Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

Student Engagement Techniques บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF
SET เหล่านี้จะใช้ได้ผลหรือไม่ได้ผล ย่อมขึ้นกับประสบการณ์และการสร้างสรรค์ของครูเองด้วย ใน SET ใด SET หนึ่ง หากครูสื่อสารกับ นศ. ไม่ดี บอกกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำไม่ชัดเจน หรือไม่เหมาะสม SET นั้นอาจไม่ได้ผลเลยก็ได้

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 20. เทคนิคดึงความสนใจ นศ.

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด    จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley ในตอนที่ ๒๐ นี้ ได้จากตอนที่ ๓ (Part Three) ชื่อ Student Engagement Techniques (SETs)

ตอนที่ ๓ นี้เสนอ SETs (Student Engagement Technique) รวมทั้งสิ้น 50 SET ที่ได้ผ่านการทดสอบภาคสนามว่าใช้ได้ผลดีมาแล้ว (ในบริบทอเมริกัน)    แต่ละ SET ส่งเสริม active learning โดยให้ นศ. ร่วมลงมือทำกิจกรรม เช่น อ่าน เขียน อภิปราย แก้ปัญหา หรือสะท้อนความคิด    แต่ละ SET ช่วยกระตุ้นแรงจูงใจ เพราะ นศ. รู้สึกสนใจ และเห็นว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณค่า

ศ. เอลิซาเบธ คิด SET ขึ้นมาจากแนวทาง CATs และ CoLTs และแนะนำให้ครูใช้ SET เหล่านี้เป็นคู่มือประกอบการสร้างสรรค์ในการทำหน้าที่ครูของตน   ไม่ใช่ใช้เป็นแม่แบบหรือพิมพ์เขียวในการดำเนินการ   คือให้เอาไปปรับใช้ เพื่อการสอนอย่างสนุกสนานและได้ผลดี

ดังนั้น SET เหล่านี้จะใช้ได้ผลหรือไม่ได้ผล ย่อมขึ้นกับประสบการณ์และการสร้างสรรค์ของครูเองด้วย    ใน SET ใด SET หนึ่ง หากครูสื่อสารกับ นศ. ไม่ดี   บอกกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำไม่ชัดเจน หรือไม่เหมาะสม SET นั้นอาจไม่ได้ผลเลยก็ได้

เขาบอกว่า SETs แตกต่างจาก CATs และ CoLTs   คือ CATs ช่วยให้ครูเก็บข้อมูล สำหรับช่วยประเมินและปรับปรุงการเรียน   หากครูทำตามแนวทาง ก็มั่นใจได้ว่าจะรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ได้แน่นอน

ส่วน CoLTs ออกแบบสำหรับช่วยครูให้วางโครงสร้างการเรียนรู้เป็นกลุ่ม   หากครูทำตามแนวทาง ก็จะมั่นใจได้ว่า นศ. จะเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มอย่างได้ผล   คือความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายกับผลลัพธ์ชัดเจนแน่นอนสำหรับ CATs และ CoLTs

แต่ในกรณีของ SETs  ความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายกับผลลัพธ์ ไม่แน่นอน   เนื่องจาก student engagement ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่าง แรงจูงใจ (motivation) และการเรียนแบบลงมือทำ (active learning)   และ แรงจูงใจ ก็เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ซับซ้อนหลากหลายภายในตัว นศ. แต่ละคน   ดังนั้น จึงไม่สามารถรับรองได้ว่า นศ. ในชั้นเรียนของครูจะได้ผลจากเทคนิคเหล่านี้

SETs ได้รับการออกแบบให้ส่งเสริมการเรียนแบบลงมือทำ    แต่สัจธรรมคือการคิดเป็นเรื่องภายใน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น และเป็นสิ่งที่ นศ. เป็นผู้ทำ    ดังนั้นจะทำหรือไม่ทำ นศ. เป็นผู้ตัดสินใจ ครูบังคับไม่ได้

สิ่งที่ครู เอลิซาเบธ รับรอง คือ SETs มีประวัติใช้ได้ผลดีมาล้ว  ว่า นศ. จะตั้งใจเรียน และพบว่าบทเรียนน่าสนใจ หรือสร้างแรงจูงใจต่อการเรียน

ครู เอลิซาเบธ บอกว่าที่มาของ SETs ได้จากหลากหลายแหล่งมาก    และผ่านการทดลองใช้ การตรวจสอบแนะนำให้ปรับปรุงจากหลากหลายทาง    ผู้เขียนได้ให้เอกสารอ้างอิง (ส่วนใหญ่เป็นหนังสือ) ในแต่ละ SET มากมาย   ผมจะนำมาให้ไว้เพียงชิ้นเดียว จากที่ผมพิจารณาว่าเหมาะสมต่อบริบทไทยมากที่สุด

ในหนังสือ มีการจัดเรียงบทตามเป้าหมายการเรียน   ที่แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มเป้าหมาย คือ  (๑) เพื่อให้ได้ความรู้ และทักษะ  (๒) เพื่อให้ได้เจตคติ คุณค่า และความมั่นใจตนเอง ในฐานะผู้เรียน

SETs ส่วนใหญ่เขียนในลักษณะของกิจกรรมที่ teacher-led แต่เวลาประยุกต์ใช้ ครูสามารถปรับให้เป็น student-led ได้ไม่ยาก   และ SETs ส่วนใหญ่เสนอในรูปของกิจกรรมกลุ่ม    แต่ครูสามารถปรับให้เป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้

ครู เอลิซาเบธ แนะนำให้ครูเลือกหยิบเอา SET ใดไปใช้ก่อนก็ได้ ตามความเหมาะสมต่อการเรียนของ นศ.   ไม่ต้องเรียงลำดับก่อนหลังตามในหนังสือ

แต่ละ SET มีโครงสร้างการเขียนแบบเดียวกัน   เพื่อบอกวิธีดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน   มีการให้ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในต่างวิชา ในต่างสาขาวิชาการ    มีการให้คำแนะนำการใช้ใน online learning   มีคำแนะนำวิธีดัดแปลงให้เหมาะสมต่อแต่ละสถานการณ์   และมีข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม   ปิดท้ายด้วยรายการ key resources สำหรับค้นคว้าเพิ่มเติม

วิจารณ์ พานิช

๗ ต.ค. ๕๕

 

 

 

· เลขที่บันทึก: 504762
· สร้าง: 07 ตุลาคม 2555 07:37 · แก้ไข: 07 ตุลาคม 2555 07:37
· ผู้อ่าน: 41 · ดอกไม้: 2 · ความเห็น: 1 · สร้าง: 1 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 

บทความของ รศ.ดร.พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

พิมพ์ PDF
ความแตกต่างกันทางศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ และชาติพันธุ์ "ไม่ใช่สิ่งผิด" แต่ "สิ่งที่ผิด" คือ การที่มนุษยชาติบางคนหรือบางกลุ่ม ไม่มีความอดทนเพียงพอต่อการเพียรพยายามที่ศึกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และปรับวิธีคิด และท่าทีให้สอดคล้อง ถูกต้อง และเหมาะสมกับความแตกต่าง อันเนื่องด้วยภาวะของการขาดขันติธรรม เพราะไม่เปิดใจกว้างที่จะยอมรับฟัง ยอมรับ เคารพ และให้เกียรติต่อความต่างของเพื่อนร่วมโลก จนนำไปสู่การเยาะเย้ย ถากถาง ลบหลู่ ดูหมิ่นความเป็นอัตลักษณ์ของเพื่อนร่วมโลก

๑. บทนำ

ในขณะที่มนุษย์ร่วมโลกกำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง และความรุนแรง อันเนื่องจากการขาดขันติธรรมทางศาสนา (Religious Tolerance) ซึ่งสะท้อนผ่านพฤติกรรมของคนบางคน หรือบางกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นศาสนิกของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่ขาดการเคารพ และขาดการให้เกียรติต่อหลักการ สัญลักษณ์ และความเชื่อทางศาสนาอื่นๆ ในวิถีทางที่ไม่เหมาะสมโดยการแสดงออกทางกาย และวาจาในเชิงลบมิติต่างๆ เช่น การวาดการ์ตูน การจัดทำภาพยนต์ หรือคลิบวีดิโอ และการลบหลู่คัมภีร์ หรือรูปปั้น การดำเนินการดังกล่าว แม้จะตั้งใจ หรือกระทำการด้วยความคึกคนองโดยขาดความยั้งคิด แต่เมื่อกระทบอารมณ์ และความรู้สึกของของกลุ่มคนที่มีความเชื่อแตกต่างแล้ว ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่จะทำให้ความขัดแข้งได้ปะทุตัวออกจนกลายเป็นความรุนแรง และในหลายสถานการณ์ วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นได้เดินทางไปสู่สภาวะที่กำลังตีบตัน อีกทั้งอับจนหนทางในการแสวงหาทางออกอย่างสันติระหว่างเพื่อนร่วมโลก โศกนาฏกรรมสุดท้ายที่มักจะเกิดขึ้นคือ ความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ท่ามกลางเสียงร้องไห้ และหยาดน้ำตาของเพื่อนร่วมโลก

คำถามที่สำคัญก็คือ แม้ว่ามนุษยชาติจะแตกต่างกันทั้งศาสนาและความเชื่อ แต่ในฐานะที่เป็นมนุษย์ร่วมโลกที่รักความสุข เกลียดกลัวความทุกข์เช่นเดียวกัน พลังทางศาสนาในมิติต่างๆ จะเข้าไปช่วยฟื้นฟู และเชื่อมสมานสังคมโลกให้สามารถปรับวิธีคิด และท่าทีของการอยู่ร่วมกันได้อย่างไร จึงจะทำให้มนุษยชาติสามารถดำรงอยู่ร่วมกันอย่างมีขันติธรรม สามารถยอมรับ และอดทนต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา อุดมการณ์และความเชื่ออย่างมีสติ

๒. ศาสนาช่วยโลก หรือว่าโลกช่วยศาสนา???

อย่างไรก็ดี ในขณะที่ศาสนากับเผชิญหน้ากับ “กระแสของความขัดแย้งและความรุนแรง” ที่กำลังแพร่หลายอยู่ในสังคมโลก มนุษยชาติได้ร่วมกันตั้งคำถามอันแหลมคมต่อการทำหน้าที่ของศาสนาเช่นเดียวกันว่า

(๑) ศาสนาจะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมนำเสนอทางรอด และร่วมแก้ปัญหาให้มวลมนุษยชาติได้อย่างไร?  จึง จะทำให้มนุษยชาติไม่ตกอยู่ในห้วงเหว และหลุมพรางของความขัดแย้งและความรุนแรง จนนำไปสู่ความสามารถที่จะรู้เท่าทันโดยไม่ตกอยู่ในหลุมพรางของสิ่งเหล่านั้น

(๒) ศาสนาอาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาหรือไม่?  อัน เนื่องจากการที่ศาสนาในแง่ศาสนาบุคคลในรูปขององค์กรศาสนาเองไม่ได้ตระหนัก รู้ หรือรู้เท่าทันต่อกระแสของโลกาภิวัตน์ จึงไม่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับกระแสของการเปลี่ยนของสังคม และทำอย่างไร ศาสนาจึงจะไม่กลายเป็นภาระ หรือส่วนเกินของสังคมในโอกาสต่อไป

(๓) ศาสนาพ่ายแพ้ต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงที่กำลังขยายทั่วอยู่ทั่ว ทุกมุมโลกจริงหรือไม่?  ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ค้นพบร่องรอยของความพ่ายแพ้ คือ การเงียบเฉย (Voiceless) ต่อ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรง โดยไม่เข้าไปร่วมนำเสนอทางออกที่เหมาะสม หรือวิพากษ์พฤติกรรม หรืออุดมการณ์ที่ผิดรูปไปจากหลักการทางศาสนา

๓. พลังของศาสนาช่วยสร้างโลก หรือทำลายโลก???

ประเด็นที่เราต้องให้ความสนใจ และใส่ใจคือ “หาก มนุษย์โลกไร้ซึ่งความรัก ความหวัง และแรงบันดาลใจ ในขณะที่ดวงจิตเต็มไปด้วยความเกลียดชัง ความหวาดกลัวต่อการภัยที่กำลังคุกคามทั้งภายในและภายนอก”  หน้าที่หลักของศาสนาต่างๆ ในโลกนี้ ที่จะต้องช่วยกันเติมเต็มอย่างเร่งด่วนคือ (๑) การทำให้ผู้นับถือมีความสุข มั่นคงและปลอดภัยในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน (๒) การปลุกเร้าให้มนุษยชาติอยู่ร่วมกับคนอื่น สัตว์อื่น และสิ่งอื่นอย่างสงบ สันติสุข และมีขันติธรรมต่อความแตกต่างทางอุดมการณ์และความเชื่ออย่างมีสติ (๓) การไม่กระทำการสิ่งใด หรือสร้างเงื่อนไขใดๆ ในอันที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมศาสนา ซึ่งจะก่อให้ความเกิดความหวาดระแวง และหวาดกลัวต่อมวลมนุษยชาติที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิด แก่ เจ็บ และตาย (๔) การทำให้ผู้นับถือมีขันติธรรมทางศาสนา โดยไม่ตกอยู่ในหลุมพรางของความขัดแย้งและความรุนแรงในขณะที่มีบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลพยายามที่จะสร้างเงื่อนไขยั่วยุ หรือกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง

เมื่อกล่าวโดยหลักการแล้ว  พลังของศาสนา “ควรและต้อง” เข้า มากระชับการทำหน้าที่ดังเช่นที่เคยเป็นปรัชญาและปณิธานสำคัญของการก่อตั้ง ศาสนาขึ้นมาเป็นที่พึ่งพาของชาวโลก โดยทำหน้าที่หลักใน ๒ ประการ คือ

(๑) หาก “สัตว์การเมือง” (Political Animals) ทำให้หมู่มนุษย์ในฐานะเป็น “สัตว์สังคม” (Social Animals) เกิด ความหวาดกลัว และหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ศาสนาควรเข้ามาทำหน้าที่ในการสร้างความมั่นใจ และเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของกันและกัน  และ ประเด็นสำคัญก็คือ การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการนำหลักการสำคัญของแต่ละศาสนามาปฏิบัติเพื่อ ให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินทั้งในเชิงปัจเจก และสังคม

(๒) ประจักษ์ชัดว่า “การเกิดขึ้นของศาสนามีเป้าหมายสำคัญสูงสุดคือการอยู่รวมกันอย่างร่มเย็น และเป็นสันติสุขของมวลมนุษยชาติ” เราควรดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่ศาสนาได้กลับมาทำหน้าที่อย่าง “หนักแน่น และเต็มศักยภาพ” และ สร้างสังคมให้เกิดการตื่นรู้มากยิ่งขึ้นทั้งในมิติของแนวคิด และแนวปฏิบัติที่สอดรับกับวิถีความเปลี่ยนของสังคมโลกที่กำลังเดินหน้าไปสู่ ความขัดแย้งและความรุนแรงอันเนื่องจากการตัวแปรต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่แปลกแยกและแตกต่าง

๔. คุณค่าของศาสนา: จากโกรธ และความเกลียดชังสู่การแบ่งปันอย่างไร้ขีดจำกัด

(๑)  แบ่งปันความรัก คำถามที่สำคัญคือ “เพราะเหตุใด? มนุษย์จึงต้องรักผู้อื่น สัตว์อื่น และสิ่งอื่น”   เหตุผลเนื่องมาจาก “การที่มนุษย์ไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกใบนี้ได้”  มนุษย์ สัตว์ทุกชนิด และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยและกัน ช่วยเหลือกัน  เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการหล่อเลี้ยงวิถีชีวิต ดำเนินชีวิตเพื่อให้สิ่งเหล่านี้รอดเพื่อพัฒนา “คุณค่าอื่นๆ” ต่อไป  ด้วยเหตุผลเช่นนี้  การอยู่รอดของคนอื่น สัตว์อื่น หรือสิ่งอื่นๆ จึงส่งผลในเชิงบวกต่อการอยู่รอดของเราเช่นเดียวกัน  ฉะนั้น การเปิดพื้นที่ให้แก่คนอื่น หรือสิ่งอื่นๆ โดยการแบ่งปันความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน การเคารพ ให้เกียรติต่อบุคคลที่มีความเชื่อ วัฒนธรรม และอุดมการณ์ที่แตกต่าง จึงเป็น “ความจำเป็น” ที่ “มนุษย์” จะต้องมีและแสดงออกต่อกันและกัน

(๒)  แบ่งปันผลประโยชน์และความต้องการ การดำรงอยู่ของมนุษยชาติที่ต้องสัมพันธ์กับวิถีโลกมีความสัมพันธ์กับปัจจัย ๔ และโลกธรรมอย่างแยกไม่ออก  เนื่อง จากมนุษย์มีความจำเป็นในการของการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัดนั้น การแบ่งปันทรัพยากรเพื่อให้ฝ่ายต่างๆ เกิดความพึงพอใจสูงสุดจึงมีความจำเป็นที่ใส่ใจ โดยใช้กฎกติกามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ  นอกจากนั้น การแบ่งปัน “ประโยชน์และความต้องการ” ให้สอดรับกับความต้องการของคน หรือกลุ่มคนย่อมมีความสำคัญเช่นเดียวกัน  คำถามคือ “เราจะแบ่งปันความต้องการด้านทรัพยากรให้สอดรับกับความต้องการของกลุ่มคนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในสังคมโลกได้อย่างไร” จึง จะทำให้กลุ่มต่างๆ ที่มีความหลากหลายในสังคมเกิดความพึงพอใจสูงสุดตามข้อเสนอและข้อเรียกร้อง ประเด็นนี้ รัฐ ผู้นำหรือกลุ่มคนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะวางกรอบหรือกติกาอย่างไร จึงจะใช้เป็นเกณฑ์เพื่อรองรับการตัดสินใจดังกล่าว โดยไม่ทำให้แต่ละฝ่ายเกิดความรู้สึก และสงสัยในความเสมอภาค เป็นธรรมและเที่ยงธรรม

(๓) แบ่งปันความสุข ความสุขในบริบทนี้ ครอบคลุมถึงความสุขทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และสังคมโลก  เป็น ทั้งความสุขที่ต้องพึ่งพาสิ่งเร้า หรือสิ่งภายนอก และไม่ต้องพึ่งพา ในขณะเดียวกัน ความสุขในครอบครัว ย่อมมีความแตกต่างจากความสุขในระดับสังคม ประเทศชาติ และสังคมโลก  เราจะนิยามความสุขในระดับต่างๆ เหล่านี้อย่างไร  เพราะ การนิยามจะมีผลต่อการออกแบบกิจกรรม หรือการดำเนินการในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้สอดรับกับแบ่งปัน ทรัพยากรเพื่อให้สอดรับกับสิ่งที่เพื่อนมนุษย์ปรารถนาที่จะมีและเป็น  อย่างไรก็ดี เนื่องจากกลุ่มต่างๆ ล้วนต้องการ และเพรียกหาความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขแท้ หรือเทียม พึ่งพาสิ่งภายนอกหรือไม่ก็ตาม  สิ่ง ที่ต้องระมัดระวังและใส่ใจก็คือ การแสวงหาความสุขภายในนับเป็นเรื่องเชิงปัจเจก แต่เราจะแสวงหาความสุขภายนอกอย่างไร จึงจะไม่ทำสุขที่เราแสวงหานั้น ไปกระทบหรือกินพื้นที่ความสุขของคนอื่นๆ จนกลายเป็นความขัดแย้งในเชิงลบและนำไปสู่ความรุนแรงต่อไป

(๔)  แบ่งปันถ้อยคำดีๆ และมีคุณค่า จะ เห็นว่า ถ้อยคำดีๆ และมีคุณค่านั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ ล้วนมีความต้องการและปรารถนาที่จะสัมผัสทางหู และภาษากายส่วนอื่นๆ และสิ่งเหล่านี้ หากมองในเชิงโลกธรรม นับได้ว่ามีผลอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิต และการดำรงอยู่ของมนุษย์กลุ่มต่างๆ ในสังคม  การออก แบบถ้อยคำโดยผ่านกระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผล ผ่านการปรุงแต่งทางอารมณ์ที่เน้นเรื่องความรู้สึกรัก และใส่ใจกันและกันจึงนับเป็นความสำคัญ ฉะนั้น ถ้อยคำดีๆ และมีคุณค่าจึงควรประกอบด้วยเกณฑ์ที่ว่า “จริง ไพเราะ ไม่เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ และมีเมตตา” เกณฑ์นี้จะเป็นกรอบที่จะทำให้การเปล่งเวลาของแต่ละมีเป้าหมายและท่าทีที่เป็นบวกมากยิ่งขึ้น

(๕)  แบ่งปันลมหายใจแห่งสันติภาพ มนุษย์ทุกคนใน โลกนี้อาจจะคิดว่า เรากำลังหายใจเอาอากาศจากภายนอกเข้าไปเท่านั้น  กลุ่มคนจำนวนน้อยที่จะคิด ว่า อากาศที่มีอยู่ทั่วไปนั้น ล้วนเคยเป็นอากาศที่เพื่อนมนุษย์ของเราเคยหายใจเข้าไปแล้วหายใจออกมาทั้ง สิ้น  ประเด็นก็คือ “เรากำลังสูดดมลมหายใจของกันและกันอยู่ทุก วินาที” ฉะนั้น เมื่อใดก็ตาม ในขณะที่เราหายใจเข้าไป ในขณะนั้น เราโกรธ เกลียด ปองร้าย เกลียดชังเพื่อนของเรา หรือใครคนใดคนหนึ่ง เมื่อหายใจออกมา เพื่อนรอบข้างของเราย่อมจักหายใจเอาลมหายใจแห่งความเกลียดชัง ความโกรธ ความอิจฉาริษยา และอาฆาตมาดร้ายเข้าไปด้วย  แต่หากการหายใจของเราเป็นไปในเชิงบวก  การหายใจ เข้าออกของเพื่อนมนุษย์ที่อยู่รอบข้างเราก็จะเป็นไปในเชิงบวกเช่นเดียวกัน

๕. ส่งท้าย: จากขันติ และสติ สู่สันติอย่างยั่งยืน

จากการประเมินศาสนาหลักๆ ในโลกนี้  จะพบว่า ปัญหาหลักไม่ได้อยู่ที่ “เนื้อแท้ หรือแก่นแท้” ของศาสนา  เพราะ หลักการของศาสนาทุกศาสนาล้วนมีนัยที่มุ่งเน้นให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกัน อย่างสงบ และสันติ อีกทั้งเป็นไปเพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมแนวทางสันติภาพ สันติวิธี ความสมานฉันท์ และความปรองดองของมวลมนุษยชาติ ด้วยเหตุนี้ พลังสันติภาพของศาสนาจึงไม่ใช่พลังที่แห่งความรุนแรงที่แข็งกร้าว (Hard Power) หากแต่เป็นพลังที่อ่อนนุ่ม (Soft Power) ในการที่จะยึดโยงกลุ่มคนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมโลกให้สามารถอดทนต่อความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ภาษา และชาติพันธุ์อย่างมีสติ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังนั้น พลังทางศาสนาจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะก่อให้เกิดการพัฒนา “ขันติ สติ และสันติ” ให้เกิดขึ้นแก่มนุษยชาติ และสังคมโลกมากยิ่งขึ้น

สรุปแล้ว ความแตกต่างกันทางศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ และชาติพันธุ์ "ไม่ใช่สิ่งผิด" แต่ "สิ่งที่ผิด" คือ การที่มนุษยชาติบางคนหรือบางกลุ่ม ไม่เพียรพยายามที่ศึกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และปรับวิธีคิด และท่าทีให้สอดคล้อง ถูกต้อง และเหมาะสมกับความแตกต่าง อันเนื่องด้วยภาวะของการขาดขันติธรรม เพราะไม่เปิดใจกว้างที่จะยอมรับฟัง ยอมรับ เคารพ และให้เกียรติต่อความต่างของเพื่อนร่วมโลก จนนำไปสู่การเยาะเย้ย ถากถาง ลบหลู่ ดูหมิ่นความเป็นอัตลักษณ์ของเพื่อนร่วมโลก ทางออกในประเด็นนี้ คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ในขณะที่เรามุ่งหวังที่จะให้คนอื่นยอมรับในความเป็นเรามากเพียงใด คนอื่น หรือกลุ่มอื่นๆ ที่มีความเชื่อ และวัฒนธรรมที่แตกต่างล้วนมุ่งหวังให้เรามีท่าทีแบบนั้นเช่นเดียวกัน ดังนั้น การเข้าไปลดทอนความเป็นเขา หรือเปลี่ยนเขาให้เป็นเรานั้น จึงเป็นแนวทางที่ง่ายต่อการสร้างความขัดแย้ง และนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด

อย่างไรก็ดี คำถามหลักที่เรามักจะตั้งข้อสงสัยอยู่เสมอมาคือ “ศาสนบุคคล หรือองค์กรทางศาสนาต่างๆ ในโลกนี้” ได้พยายามหรือสนับสนุน รวมไปถึงการพัฒนา หรือยึดมั่นในหลักการและแก่นแท้ของศาสนาตัวเองมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไร? ศาสนบุคคลหรือองค์กรศาสนาต่างๆ จะไม่พยายามที่จะ “บิด”หรือ “แปรรูป” หลักการทางศาสนาที่ทรงคุณค่าไปสู่การรับใช้อุดมการณ์ ผลประโยชน์ ความต้องการ และอำนาจของกลุ่มตน หรือองค์กรของตน   นอกจากนี้ ศาสนบุคคลหรือองค์กรทางศาสนาต่างๆ ได้พยายามมากน้อยเพียงใดที่จะวิพากษ์ตัวเอง (Self-Criticize)  หรือกลุ่มตัวเองต่อการบิดหลักการทางศาสนาไปสร้างเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงแก่มนุษยชาติ  อีก ทั้ง ไม่ชักนำ และชักพาให้ศาสนิกที่เคารพ ศรัทธาและนับถือพลัดหลงเข้าไปในกระแสของความขัดแย้งและความรุนแรงที่กำลัง ถาโถม และพัดพาให้สังคมโลกกำลังประสบกับปัญหาและชาตากรรมที่ดังที่ประสบอยู่ในขณะ นี้

หลักการสำคัญที่ผู้เขียนให้ความใส่ใจคือ เราจะหันหลังให้แก่ “พลังของความเกลียดชัง” ไปสู่ “การสร้างพลังแห่งการแบ่งปันสิ่งดีๆ”  ให้แก่กันและกันได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะแบ่งปันความรักให้มนุษย์ร่วมโลกท่ามกลางความหลากหลายได้อย่างไร  เราจะแบ่งปันผลประโยชน์ และความต้องการด้านทรัพยากร ให้สอดรับกับโลกธรรมที่มีอยู่และดำรงอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร เราจะช่วยกันนิยามความสุขในระดับต่างๆ ตั้งแต่ปัจเจก ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และสังคมโลกเพื่อจะได้ปฏิบัติต่อกันเพื่อให้สอดรับกับความสุขที่คนเหล่านั้น ต้องการได้อย่างไร เราจะแบ่งปันถ้อยคำที่มีคุณค่าและเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ดีที่มีต่อกันได้อย่างไร เราจะแบ่งปันลมหายใจแห่งสันติภาพ เพื่อให้ลมหายใจของเราเป็นลมหายใจแห่งความรักแทนลมหายใจแห่งการเกลียดชังกันได้อย่างไร และเราจะมีขันติธรรม ที่พร้อมจะอดทนรับฟัง เรียนรู้ เข้าใจ และปฏิบัติต่อเพื่อมนุษย์ที่มีความคิด และวัฒนธรรมที่แตกต่างได้อย่างไร ประเด็นคือ “การตอบคำถามเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อความอยู่รอดของตัวเราเองเท่านั้น หากแต่เป็นความอยู่รอดของสรรพสัตว์ทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้

· เลขที่บันทึก: 504840
· สร้าง: 07 ตุลาคม 2555 20:58 · แก้ไข: 07 ตุลาคม 2555 23:10
· ผู้อ่าน: 94 · ดอกไม้: 7 · ความเห็น: 4 · สร้าง: ประมาณ 11 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
แจ้งใช้งานผิดนโยบาย
 

ความขัดแย้ง จัดได้ว่าเป็น ธรรมชาติ หรือ ธรรมดา

พิมพ์ PDF
ขอนำคำสอนที่คัดลอกมาจากบทความของ รศ.ดร.พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร มาเผยแพร่
“ความขัดแย้ง” จัดได้ว่าเป็น “ธรรมชาติ” หรือ “ธรรมดา” ของสังคมทั่วไป จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น “สิ่งจำเป็น” (Necessity) ของสังคม เพราะ สรรพสิ่งในสังคมนั้นแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) ผลจากการแปรเปลี่ยนดังกล่าวนั้นจึงทำให้เกิดบรรยากาศของ “ทุกข์” หรือ “ความขัดแย้ง” ซึ่งเป็นสภาวะหรือบรรยากาศที่ดำรงอยู่ในภาพเดิมไม่ได้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งก็เพราะทุกสิ่งทุกอย่างนั้นในแง่ของโลกวิสัยนั้นไม่สามารถเป็นไปตามความต้องการ หรืออำนาจของสิ่งใด หรือบุคคลใด กล่าวคือไม่มีสิ่งใด หรือบุคคลใดบังคับให้มันไม่เปลี่ยนหรือไม่ให้ขัดแย้งกัน ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยธรรมชาติแล้ว สรรพสิ่งต้องขัดแย้งกัน แต่ถึงกระนั้น พระพุทธศาสนาก็ได้เหลือ “พื้นที่” ของความ “ไม่ขัดแย้ง” เอาไว้ให้ “สภาวะสูงสุด” นั่นก็คือ “พระนิพพาน” ความขัดแย้งก็มิได้สะท้อนแง่มุมในเชิงลบแต่เพียงด้านเดียว เพราะใน ความเป็นจริงแล้ว ความขัดแย้งก็สะท้อนแง่มุมในเชิงบวกด้วย ประเด็นปัญหาสำคัญจึงอยู่ที่ท่าทีของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวกับข้องกับความขัดแย้งในครอบครัว หรือสังคมเป็นที่ตั้งว่าจะมองความขัดแย้งในมิติใด จะเห็นว่า หากบางคนมองความขัดแย้งในแง่ลบ หรือแง่บวก มักส่งผลต่อพฤติกรรม หรือการจัดการแก้ไขความขัดแย้งด้วย ในหลายกรณีพบว่า ผู้ที่มองความขัดแย้งในแง่ลบ มักจะ “ใช้ความรุนแรง” ในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น สำหรับผู้ที่มองความขัดแย้งในแง่บวกมักจะ “ใช้ความไม่รุนแรง” ในการจัดการความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อมองในแง่ของธรรม และวินัยนั้น ความขัดแย้งเกิดขึ้นจาก ๒ มิติ ใหญ่ ๆ กล่าวคือ ทั้งภายใน (อัชฌัตตัง) และภายนอก (พาหิรัง) แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่พระพุทธศาสนานำเสนอคือ ตัวแปรสำคัญนั้นเกิดได้ทั้งกุศลมูล และอกุศลมูล รวมถึง ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ เป็นแรงผลักดันให้เกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระพุทธเจ้าจึงได้นำเสนอ “แผนปฏิบัติการ” (Action Plan) เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งแผนปฏิบัติการบางอย่างนั้นพระพุทธเจ้าได้เข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง และแผนบางอย่างนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำให้พระภิกษุได้ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการด้วยกลุ่มของพระสงฆ์เอง จะเห็นว่าเริ่มแรกของการประดิษฐานพระพุทธศาสนาพบว่า พระพุทธเจ้าได้ใช้แนวคิดแบบ “อัตตาธิปเตยยะ” หมายถึงการที่พระองค์เป็นศูนย์รวมเพื่อบัญชาการหรือสั่งการในประเด็นต่างๆ แต่เมื่อพระสงฆ์มีจำนวนมากยิ่งขึ้น พระองค์ได้เปลี่ยนระบบการบริหารแบบใหม่เป็นการให้ความสำคัญแก่สงฆ์ หรือ “โลกาธิปเตยยะ” หรือ “สังฆาธิปเตยยะ” อันเป็นการกระจายอำนาจให้แก่คนกลุ่มใหญ่ ถึงกระนั้นสิ่งที่อัตตาธิปเตยยะ และโลกาธิปเตยยะจะขาดมิได้คือ “ธัมมาธิปเตยยะ” อันเป็นการปกครองหรือทำหน้าที่โดยมี “ความชอบธรรมเป็นศูนย์กลาง” จะพบว่า “ความถูกต้อง” หรือ “ความชอบธรรม” (ธรรมิกา) เป็น “หัวใจ” ของรูปแบบการจัดการความขัดแย้งของพระพุทธเจ้าในทุก ๆ วิธี และชุดของวิธี ดังจะเห็นได้จากการนำเสนอหลักการ “อธิกรณสมถะ ๗ ประการ” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการระงับความขัดแย้งนั่น พระองค์ทรงคำนึงถึงประเด็นนี้อยู่เสมอ และในทุกๆวิธี พระองค์ได้นิยามว่า คำว่า “ความชอบ” ในชุดของวิธีนี้คืออะไร ฉะนั้น รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในมิติต่าง ๆ ทั้งในแง่ของธรรม ได้แก่ “การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง” แล้ว ในแง่ของวินัยก็ประกอบไปด้วยสัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา เยภุยยสิกา และ ติณวัตถารกะ ซึ่งทุกวิธี หรือชุดวิธีจะแฝงไปด้วย “ชอบธรรม” ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ดำรงอยู่บนฐานของความชอบธรรมอีกประการหนึ่งคือ “ความพร้อมหน้า” (สัมมุขาวินัย) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ความ “โปร่งใส” “ยุติธรรม” และ “ตรวจสอบได้” เป็นต้น ที่คู่กรณีจะได้รับจากการพิจารณา หรือตัดสินความขัดแย้ง หรือพิพาทกัน อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสำคัญของความชอบธรรมที่เพียบพร้อมไปด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้นั้น มีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์ให้สังคมสงฆ์เป็นสังคมที่ไม่มีความหวาดระแวง และรังเกียจกันเกี่ยวศีลาจารวัตร อันจะทำให้สังคมสงฆ์เป็นสังคมที่เหมาะแก่การฝึกฝนพัฒนาตนเองตามแนวไตรสิกขาเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดกล่าวคือ “พระนิพพาน” ต่อไป
 

Student Engagement Techniques

พิมพ์ PDF

Editorial Reviews

Review

“The conclusion is easy: if you’re going to be teaching on the moon and have only one suitcase for resources, this is the book on motivation and active learning that you’ll want to pack. I know it’s the one I’d be taking with me … probably as a carryon so I have something good to read on the way.”
— The Teaching Professor (newsletter), December 2009

“The book is full of practical advice and ideas for teachers who are striving to increase student engagement and learning supported by research. It is well organized and accessible. Student Engagement Techniques is an important and useful guide for any teacher interested in improving student learning.”
—Gayle Venegas, Math Teacher, San Jacinto USD (Icezablog.com)

From the Back Cover

Student Engagement Techniques

A Handbook for College Faculty

Elizabeth F. Barkley

Student Engagement Techniques

Keeping students involved, motivated, and actively learning is challenging educators across the country,yet good advice on how to accomplish this has not been readily available. Student Engagement Techniques is a comprehensive resource that offers college teachers a dynamic model for engaging students and includes over one hundred tips, strategies, and techniques that have been proven to help teachers from a wide variety of disciplines and institutions motivate and connect with their students. The ready-to-use format shows how to apply each of the book's techniques in the classroom and includes purpose, preparation, procedures, examples, online implementation, variations and extensions, observations and advice, and key resources.

"Given the current and welcome surge of interest in improving student learning and success, this guide is a timely and important tool, sharply focused on practical strategies that can really matter."
—Kay McClenney, director, Center for Community College Student Engagement, Community College Leadership Program, the University of Texas at Austin

"This book is a 'must' for every new faculty orientation program; it not only emphasizes the importance of concentrating on what students learn but provides clear steps to prepare and execute an engagement technique. Faculty looking for ideas to heighten student engagement in their courses will find usefultechniques that can be adopted, adapted, extended, or modified."
—Bob Smallwood, cocreator of CLASSE (Classroom Survey of Student Engagement) and assistant to the provost for assessment, Office of Institutional Effectiveness, University of Alabama

"Elizabeth Barkley's encyclopedia of active learning techniques (here called SETs) combines both a solid discussion of the research on learning that supports the concept of engagement and real-life examples of these approaches to teaching in action."
—James Rhem, executive editor, The National Teaching & Learning Forum


Product Details


 

พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทย

พิมพ์ PDF
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทย

หลังจากผมอ่านทบทวนบทความของอาจารย์ และอ่าน powerpoint ของ ดร.กฤษณพงศ์ แล้ว ผมเห็นด้วยกับแนวคิดของอาจารย์ดังนี้ " การสร้างคนไทย ต้องสร้างผ่านชีวิตจริงของคนไทย เอาความรู้จากภายนอกมาทำให้เป็นความรู้ของเราเอง และต่อยอดยกระดับผ่านกิจการงานและชีวิตของคนไทย ในเชิงระบบ ต้องให้มีสมดุลและ synergy ระหว่าง supply-side กับ demand-side"

" ที่จริงระบบในสังคมทุกระบบ เป็นการสร้างคนไทยทั้งสิ้น จึงเกิดคำถามว่า เวลานี้ระบบต่างๆ ในสังคม สิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม กำลังพัดพาคนไทยสู่ทางวัฒนาหรือทางหายนะ "

ผมคิดว่าที่คนไทยเข้าสู่ทางหายนะ เป็นเพราะสังคมไทย ไปยึดติดกับกระแสนิยม สร้างคนให้ยึดติดกับการศึกษาขั้นสูงระดับปริญญาตรีขึ้นไป คนไม่จบปริญาตรีกลายเป็นคนชั้นสอง หน่วยงานของราชการรับคนที่จบปริญาตรีขึ้นไป สร้างคนจบปริญาตรีแต่ไม่ได้สร้างงานมารองรับ

ผู้ประกอบการ ( demand-side) ต้องการแรงงานถูกๆ เพราะคิดว่าแรงงานเป็นค่าใช้จ่าย คนที่ได้ค่าจ้างสูงและอยู่ในตำแหน่งบริหารของบริษัทสากล คือคนจำนวน 2 % ของแรงงานไทยทั้งหมด คนเหล่านี้มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี รวย หรือมีอำนาจทางสังคม ( ดร. ทศพร บอกว่า เรื่องการศึกษานั้น สังคมไทยอยู่ในสภาพ ๒ : ๙๘ คือคนฐานะดี ๒% บนของสังคม ช่วยลูกหลานของตนได้ โดยส่งเข้าโรงเรียนที่คุณภาพดี แล้วส่งไปเรียนต่างประเทศ แต่อีก ๙๘% ต้องส่งลูกหลานเข้าเรียนโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งคุณภาพด้อยลงเรื่อยๆ ที่ประชุมเห็นว่า การแก้ไขต้องทำจากภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ เป็นสภาพที่ผู้คนหมดหวังต่อกลไกภาครัฐ)

ดังนั้นการสร้างและพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ จึงขึ้นกับปัจจัยหลายๆส่วน จะโทษระบบการศึกษาอย่างเดียวไม่ได้ ถ้าจะให้โทษต้องโทษทางฝั่ง Demand-side ที่ไม่เห็นคุณค่าของคน คนเป็นทรัพยากรของแผ่นดิน คนไทยมีความสามารถแต่ขาดเวทีและการสนับสนุนจากภาค Demand-side ประกอบกับภาคสังคมที่อ่อนแอ รับเอาวัฒนธรรมของชาติมหาอำนาจ มาเป็นแบบอย่าง ไม่รักษาวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ให้ ปรัชญาเศราฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการพัฒนาคนไทยให้มีความเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกัน จึงควรนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง และสร้างคนไทยให้ได้ 4 เก่ง คือ เก่งคน (การบริหารจัดการคน เริ่มจากการบริหารตัวเอง รู้ทันอารมณ์สามารถบริหารอารมณ์ได้ แล้วจึงสามารถบริหารคนอื่น) เก่งคิด (คิดในทางสร้างสรรค์ แก้ปัญหาให้เป็นโอกาส) เก่งทำงาน (รู้งานและรู้เป้าหมายของงาน) และเก่งในการดำรงค์ชีวิต (ทำให้ชีวิตมีความสุข แบ่งเวลาให้เหมาะสม ) ส่วนการทำให้คนไทยมี 4 เก่งได้อย่างไร จะต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เริ่มจาก บ้าน วัด โรงเรียน

การเปลี่ยนความคิดของคนในสังคมต้องใช้เวลาอย่างต่ำๆ 2 รุ่น คนรุ่นอาจารย์และรุ่นผมคงเปลี่ยนแปลงได้ยาก ผู้ที่เข้าใจเช่นอาจารย์หรือผม ทำได้แค่จุดประกายและวางพื้นฐาน ผู้ที่จะสนับสนุนและเป็นกำลังในการขับเคลื่อนได้แก่ผู้มีอายุ 45 ปี ลงไปที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับของสังคมปัจจุบัน ผู้ที่จะขับเคลื่อนอย่างจริงจังได้แก้คนรุ่นอายุ 25 ปีลงไป และจะเห็นผลกับคนรุ่นลูก

· เลขที่บันทึก: 504696
· สร้าง: 06 ตุลาคม 2555 10:51 · แก้ไข: 06 ตุลาคม 2555 10:51
· ผู้อ่าน: 34 · ดอกไม้: 4 · ความเห็น: 0 · สร้าง: ประมาณ 14 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 


หน้า 523 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3047
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8598465

facebook

Twitter


บทความเก่า