Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๐๖๔. ร่วมงานเปิดหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑ ส.ค. ๕๓ ผมควงสาวน้อยไปร่วมงานเปิดหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ โดยเรานั่งรถแท้กซี่ไปเพราะเกรงว่าหากขับรถไปเองจะไม่มีที่จอดรถ   โชเฟอร์เป็นคนที่คุ้นเคยกับสวนวชิรเบญจทัศน์เป็นอย่างดี   เพราะไปขี่จักรยานออกกำลังที่นั่นเป็นประจำ   จึงพาเราไปทางลัดทางด้านหลัง   แต่รถก็จอแจมาก เพราะคนไปร่วมงานมากจริงๆ

พิธีตักบาตรเขาเริ่ม ๘ น. แต่เราไปถึงประมาณ ๘.๓๐ พิธีจึงอยู่ระหว่างดำเนิน   คนแน่นจอแจจนผมชักแหยง   เพราะผมเป็นคนไม่ชอบความจอแจ

เราไปลงทะเบียนแล้วเข้าแถวรับหนังสือแจก ได้มาคนละหลายเล่ม   เดินเข้าไปอีกหน่อยก็เริ่มพบคนรู้จัก   แล้วก็พบคนรู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ จากทักทายกลายเป็นคุยกัน   หมอสมศักดิ์แนะนำให้รู้จักคุณสุพจน์ เจียมจรัสจรรยาแห่งกลุ่มบริษัทแปลน  ว่าจะให้ลูกน้องในบริษัททำ R2R เพื่อพัฒนาบริษัท   ผมจึงชวนให้ส่งประกวดผลงานในมหกรรม R2R ครั้งที่ ๔ ในปีหน้า

หมอบัญชา พงษ์พานิช โต้โผใหญ่ของงานเสร็จจากเป็นพิธีกรงานตักบาตร   มาชวน อ. หมอประเวศ และพวกเราขึ้นไปชมอาคารชั้น ๒   โดยเฉพาะสวนปฏิจจสมุปบาท และห้องนิพพานชิมลอง

อาคารก่อสร้างสวยงาม และเหมาะสมต่อการเรียนรู้ธรรมะมาก   ตั้งอยู่ตรงพื้นที่สวยงามสงบ ให้บรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับมาปฏิบัติธรรม หรือมาเรียนรู้ธรรมะมาก   ที่ลานหินโค้งมีรูปหล่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นประธานสง่างาม   และมีพระพุทธรูปอยู่ด้านซ้าย

อาคารยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ก็เสร็จพอที่จะเปิดใช้ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป   และมีผู้มาจองจัดงานฉลองหรือสมโภชพระผู้ใหญ่ หรือผู้ที่ควรแก่การยกย่องที่สิ้นไปแล้ว   เช่น ๑๐๐ ปีท่านปัญญานันทะภิกขุ

ผู้กล่าวเปิดงานคือ ท่านอดีตรองนายกรัฐมนตรี ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม   แล้วมีพิธีมอบหนังสือ ๑๐ เล่มโดยตัวแทนหน่วยงานผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์มามอบ   ตามด้วยการเสวนาโดย พระไพศาล วิสาโล  และ ศ. นพ. ประเวศ วะสี  ดำเนินการโดยคุณภิญโญ พิธีกรชื่อดัง   ตรงส่วนนี้ผมได้เรียนรู้มาก ในด้านการประยุกต์ธรรมะเข้ากับชีวิตประจำวันของตนเองและของบ้านเมือง

หลวงพี่ไพศาลพูดเรื่องการทำบุญแบบฉือจี้   ว่าในสังคมไทยเดิมพื้นที่สำหรับการทำบุญมีอยู่ทั่วไป คือทำอยู่ในทุกกิจกรรม ในชีวิตประจำวัน   แต่เวลานี้ถูกทุนนิยมทำให้พื้นที่แคบลง   และเปลี่ยนจากทำบุญเพื่อผู้อื่นกลายเป็นทำบุญเพื่อตนเอง   แต่แนวพุทธฉือจี้สอนให้ทำบุญเพื่อผู้อื่น   เน้นการจัดการความดี ให้ความดีรวมตัวเกิดพลัง   เป็นพลังแห่งความเมตตามุ่งทำประโยชน์แก่ผู้อื่น

อ. หมอประเวศ พูดเรื่องการสร้างหอจดหมายเหตุพุทธทาส เป็นการขยายพื้นที่บุญ   ซึ่งหากคิดถึงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์จะมีได้จำกัด   แต่ถ้ามองเป็นพื้นที่บุญในหัวใจมนุษย์ จะไม่จำกัด   คำสอนของท่านพุทธทาสเป็นเสมือนโลกุตรโอสถ ที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน   เพื่อการเปลี่ยนจิตสำนึกใหม่ของมนุษย์   ให้ออกจากวัตถุนิยม มาเป็นบุญนิยม

เมื่อคุณภิญโญถามเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยกับการปรองดอง   ผมจึงได้ความรู้จาก อ. หมอประเวศว่า คู่ตรงกันข้ามกับความรุนแรงไม่ใช่สันติ แต่คือการสร้างสรรค์ คือการสร้างสรรค์ร่วมกัน

สันติไม่ใช่ทางแก้ปัญหาความรุนแรง   การสร้างสรรค์ต่างหากที่แก้ปัญหาความรุนแรง    การร่วมกันทำงานสร้างสรรค์เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่คือหนทางแห่งมิตรภาพและปรองดอง

งานส่วนนี้เสร็จเวลา ๑๑.๓๐ น.สาวน้อยเริ่มปวดท้อง   เราจึงรีบนั่งแท้กซี่กลับบ้าน   นับเป็นครึ่งวันแห่งความสดชื่นหัวใจ   ที่เราได้ร่วมกันสร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ ขยายพื้นที่บุญ จากสวนโมกข์ ไชยา มาไว้ในกรุงเทพ   เพื่อช่วยให้คนกรุงเทพได้มีเครื่องช่วยฝึกฝนการขยายพื้นที่บุญในใจตนเอง    และช่วยส่งเสริมให้กัลยาณมิตรได้รับประโยชน์นี้ด้วย 
“พี่ใหญ่” คุณ     นงนาท สนธิสุวรรณ   เขียนเล่าไว้ที่นี่

 

วิจารณ์ พานิช
๑ ส.ค. ๕๓

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/388012

ท่านใดต้องการดูภาพโปรดเข้าไปที่ link ด้านบน

 

เทคนิคการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงาน (CoPs) ทางออนไลน์ใน GotoKnow

พิมพ์ PDF

เนื่องจากมีสมาขิกเก่าและใหม่และผู้สนใจที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกหลายท่านให้ความสนใจในโครงการนี้ ดิฉันจึงขอสรุปและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการนี้ดังต่อไปนี้นะคะ

GotoKnow คือ ชุมชนเสมือนและเป็นคลังความรู้ของคนทำงานทั้งในระดับบุคคลหรือองค์กรชุมชนที่เข้ามาถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความรู้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตในประเด็นความสนใจต่างๆ ด้วยการบันทึกข้อความ รูป ไฟล์ หรือ ลิงก์วิดีโอ ลงในสมุดบันทึกหรือบล็อกใน GotoKnow ค่ะ

สมาชิกของ GotoKnow สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้ความสนใจและผู้คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้ด้วยเครื่องมือที่สำคัญ 4 อย่างดังนี้ค่ะ

1. ระบบคำสำคัญของบันทึก

เพียงแค่ประชาสัมพันธ์ให้ใส่คำสำคัญเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงชุมชนได้แล้วค่ะ

2. ระบบการติดตาม

สมาชิกชุมชนจะไม่พลาดการติดตามบันทึกของสมาชิกท่านอื่นด้วยการกดติดตามค่ะ

3. ระบบแพลนเน็ตหรือรวมบล็อก *กำลังอยู่ในระหว่างปรับปรุง

4. ระบบชุมชน *กำลังอยู่ในระหว่างปรับปรุง

 

ความหมายของกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ

กลุ่มชนชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice - CoPs) หรือที่ดิฉันขอเรียกเพื่อสร้างความเข้าใจง่ายๆ ว่าเป็น กลุ่มชุมชนคนทำงาน นั้นหมายถึง การรวมตัวของผู้ที่มีความสนใจเดียวกันมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความเห็นกันอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ที่ช่วยเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการร่วมมือระหว่างกันค่ะ

ในด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) นั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า กลุ่มชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการร่วมมือกันแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้เกิดการถ่ายทอดแนวปฏิบัติดีๆ (Best practices) ได้ไม่ยากค่ะ เพราะด้วยสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นข้ามสายงานและองค์กรที่เกิดขึ้นจากกลุ่มชุมชนนั่นเองค่ะ

ทาง GotoKnow จึงเข้ามาสนับสนุนการสร้างกลุ่มชุมชนอย่างเป็นทางการขึ้นค่ะ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยได้มีพื้นที่ของกลุ่มชุมชนและคลังความรู้ที่เกิดจากผู้คนที่รวมตัวกันข้ามสายงาน ข้ามหน่วยงาน หรือข้ามองค์กร มาร่วมกันสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งขึ้นใน GotoKnow ค่ะ

 

เทคนิคการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงาน

ที่ผ่านมา GotoKnow ได้สนับสนุนกลุ่มชุมชนคนทำงานไปแล้วจำนวน 9 ชุมชนค่ะ ได้แก่

 

  • ชุมชนวิทยากรกระบวนการ (Facilitators)
  • ชุมชนครูเพื่อศิษย์
  • ชุมชนพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
  • ชุมชนผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
  • ชุมชนสุขภาวะชุมชนหนองบัว
  • ชุมชนเยาวชนจิตอาสา
  • ชุมชนกิจกรรมบำบัด
  • ชุมชมองค์กรสุขภาวะและการสร้างพื้นที่แห่งความสุข
  • ชุมชนอาหารเพื่อสุขภาพ

 

ดิฉันได้ลองถอดบทเรียนของชุมชนเหล่านี้ออกมาเป็นเทคนิคต่างๆ ในการสร้างกลุ่มชุมชนทางออนไลน์ดังนี้นะคะ และหวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงานใน GotoKnow ในครั้งนี้ค่ะ

1. สร้างความเป็นตัวตนจริงๆ

ในหน้าโปรไฟล์ (Profile) ควรระบุความเป็นตัวตนที่ชัดเจนของสมาชิก เช่น ชื่อ นามสกุล องค์กร รูปถ่ายจริง เป็นต้น เพราะผู้คนจะให้ความร่วมมือและความสนใจในเนื้อหาและชุมชนมากขึ้นหากสัมพันธภาพมีมากขึ้นซึ่งแสดงง่ายๆด้วยการให้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่จะเปิดเผยตัวตนของบุคคลนั้นๆ ค่ะ

2. ดำเนินกิจกรรมทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์

สัมพันธภาพและความรู้จะงอกเงยขึ้นได้ด้วยกิจกรรมที่นำมาสู่การร่วมมือกันค่ะ เช่น ในทางพื้นที่จริงนั้นมีการจัดกิจกรรมเพื่อพบปะสังสรรค์หรือร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสา หรือในทางออนไลน์มีการจัดกิจกรรมร่วมกันถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ผ่านรูปถ่าย หรือ บันทึกใน  GotoKnow ค่ะ

3. มีทีมกระตุ้นการร่วมมือสร้างกลุ่ม

กลุ่มชุมชนที่รวมตัวขึ้นมาจะต้องมีทีมหลักที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นในเกิดการร่วมมือในกิจกรรม มีการประชาสัมพันธ์ชุมชน และมีหน้าที่ในการอบรมให้สมาชิกในชุมชนได้รู้จักใช้เครื่องมือออนไลน์ของ  GotoKnow หรืออบรมทำความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ของชุมชนค่ะ ที่สำคัญคือทีมจะต้องมีใจรักการเขียนการอ่านนะคะ

4. ให้ความสำคัญกับการให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการให้รางวัลตอบแทน

ทีมหลักของชุมชนต้องให้ความสำคัญกับการร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในระดับต่างๆ กัน เช่น สมาชิกที่ร่วมกิจกรรมออนไลน์บ่อยที่สุด สมาชิกที่มีบันทึกมากที่สุด สมาชิกที่ต่อยอดความเห็นมากที่สุด เป็นต้นค่ะ และควรสนับสนุนกระตุ้นการร่วมมือนี้ด้วยรางวัลตอบแทนค่ะ ซึ่งอาจจะเป็นรางวัลที่สัมผัสได้และมีคุณค่าแก่ผู้ได้รับค่ะ ส่วนรางวัลการเป็นที่ยอมรับในชุมชนย่อยและชุมชนใหญ่ของ GotoKnow นั้นจะเห็นได้ชัดจากการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วค่ะ

5. สร้างแบรนด์ของกลุ่มชุมชน

ชื่อเรียกชุมชน เป้าหมายการรวมตัว หรือวัตถุประสงค์ของชุมชน ที่ตอกย้ำอย่างต่อเนื่องผ่านเครื่องมือต่างๆ ที่ GotoKnow มีให้ เช่น การบันทึกความรู้หรือภาพกิจกรรม การอีเมลส่งตรงถึงสมาชิกแต่ละคน ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างความเหนียวแน่นให้กลุุ่มชุมชนค่ะ

6. ผู้นำทำเป็นตัวอย่าง

ทีมผู้นำชุมชนจะเป็นคนที่กระตุ้นให้เกิดการร่วมมือของสมาชิกได้ดีที่สุดค่ะ ดังนั้นทีมผู้นำจะต้องเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแบบอย่างให้สมาชิกค่ะ เขียนบ้าง ไม่เขียนบ้าง ปล่อยปละละเลย จะทำให้สมาชิกหมดไฟในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางออนไลน์นะคะ

7. สกัดความรู้ให้เข้าใจง่าย

ในสังคมปัจจุบันนี้ ให้อะไรก็ไม่ดีเท่ากับการให้ความรู้สู่สังคมค่ะ คุณค่าของการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ของสมาชิกในชุมชนคือ การที่ความรู้ของเขาได้เกิดการผสมผสานความรู้กับผู้อื่นและเกิดเป็นชุดความรู้ที่เข้าใจง่ายเพื่อให้สังคมไทยได้มีความรู้ที่นำไปใช้ปฏิบัติได้จริงค่ะ การสกัดความรู้ที่ชุมชนถ่ายทอดออกมาจึงเป็นหน้าที่หนึ่งของทีมผู้นำชุมชนค่ะ

8. ต้อนรับสมาชิกใหม่

น้องใหม่ที่เข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนต้องได้รับการต้อนรับและให้คำแนะนำอย่างดีค่ะ และมีกิจกรรมอบรมและสร้างแรงบันดาลใจในการใช้เครื่องมือ GotoKnow  หรือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกันเป็นระยะๆ ค่ะ

9. สร้างชุมชนอย่างมีแบบแผน

ทีมผู้นำชุมชนอาจจะคิดไว้ก่อนหน้าแล้วว่า อยากให้เกิดเนื้อหาความรู้ในประเด็นใดบ้าง หรืออยากให้เกิดสมาชิกในสายงานอาชีพหรือความสนใจใด จะช่วยให้สร้างชุมชนได้อย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเกิดชุดความรู้ที่มีแกนหลักของเนื้อหาครบถ้วนค่ะ

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/541908
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๑๘๗. เที่ยวทั่วไทย ให้ถึงธรรม

พิมพ์ PDF

กลับจากหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ พร้อมหนังสือหนึ่งถุงใหญ่   หนังสือธรรมะดีๆ ทั้งนั้น   เล่มหนึ่งน่าสนใจมาก ชื่อ เที่ยวทั่วไทย ให้ถึงธรรม เปิดพื้นที่ธรรมในหัวใจสำหรับผู้ปฏิบัติฯ มือใหม่   แนะนำ ๕๐ สถานปฏิบัติธรรมทั่วไทย

 

อ่านแล้วระลึกถึงช่วงที่ผมคิดไปเที่ยววัดอยู่ช่วงหนึ่ง อ่านได้ที่นี่ ผมเกิดความรู้สึกอ่อนใจ   ว่าวัดมีแต่เรื่องไสยศาสตร์ และพุทธพาณิชย์   หาวัดที่สอนธรรมะแท้ๆ ยากมาก   เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้ก็ชื่นใจ   ที่ได้เห็นการรวบรวมวัดและสถานปฏิบัติธรรม แนะนำแก่ผู้สนใจ แถมด้วยสถานที่ท่องเที่ยว   ในลักษณะแนะนำแก่คนรุ่นใหม่

 

จึงนำมาเผยแพร่   ด้วยความชื่นชมว่า หนังสือเล่มนี้เขียนสั้นๆ มีภาพและแผนที่ประกอบ ชวนอ่านมาก

 

วิจารณ์ พานิช
๒๓ ม.ค. ๕๔

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๕๙๔. โรงมหรสพทางวิญญาณของผม

พิมพ์ PDF

เรากำลังร่วมกันยกโรงมหรสพทางวิญญาณที่สวนโมกข์ มาไว้ที่กรุงเทพ (www.bia.or.th)    พิธีเปิดตัวหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เมื่อวันที่ ๑๐ ก.ย. ๕๑ ทำให้ผมลองถามตัวเองว่า ผมมีโรงมหรสพทางวิญญาณส่วนตัวของผมเองไหม


ผมกล้าหาญตอบตัวเองว่ามี   และโรงมหรสพทางวิญญาณของผม มีลักษณะเป็น “โรงมหรสพเสมือน” (Virtual Theatre)    ไม่มีตัวตนให้จับต้องทางวัตถุ    แต่มีตัวตนจับต้องได้ในทางกิจกรรมหรือภารกิจ

เมื่อมารู้จัก KM ตัวตนที่ไม่เป็นวัตถุของโรงมหรสพทางวิญญาณของผม ก็ชัดขึ้น   มันเกิดขึ้นจากการ AAR ชีวิตประจำวัน   เอามาตีความหลากหลายมิติ  มิติหนึ่งคือในทางธรรม ทางการเรียนรู้เชิงจิตตปัญญา หรือจิตวิญญาณ   ซึ่งแน่นอน ตัวละครใน “โรงมหรสพ” มีมากมาย   เป็นมหรสพในชีวิตจริง มีตัวละครเป็นๆ โลดแล่นแสดงบทอย่างจริงจัง    โดยมีผมเป็นตัวแสดงตัวหนึ่ง

ผมพยายามเน้นมหรสพที่ให้ความรื่นเริงเบิกบานในธรรมารมณ์ เน้นโลกุตรธรรม   ไม่ใช่ในระดับโลกธรรม

จุดสำคัญคือความสนุกสนาน ร่าเริงเบิกบานในชีวิต   ที่เป็น “ความสนุกสนานภายใน”   ที่สนุกแบบสงบ และยกระดับจิตใจ    มองอีกมุมหนึ่ง คล้ายเป็น “โรงพลศึกษา” หรือโรงฝึกซ้อม ทางจิตตปัญญา    โดยไม่ต้องสร้างอาคาร ไม่ต้องมีวัตถุ

ในความเป็นจริงโรงมหรสพนี้ไม่ได้ราบเรียบ   มันมีบทรบศึก บทรัก บทโศก ฯลฯ ตามความเป็นจริงของชีวิต   เป็นความท้าทายว่าผมจะฝึกฝนยกระดับธรรมารมณ์ผ่านสภาพลุ่มๆ ดอนๆ ของชีวิต ได้อย่างไร

 

วิจารณ์ พานิช
๒๒ ก.ย. ๕๑

คุดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/211272

 

เทคนิคการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงาน (CoPs) ทางออนไลน์ใน GotoKnow

พิมพ์ PDF

เนื่องจากมีสมาขิกเก่าและใหม่และผู้สนใจที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกหลายท่านให้ความสนใจในโครงการนี้ ดิฉันจึงขอสรุปและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการนี้ดังต่อไปนี้นะคะ

GotoKnow คือ ชุมชนเสมือนและเป็นคลังความรู้ของคนทำงานทั้งในระดับบุคคลหรือองค์กรชุมชนที่เข้ามาถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความรู้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตในประเด็นความสนใจต่างๆ ด้วยการบันทึกข้อความ รูป ไฟล์ หรือ ลิงก์วิดีโอ ลงในสมุดบันทึกหรือบล็อกใน GotoKnow ค่ะ

สมาชิกของ GotoKnow สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้ความสนใจและผู้คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้ด้วยเครื่องมือที่สำคัญ 4 อย่างดังนี้ค่ะ

1. ระบบคำสำคัญของบันทึก

เพียงแค่ประชาสัมพันธ์ให้ใส่คำสำคัญเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงชุมชนได้แล้วค่ะ

2. ระบบการติดตาม

สมาชิกชุมชนจะไม่พลาดการติดตามบันทึกของสมาชิกท่านอื่นด้วยการกดติดตามค่ะ

3. ระบบแพลนเน็ตหรือรวมบล็อก *กำลังอยู่ในระหว่างปรับปรุง

4. ระบบชุมชน *กำลังอยู่ในระหว่างปรับปรุง

 

ความหมายของกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ

กลุ่มชนชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice - CoPs) หรือที่ดิฉันขอเรียกเพื่อสร้างความเข้าใจง่ายๆ ว่าเป็น กลุ่มชุมชนคนทำงาน นั้นหมายถึง การรวมตัวของผู้ที่มีความสนใจเดียวกันมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความเห็นกันอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ที่ช่วยเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการร่วมมือระหว่างกันค่ะ

ในด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) นั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า กลุ่มชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการร่วมมือกันแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้เกิดการถ่ายทอดแนวปฏิบัติดีๆ (Best practices) ได้ไม่ยากค่ะ เพราะด้วยสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นข้ามสายงานและองค์กรที่เกิดขึ้นจากกลุ่มชุมชนนั่นเองค่ะ

ทาง GotoKnow จึงเข้ามาสนับสนุนการสร้างกลุ่มชุมชนอย่างเป็นทางการขึ้นค่ะ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยได้มีพื้นที่ของกลุ่มชุมชนและคลังความรู้ที่เกิดจากผู้คนที่รวมตัวกันข้ามสายงาน ข้ามหน่วยงาน หรือข้ามองค์กร มาร่วมกันสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งขึ้นใน GotoKnow ค่ะ

 

เทคนิคการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงาน

ที่ผ่านมา GotoKnow ได้สนับสนุนกลุ่มชุมชนคนทำงานไปแล้วจำนวน 9 ชุมชนค่ะ ได้แก่

 

  • ชุมชนวิทยากรกระบวนการ (Facilitators)
  • ชุมชนครูเพื่อศิษย์
  • ชุมชนพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
  • ชุมชนผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
  • ชุมชนสุขภาวะชุมชนหนองบัว
  • ชุมชนเยาวชนจิตอาสา
  • ชุมชนกิจกรรมบำบัด
  • ชุมชมองค์กรสุขภาวะและการสร้างพื้นที่แห่งความสุข
  • ชุมชนอาหารเพื่อสุขภาพ

 

ดิฉันได้ลองถอดบทเรียนของชุมชนเหล่านี้ออกมาเป็นเทคนิคต่างๆ ในการสร้างกลุ่มชุมชนทางออนไลน์ดังนี้นะคะ และหวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงานใน GotoKnow ในครั้งนี้ค่ะ

1. สร้างความเป็นตัวตนจริงๆ

ในหน้าโปรไฟล์ (Profile) ควรระบุความเป็นตัวตนที่ชัดเจนของสมาชิก เช่น ชื่อ นามสกุล องค์กร รูปถ่ายจริง เป็นต้น เพราะผู้คนจะให้ความร่วมมือและความสนใจในเนื้อหาและชุมชนมากขึ้นหากสัมพันธภาพมีมากขึ้นซึ่งแสดงง่ายๆด้วยการให้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่จะเปิดเผยตัวตนของบุคคลนั้นๆ ค่ะ

2. ดำเนินกิจกรรมทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์

สัมพันธภาพและความรู้จะงอกเงยขึ้นได้ด้วยกิจกรรมที่นำมาสู่การร่วมมือกันค่ะ เช่น ในทางพื้นที่จริงนั้นมีการจัดกิจกรรมเพื่อพบปะสังสรรค์หรือร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสา หรือในทางออนไลน์มีการจัดกิจกรรมร่วมกันถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ผ่านรูปถ่าย หรือ บันทึกใน  GotoKnow ค่ะ

3. มีทีมกระตุ้นการร่วมมือสร้างกลุ่ม

กลุ่มชุมชนที่รวมตัวขึ้นมาจะต้องมีทีมหลักที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นในเกิดการร่วมมือในกิจกรรม มีการประชาสัมพันธ์ชุมชน และมีหน้าที่ในการอบรมให้สมาชิกในชุมชนได้รู้จักใช้เครื่องมือออนไลน์ของ  GotoKnow หรืออบรมทำความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ของชุมชนค่ะ ที่สำคัญคือทีมจะต้องมีใจรักการเขียนการอ่านนะคะ

4. ให้ความสำคัญกับการให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการให้รางวัลตอบแทน

ทีมหลักของชุมชนต้องให้ความสำคัญกับการร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในระดับต่างๆ กัน เช่น สมาชิกที่ร่วมกิจกรรมออนไลน์บ่อยที่สุด สมาชิกที่มีบันทึกมากที่สุด สมาชิกที่ต่อยอดความเห็นมากที่สุด เป็นต้นค่ะ และควรสนับสนุนกระตุ้นการร่วมมือนี้ด้วยรางวัลตอบแทนค่ะ ซึ่งอาจจะเป็นรางวัลที่สัมผัสได้และมีคุณค่าแก่ผู้ได้รับค่ะ ส่วนรางวัลการเป็นที่ยอมรับในชุมชนย่อยและชุมชนใหญ่ของ GotoKnow นั้นจะเห็นได้ชัดจากการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วค่ะ

5. สร้างแบรนด์ของกลุ่มชุมชน

ชื่อเรียกชุมชน เป้าหมายการรวมตัว หรือวัตถุประสงค์ของชุมชน ที่ตอกย้ำอย่างต่อเนื่องผ่านเครื่องมือต่างๆ ที่ GotoKnow มีให้ เช่น การบันทึกความรู้หรือภาพกิจกรรม การอีเมลส่งตรงถึงสมาชิกแต่ละคน ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างความเหนียวแน่นให้กลุุ่มชุมชนค่ะ

6. ผู้นำทำเป็นตัวอย่าง

ทีมผู้นำชุมชนจะเป็นคนที่กระตุ้นให้เกิดการร่วมมือของสมาชิกได้ดีที่สุดค่ะ ดังนั้นทีมผู้นำจะต้องเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแบบอย่างให้สมาชิกค่ะ เขียนบ้าง ไม่เขียนบ้าง ปล่อยปละละเลย จะทำให้สมาชิกหมดไฟในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางออนไลน์นะคะ

7. สกัดความรู้ให้เข้าใจง่าย

ในสังคมปัจจุบันนี้ ให้อะไรก็ไม่ดีเท่ากับการให้ความรู้สู่สังคมค่ะ คุณค่าของการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ของสมาชิกในชุมชนคือ การที่ความรู้ของเขาได้เกิดการผสมผสานความรู้กับผู้อื่นและเกิดเป็นชุดความรู้ที่เข้าใจง่ายเพื่อให้สังคมไทยได้มีความรู้ที่นำไปใช้ปฏิบัติได้จริงค่ะ การสกัดความรู้ที่ชุมชนถ่ายทอดออกมาจึงเป็นหน้าที่หนึ่งของทีมผู้นำชุมชนค่ะ

8. ต้อนรับสมาชิกใหม่

น้องใหม่ที่เข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนต้องได้รับการต้อนรับและให้คำแนะนำอย่างดีค่ะ และมีกิจกรรมอบรมและสร้างแรงบันดาลใจในการใช้เครื่องมือ GotoKnow  หรือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกันเป็นระยะๆ ค่ะ

9. สร้างชุมชนอย่างมีแบบแผน

ทีมผู้นำชุมชนอาจจะคิดไว้ก่อนหน้าแล้วว่า อยากให้เกิดเนื้อหาความรู้ในประเด็นใดบ้าง หรืออยากให้เกิดสมาชิกในสายงานอาชีพหรือความสนใจใด จะช่วยให้สร้างชุมชนได้อย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเกิดชุดความรู้ที่มีแกนหลักของเนื้อหาครบถ้วนค่ะ

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/541908
 


หน้า 465 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559837

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า