Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

คณะกรรมการ CSR ของธนาคารไทยพาณิชย์ขอเชิญให้ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ปราชญ์คนหนึ่งของไทยด้านการศึกษา บรรยายสรุปภาพใหญ่ของประเทศด้านการศึกษาหรือการพัฒนาคน    ท่านพูดแล้วทำให้กรรมการตาสว่างและตาลุก    ว่าภาพคุณภาพคนของประเทศไทย น่าห่วงกว่าที่คิด   ซึ่งผมตีความว่าตัวเหตุสำคัญคือการศึกษาไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง    ไม่เชื่อมโยงกับชีวิตการทำงาน    เนื่องจากการจัดการระบบการศึกษาไทยยังเป็น supply-side driven ด้านเดียว    demand-side ไม่มีอำนาจตัดสินใจ

 

ขอเอา powerpoint ที่ ดร. กฤษณพงศ์ แก้ไขหลังจากฟังคำอภิปรายในที่ประชุม เอามา ลปรร. ที่นี่

 

ในระบบการศึกษา มาตรการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการทำให้รอยต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของระบบการศึกษาเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อมองจากมุมของผู้เรียน   ไม่ใช่แยกกันเด็ดขาดอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน   คือชั้น ๑๑ - ๑๒ (ม. ๕ - ๖) กับชั้น ๑๓ - ๑๔ (อุดมศึกษาปีที่ ๑ - ๒) เรียนร่วมกันได้    ให้ผู้จัดการศึกษาในช่วง ๔ ปีนี้ทำงานร่วมกัน เรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกัน

 

นอกจากนั้น อุดมศึกษาต้องเอาใจใส่การเรียนรู้ของคนทุกกลุ่มอายุ    คือทำหน้าที่ในการสร้างคุณภาพของคนไทยทุกกลุ่มอายุ   โดยที่จริงแล้วไม่ใช่อุดมศึกษาทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้เป็นหลัก   แต่ทำหน้าที่แบบใหม่ เน้นที่การทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คน   แล้วมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือจัดการความรู้    ยกระดับความรู้ผ่านการปฏิบัติขึ้นไปอย่างต่อเนื่องไม่มีจุดจบ    นักวิชาการก็ยกระดับความรู้เชิงทฤษฎี เชื่อมกับการใช้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

การสร้างคนไทย ต้องสร้างผ่านชีวิตจริงของคนไทย    เอาความรู้จากภายนอกมาทำให้เป็นความรู้ของเราเอง    และต่อยอดยกระดับผ่านกิจการงานและชีวิตของคนไทย    ในเชิงระบบ ต้องให้มีสมดุลและ synergy ระหว่าง supply-side กับ demand-side

 

ที่จริงระบบในสังคมทุกระบบ เป็นการสร้างคนไทยทั้งสิ้น    จึงเกิดคำถามว่า เวลานี้ระบบต่างๆ ในสังคม   สิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม กำลังพัดพาคนไทยสู่ทางวัฒนาหรือทางหายนะ

 

การเผยแพร่แนวความคิดดีๆ เช่นนี้ ถือเป็น CSR อย่างหนึ่ง    เมื่อนำเรื่องนี้ไปแจ้งในที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์    ท่านนายกกรรมการ อานันท์ ปันยารชุน ได้เพิ่มเติมปัจจัยสำคัญ ๒ ประการ คือ คอรัปชั่น กับความเข้มแข็งของระบบราชการ    เป็นการฝากให้กรรมการธนาคารท่านใหม่ ที่เป็นผู้แทนกระทรวงการคลัง คือ รศ. ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ ที่เป็นเลขาธิการ กพร. อยู่ด้วย ให้ไปหาทางดำเนินการเพื่อบ้านเมือง

 

ดร. ทศพร บอกว่า เรื่องการศึกษานั้น สังคมไทยอยู่ในสภาพ ๒ : ๙๘   คือคนฐานะดี ๒% บนของสังคม ช่วยลูกหลานของตนได้ โดยส่งเข้าโรงเรียนที่คุณภาพดี   แล้วส่งไปเรียนต่างประเทศ    แต่อีก ๙๘% ต้องส่งลูกหลานเข้าเรียนโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งคุณภาพด้อยลงเรื่อยๆ    ที่ประชุมเห็นว่า การแก้ไขต้องทำจากภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นสภาพที่ผู้คนหมดหวังต่อกลไกภาครัฐ

 

จะเห็นว่าคนไทยเรามีความท้าทายใหญ่ในเรื่องการสร้างและพัฒนาคน   ที่เราต้องช่วยกัน

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ส.ค. ๕๕

· เลขที่บันทึก: 504587
· สร้าง: 05 ตุลาคม 2555 10:56 · แก้ไข: 05 ตุลาคม 2555 10:56
· ผู้อ่าน: 62 · ดอกไม้: 7 · ความเห็น: 1 · สร้าง: ประมาณ 22 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
ดอกไม้
เลิกชอบ สมาชิกที่ให้กำลังใจ: Blank ชาญโชติ , Blank ...Dr. Ple , และ 5 คนอื่น.
Facebook
Twitter
Google

ความเห็น

บทความนี้สำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ไทยเป็นอย่างมากครับ ผมขออนุญาตินำไปเผยแพร่ในเคื่อข่ายของผมด้วยครับ

ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้
ชื่อ: ชาญโชติ
อีเมล: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ข้อความ:
เรียกเครื่องมือจัดการข้อความ เขียนแบบ Markdown ได้
แนบไฟล์:
ชื่อไฟล์ต้องใช้ตัวอักษร a-z, A-Z, 0-9 สัญลักษณ์ขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) และห้ามเว้นวรรค
ส่งอีเมลแจ้งด้วยเมื่อรายการนี้มีความเห็นเพิ่มเติม New!

เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการความรู้  เน้นที่การปฏิบัติ


จำนวนผู้เยี่ยมชม Site Meter

Locations of visitors to this page
 

บทความของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

การประชุมสัมมนาเรื่อง "การสร้างความเข้าใจการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียน (ASEAN) ศูนย์เครือข่ายการประเมินมาตรฐานบุคลากรการท่องเที่ยว (Tourism Professional Certification Network) ภาคตะวันตก ประจำปี 2555

กล่าวเปิดงานโดยดร.สมชาย ปัญญเจริญ  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี

-               เน้นเรื่องของการพัฒนาบุคลากรอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อรองรับ การเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียน (ASEAN)  เรียนรู้เรื่องภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียน เน้นเรื่องกฎระเบียบต่างๆ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว

-               ภาครัฐดูแลเรื่อง Infrastructure ต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดทั้งแง่บวก และแง่ลบ

-               การประชุมครั้งนี้ หวังว่าจะสามารถเตรียมความพร้อมของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ในสถานบันการศึกษาด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียน (ASEAN)  ในภาคตะวันตกได้

การบรรยายเรื่อง ทุนทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital)”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

-               การสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยว เพิ่มโครงสร้างขั้นพื้นฐาน สร้างถนนหนทาง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับคนเป็นสิ่งสำคัญ นักธุรกิจต้องบริหารและพัฒนาคนในองค์กร

-               การท่องเที่ยวจะขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม

-               การท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม   และความมั่นคง คนที่มาท่องเที่ยว ต้องการที่จะมาดูวิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นไทย

-               คนที่เข้ามาประเทศไทย เพราะต้องการความสุข ต้องการความรู้ ต้องการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมไทย

หลังจากจบการบรรยายให้ผู้เข้ารับการอบรมเขียน

1.         2 เรื่องที่คาดไม่ถึงเกี่ยวกับการพัฒนาทุนมนุษย์ในการท่องเที่ยว

2.         โครงการเพื่อรองรับอาเซียนเสรี

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีสิ่งจำเป็นดังต่อไปนี้

1.Macro ไปสู่ Micro คิดเป็นวิเคราะห์เป็น ศึกษาสภาพแวดล้อมให้ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย

2. ต้องปลูก ต้องสร้าง  มหาวิทยาลัยสร้างให้คนมีโลกทัศน์กว้าง

3. เก็บเกี่ยว  ต้องบริหารคนอย่างไรให้มีความเป็นเลิศ ซึ่งเป็นข้อสำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์

4. ทำอย่างไรถึงจะเอาชนะอุปสรรคต่อการบริการจัดการ

สิ่งแรกที่ผู้บริหาร และนักธุรกิจต้องให้ความสำคัญ คือ คน  และมีการบริหารอย่าง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

Michael Hammer: โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่แน่นอน

Michael Porter : ปัญหาของเมืองไทยด้านการท่องเที่ยว คือเน้นทรัพยากรมากเกินไป เพราะควรเน้นเรื่องประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า

  • นักธุรกิจควรต้องดูแลเรื่องความยั่งยืนด้วย จึงจะทำให้การท่องเที่ยวอยู่รอด
  • จำนวนนักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องมาก แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของนักท่องเที่ยว

ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา : คนเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดในองค์กร

-            ทุกวันนี้คนที่จบการศึกษาต้องมีความใฝ่รู้

-            ต้องรู้จักปลูกคน และบริหารคนให้เป็น

-            การจัดการคนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องยากที่สุด

-            การท่องเที่ยวต้องดูเรื่องสภาพแวดล้อมให้ดี  บุคคลกรต้องมีความไวแก้ปัญหาตลอดเวลา

วัตถุประสงค์วันนี้

-               สร้างความเข้าใจเรื่องทุนมนุษย์ หรือ Human Capital

-               จุดประกายให้ทุกคนมีปรัชญาและความเชื่อ เรื่องทุนมนุษย์

-               ค้นหาตัวเองเพื่อหาช่องว่างในการพัฒนา

-               ปลุกพลังให้เกิดการทำต่อเนื่อง เพื่อให้เกิด Values

-               สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทฤษฎี 3 V : สำคัญมากหากปลูก เก็บเกี่ยว เข้าใจสภาพแวดล้อม และเอาชนะอุปสรรคเป็น

  • Value Added เพิ่มมูลค่าให้กับตนเอง
  • Value Creation การคิด และสร้างโปรเจคใหม่ๆ (Blue Ocean) ได้มาจากการแรงบันดาลใจ การอ่านหนังสือ
  • Value Diversity การเข้าสู่ ASEAN จะเกิดเป็นหลากหลาย เอาความหลากหลายมาเป็นพลัง

-               สิ่งสำคัญในอาเซียนเสรี คือ การรู้เขารู้เรา

-               ฟิลิปปินส์ มีหมู่เกาะเยอะ ทำไมถึงอยู่เป็นประเทศได้ไม่ไม่แตกแยก

ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Fourth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

Ethics+  การเป็นคนดี ไม่โกง มีคุณธรรม จริยธรรม

Sustainability+  ต้องเป็นคนมองไกล อยู่รอดในระยะยาว

Wisdom+  มีปัญญา 1+1=3

Creativity+ มีความคิดสร้างสรรค์

Innovation+ ต้องมีนวัตกรรม นวัตกรรมการท่องเที่ยว เช่น Product การดูแลสิ่งแวดล้อม

intellectual capital

เรื่องทุนมนุษย์ต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน สิ่งทีน่ากลัว คือ

-               โลกาภิวัตน์ + ASEAN

-               ภัยธรรมชาติและสภาพอากาศ

-               โรคภัยไข้เจ็บ

-               พลังงานหมดโลก

-               Technology

-               การเมืองและระบบพลังงาน

-               ค่านิยมผิด ๆ

-               สื่อ (ทั้ง Old Media และ New Media)

-               ฯลฯ

การท่องเที่ยวต้องเน้นความซื่อสัตย์ ค่านิยม ที่ไม่ใช่วัตถุ แต่ต้องเน้นความยั่งยืน

 

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

 

 

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ต้องอ่านหนังสือมากๆ

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital ทุนทางวัฒนธรรม

การสร้างแรงจูงใจ ต้องสร้างด้วยสิ่งที่มองไม่เห็น  คือ

ทฤษฎี HRDS

Happiness

Respect

Dignity

Sustainability

วิจัยโครงการวิจัยการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ข้อสรุปที่น่าสนใจจากการวิจัยฯ นี้ อาทิ

ü  การวิจัยต่อเนื่องเกี่ยวกับการมองภาพอนาคต ปี 2020 ด้านการท่องเที่ยวและการกีฬาของประเทศไทย

ü  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบของ Learning / Training และ Coaching สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่น นักธุรกิจ SMEs และข้าราชการ โดยจัดเป็นรูปแบบ Cluster กลุ่มจังหวัด

ü  กิจกรรม / โครงการต่าง ๆ โดยมุ่งไปสู่การสร้างให้เกิด 3 V (Value added, Value Creation & Value Diversity)

เป็นต้น


 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2012 เวลา 14:44 น.
 

บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

พิมพ์ PDF

คอลัมน์: เศรษฐศาสตร์เพื่อชิวิต: จักรวรรดิอเมริกา

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 11 กันยายน 2555 00:00:10 น.

11 ก.ย.55 วันนี้ ครบรอบ 11 ปีแห่งการถล่มตึกเวิลด์เทรดที่มหานครนิวยอร์ก ซึ่งมีคนตายเกือบสามพันศพพอดี ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงตั้งสมมติฐานเป็นฝีมือฝ่ายใดกันแน่ ฝ่ายผู้ก่อการร้ายหรือกลุ่มอำนาจนิยมอเมริกาทำเอง เพื่อสร้างสถานการณ์หรือไม่ปีที่แล้วผมไปอเมริกามีโอกาสแวะไปดูสถานที่ประวัติศาสตร์แห่งนั้นด้วยความสลดหดหู่และเศร้าใจต่อผู้เสียชีวิต ตราบจนทุกวันนี้ เหตุการณ์วิปโยค 9/11 (11 ก.ย. ปี ค.ศ.2001) ยังคงฝังลึกในความทรงจำของอเมริกันชนผู้รักความเป็นธรรมและใฝ่หาสันติภาพ ใครเลยจะคิดว่าเหตุการณ์รุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นในใจกลางมหานครนิวยอร์ก เมืองทันสมัยของโลกที่มีตึกสูงร้อยกว่าชั้นชื่อ"เอ็มไพร์สเตต" (Empire State) ตั้งตระหง่านสูงเด่นเป็นสง่า คำว่า Empire  หมายถึงจักรวรรดิ  ศูนย์กลางการเงินหัวขบวนทุนนิยมโลกเองก็ตั้งอยู่บนเกาะแมนฮัตตันซึ่งอยู่ใจกลางมหานครนิวยอร์ก มีบทบาทสำคัญมากในการบงการระบบทุนนิยมโลกอยู่ตลอดมา

แม้การไล่ล่าอาณานิคมในอดีตที่ใช้กำลังอาวุธยึดครองอีกชาติหนึ่งให้เป็นเมืองขึ้น ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นจักรวรรดินิยมแผนใหม่ที่มีอิทธิพลครอบงำเอาเปรียบอีกชาติหนึ่งโดยปราศจากการใช้กำลังอาวุธยึดครองเป็นเมืองขึ้น แต่การเป็นจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจตะวันตกก็ยังถูกต่อต้านจากกลุ่มประเทศโลกที่สามทั่วโลกเป็นอย่างมากอยู่ดี โดยเฉพาะในละตินอเมริกาและในทวีปเอเชีย ดังเห็นเด่นชัดในช่วงคริสต์ศตวรรษ 1960-1970 จักรวรรดิอเมริกาทำตัวเป็นเจ้าโลกอัดฉีดความคิดแนวทางการพัฒนาแบบตะวันตกผ่านความช่วยเหลือทางการศึกษาและวัฒนธรรม พร้อมทั้งผลักดันวัฒนธรรมความคิดในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในทุกรูปแบบ การเผยแพร่ความคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์ในนาม "ทฤษฎีโดมิโน" ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านสงครามเวียดนามทำให้ประเทศต่างๆ แถบนี้ ไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา ลาว ไทย กระทบกระเทือนเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเวียดนามเสียหายอย่างยับเยินถึงกับต้องสร้างชาติใหม่ แม้แต่ประชาชนชาวอเมริกันเองก็ยังเดินขบวนต่อต้านประณามสงครามเวียดนามอันโหดร้ายไร้มนุษยธรรมที่จักรวรรดิอเมริกาของตนเป็นผู้ก่อ ชาวเวียดนามและทหารอเมริกันต้องบาดเจ็บ พิการ และสูญเสียชีวิตนับล้านคน สงครามเวียดนามจบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างยับเยินของสหรัฐ อหังการความเป็นจักรวรรดิอเมริกาลดบทบาททางการทหารในแถบเอเชียลงไปพักใหญ่ หากแต่บทบาททางวัฒนธรรมและการศึกษายังดำเนินต่อไป ดังจะเห็นการครอบงำความคิดในการพัฒนาประเทศตามแนวทางตะวันตกทุนนิยมยังดำเนินไปด้วยดี แม้โลกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเป็นอันมาก แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังพยายามอย่างมากที่จะคงความเป็นเจ้าโลกของตนไว้ให้ได้ ดังเช่นการหวนคืนมามีบทบาทในภูมิภาคเอเชียขณะนี้เพื่อประกาศความเป็นจักรวรรดิของอเมริกา

จักรวรรดิอเมริกามุ่งครองโลก มีเครือข่ายเข้มแข็งทั่วโลก ลัทธิครองความเป็นเจ้า (Hegemony) ต้องการควบคุมโลก 5 เรื่องคือ อาหาร/ยารักษาโรค/ประชากร/อาวุธ-สงคราม/น้ำมัน-พลังงาน สูตรสำเร็จในการครองโลกมี 5 ข้อ ได้แก่ ป่วนการเมือง/ป่วนเศรษฐกิจ/ล้างสมองสังคม/ชูผู้นำหุ่นเชิด/ปล้นทรัพยากร ยุทธวิธี "โหด-เลว-ดี" ทำแบบผสานกันไป ผ่านองค์กรทั้งในคราบ "นักบุญ" และ "คนบาป" เช่น กลุ่มธุรกิจ "คาร์ไล" สถาบัน ASPEN เวทีเศรษฐกิจโลกดาวอส องค์กรการกุศล (Philanthropy)  องค์กรสิทธิมนุษยชน องค์กรศาสนาบางกลุ่ม ซีไอเอและกองทัพ นี่คือขบวนจักรวรรดินิยมแผนใหม่ไล่ล่าทรัพยากร  บ่อยครั้งทำแนบเนียนยิ่งนักโดยผ่านสื่อตำราวิชาการ  กฎหมาย อำนาจตุลาการ มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าที่ปัตตานีมีน้ำมันแหล่งใหญ่ ความรุนแรงตายรายวัน  ชายแดนใต้ถูกแทรกแซงจากอำนาจนิยมตะวันตกด้วยหรือไม่  ขบวนอ้างตนฝ่ายประชาธิปไตยล้มปืนล้มเจ้ารัฐไทยใหม่เกิดเหตุการณ์เผาเมืองฆ่ากันตายกลางกรุง จากการไร้วุฒิภาวะ อ่อนหัดของรัฐไทยไม่ทันเกมและการแทรกแซงจากภายนอกด้วยหรือไม่ เหตุการณ์ป่วนการเมืองหลายๆ ที่ในโลกมักเกี่ยวโยงกับซีไอเอจักรวรรดินิยมอเมริกาหรือไม่  ชอบแทรกแซงป่วนเมืองให้คนในชาติแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแตกแยกฆ่าแกงกัน เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาว่าทุนสามานย์ในจักรวรรดิ-อเมริกา จะคล้อยตามหรือยอมรับเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐศาสตร์สันติภาพมุสลิม สายกลางได้หรือไม่ เพราะแนวคิดเหล่านี้ล้วนสวนทางกับผลประโยชน์ของทรราชทุนสามานย์ที่มุ่งสะสมอย่างเอารัดเอาเปรียบล้นเกินความพอดี แล้วทุนนิยมสามานย์เยี่ยงนี้จะเอาด้วยกับฝ่ายธรรมะได้อย่างไร

นักวิชาการสาธารณะอย่าง "ลิซา กูเลียนิ" สรุปว่า  "สหรัฐอเมริกาไม่ใช่ประเทศ แต่เป็นบรรษัท" หมายถึงรัฐสภาและกลไกกฎหมายสหรัฐ ถูกควบคุมโดยบรรษัทเอกชน  ข้อวิเคราะห์ของนักวิชาการชั้นแนวหน้าอย่าง "เจมส์ เพทราส"  เห็นว่า ผลประโยชน์ของบรรษัทนำไปสู่สงคราม เราจึงเห็น "สงครามใหม่ๆ ในโลกปะทุขึ้นท่ามกลางวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกโดยกลุ่มไซออนนิสต์ (ซึ่งมีอุดมการณ์ ชาวยิวต้องมาก่อน)  เป็นผู้จุด ชนวนสงคราม" ความคิดนี้ได้รับการขานรับจากมหาเศรษฐี/ซีอีโอบรรษัท และองค์กรชาวยิวหลักๆ กว่า 52 แห่งในอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดสอดคล้องกันหมดในทำเนียบขาว/รัฐสภา/กระทรวงการคลัง/ซีไอเอ/เพนตากอนกลาโหมสหรัฐ ต่างล้วนผลักดันไปสู่การทำสงครามกับอิหร่านที่มีวาระซ่อนเร้นเพื่อหวังปล้นน้ำมันเฉพาะหน้านี้บทบาทสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคอาเซียนนั้นต้องการปักธงที่ประเทศไทยปล้นปิโตรเลียมไทยและปิดล้อมจีนไปด้วย โดยการเคลื่อนพลกองทัพเรืออเมริกา60% มาสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก   ไทยกำลังจะกลายเป็นสนามรบของมหาอำนาจหรือไม่ เพราะขณะนี้อเมริกาขอใช้อู่ตะเภาเป็นฐานทัพแล้ว จีนจะใช้บางนาและแม่กลองเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ อินเดียเร่งตัดถนนสี่เลนสู่ไทย ทั้งสามชาติเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดสามลำดับแรกของโลก

ในหนังสือติดลำดับขายดีที่สุดเล่มหนึ่งชื่อ"เมื่อบรรษัทครองโลก"(When Corporations Rule the World) เขียนโดย  "เดวิด ซี คอร์เทน" ระบุ "หลักห้าข้อ" ที่บรรษัทเอกชนจะยึดครองโลกได้สำเร็จดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 สู่จักรวรรดิโลก เปลี่ยนโลกสู่โหมดจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ ตัวทำเกมคือ บรรษัทไร้สัญชาติไร้พรมแดน (TNCsTransnational Corporations) ทำวัฒนธรรมบริโภคทั้งโลกให้เป็นแบบเดียวกัน รัฐบาลทำนโยบายประชานิยมร่ายมนต์สะกดประชาชนให้อยู่ในกิเลสแห่งการบริโภคสุดขีด บรรษัทได้รับประโยชน์สูงสุด ส่วนชุมชนและชาติไว้ทีหลัง หัวใจสำคัญให้เสรีภาพสูงสุดแก่บรรษัท

ข้อที่ 2 การตลาดโลก ครอบงำโลกด้วยการโฆษณาผ่านสื่อไอทีสมัยใหม่หลากหลายรูปแบบ มอมเมาคนทั้งโลกเสพติดสินค้าโงหัวไม่ขึ้น ผลประโยชน์อเมริกาต้องมาก่อน ขยายสู่พรมแดนใหม่ขับเคลื่อนด้วยอุดมการณ์ตลาดเสรี ผ่านข้อตกลงการค้าเอฟทีเอ/อียู/เออีซี โดยยุทธวิธี "สี่ใหม่" ตลาดใหม่-ตัวละครใหม่-กฎเกณฑ์ใหม่-เครื่องมือใหม่

ข้อที่ 3 ตัดทิ้งประโยชน์ประชาชน

เปลี่ยนยุทธวิธีจากไล่ล่าอาณานิคมโดยเรือปืนในอดีต มาเป็นปล้นสมบัติชาติโดยความคิดเสรีนิยมใหม่ในปัจจุบัน ประดิษฐ์ศัพท์แสงสมัยใหม่ฟังดูดีน่าเชือถือ กรณีแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดย พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ  เช่น ปู้ยี่ปู้ยำสมบัติปิโตรเลียมชาติให้บรรษัทข้ามชาติ กรณีนำทุนสำรองระหว่างประเทศไปเป็นทุนจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งน้ำมันของเหล่าบรรดาเสือหิวรักชาติจนน้ำลายหยดรอเขมือบ    ความคิดเสรีนิยมใหม่มีเป้าหมายสูงสุดให้ทุนใหญ่เอกชนเป็นสถาบันควบคุมเศรษฐกิจโลก โดยมีฉันทานุมัติวอชิงตัน (เรือปืนสมัยใหม่) ทำภารกิจยึดโลก ได้แก่ ธนาคารโลก (WB)-กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)-องค์การการค้าโลก (WTO)-กระทรวงการคลังสหรัฐตลาดหุ้นวอลสตรีทอเมริกา

ข้อที่ 4 ประชาธิปไตยมีไว้ขาย ซื้ออำนาจด้วยเงินเท่ากับปิดปากประชาธิปไตย เช่น ให้เงินค่าโฆษณาปิดปากสื่อและคนทำรายการสื่อให้ทุนศึกษาวิจัยแก่มหาวิทยาลัย ให้หุ้นราคาต่ำก่อนเข้าตลาดหุ้น ฯลฯ ปล้นมูลค่าส่วนเกิน (Economic Rent)  จากสัมปทานธุรกิจพลังงาน ธุรกิจค้าอาวุธ เปิดทางบรรษัทปล้นทรัพยากรปิโตรเลียมแห่งชาติ สมคบคิดขายชาติร่วมกันโดยนักการเมือง-ข้าราชการระดับสูง-นักวิชาการฉกฉวยโอกาส-นักธุรกิจการเมือง มีนักล็อบบี้ยิสต์นายหน้าจัดการให้ลงตัว มีการใช้เงินซื้อให้หลุดคดีโกงภาษีและฉ้อฉลอื่นๆเป็นว่าเล่น

ข้อที่ 5 ฉันทานุมัติชนชั้นนำ มีสภาความสัมพันธ์ต่างประเทศ (Council on Foreign Relations-CFR) เป็นแกน สถาบันนี้มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจการเมืองโลกอย่างมีนัยสำคัญ   โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจยึดหลักการ 2 ข้อ (ก) ขยายระบบเศรษฐกิจทุนนิยมอเมริกาครอบโลก และ (ข) ปลูกฝัง  "โมเดลเศรษฐศาสตร์อเมริกา" ทั่วโลก สถาบัน CFR มีสมาชิกชั้นนำจากทุกวงการ รัฐบาล-ธุรกิจ-สื่อ-เทคโนแครต-นักวิชาการ-นักแสดง เช่น แองเจลีนา โจลี ดาราฮอลลีวู้ด อภิมหาเศรษฐีน้ำมันตระกูลร็อกกี้เฟลเลอร์ นายเฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีต รมว.ต่างประเทศสหรัฐ ผู้เล่นบทโหดระเบิดถล่มเวียดนามและล้มรัฐบาลชิลี

เศรษฐีน้ำมันตระกูลบุช เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ถึง 2 คน  ทำนโยบายผลประโยชน์ทับซ้อนพลังงาน บุชผู้พ่อเป็นที่ปรึกษาอาวุโสบอร์ดกลุ่มคาร์ไล (ค้าอาวุธและน้ำมัน) ระหว่างเป็นประธานาธิบดีบุชผู้พ่อได้ตั้งนายดิก เชนีย์ (ซีอีโอบริษัทน้ำมันฮอลลิเบอร์ตัน) เป็น รมว.กลาโหม ต่อมากลายมาเป็นรองประธานาธิบดีของบุชผู้ลูก (ผู้สั่งกองทัพอเมริกาบดขยี้ปล้นบ่อน้ำมันอิรัก) ส่วนนางคอนโดลีซซา ไรซ์ (ซีเอโอบริษัทน้ำมันเชฟรอน) ได้เป็น รมว.ต่างประเทศของบุชผู้ลูก บุชผู้พ่อมีนายสตีเฟน เพน ซึ่งเป็นนักล็อบบี้ยิสต์ธุรกิจน้ำมันระดับโลกตัวยงเป็นที่ปรึกษา ตอนไปอเมริกาเดือนสิงหาคม 2555 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เล่าว่า ได้พบทั้งนายคิสซิงเจอร์ และนายเพน พูดคุยเรื่องน้ำมันและนโยบายสหรัฐต่อเอเชียแปซิฟิก (แหล่งข่าว Korea Joong Ang Daily และ Culture Map Honston) ปลายปี 2554 ผู้บริหารเชฟรอนเข้าพบนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมทั้งบริจาคเงินช่วยเหลือน้ำท่วมเล็กน้อย (พอเป็นพิธี)    กลางปี 2555 นายกฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปพบนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ ที่กัมพูชาพร้อมผู้บริหารเชฟรอน แต่ไม่เปิดเผยหัวข้อสนทนากับนายฮุน เซน นายกฯ กัมพูชา อนึ่ง เมื่อครั้งนายบุชผู้พ่อมาเมืองไทยได้เข้าพบ พ.ต.ท.ทักษิณตอนเป็น รมว.ต่างประเทศ นายบุชผู้พ่อเข้า-ออกซาอุดีอาระเบียสะดวกเพราะเขาเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของบอร์ดกลุ่มคาร์ไลเอเชีย (ธุรกิจค้าอาวุธและน้ำมัน) ซึ่งบิดาของนายอุซามะห์ บินลาดิน ชาวซาอุดีอาระเบียก็ทำธุรกิจใกล้ชิดกับกลุ่มคาร์ไล มีธุรกรรมผ่านเกาะเคย์แมนไม่ต้องเสียภาษี เป็นแดนสวรรค์ของเหล่าทรราชทุนสามานย์ หมู่เกาะที่รวมเอาบรรดาธุรกิจสีเทา-สีดำ-สงคราม

ขณะที่ตึกเวิลด์เทรดถูกถล่มในเหตุการณ์ 9/11 บุชผู้ลูกกำลังอ่านนิทานให้เด็กฟังที่ฟลอริดา (มลรัฐทางใต้สุดห่างไกลจากมหานครนิวยอร์ก) ทันทีที่ได้รับการรายงานครั้งแรก บุชแสดงสีหน้าเรียบเฉยอ่านนิทานต่อไปอีกเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถึงกับต้องมีการเข้าไปรายงานอีกเป็นครั้งที่สอง แต่กว่าบุชผู้ลูกออกจะไปโพสท่าตีหน้าเศร้าแถลงการณ์เสียใจผ่านรายการสดทางโทรทัศน์ ซึ่งเวลาก็ผ่านไปเนิ่นนานแล้ว แทนที่จะมีปฏิบัติการทันทีที่ได้รับรายงานในฐานะผู้นำประเทศเพราะเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย

ปฐมบทการปล้นปิโตรเลียมในประเทศไทยเริ่มปี 2514   เมื่อสืบค้นไปพบว่านายวอลเตอร์ ลีวาย ที่ปรึกษาใกล้ชิดตระกูลร็อกกี้เฟลเลอร์ ซึ่งเป็นตระกูลที่มีหุ้นใหญ่ในบริษัทน้ำมันสแตนดาร์ดออยล์ (ที่ต่อมาคือบริษัทยูโนแคลและบริษัทน้ำมันเชฟรอนในปัจจุบัน) ได้ร่วมกันกับธนาคารโลกยกร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 พ.ร.บ.ฉบับนี้ถูกนักวิชาการทั่วโลกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น พ.ร.บ.ที่ล้าหลังเสียเปรียบต่างชาติมากที่สุดในโลก ซ้ำร้ายกฎหมายฉบับต่อมาภายใต้การเมืองสวามิภักดิ์ยิ่งให้อำนาจของทุนใหญ่เพิ่มขึ้นทุกประตู ได้แก่ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจปี 2542 แปรรูป ปตท.ปี 2544 ขายหุ้นเกลี้ยงภายใน 1 นาที กับ 17 วินาที นับเป็นอะเมซิ่งไทยแลนด์แกรนด์เซลที่หาดูที่ไหนไม่ได้ในโลกนี้ ทำไปทำมาหลังจากนั้นราคาน้ำมันและก๊าซขึ้นเอาๆ แพงสุดๆ คนไทยเดือดร้อนแสนสาหัสเอารัดเอาเปรียบประชาชนมหาโหด บริษัทแก้ตัวฟังไม่ขึ้น ส่วนรัฐบาลไทยทำเฉยเข้าข้างพ่อค้าน้ำมัน ตัวนายกฯ กลับวางเฉยผิดสังเกต   ด้วยท่าที "หนูไม่รู้" ทั้งที่นักวิชาการและภาคพลเมืองวิพากษ์วิจารณ์อย่างเข้มข้นเจาะลึกเรื่อยๆ...

พลันหุ้นชินคอร์ปถูกขายล็อตใหญ่ 7.3 หมื่นล้านบาทให้บริษัทเทมาเส็กสิงคโปร์ (23 ม.ค.49) ผมได้เขียนบทความทำนายไว้ใน "สู่...เมืองขึ้นยุคทุนใหญ่ยึดครองชาติ" (3 ก.พ.49) 6 ปีผ่านไปก็เป็นไปดังคาด วันนี้เมืองไทยหลายส่วน  "ถูกยึด ถูกครอบ" เรียบร้อยแล้ว รัฐสภา-ตำรวจทหาร-ข้าราชการ-สื่อโทรทัศน์ สื่อหนังสือพิมพ์-สถาบันการศึกษาและนักวิชาการ สยบยอมต่ออำนาจเงินหรือเกรงกลัวบารมีทุนใหญ่หรือร่วมโกงหรือไม่กล้าวิจารณ์ความไม่ถูกต้องหรือไม่ การทุจริตคอรัปชั่นซึ่งดาษดื่นเต็มแผ่นดิน หากทุนใหญ่ยึดบ่อน้ำมันไทยได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็เท่ากับยึดเมืองไทยเป็น "เมืองขึ้น" ทางเศรษฐกิจได้ "ผู้ใดครองปิโตรเลียม ผู้นั้นครองประเทศไทย"  นี่คือ "รัฐประหารเงียบ" หรือไม่ "การเมืองเรื่องปิโตรเลียม"  เปล่งอานุภาพอำมหิตแล้วหรือยัง ขอให้ประชาชนไทยช่วยกันจับตาดูอย่างใกล้ชิดกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 ในไทยครั้งใหญ่ช่วงต้นปี 2556 ให้ดีๆ จะมีเปิดหน้าชกหรือซุกหุ้นใช้นอมินีแทนอีกหรือไม่ จับตากลุ่มอำนาจน้ำมันไทยร่วมย่ำยีชาติไทยกับต่างชาติให้ดีๆ ผู้ถือหุ้นพลังงานล้วนเป็นคนใหญ่ คนโต คนมีชื่อเสียงในสังคมไทยทั้งนั้น

ณ วันนี้แห่งเวลา กลุ่มอำนาจน้ำมันไทยกับกลุ่มอำนาจน้ำมันอเมริกา มีสัมพันธภาพใกล้ชิดแน่นแฟ้นลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง มหากาพย์ปล้นขุมทรัพย์ปิโตรเลียมกำลังเดินหน้าต่อไปและต่อไปอย่างเงียบเชียบท่ามกลางประโยชน์ทับซ้อนปล้นชาติขายแผ่นดิน หากประชาชนไทยยังไม่ตื่นขึ้นจากภวังค์หรือถือว่าไม่ใช่ธุระของฉันปล่อยให้ถูกแล่เนื้อเถือหนังจนสิ้นเนื้อประดาตัว  มีความเป็นอยู่ที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง หนี้สิน รุงรัง ปล่อยให้สมบัติบนผืนแผ่นดินไทยถูกถลุงถูกปล้นจนสิ้นชาติ ประ เทศจะพัฒนาต่อไปได้อย่างไร หากประเทศไทยต้องสูญเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจ ถึงเวลาที่ประชาชนคนไทยทุกคนต้องลุกขึ้นมาตอบโจทย์ว่าผลประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันของไทยควรเข้ากระเป๋าคนบางกลุ่มบางพวก หรือควรนำมาปรับปรุงพัฒนายกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งชาติกันแน่.

แผนภูมิ   จักรวรรดิอเมริกากับอานาจน้ามัน

ที่มา  วิวัฒน์ชัย อัตถากร "จักรวรรดิอเมริกา"  เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต ไทยโพสต์  11 กันยายน 2555

ขอให้คนไทยช่วยกันตรวจสอบค้นหาความจริง และนำมาเปิดเผยให้ประชาชนรู้ความจริงด้วยครับ ว่าจริงๆแล้ว เป็นอย่างไรกันแน่

 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

หนังสือ Reckless Endangerment : How Outsized Ambition, Greed, and Corruption Led to Economic Armageddon เปิดโปงคอรัปชั่น (แบบถูกกฎหมาย) ในสหรัฐอเมริกาอย่างล่อนจ้อนและน่าขยะแขยง    ที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ที่เราเรียกว่า วิกฤตซับไพรม์ บอกเราทำนองเดียวกันกับหนังสือ The Price of Inequality ที่ผมเคยบันทึกไว้ที่นี่

ผมชื่นชมสังคมอเมริกัน ที่เขากล้าเปิดโปง และมีหลักฐานให้เปิดโปง    รวมทั้งมีความอดทนอดกลั้นต่อกัน   แต่ก็แปลกใจว่าทำไมไม่มีกฎหมายให้ฟ้องเอาผิดต่อคนเหล่านี้

แค่อ่านคำนิยมที่ปกหลังของหนังสือ   หรือใน เว็บไซต์ของ Amazon ที่ให้ไว้แล้วตรง Editorial Review เราก็จะเห็นภาพว่า ในสหรัฐอเมริกามีนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ที่เป็นนักวิชาการอยู่ในตัว    ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ   โดยทำงาน investigative journalism    และเลี้ยงตัวได้ดี    ผมฝันอยากให้สังคมไทยเรามีคนและระบบเช่นนี้บ้าง

คนที่เขียนหนังสือเช่นนี้ได้ต้องสะสมทุนปัญญาไว้มาก   ดังที่เขาเขียนไว้ใน Notes on Sources หน้า 309 ว่า ข้อมูลมาจากการทำงาน original reporting ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990s ถึงปี 2010   โปรดสังเกตคำว่า original reporting ผู้เขียนทั้งสองมีข้อมูลยืนยันการเขียนหนังสือเล่มนี้   ผู้มีชื่อถูกพาดพิงจึงฟ้องหมิ่นประมาทเขาไม่ได้

คนที่ถูกระบุเป็นตัวการใหญ่ของวิกฤตนี้คือ James A. Johnson, Chairman and CEO ของบริษัท Fannie Mae   ลองอ่านประวัติของเขาในวิกิพีเดียตาม ลิ้งค์ ที่ให้ไว้ดูนะครับ   จะเห็นว่าเขาทำร้ายสังคมด้วยการฉ้อโกงอย่างไร   และคนแบบนี้อาศัยความสามารถของตน อิทธิพลทางการเมืองและทางธุรกิจ สูบเอาผลประโยชน์ส่วนรวมเข้าตนเองอย่างไร   เขาเกี่ยวข้องกับโอบามา ก่อนเป็นประธานาธิบดีด้วย   ผมเดาว่าคนแบบนี้มีอยู่ในทุกสังคม   และบางสังคมรวมทั้งไทย ยังไม่มีกลไกเปิดโปงคนแบบนี้อย่างในสหรัฐอเมริกา

วิจารณ์ พานิช

๗ ส.ค. ๕๕

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 08 กันยายน 2012 เวลา 20:16 น.
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

การบูรณาการงาน วทน. เข้ากับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และท้องถิ่นที่นี่

ผมมองว่าการดำเนินการเพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ต่างๆเกิดผลตามแนวทางที่วทน.ทำอยู่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งต่อสังคมจึงขอเสนอให้จัดทำฐานข้อมูลสำหรับเชื่อมโยงผู้ใช้กับผู้ผลิตวทน.   โดยคำนึงว่าวทน. ที่มีอยู่เมื่อเอาไปใช้ต้องมีการปรับให้เหมาะมือผู้ใช้จึงควรมีฐานข้อมูล case story ที่เล่าเรื่องราวของการปรับเทคโนโลยี เอาไปใช้ตามบริบทของชุมชนหรือพื้นที่ แล้วเกิดผลดี

ผมมองว่า ควรหายุทธศาสตร์ในการใช้ วทน. เป็นพลังยกระดับสังคมไทย ให้เคลื่อนตัวไปสู่ความเป็น high-income country ก้าวข้าม middle-income trap ได้   ซึ่งอาจมีคนมองว่าเป็นเรื่องยาก ซึ่งผมเห็นด้วยว่ายาก แต่ไม่เหลือวิสัย ไม่พ้นความพยายาม   หากเราร่วมมือกันทั้งประเทศ   เราทำได้ หากเราสามัคคีร่วมมือกัน เลิกทะเลาะกันเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน   หันมาถือประโยชน์ชาติเป็นใหญ่

วทน. เป็นพลังก้าวกระโดด หากใช้เป็น

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ส.ค. ๕๕

 

 

 


หน้า 525 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3047
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8594590

facebook

Twitter


บทความเก่า