าคุณสมบัติของทุนมนุษย์ที่พึงประสงค์ของประเทศเป็นอย่างไร

4.การพยายามที่จะมีสมาชิกและเครือข่ายเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่ดี อย่างไรก็ตาม ในตอนแรก จะให้มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.)ทำงานคู่กับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศไปก่อน เราควรดูว่ามีกิจกรรมอะไรที่จะทำได้ ซึ่งในโลกปัจจุบัน แทนที่จะจัดโครงการฝึกอบรมหรือกิจกรรมต่างๆ ควรทำวิจัยและการให้คำปรึกษา โดย ควรดูตัวอย่างจาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เวลารับผิดชอบวิจัยก็ทำเหมือนธนาคารโลก นำตัวเลขกว้างๆมาดูแต่ไม่สามารถนำผลงานวิจัยไปแก้ปัญหาได้ เราเป็นกึ่งระดับจุลภาค ไม่ใช่นักวิชาการเท่านั้น เราเป็นคนในสาขานี้ กิจกรรมในพันธกิจคือวิจัยและควรมีการให้คำปรึกษาเข้าไปด้วย วันนี้เราต้องเปิดตัว Big Bang ให้มีผลกระทบพอสมควร ใครเป็นผู้ลงทุน อย่ามีปัญหาเรื่องเงิน ควรนำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามาร่วมด้วย สำหรับเรื่องเงินทุนดำเนินการนั้น เนื่องจาก ศบม.ควรเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ดังนั้นควรมีมูลนิธิต่างประเทศมาช่วยเหลือ ทั้งนี้ต้องตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้า องค์กรเราต้องอยู่รอดก่อนและมีความสามารถในการหาเงินทุนมาใช้จ่าย

5.สำหรับกลุ่มเป้าหมายของคนที่จะพัฒนานั้น ควรดูแลประชากรวัยทำงานอายุประมาณ 30-40 ปี และแรงงานที่จะเข้าตลาดแรงงานเช่น นักศึกษาปีที่ 3 และ 4 ด้วย

วาระที่ 2 เรื่องความคืบหน้าในการดำเนินการ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการต่อที่ประชุมว่า ได้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดอยู่ในเอกสารชุดที่แจกในที่ประชุม

(1) ในระยะที่ผ่านมา กรรมการได้มีการประชุมกลุ่มย่อยที่จะหาจุดให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายที่สุด มีการประชุมมาแล้ว 2-3 ครั้ง มีการหารือเรื่อง SWOT และแผนงานมาแล้ว ซึ่งจะได้พิจารณาร่วมกันในวาระที่ 3 โดยในการประชุมครั้งล่าสุดที่ซีพี คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุลอาสาจะเบิกโรงให้โดยไปติดต่อกับสสว. ซึ่งขณะนี้สสว.ได้ตกลงเรียบร้อยแล้วว่าจะให้มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ดูแลธุรกิจบริการ

(2) ในด้านจำนวนสมาชิกของมูลนิธินั้น ปัจจุบัน มีบุคคลธรรมดาเป็นสมาชิกร้อยกว่าราย โดยได้จากการไปจัดสัมมนาที่โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต

(3) ในด้านการวางแผนการดำเนินงานนั้น องค์กรเราเน้นคน สร้าง Supplier ก่อน ผู้บริหารต้องนำทรัพยากรมนุษย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ คนไทยมีแค่ร้อยละ 5 ที่เป็นผู้มีโอกาสและเอาตัวรอดได้ เราต้องนำร้อยละ 95 ให้ค้นพบและมีความสุขในการทำงาน มีเวทีให้เขา วิเคราะห์คนแล้วนำคนมาสร้างศักยภาพ ทุกคนต้องช่วยกันบูรณาการ เราควรสร้างคนเป็นลูกจ้างและเจ้าของธุรกิจโดยใช้คน 3 รุ่นมาร่วมทำ ต้องรวมถึงผู้ประกอบการด้วย บางอย่างต้องปูพื้นมาแต่เด็ก เราคิดถึงคนในอนาคตข้างหน้า

(4) สำหรับเงินทุนในการดำเนินงานของมูลนิธินั้น ต้องมีการตั้งกรรมการจัดหาทุน และทุกโครงการต้องมีเงินจึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้ศบม.ไม่ได้มีหน้าที่เพียงให้การฝึกอบรมเท่านั้น ควรทำงานวิจัยตามที่ประธานศบม.ได้แนะนำไว้ด้วย สิ่งสำคัญคือหาผู้นำในแต่ละกลุ่มขับเคลื่อนเป็นเครือข่าย แล้วเงินจะมาเอง

วาระที่ 3 เรื่องพิจารณากำหนดแผนการดำเนินงานของศบม.

3.1 การวิเคราะห์ SWOT

เลขาธิการ ได้รายงานต่อที่ประชุมว่า ในระยะที่ผ่านมาได้มีการประชุมหารือเรื่องแผนการดำเนินงานเบื้องต้นมาบ้างแล้ว โดยขอความกรุณา 3 ท่านคือ คุณธวัชชัย แสงห้าว รองประธานกรรมการมูลนิธิ ดร.อนุชา เล็กโตสกุล รองประธานกรรมการมูลนิธิ               คุณกิตติ คัมภีระ รองประธานกรรมการมูลนิธิช่วยดูและ ที่ปรึกษารศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา เรื่องนี้ต้องมีการทำความเข้าใจให้ชัดเจน คุณธวัชชัย แสงห้าวได้ทำข้อมูลไว้พอสมควรแล้ว ดร.อนุชา เล็กโตสกุลก็มีข้อเสนอแนะมา จะขอให้คุณธวัชชัย แสงห้าวนำเสนอ

นายธวัชชัย แสงห้าว รองประธานกรรมการมูลนิธิ ได้นำเสนอว่า มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เริ่มจากกลุ่มแรกคือ กลุ่มที่มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ต้องเข้าไปช่วยเหลือ บุคลากรในประเทศไทยมีความต้องการพัฒนาตนเอง ในปัจจุบันอาจจะขาดศักยภาพ ในส่วนองค์กร ก็ต้องการความอยู่รอดและการเจริญเติบโต  ก็ต้องการที่ปรึกษา ตรงนี้เป็นความต้องการของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เราจะมีองค์กรและบุคลากรที่มีความพร้อมและความสามารถ ต้องการจะช่วยเหลือสังคม องค์กรที่เข้มแข็งมีการเจริญเติบโต มีความพร้อมและพันธมิตร มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ทำหน้าที่ให้ 2 ส่วนนี้มาประสานงานบูรณาการ องค์กรมีงบประมาณ มีพันธกิจพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคต่างๆ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ทำหน้าที่ในการตอบโจทย์กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือด้านต่างๆ โดยบูรณาการทุกภาคส่วนที่ต้องการความช่วยเหลือ ช่วงแรกๆ อาจจะเน้นภาคเอกชนก่อนก็ได้

พันธกิจมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ต้องผลักดันความเป็นเลิศ บูรณาการต่างๆ  จะมีส่วนที่เป็นภาคสังคมอยู่ เช่นศาสนา สังคมสงเคราะห์ องค์กรการกุศล นี่คือวิสัยทัศน์  บูรณาการบริหารจัดการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ ความต้องการไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุคลากร พนักงาน ผู้ประกอบการ มีความต้องการอย่างไร องค์กรภาคเอกชน องค์กรอิสระ พันธกิจของเขาอาจต้องการความช่วยเหลือหรือเครือข่าย ทางมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) จะทำการประสานโดยมีโครงการต่างๆ เช่น จัดสัมมนา วิจัย กิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรที่เป็นสมาชิก เรามีกรรมการ มีองค์กรพันธมิตร มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) พัฒนามาจากศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 มีการประกาศรับสมาชิกแล้ว มีสมาชิกที่เป็นนิติบุคคลที่ลงทะเบียนมาแล้ว 8 องค์กร บุคคลธรรมดา 43 ราย รวมทั้งบุคคลนอกสมาชิก 100  กว่าคน

คุณธวัชชัย แสงห้าว รองประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ได้นำเสนอเพิ่มเติมว่า ในปี 2551 มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ได้เคยจัดเสวนา "ฅน...ทางรอดธุรกิจโรงแรม SMEs" ในปี 2552 ร่วมกับหลายองค์กรจัดโครงการสัมมนา “เจาะลึกกลยุทธ์การทำตลาดแนวใหม่สำหรับโรงแรม SMEs” และจัดโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการท่องเที่ยวของประเทศลาวร่วมกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ในปี 2553 ได้จัดโครงการประชุมนานาชาติด้านการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงร่วมกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และมีกิจกรรมต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา

ในการกำหนดกลยุทธ์ ได้มีการวิเคราะห์ SWOT ขององค์กรในแง่เรามีความเข้มแข็ง มีเครือข่ายหลาย Sector ผู้เกี่ยวข้องยินดีให้ความช่วยเหลือ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ยังไม่มีสำนักงาน บุคลากร ทรัพยากร ส่วนภัยคุกคามก็คือ มีองค์กรที่มีลักษณะคล้ายองค์กรนี้อยู่มากทั้งในภาครัฐและเอกชน จากการวิเคราะห์ SWOT แบบเจาะลึกพบว่า Stakeholders ที่เกี่ยวข้องกับ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) มีมากมาย ชุดแรกคือผู้รับบริการหรือความช่วยเหลือจากมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ผู้ประกอบการต้องการอยู่รอด เข้มแข็ง พนักงานต้องการเก่งงาน เก่งคน นักศึกษาผู้ว่างงาน ก็ต้องเสริมสร้างคุณภาพการทำงาน ประชาชนและสังคมก็ต้องการความรู้ ข้อมูลข่าวสาร องค์กรชุมชนก็ต้องการความเข้มแข็งบรรลุวัตถุประสงค์แต่ละองค์กร เมื่อมาพบกับมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) แล้วก็ต้องมาร่วมทำงาน วิจัย มีงบประมาณค่าใช้จ่ายบ้าง

ในแง่ของผู้ให้ เช่นผู้ประกอบการที่มีความพร้อม จะได้ชื่อเสียงที่เพิ่มขึ้นในสังคม ตอบโจทย์ปรัชญาชีวิตของเขาที่จะช่วยเหลือสังคมหรือได้อาชีพเสริม นักวิชาการหรือวิทยากรที่มาช่วยเหลือสังคมมีรายได้เพิ่มขึ้น องค์กรอิสระที่มาช่วย ก็บรรลุสิ่งที่เขาต้องการ แต่สิ่งที่ต้องเสียคือเวลาและงบประมาณ

วิสัยทัศน์ขององค์กร คำว่า บูรณาการหมายถึง มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ต้องรวบรวมประสานสร้างค่านิยมร่วมให้คนที่มาร่วมกับเราหรือรับความช่วยเหลือ ได้บูรณาการทุกสิ่งโดยใช้การบริหารจัดการ 4M คือ Man, Material, Method และ Money ซึ่งเราจะใช้พัฒนาทุนมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพคือ ความเข้มแข็ง เจริญเติบโตก้าวหน้าในวิชาชีพมีงานทำ

กลยุทธ์มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) คือมุ่งพัฒนาเครือข่ายต่างๆไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีเพื่อให้มีเครือข่ายมากขึ้น เพื่อรวบรวมบุคลากรที่มีความพร้อม รวมทั้งวิธีการบริหารจัดการต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบกระบวนการต่างๆเพื่อที่จะส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ ต้องมีการพัฒนาความรู้ทักษะให้กลุ่มที่เราไปช่วยเหลือเขาทั้งทักษะการบริหารจัดการภาวะผู้นำ ขีดความสามารถในการปฏิบัติงานในแต่ละสายอาชีพให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและโลกอนาคต นี่เปรียบเสมือนสินค้าหรือบริการของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เราต้องมีความเข้มแข็ง มีโครงสร้างองค์กร ทั้งด้านบุคลากร กระบวนการเทคโนโลยีผลักดันให้บรรลุพันธกิจมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.)

3.2 แผนปฏิบัติการปี 2556 มีดังต่อไปนี้

3.2.1.พัฒนาเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง เราก็จะจัดกลุ่มเครือข่ายในระดับผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ ผู้นำ ผู้เชี่ยวชาญองค์กรที่เข้มแข็ง องค์กรที่มีพันธกิจหรืองบประมาณ ตรงนี้เราต้องพัฒนาขึ้นมาให้ได้ วิธีการอาจมีหนังสือเชิญ ใช้เว็บไซต์ เฟซบุ๊ค และกิจกรรมต่างๆ ต้องมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบและงบประมาณ ต้องมีจำนวนเครือข่ายให้ครบทุกกระบวนการ ต้องเลือกธุรกิจที่เราเน้น เมื่อเรามีความพร้อมของบุคลากรที่จะมาช่วยเหลือ เราก็ต้องหาสมาชิกเพื่อหาความต้องการที่แท้จริงของผู้ประกอบการ ผู้ว่างงาน ประชาชน ชุมชน องค์กรต่างๆ ตัวชี้วัดคือจำนวนสมาชิก ความต้องการของธุรกิจต่างๆที่เราเน้น

3.2.2.พัฒนาโครงการเพื่อที่จะหารายได้เข้ามูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) อาจจัดทำเป็น Executive Focus Group เพื่อหาความต้องการที่แท้จริงหรือกิจกรรมต่างๆเช่น Event, Executive Sharing จัด Site Visit นำสมาชิกไปเยี่ยมสมาชิกที่มีความเข้มแข็ง ต้องมีสำนักงานและเครือข่ายมาช่วยปฏิบัติงาน ต้องมาเริ่มก่อนว่า ธุรกิจที่มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) จะเน้นคืออะไร ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจอาหารหรือธุรกิจต่างๆ ถ้าไม่ Focus ทำให้เราเริ่มต้นได้ยาก

3.3 การอภิปรายของที่ประชุม

3.3.1 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

(1) ประสบการณ์ของคุณธวัชชัย แสงห้าว รองประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์และทีมงานถือว่าผ่านมามาก วิสัยทัศน์ควรมีการทำงานระหว่างประเทศด้วย จะได้พัฒนาทุนมนุษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

(2) นอกจากแผนหลักตามข้อเสนอของคุณธวัชชัยแสงห้าวและคณะแล้ว เห็นว่า สิ่งที่ต้องทำก่อนคือการเปิดตัวมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ให้สาธารณะรู้จัก ถ้า Big Bang เป็น Dinner Talk ก็ดี ดูผ่อนคลาย กลางวันดูเป็นทางการเกินไป คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ได้แนะนำไว้คือผู้บริหารระดับสูงสุดจริงๆ โดยจะจัดประมาณเดือนพฤษภาคม

(3) สำหรับงานที่ ศบม.จะร่วมมือกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศนั้น ในปีนี้ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำโครงการ ICT กับ Service Sector ในกลุ่มประเทศ GMS ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทเสนอให้ทำให้ภาคเกษตร ขนส่ง บริการสุขภาพและท่องเที่ยว งบส่วนหนึ่งมาจากกระทรวงการต่างประเทศ อีกส่วนหนึ่งมาจากกระทรวงไอซีที ศบม.ก็จะเป็นเจ้าภาพร่วมด้วย เรายังไม่ต้องทำอะไรเพราะมี Platform อยู่แล้ว อนึ่ง อยากให้รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูลแนะนำโครงการที่ศบม.อาจทำร่วมกันได้ เช่น โครงการที่เน้นภาคราชการ E-learning หรือ ICT ไม่ได้เน้นแค่ Technical Skill แต่เน้นผู้บริหาร ถ้าจะบริการประชาชน ต้องเน้น Non-ICT ถ้าได้โครงการนี้มาก็ทำได้เลย โครงการที่ดร.วีรชัย วงศ์บุญสินเสนอมาก็น่าจะทำได้ รถยนต์มีจังหวะดีเพราะรถยนต์มีมาก ต้องมีบริการมาก นอกจากท่องเที่ยวแล้ว ธุรกิจรถยนต์ก็มีศักยภาพมาก เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ได้ทำงานเป็นประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ที่กระทรวงพาณิชย์หลายท่านที่ประชุมในห้องนี้ก็เป็นอนุกรรมการชุดนี้ เรื่อง Service Sector กับเรื่องคนเป็นเรื่องที่ใกล้กันแล้ว แต่ก่อน ถ้าไม่มีหน่วยงานอย่างเราเข้าไปแทรกแซง ก็จะทำได้ช้า เช่น ภาคอุตสาหกรรมเสนอให้กระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัยทำหลักสูตรแบบนี้ บางที 3 ปี ยังไม่ได้ทำ วันนี้ เห็นช่องทางที่จะทำแล้ว สิ่งที่รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูลและดร.วีรชัย วงศ์บุญสินยกตัวอย่าง มักมีธุรกิจขึ้นมาเพราะฉะนั้น ความต้องการอยู่ที่ Demand Side ไม่ใช่ Supply Side เราตั้งมูลนิธินี้ตาม Supply Side ที่เหนื่อยกว่านั้นคือความสำเร็จ จากประสบการณ์การเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิมา 2 ครั้งแล้ว ก็ทราบว่าทุกท่านมีความพยายามสูงมาก ขอให้รักษาความพยายามนี้ ตอนที่ตั้งมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศยังไม่มีความหลากหลายทางความคิด สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้คือ คนที่มาเป็นคณะกรรมการมีความหลากหลายทางความคิด ต้องสร้างแบรนด์และดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ เราอาจจะไปช่วยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้ภาคธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับและสิ่งทอ รวมทั้งภาคธุรกิจอื่นๆที่ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทเสนอ สิ่งสำคัญคือต้องมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ล่าสุดได้มีการทำวิจัยพบว่า การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ทำให้ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์อยู่รอด ซึ่งมาจากความคิดสร้างสรรค์ของทุนมนุษย์ นอกจากนี้เจ้านายต้องบริหารคนเก่งได้ ปลูกอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเก็บเกี่ยวศักยภาพให้ได้ ขอให้รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูลดูแลศบม. ถ้ามีโครงการที่เราสามารถทำได้สักเรื่องเกี่ยวกับราชการก็ยิ่งดี

3.3.2 นายกิตติ คัมภีระ รองประธานกรรมการ กล่าวว่า สิ่งท้าทายคือเรื่องค่าแรง 300 บาท ทำให้เกิดผลอะไรบ้าง ทุนมนุษย์ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรจึงจะสมดุล ตอนที่อยู่สถาบันคีนันได้ทำมาแล้วมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เคยสัมภาษณ์นักเรียนทุนกพ. นับวันที่จะหลุดพ้นการใช้ทุนและขาดจิตสาธารณะ

3.3.3. ดร.วีรชัย วงศ์บุญสิน กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา กล่าวว่า ขอยกตัวอย่างกรณีที่พร้อมที่จะทำคือธุรกิจยานยนต์ มี Demand ผู้จบอาชีวะสูงแต่ นักเรียนอาชีวะไม่เข้าเรียน พ่อแม่ไม่ส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนอาชีวะ คนเรียนจบอาชีวะว่างงานต่ำกว่าปริญญาตรี มีรายได้พอๆกัน แต่พออายุมากขึ้นก็จะว่างงานมากขึ้น ทุก Dealer รถมีปัญหา ทำอย่างไรให้บุคลากรอาชีวะมีรายได้สูงกว่าปริญญาตรีเมื่อมีอายุ 40 ปี ประชากรเปลี่ยนแปลง ยุคหน้าเป็น Baby Bonus มีลูกมาก มีโบนัสจากรัฐบาล ธุรกิจยานยนต์ Supply ขาด ต้องตีโจทย์ให้แตก Supply ไปให้เขา ธุรกิจยานยนต์มีรายเล็กคืออู่ซ่อมรถหรือช่างทำสี ทำอย่างไรให้เขาเข้ามาสู่ระบบนี้ นักเรียนอาชีวะไม่ยอมเข้าบริษัทใหญ่ๆเพราะมีอิสระ ผมพร้อมจะเป็นคนกลางให้ธุรกิจยานยนต์ ถ้าเรามีความโปร่งใส ก็ทำได้แน่นอน ทำอย่างไรให้เขาใช้มูลนิธิเรา แต่ละค่ายรถไม่เชื่อใจกันว่าข้อมูลจะหายไป เราต้องทำงานบนความไม่ไว้ใจของเขา แต่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ธุรกิจยานยนต์มีศักยภาพพอ

สำหรับประเด็นนี้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ กล่าวว่า ถ้าเรื่องยานยนต์มีประโยชน์ก็อาจตั้งศูนย์เล็กๆ มาศึกษาได้ ต้องมีเป้าหมายไปเปลี่ยนแปลงทุนมนุษย์ไทยและต่างประเทศในอาเซียนด้วย ถ้าวางตำแหน่งทางการตลาดสูง ก็จะดึงความเป็นเลิศออกมา

3.3.4. ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก รองประธานกรรมการ กล่าวว่า เราแลกเปลี่ยนกันมา ค่อนข้างจะชัดที่สุด สิ่งที่คุณธวัชชัย แสงห้าวนำเสนอเป็นยุทธศาสตร์ 3-4 ข้อ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ใครมาเป็นสมาชิกก็เป็นเครือข่ายแม่และเครือข่ายผู้ร่วมกิจกรรมทั้งด้านผู้ให้และผู้รับ นอกจากนี้ควรมีเครือข่ายที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกศบม.เช่นเครือข่าย Resource Person ถ้าจะพัฒนาคนให้ไปเสริมธุรกิจยานยนต์ในประเทศไทย ให้เขาเป็นวิทยากร เราอาจทำเป็น Resource Short list ของเราได้ ส่วนเรื่องเงินทุน ก็สามารถบอกได้ว่าจะเลือกใคร ภารกิจที่เราควรจะทำได้ในอนาคตคือวิจัย มีกิจกรรมการกุศลบางอย่างที่ไม่แน่ใจว่าพร้อมจะทำหรือไม่คือการจัดกอล์ฟการกุศล โบว์ลิ่งการกุศล เป็นการหาเงินและประชาสัมพันธ์ ควรทำแผนระยะ 5 ปี ทำกิจกรรมไตรมาสละครั้งตลอดปีแรกๆน่าจะพอไปได้ สำหรับเรื่อง Product นั้น เรามีมาก แต่ต้องสร้างความแตกต่างจากที่อื่น เรามีเครือข่ายมากแต่อาจเป็นแบบหลวมๆ  มูลนิธิเราเริ่มต้นจากคนในแวดวงการท่องเที่ยวและทำได้ไม่กี่ปี ก็มีคนในแวดวงไอทีเข้ามา เราพยายามจะทำในช่องว่าง 2 อันนั้น ต่อมาเรามีคนหลากหลายมากขึ้น แต่สิ่งที่เป็นจุดยืนและจุดร่วมกันอยู่คือเรากำลังพูดถึงมนุษย์ที่จะพัฒนามนุษย์ ให้อยู่ดีมีสุข มีคุณภาพ  ควรทำในสิ่งที่มี Impact เราจะพยายามหาคนเก่งมาทั้งหมด แต่มันเป็นเรื่องยากเพราะแต่ละคนไม่มีเวลา  พอเราจะไปปิดช่องว่าง ก็ไม่สามารถทำได้ พวกที่อยู่ใน Resource Person Short list ต้องมาระดมสมองกับเรา เราเชิญเขามาเป็นวิทยากรแล้วอาจให้ค่าวิทยากรลดลง ส่วนที่เกินมาก็ยกให้สังคม ควรเริ่มจากการกำหนดโจทย์ตอนแรก 1-20 โจทย์ แล้วตั้งทีมเล็กๆ 2-3 คนไปสืบค้นกันมา หาช่องว่างแล้วจัดกิจกรรมร่วมกัน อาจจะนำคน 2-3 คนมาทำวิจัยเล็กๆเรื่องการเติบโตของธุรกิจยานยนต์ จะหาวิทยากรจากที่ไหน อาจจัดการตลาดในกำลังงบประมาณที่เรามีอยู่ไตรมาสละเรื่อง ปีนี้อาจทำ 2 เรื่อง ทำให้เขาเห็นว่าเป็นศบม. ที่สามารถเข้าไปแทรกอยู่ในเข็มทิศของเขา แล้วมันจะขยายและพัฒนาขึ้น

3.3.5. นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ กรรมการ กล่าวว่า ในการกำหนดแผนการดำเนินงาน ควร Focus เชิงลึกเป็น Sector หรือ Issues บางทีโอกาสรออยู่ แต่เราไปปิดมัน ทุกกระทรวงมีปัญหา  ขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ กพ.ไม่ได้พัฒนาคน คนเกษียณออกมามาก หาคนไปทำงานแทนไม่ได้ ถ้าเรามองกระทรวงแรงงาน ไม่มีใครดูบริบทอาเซียนอย่างถ่องแท้ แต่เราฟังจากโทรทัศน์และวิทยุ คนที่ไปพูดในเวทีอาเซียนไม่ได้รู้เรื่องอย่างถ่องแท้ ปี 2558 จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน แต่คนไทยยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ สื่อนำข้อมูลจากรัฐไปเผยแพร่น้อยมาก อยากให้มองเชิงลึกแล้วเปิดช่องให้ภาครัฐและเอกชน

3.3..  น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย  รองประธานกรรมการ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญคือ ทำอย่างไรให้ศบม.รู้จักตนเอง มูลนิธิในประเทศไทยมีมาก จากประสบการณ์การทำงานมูลนิธิ พบว่า มูลนิธิในประเทศไทยเกิดจากคนที่มีทุนแล้วมารวมตัวกัน หรือเกิดจากคนที่หวังใช้มูลนิธิมาทำโครงการเพื่อเอื้อต่อสาธารณประโยชน์ หรือเป็นองค์กรที่จะมาแก้ไขจุดอ่อนของตนเอง การได้มาของทุนแต่ละมูลนิธิมีความต่างกัน มูลนิธิต่างประเทศที่มาประเทศไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า องค์การที่เกี่ยวกับสัตว์ทั้งหมดทำเกี่ยวกับ Educational Trip และมาในรูปแบบของ Volunteering Trip เช่น Worldwide Animal Rescue Charity Fund มีรายได้หลักจาก Volunteering Trip ได้เงิน 5 หมื่นบาทต่อคน มีเงินซื้อที่ดินไม่น้อย มูลนิธิมีหลากหลายมาในรูป Documentary จนกระทั่งเข้าสู่ Networking ในเรื่องการศึกษา ต้องอธิบายให้เห็นว่าทำไมต้องใช้มูลนิธิเรา ในแง่วิชาชีพ มันมีความเป็นวิชาชีพ ประกาศนียบัตรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตนเองได้ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจากมูลนิธินี้ก็จะต้องได้รับการรับรองหน่วยกิตและได้ประกาศนียบัตรเป็นที่ยอมรับ ผ่านการอบรมแล้วได้เงินเดือนขึ้น เราค้นหาตนเองได้จาก Project, Product และ Service มีค่าที่เป็นจริง ทำให้เขารู้สึกว่าใช้มูลนิธิแล้ว ได้คำตอบที่ตรงตามความต้องการ และคือการสร้างมูลค่าเพิ่มในแง่การท่องเที่ยว สิ่งที่ททท.ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้คือคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยว บริษัทนำเที่ยวและคนที่เป็นผู้ประกอบการทุกระดับ ต้องทำให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน อีกปัญหาคือ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวในช่วงวันมาฆบูชาสั้นลง นักท่องเที่ยวที่มาคุณภาพต่ำลง มีการแข่งขันการด้านราคา ถ้ามูลนิธิสามารถให้คำตอบด้านการท่องเที่ยวแก่ททท.และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาก็มาหาเรา ถ้าเราคิดตรงนี้ออก นี่คือ Product และ Project แล้วมันจะเป็นเงิน เราต้องเอาจุดแข็งคือชื่อมูลนิธิ (Integrated) บูรณาการทำให้เป็น One-stop Service Thai Research Education Center

3.3.7. นายวรวุฒิ โตมอญ ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ กล่าวว่า ค่อนข้างจะเห็นด้วยกับหลายๆท่าน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ การออกแบบของที่ระลึก ยังต้องการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อีกมาก ในอีก 2 ปีข้างหน้า อาจจะทำ Big Bang นำความรู้หลายๆ ด้านมา Integrate for favorite sector เช่น การพัฒนาบุคคลากรภาคบริการสุขภาพ การตรวจคนเข้าเมือง เพื่อรองรับการรวมตัวของอาเซียน น่าจะทำได้เบื้องต้น มีห้องฝึกอบรมที่มีการจำลองสถานการณ์จริงมาฝึกปฏิบัติและพัฒนาด้านแนวคิดก่อน ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ถ้ามีทุนก็อาจลงลึกไปในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การขาดแคลนช่างอ๊อกมีฝีมือจำนวนมาก โดยเฉพาะช่างอ๊อกใต้น้ำที่ยังไม่มีใครสอน เป็นต้น

3.3.8. นายสยาม เศรษฐบุตร กรรมการ กล่าวว่า มูลนิธิที่เราตั้งขึ้นมา ต้องหางานเข้ามา ต้องการให้ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ช่วยมูลนิธิมากหน่อยโดยเฉพาะเป็นผู้นำในการหาทุน

3.3.9. นางโสทรินทร์ โชคคติวัฒน์ กรรมการ กล่าวว่าได้ทำงานกับม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทมาระยะหนึ่ง โดยได้ประชุมตอนเป็นศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ก่อนที่จะเป็นมูลนิธิ และทราบว่า ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานและมีชื่อเสียง ท่านประธานก็เป็นคนที่เครดิตดี อย่างน้อยก็มีกำลังใจที่จะทำงานร่วมกันต่อไปได้ การพัฒนาด้านภาษาสำหรับมัคคุเทศก์สำคัญมาก ต้องมีการสร้างมาตรฐานผู้ประกอบการ เราก็ตั้งมาตรฐานมัคคุเทศก์ทำให้ได้ 100-200 คนต่อปี ศบม.น่าจะร่วมมือกับกรมท่องเที่ยวพัฒนาคุณภาพมัคคุเทศก์

3.3.10. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการและเลขาธิการกล่าวว่า สิ่งที่เดินมาถึงวันนี้เป็นไปตามแผนที่ผมกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นจัดตั้งคณะบุคคลศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ตั้งแต่ปี 2511 ช่วงปี 2513-2514 ดูเหมือนการขับเคลื่อน ศบม หยุดชะงักไป แต่ความจริงผมและคณะกรรมการหลายๆท่านยังขับเคลื่อนอยู่ แต่เป็นการขับเคลื่อนภายในกลุ่มย่อยๆ เน้นที่การสร้างเครือข่ายและดำเนินการจดทะเบียน ศบม ให้เป็นนิติบุคคล บัดนี้ ศบม เป็นมูลนิธิเรียบร้อยแล้ว การขับเคลื่อนต่อไปจะทำได้ง่ายขึ้น ผมไปสร้างเครือข่ายไว้ทั่วประเทศเหลือแต่การนำมาต่อเข้าด้วยกัน ทุกคนต้องเข้ามาเป็นส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เช่น ดร.วีรชัย วงศ์บุญสิน เป็นตัวอย่างที่ดี ที่เสนอเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ ก็ต้องเป็นประธานคณะทำงานในโครงการที่เสนอ (ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์) เพราะท่านเป็นผู้ที่อยู่วงในรู้ดีและเข้าใจความต้องการของภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด ท่านเป็นผู้ที่สามารถตอบคำถามว่าทำไม่จะต้องมาให้มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์เป็นผู้ดำเนินการ และเมื่อท่านเป็นประธานท่านก็เป็นผู้กำกับให้คณะทำงานทำให้ได้ตามความต้องการ   ท่านสามารถแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ ศบม สมาชิก ศบม หรือ เครื่องข่ายภายนอก หรือใครก็ตามเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน  ก็จะได้โครงการเป็น Sector สำหรับอาชีพอุตสาหกรรมยานยนต์

ตอนนี้งานที่สำคัญคือ การจัดตั้งคณะทำงานให้ได้

(1) คณะทำงานเปิดตัวมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ Big Bang

(2) คณะทำงานหาสมาชิกและเครื่องข่าย

(3) คณะทำงานหาทุน และสร้างกิจกรรม

เราต้องขับเคลื่อนที่กรรมการและสมาชิก สมาชิกไม่ต้องเสียเงินค่าสมัครและค่าบำรุง ตอนนี้งานที่สำคัญที่สุดเป็นเรื่องการหาสมาชิกและเครือข่าย ต้องมีหน่วยงานด้านไอทีเข้ามาให้การสนับสนุน เริ่มจากการมีฐานข้อมูลของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์เอง และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของเครื่องข่าย และแหล่งความรู้ต่างๆ  ข้อมูลประวัติของสมาชิกและความต้องการในการเป็นสมาชิก เป็นผู้ให้ หรือผู้ต้องการความช่วยเหลือ เป็นต้น ขณะนี้อยู่ในช่วงการหาสมาชิกด้าน Suppliers (สมาชิกบุคคล) และสมาชิก Demand (สมาชิกองค์กร) ขอให้กรรมการทุกท่านแจ้งความจำนงว่าท่านสนใจเข้าร่วมอยู่ในคณะทำงานใดใน 3 คณะที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น ท่านสามารถเลือกอยู่ทั้งสามคณะ หรือคณะใดคณะหนึ่ง หรือไม่ต้องการอยู่ในคณะทำงานใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่มีเวลาหรือด้วยเหตุผลใด ก็ขอความกรุณาแจ้ง เมื่อได้ทราบความจำนงของแต่ละท่าน กรรมการที่อาสาเป็นคณะทำงานจะได้มีการประชุมเพื่อกำหนดแผนงานในแต่ละคณะพร้อมสรรหาทีมทำงานจากภายนอกเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน

สำหรับการหาทุนไม่ใช่หน้าที่ของประธานหาทุนคนเดียว ต้องมีทีมงานคิดว่าจะไปหาทุนจากแหล่งที่มีความต้องการสอดคล้องกับเรา อาจมีการใช้สื่อและให้เขาเข้ามาบริจาคเอง อีกทีมทำเรื่อง Product ตัวขับเคลื่อนที่แท้จริงเป็นสมาชิกที่เป็น Demand ของภาคธุรกิจ เมื่อแผนออกมา เงินก็มา และเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องแบรนด์

สำหรับเรื่องที่มีผู้ถามว่าจะเกิดการสับสนหรือไม่ ระหว่างมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ในเบื้องต้นผมเข้าใจว่าไม่น่าจะสับสน โดยมูลนิธฺทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเน้นด้านโครงการระหว่างประเทศ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ทำกิจกรรมที่เจาะจงและแตกต่างไปจากภารกิจเดิมๆที่มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศทำอยู่ก่อนแล้ว  เช่นโครงการสำหรับภาคเอกชนและ SMEs อย่างไรก็ตามผมจะปรึกษาท่านประธาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เพื่อกำหนดความชัดเจนและแจ้งให้ทุกท่านทราบ

วาระที่ 4 การสร้างเครือข่าย

รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา กล่าวว่า ปัจจุบันดูแลเรื่อง SRII ประเทศไทย คือ Service Research Innovation Institute เมื่อประมาณต้นเดือนธันวาคม 2555 ได้ไปประชุมกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่ประเทศอินเดีย จากการไปครั้งนั้น ที่ประชุมได้มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม SRII Asia Summit มีหัวข้อคือ Service Innovation ซึ่งที่ประชุมกล่าวถึงการพัฒนาทุนมนุษย์หรือ Service Innovation ขณะนี้ประเทศไทยมีหน่วยงานตั้งขึ้นมาเป็น Service Research Innovation Institute Thailand Chapter ทุกปี การประชุม SRII จัดที่ซานฟรานซิสโก ตอนนี้แพร่ขยายมาที่อินเดียเป็นการประชุม SRII India ปลายเดือนมกราคม 2556 ก็จะมีการประชุม Leadership SRII ปลายเดือนมิถุนายน 2556 จะมีการประชุม SRII Europe Summit เดือนกันยายน 2556 จะเป็นการประชุม SRII Asia Summit ที่ประเทศไทย เดือนพฤศจิกายน 2556 จะมีการประชุม SRII ที่ซานฟรานซิสโก เป้าหมาย Service Innovation คือการนำไอทีมาส่งเสริมการทำงานภาคบริการเพื่อช่วยให้ชาวโลกมีชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับประเทศไทยคือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะมี Smart Government, Smart Community และ Smart Service คณะกรรมการอำนวยการนวัตกรรมบริการของประเทศไทยได้มีมติให้จัดประชุม SRII Asia Summit โดยมีหัวข้อ Smart Service Innovation คือหานวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมบริการสำหรับภาคบริการด้านสุขภาพ การศึกษานอกโรงเรียน การท่องเที่ยวและเกษตร Service Innovation ต้องมีคุณสมบัติคือ Measurable (จับต้องได้) Affordable (ราคาไม่แพงจนเกินไป) Realistic และ Timely  การประชุม SRII Global Summit หารือเกี่ยวกับเรื่องต่างๆใน 4 Domains หรือมากกว่านั้น ตอนนี้คิดถึงมนุษย์พันธุ์ T คือจะเริ่มข้ามศาสตร์มากขึ้น ในการประชุม SRII Asia Summit ครั้งนี้จะมีประเด็นดังต่อไปนี้

-Tutorial เรื่อง Service Design, Service Engineering แม้เราพัฒนาคน เราก็ต้องมีข้อมูล จะมี Tutorial ของ Open Data, Open Platform และ Open Innovation มี Workshop และ Panel Discussion ทำให้คนตระหนักในความรู้ ความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม ต้องมี Success Story เราต้องมากำหนดว่าเป็นเรื่องอะไรในภาคบริการด้านสุขภาพ เราก็กำหนดว่า ก่อนเกิดการประชุม SRII Asia Summit ประเทศไทยจะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม Special Interest Group เพื่อทำ Service Innovation ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ต้นน้ำอยู่ที่ Mindset ของคน

-Business Process ถ้าเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ก็จะไม่ใช่ธรรมดา Business Process Service อยู่ในเรื่องคนต้องดูที่ Education Process จะเป็นความหมายของ Service Innovation ตัว Business Process จะทำให้เกิดภาคบริการเช่น การศึกษา การท่องเที่ยว และภาคเกษตรเพราะบริบทคนที่เกี่ยวข้องไม่เหมือนกัน ตอนนี้ Smart Farmer เป็นนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะทำ Smart Crop ได้

-Stakeholder Network เป็นการแก้ปัญหา  เราพัฒนาให้แล้วแต่ไม่มีเจ้าภาพรับต่อ เรื่องไอทีมีสิ่งสำคัญคือโจทย์และคน แล้วเงินจะตามมาเอง คนที่ทำเป็น Networking เรื่องภาคบริการด้านสุขภาพ จะเริ่มภายใน 6 เดือน หมื่นดวงใจโครงการในหลวงจะช่วยเราพัฒนาเครื่องมือตรวจรักษาหัวใจที่ไม่แพงให้สามารถตรวจและให้ความรู้แก่คน แล้เราจะไปบูรณาการอีกหลายเรื่อง ทำให้คนเรารู้ว่าเวลาเป็นโรคอะไร จะไปรักษาที่ไหนอย่างไร ต้องเลือกโรงพยาบาลใกล้เคียงที่สามารถปรึกษาได้ ส่วนเรื่องการท่องเที่ยว ก็จะมีคุณพงษ์พันธุ์เข้ามาประชุมเป็นบทเรียนที่ดีที่จะจับตาดูนักท่องเที่ยว ปรากฏว่าทำยากเพราะมีเรื่องร้องเรียน กำลังเปลี่ยนหัวข้อว่า 6 เดือนจะทำเรื่องอะไรให้เกิด Global Network และพัฒนาร่วมกัน นักท่องเที่ยวมาแล้วอุ่นใจ ทำให้คนท่องเที่ยวแล้วรู้สึกปลอดภัย ต้องมีข้อมูล หลายหน่วยงานต้องนำข้อมูลมาเชื่อมโยงกัน เช่น ข้อมูลท่องเที่ยว โรงแรม สปา กระทรวงไอซีทีเป็นเข้าภาพได้ ทำให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานและฐานข้อมูล ในเรื่องการศึกษา ได้มีโอกาสเข้าพบรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเรื่อง Smart Farmer นี่คือนวัตกรรมให้กับเกษตรกร ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทำอย่างไรให้เกษตรกรฉลาด วัดผลอย่างไร จะตรงกับยุทธศาสตร์ของประเทศเรื่องการยกระดับรายได้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีเงินเดือนอย่างน้อย 15,000 บาท เป็นความท้าทายเพราะนิสิตปริญญาตรีก็ได้เงินเดือน 15,000 บาท ตอนนี้เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 58 ปี ลูกหลานเกษตรกรก็ไม่ต้องการเป็นเกษตรกร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงพัฒนา Smart Farmer เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบริการด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว กาเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเกษตรกร

เรื่อง Service Innovation ก็มีกระทรวงไอซีทีเป็นเจ้าภาพ เป็นการทำให้เป็น Connecting Government ทำให้ Internal Management ดีขึ้น จากการไปพบกับท่านรับมนตรีพร้อมศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ทราบว่า ควรพัฒนาข้าราชการให้มี Mindset ที่ดี และมีความโปร่งใสเพราะเป็นผู้ให้บริการประชาชน น่าจะเป็น Product ของศบม.ได้

เรื่องบริการด้านสุขภาพและทั้งหมดจะมี Open Platform ในเรื่องการศึกษา เราไม่ได้มอง E-learning อย่างเดียว เรามอง content และ co-creation ของเครือข่ายคลังสมอง อยู่บ้านก็นำมาใช้ได้ ทำ platform อย่างไรให้ผู้มีประสบการณ์นำ content มาลงแล้วเกิดมูลค่าเพิ่ม

ควรจะนำสิ่งเหล่านี้มาร้อยเรียงให้เกิดแบรนด์ของศบม.เพราะมีเรื่อง Service Innovation คือการพัฒนาคน ทำให้เห็นผลภายใน 6-7 เดือน

วาระที่ 5 เรื่องทิศทางการดำเนินงานต่อไปของศบม.

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานกรรมการได้สรุปว่า การประชุมครั้งนี้ดีเพราะทุกคนมีสิทธิ์ออกความเห็น อย่างไรก็ตามในการบริหารจัดการให้ศบม.เข้มแข็งนั้น ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปต้องลงมือปฏิบัติด้วยไม่ใช่เน้นแค่ยุทธศาสตร์ ความสำเร็จคือคนที่จะขับเคลื่อนองค์กรนี้ วันนี้เรามีแต่คณะกรรมการ ตอนนี้ยังอันตรายที่จะตั้งคณะกรรมการหาทุนเพราะหาทุนได้ไม่ง่าย ทุกคนต้องร่วมมือกัน กิจกรรมกับการหาทุนต้องไปด้วยกัน ควรแลกเปลี่ยนความเห็นกัน เมื่อมีอุปสรรค ก็ควรหารือกันในคณะอนุกรรมการ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ได้เปรียบตรงที่มีความมุ่งมั่นสูง การเป็นองค์กรใหม่ Supply ต้องขึ้นอยู่กับลูกค้า ถ้าสนใจลูกค้าก็จะเดินไปได้ ถ้ามีความสำเร็จ โครงการนี้จะต่อยอด

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกท่านและหวังว่า การประชุมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์

 

วาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ

ไม่มี

 

 

 

 

ผู้บันทึกการประชุม                                                                       ผู้ตรวจรายงานการประชุม

 

(น.ส.จิตรลดา ลียากาศ)                                                                              (นายทำนอง ดาศรี)

ผู้ช่วยเลขาธิการ                                                                                                กรรมการ

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์                                                       มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษ

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๔๙.คณะสี่สหายกินอาหารเยอรมัน

พิมพ์ PDF

วันที่ ๓ มิ.ย. ๕๖ คณะสี่สหายนัดกันไปกินอาหารร้าน Bei Otto(www.beiotto.com)ซึ่งอยู่ในซอย ๒๐ ถนนสุขุมวิท  ตรงข้ามโรงแรม วินเซอร์  ที่ ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ทำหน้าที่เสาะหา แถมไปชิมมาก่อน  โดยเลือกตามเกณฑ์ ๒ อย่าง คือ  (๑)เป็นอาหารต่างชาติที่อร่อยและไม่คุ้นเคยเกินไปนัก  ศ. ฉัตรทิพย์บอกว่า ท่านไม่เลือกอาหารฝรั่งเศส อิตาลี จีน ญี่ปุ่น เพราะเราคุ้นกันดี(๒) สถานที่ดี ไม่จอแจ นั่งคุยได้

ปรึกษากันว่าคราวหน้าว่าจะเป็นอาหารสแกนดิเนเวีย  ต่อไปเป็นอาหารมองโกเลีย  อิสเรล  เม็กซิกัน  บาหลี  ที่เปิดขายตอนกลางวัน

คุยกันแล้ว ผมสัมผัสนิสัยรอบคอบ ประณีต ของ ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา  ท่านบอกว่า ท่านต้องใช้ความพยายามค้นหาทาง อินเทอร์เน็ต  เลือกแล้วไปดูร้าน ลองชิม  โดยต้องชวนคุณจรรยา ภรรยาของท่านไปช่วยชิมและให้ความเห็นด้วย  ผมได้ความคิดว่า คนที่ได้พัฒนานิสัยที่ดีแบบที่ ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ ปฏิบัติให้ผมดูเป็นตัวอย่าง โดยที่ท่านไม่รู้ตัว นี้ จะเป็นคนที่มีชีวิตที่ดี มีความสำเร็จในชีวิต

นี่คือส่วนหนึ่งของ “การศึกษา” ที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ

แค่สั่งอาหารก็สนุกแล้วโดยมีคุณเรียม พนักงานผู้ยิ้มแย้มแจ่มใสช่วยแนะนำอาหาร  เพราะพวกเราไม่รู้จัก  ผมรู้จักอย่างเดียวคือ ขาหมูเยอรมัน  และเมื่อผมเอ่ยชื่อขาหมูเยอรมัน ก็มีผลทำให้เราสั่งอาหารจานใหญ่ ที่มีขาหมูเยอรมันและไส้กรอกเยอรมันสารพัดชนิดสั่งมาจานเดียว กินกัน ๔ คน  และสั่ง Goulash soup ชนิด Goulash beef เข้มข้น  แกล้มเบียร์เยอรมัน ที่ ศ. วิชัย บุญแสง เลือกเบียร์ดำ ซึ่งกลิ่นหอมมาก

ตอนท้าย เราสั่งขนมหวานเยอรมัน ๒ อย่างตามคำแนะนำของคุณเรียม มาแบ่งกันกิน  อร่อยทั้งสองอย่าง แต่ผมลืมจดชื่อ

เราแสดงความยินดีกับ ศ. ฉัตรทิพย์ ที่ได้รับรางวัล Special Award of Excellence จาก Thai Ahom Development Council  ของรัฐบาลอัสสัม  ประเทศอินเดีย  โดยคนไทยอีกท่านหนึ่งที่ได้รับรางวัล คือ รศ. เรณู วิชาศิลป์ซึ่งไปทำวิจัยที่อัสสัมมา 4-5 ครั้งศ. ฉัตรทิพย์ บอกว่าคนไทอาหมมี 2.5 ล้านคนจากประชากรอัสสัม  20 ล้าน  ลักษณะคนคล้ายคนในรัฐฉานเหนือ เวลานี้คนไทอาหมไม่ได้ใช้ภาษาไทในชีวิตประจำวัน ใช้ภาษาอินเดีย  ภาษาไทใช้เฉพาะในพิธีกรรม

ศ. ฉัตรทิพย์เล่าว่า ได้มีการค้นพบจารึกภาษาไทที่เก่ามาก  อาจถึง ๒ - ๓ พันปี เป็นภาษาจ้วง เขียนด้วยตัวอักษรจีน เขียนคำไทยจ้วง เป็นการค้นพบจารึกภาษาไทที่เก่าที่สุด

เนื่องจากคุยกันในร้านอาหารเยอรมัน  ผมจึงอวดขึ้นว่า ในวันเสาร์ที่ ๘ มิ.ย. ผมจะไปประเทศเยอรมัน  ศ. ดร. ฉัตรทิพย์จึงเอ่ยขึ้นบ้างว่า ท่านก็มีแผนจะไปเยอรมัน  อยากไปเยือนเมือง Koenigsbergซึ่งเป็นเมืองของImmanuel Kant แต่เวลานี้ชื่อ Kaliningrad และอยู่ในรัสเซีย  Kant เป็นนักปรัชญา อ่านประวัติของท่านในวิกิพีเดียแล้วผมคิดว่าท่านเชื่อใน ปัญญาปฏิบัติ  มากกว่าปัญญาโดยการคิดเหตุผล

ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ กำลังเตรียมจัดทำหนังสือ เพื่อฉลองอายุครบ ๖ รอบ  ได้ต้นฉบับจากมิตรสหายและศิษย์  มาจัดทำหนังสือถึง ๙ เล่ม  และผมได้ร่วมเขียนเรื่อง มนุษยมิติและความเป็นชุมชนในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่ง ได้รับการจัดให้เป็นเรื่องสุดท้ายในเล่มที่ ๙

ผมได้รับเกียรติให้เป็นผู้แสดงปาฐกถาเกียรติยศ เรื่อง"เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องการเรียนรู้เพื่อชาติ เพื่อ ชุมชน"  ในวันงานฉลอง ๗๒ ปี ของ ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ดร. ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ วันที่ ๓๑ สิงหาคม๒๕๕๖


วิจารณ์ พานิช

๔ มิ.ย. ๕๖


 

โครงการ DFC3 : ๓. ความท้าทายต่ออุดมศึกษาเยอรมัน

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๐ มิ.ย. ๕๖ ช่วงเช้าเราประชุมที่โรงแรม  เพื่อเรียนรู้ความท้าทายต่อระบบอุดมศึกษาเยอรมัน จากวิทยากร ๒ ท่าน

ต่อไปนี้เป็นบันทึกใน iPadที่ผมบันทึกระหว่างวัน

 

ตื่นตี ๔ ได้นอน ๖ ชั่วโมงฟ้าเริ่มสางพอ๔.๓๐ น. ก็สว่างเปิดหน้าต่างได้ยินเสียงนกร้องเซ็งแซ่เพราะโรงแรมStreignebergerอยู่ติดกับสวนสาธารณะเล็กๆอากาศเย็นไม่มาก

พยายามจำชื่อและความสนใจของผู้ร่วมเดินทางและคิดวางแผนการทำ AAR ในช่วงการเดินทางบนรถเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่สุดจะเสนอให้สมาชิกอาสาสมัครทำหน้าที่ "ดร. ลิขิต" ของ AAR ในแต่ละวันสรุปประเด็นจากการ AAR แต่ละวันเอามาสรุป ๒ - ๓ นาทีให้กลุ่มได้ใช้ต่อความรู้ในวันต่อๆไปและจะได้เป็นเอกสารของรุ่นด้วย

ได้ความคิดว่าน่าจะทำความตกลงหมุนเวียนกันอาสาสมัครทำหน้าที่จดสรุปสาระสำคัญของแต่ละsession  สำหรับทำเป็นรวมบันทึกประจำรุ่น


ช่วงเช้า

ฟังบรรยายที่โรงแรมเพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่รัฐบาลกลางเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบของอุดมศึกษา  ด้วย Excellence Initiative  ซึ่งประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ  (๑) บัณฑิตศึกษา  (๒) กลุ่มวิจัย  (๓) การสร้างความเข้มแข็งในอนาคต


ศ. ดร.ปิยะวัติบุญ-หลง

- เบอร์ลิน เป็นเมืองหลวงที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

- Excellence Initiative, - for the Future :เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลกลางใช้induce การเปลี่ยนแปลงในระบบอุดมศึกษา

ขอให้ฟังและทำความเข้าใจอะไร,ทำไม, บริบทคืออะไรมองลึกที่เบื้องหลัง, เอากลับไปใช้, หวังให้เกิดความร่วมมือกับเยอรมันที่เป็นรูปธรรม

Ingo Rollwagen: Doing More with Less ซึ่งดู pptการนำเสนอซึ่งซ้ำกับการนำเสนอที่อื่นของเขาได้ที่  และดู pptที่เขาใช้ประกอบการบรรยายในวันนั้นได้ ที่นี่

ในยุค knowledge-based economy มหาฯต้องเข้าไปทำหน้าที่ร่วมพัฒนาประเทศและพื้นที่ร่วมมือแสวงหาโอกาสใหม่ๆออกจากข้อจำกัดโดยเฉพาะ bureaucracy  ใช้พลังใหม่ๆเช่น ICT สาระที่สำคัญที่สุดของเขาคือ สถาบันอุดมศึกษาต้องหาทางทำประโยชน์ให้แก่สังคมมากขึ้น โดยที่ต่อไปจะได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากรัฐน้อยลง

Tim Flink : German University Paradox เสนอผลการวิจัยผลกระทบจากโครงการ Excellence Initiative เนื่องจากเขาเป็นนักสังคมศาสตร์  การศึกษาผลกระทบนี้จึงศึกษาทั้งโดยวิธีวิทยาแบบ quantitative และ qualitative

มหาฯต้อง differentiate ทั้ง vertical และ horizontal  กลไกกลางกระตุ้นด้วย Excellence Initiative  ผลคือเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างแต่วัฒนธรรมเน้น Academic Excellence ของอจ. ไม่เปลี่ยนดู pptของ Tim Flinkได้ ที่นี่


ช่วงบ่าย

เยี่ยมเรียนรู้กิจการของ BSEL(Berlin School of Economics and Law) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกลุ่มUniversity of Applied Sciences and Artsคือเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้โดย BSEL เน้นด้านสังคมศาสตร์นศ. ที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้เน้นเพื่อการมีงานทำเป็นหลักเป็นมหาวิทยาลัยประเภทที่มีจำนวนมากที่สุดคือมี ๒๒๑​ แห่งทั่วประเทศ BSEL มีนศ. ๑ หมื่นคนศาสตราจารย์ ๒๐๐ เจ้าหน้าที่สนับสนุน ๗๐๐

เน้นบริการนักศึกษาเพื่อให้มีงานทำสร้างคนให้หน่วยงานเอกชน - Cooperative Study Programmeแบบที่ นศ. เรียน ๓ เดือน ทำงาน ๓ เดือนสลับกัน  ได้รับเงินเดือนจากบริษัท  เรียน ๓ ปี เมื่อจบปริญญาตรี ๘๐% บริษัทรับเข้าทำงานประจำ  โดยที่ตอนคัดเลือก บริษัทเป็นผู้คัดเลือก  เป็น “สหกิจศึกษา” ที่เข้มข้นกว่าของบ้านเรามาก

ริเริ่มวิธีการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการมีงานทำ หรือเป็นที่ต้องการของนายจ้าง  หรือเพื่อออกไปสร้างงานเอง หลากลายวิธี ได้แก่ บริการให้คำแนะนำปรึกษา (student counseling), การจัดฝึกอบรมทักษะเพิ่มเติมด้าน soft skills, การให้คำแนะนำปรึกษาด้านการทำงาน, ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการ, หน่วยประสานงานกับนายจ้าง, เครือข่ายบริการการมีงานทำ, cross cultural mentoring

รุกไปร่วมมือต่างประเทศหลากหลายประเทศโดยร่วมกันจัดการศึกษาแบบ๒ ปริญญา ทั้งระดับปริญญาตรี และโท

สถานที่/campus ง่ายๆ

ความริเริ่มสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยแบบนี้ เน้นที่การพัฒนานักศึกษา  เพื่อการมีอาชีพที่ดี  เราได้เห็นความภาคภูมิใจ ในตัวตนของมหาวิทยาลัยเพื่อการมีงานทำของนักศึกษา  ความร่วมมือกับต่างประเทศก็เพื่อบรรลุผลการทำหน้าที่นี้


ช่วงเย็น

ชมอาคารรัฐสภาเป็น guided tour เฉพาะกลุ่มเราเป็นทัวร์ประวัติศาสตร์มากกว่าทัวร์อาคารได้เห็นวิธีคิดสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ที่ใช้ประโยชน์หรือเกิดคุณค่าหลายด้านต่อสังคมเยอรมันรวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย

หลังจากนั้นเดินไปบริเวณBrandenberg Gate ที่เคยกั้นระหว่างเยอรมันตะวันออกกับตะวันตกบริเวณกว้างบรรยากาศคึกคักมีรถจักรยานคนถีบ ๑๐ คนนั่งรอบเป็นวงกลมแต่มีกลไกให้ส่งแรงไปทางเดียวกัน

หลังกินอาหารเย็นที่ภัตตาคารแถวนั้นชื่อTucher am TorเดินไปHolocaust Memorial ให้ความรู้สึกสังเวชกับการที่มนุษย์เกลียดชังเข่นฆ่าเพื่อนมนุษย์แล้วนั่งรถกลับโรงแรมโดยรถพาวนไปชมย่านสถานทูตด้วย

 

วิจารณ์ พานิช

๑๕ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/542088
 

การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม : หัวใจอุดมศึกษา : ๑๐. ประสบการณ์ของ Contemplative Practice Fellow

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmerและ Arthur Zajoncซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี“พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit) หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน(Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษาเข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว  แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน  ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๐ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของAppendix A : In the Classroom  เขียนโดย Mirabai Bush, Executive Director, The Center for Contemplative Mind in Societyเล่าเรื่อง Contemplative Practice Fellows ของศูนย์  ที่นำวิธีการปฏิบัติใคร่ครวญ หรือจิตตภาวนา ไปใช้กับ นศ.  แล้วเกิดผลดี ทำให้ นศ. เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจเพื่อนๆ และเข้าใจโลก

วิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจิตตภาวนานี้ ควรนำไปใช้ในการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา  เพื่อให้ นศ. เกิดการเรียนรู้บูรณาการ / เรียนรู้แบบเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน  ควบคู่ไปกับวิธีการเรียนรู้ตามปกติ ที่เรียกว่าวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

กล่าวใหม่ว่า ในอุดมศึกษา นศ. ควรได้รับการฝึกฝนเรียนรู้ ๒ สายไปด้วยกัน คือสาย Contemplative Inquiry  กับสาย Critical Inquiry  จะทำให้เกิดการเรียนรู้บูรณาการ ๒ สาย และเกิดการเสริมส่ง (synergy) ซึ่งกันและกัน  ทำให้มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข มีมิตรภาพ มีชุมชนแห่งการเรียนรู้  เกิดความเจริญงอกงามครบด้าน (สมอง ใจ และวิญญาณ)

The Center for Contemplative Mind in Society มีทุนสนับสนุนสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาด้วย อ่านได้ ที่นี่ สถาบันในประเทศไทยที่สนใจจริงๆ อาจลองติดต่อพูดคุยกับเขาได้

บทความนี้เล่าเรื่องศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ๓ คน  จาก ๑๔๕ คน ที่ได้รับการสนับสนุนเป็น fellow ฝึกจิตตภาวนา  และนำวิธีการจิตตภาวนาไปใช้ในชั้นเรียน

ท่านแรกเป็นศาสตราจารย์ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์  ให้ นศ. วาดแผนที่และรูปตอนเป็นเด็ก  เพื่อสะท้อนความประทับใจของตน  จะเป็นรูปบ้าน อะพาร์ตเม้นท์  โรงเรียน  ห้องเรียน  บ้านเพื่อน ฯลฯ หรืออะไรก็ได้  สำหรับอธิบายความประทับใจชีวิตวัยเด็กของตน  ศาสตราจารย์ท่านนี้ นำประสบการณ์มาเล่าในการประชุม Uncovering the Heart of Higher Education ว่าการเรียนรู้แบบดังกล่าวช่วยให้ นศ. เข้าใจความหมายของการสร้าง และการดำรงชีวิตที่มีความหมายในโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง ว่าเป็นอย่างไร

นศ. สถาปัตยกรรมศาสตร์ เรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งก่อสร้าง กับการดำรงชีวิตที่มีความหมาย ในท่ามกลางโครงสร้างทางวัตถุนั้น  ทำให้สถาปนิก มีการเรียนรู้บูรณาการรอบด้าน  เข้าใจสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เป็นศาสตร์แข็งหรือปัญญา (สมอง) เท่านั้น  แต่เข้าใจลึกและครอบคลุมส่วนที่เป็นศาสตร์อ่อน คือ ใจ และวิญญาณ ด้วย

อีกท่านหนึ่ง เป็นรองศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา สอนวิชา Food and Hunger : Contemplation and Action โดย นศ. ออกไปทำงานร่วมกับองค์กรช่วยเหลือผู้หิวโหยในพื้นที่  และไปฝึกปฏิบัติจิตตภาวนา ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้หิวโหย

รศ. ท่านนี้รายงานต่อที่ประชุมว่า นศ. เข้าใจจิตใจและอารมณ์ของตนดีขึ้น  รวมทั้งเข้าใจเรื่องความอดหยากหิวโหย ในมิติที่ลึกและเชื่อมโยงขึ้น

อีกท่านหนึ่งเป็นทั้งศาสตราจารย์และเป็นกวี  ได้รับ fellowship ให้ไปสอนที่โรงเรียนนายร้อยทหาร เวสต์ พ้อยท์  โดยเลือกสอนวิชาร้อยกรอง และสมาธิภาวนา แก่นักเรียนนายร้อยที่ต่อมาถูกส่งไปสมรภูมิที่อิรัก  หลังจากนั้น ศ. ท่านนี้ (เป็นผู้หญิง) ได้รับอีเมล์จากศิษย์กลุ่มนี้หลายคน  ว่าวิชาที่ได้เรียนรู้ทั้ง ๒ วิชานี้ ช่วยเขาในยามวิกฤตอย่างไร

Contemplative Practice Fellows 145 คน จาก ๑๐๑ สถาบันการศึกษา นี้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก Fetzer Instituteเขาทำงานร่วมมือกับทั่วโลก เพื่อขยายพลังของความรักและการให้อภัย  ผมเอามาลงไว้เผื่อบางมหาวิทยาลัยจะติดต่อทำงานร่วมมือกับเขา

เขาบอกว่า วิธีการฝึกจิต (จิตศึกษา, จิตตปัญญาศึกษา) นี้ เขาทำหลายวิธีแตกต่างกัน  เช่น ทำสมาธิ,  ฝึกจี้กง,  โยคะ,  lectio divina,  เป็นต้น   เป็นการฝึกจิตให้เปิดรับโอกาสใหม่ๆ  สร้างเสริมปัญญาจากการเปิดรับความสัมพันธ์กับสรรพสิ่งในโลก  สร้างจิตที่เห็นแก่ผู้อื่น และเสียสละ ผ่านความเข้าใจความเชื่อมโยงถึงกันหมดของสรรพสิ่ง และทุกชีวิต  เป็นการเรียนเพื่อเสริมการเรียนรู้ในแนวทางวิทยาศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บ่งชี้ว่า การฝึกจิต ช่วยพัฒนาทักษะทางปัญญาข้ามศาสตร์ เช่นการตัดสินใจ สมาธิ ปัญญาญาณ ความจำ  รวมทั้งทักษะด้านอารมณ์ เช่น ความมีสติ การควบคุมตนเอง และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

จะเห็นว่า การเรียนรู้ผ่านการฝึกจิต ช่วยให้การศึกษานำไปสู่การสร้างมนุษย์ที่มีใจสูง เพิ่มศักยภาพในการทำความดี  ตรงกันข้ามกับมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว เพิ่มอำนาจทำลายล้าง

การเรียนรู้ผ่านการฝึกจิต ที่เรียนร่วมกับวิธีการเรียนรู้แนววิทยาศาสตร์ และการคิด  ช่วยพัฒนามนุษย์ทั้งตัว ให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ  การเรียนรู้ตามแนวกระแสหลักที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีวันพัฒนามนุษย์ได้เต็มศักยภาพ

 

วิจารณ์ พานิช

๔ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/539791

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๓๐. เรียนรู้จากอดีตประธาน สมศ.

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๑ พ.ค.. ๕๖ ผมมีโอกาสคุยกับ ดร. ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ อดีตประธาน สมศ. ที่หมดวาระเพราะอายุครบ ๗๐  ได้มีโอกาสร่วมกัน AAR การทำหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงานอิสระของรัฐ  ท่านบอกว่า ท่านมัวเสียเวลาแก้ปัญหา จนไม่มีเวลาคิดเรื่องใหญ่ๆ

ท่านพูดอย่างนี้ เพราะผมเล่าให้ท่านฟังเรื่องการไปบรรยายเรื่อง คุณภาพการศึกษา และผู้จัดประชุมขอให้ผมพูดโยงไปยังมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา  และผมได้เสนอให้ยุบ สมศ. ดัง บันทึกนี้ โดยผมอธิบายให้ ดร. ชิงชัยฟังว่า ผมมีความเห็นว่า การประเมินคุณภาพการศึกษาที่เน้น จัดการประเมินระดับชาติ เพื่อประเมินนักเรียนเป็นรายคนนั้น เป็นวิธีที่ผิด  วิธีที่ถูกคือฝึกครู ให้ประเมินเด็กได้แม่นยำ  และมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการประเมิน แก่ครูและโรงเรียน  กลไกประเมินในระดับชาติทำหน้าที่พัฒนาและตรวจสอบว่า ครูและโรงเรียน ประเมินได้แม่นยำ น่าเชื่อถือจริงๆ  ดร. ชิงชัยบอกว่า เห็นด้วยกับหลักการที่ผมเสนอ  และปรารภว่า ตอนที่ท่านเป็นประธาน สมศ. ท่านไม่มีโอกาส คุย หรือพิจารณาเรื่องใหญ่ๆ เชิงสร้างสรรค์แบบนี้เลย  หมดเวลาไปกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร

ทำให้ผมหวนกลับมาคิดว่า ตนเองเป็นคนมีบุญ  ที่ไม่ว่าไปทำงานที่ใด เมื่อจากมา ก็จะทิ้งร่องรอย และผลงานดีๆ ไว้ให้คนที่มาทำต่อ ได้สานต่ออย่างสร้างสรรค์  ไม่มีการสร้างปัญหาไว้ให้คนอื่น

คิดอีกที เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องยาก  หากเรามีศีล ไม่ทำเรื่องที่เป็นการหาผลประโยชน์ใส่ตัวและพวกพ้อง  และมุ่งทำงานที่ก่อประโยชน์ส่วนรวมจริงๆ  ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองท่านจะเห็น และจะเข้ามาช่วยกันทำงาน หรือช่วยสนับสนุน

คิดต่ออีก ผมโชคดี ที่ชีวิตได้เข้าไปทำงานในหน่วยงานตั้งใหม่ถึง ๓ หน่วยงาน  จึงได้มีโอกาสเรียนรู้ และวางระบบงาน วางวัฒนธรรมองค์กร  คิดถึงทีไรมีความสุขเมื่อนั้น


วิจารณ์ พานิช

๔ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/539260

 


หน้า 463 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8556555

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า