Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สัมมนาเชิงปฎิบัติการเรื่อง ธุรกิจบริการ ยุทธศาสตร์แห่งชาติ

พิมพ์ PDF

กาหนดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ธุรกิจบริการ...ยุทธศาตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2555 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ THE PEACH โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2555
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน ณ บริเวณ Hall B ชั้น 3
09.00 – 09.05 น. กล่าวต้อนรับ
โดย คุณพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล
ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
09.05 – 09.15 น. กล่าวรายงาน
โดย คุณศรีรัตน์ รัษฐปานะ (to be confirmed)
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
09.15 – 09.30 น. กล่าวเปิดการสัมมนา
โดย คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
09.30 – 10.00 น ปาฐกถาพิเศษ : อนาคตธุรกิจบริการไทย ภายหลัง AEC
โดย ดร.อาชว์ เตาลานนท์
ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
10.00 - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 - 12.25 น. การเสวนาหัวข้อ : เปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจไทยสู่ธุรกิจบริการ
- สาขาธุรกิจการท่องเที่ยว
โดย ดร.วีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
และอดีตผู้อานวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
- สาขาธุรกิจ ICT& IT (Communication & Media)
โดย คุณศุภชัย เจียรวนนท์
กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน)
- สาขาธุรกิจโลจิสติกส์
โดย คุณสุวิทย์ รัตนจินดา
ที่ปรึกษานายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA)
- สาขาธุรกิจก่อสร้าง
โดย คุณยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
และ คุณเสวก ศรีสุชาต
ประธานกรรมการบริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จากัด (มหาชน)
ดาเนินรายการโดย
นพ.สุรพงศ์ อาพันพงษ์
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการแพทย์และธุรกิจต่างประเทศ เครือโรงพยาบาลพญาไท
และ รศ.สุธรรม อยูในธรรม
คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
12.25 - 12.30 น. กล่าวขอบคุณวิทยากรภาคเช้า
โดย คุณทักษิณ วัชระวิทยกุล
นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย
12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 16.30 น. Workshop : กาหนดทิศทางธุรกิจบริการไทย
- ห้องที่ 1 สาขาธุรกิจโลจิสติกส์
โดย ดร.ศรีสลา ภวมัยกุล
รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
- ห้องที่ 2 สาขาธุรกิจก่อสร้าง
โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ห้องที่ 3 สาขาธุรกิจการท่องเที่ยว
โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ห้องที่ 4 สาขาธุรกิจ ICT/IT
โดย คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ (to be confirmed)
กรรมการผู้อานวยการ บริษัท เนชั่นบรอดแคสติ้ง คอรปอเรชั่น จากัด (มหาชน)
คุณฉัตรชัย ตวันธรงค์ (to be confirmed)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ 1998 จากัด (มหาชน)
สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมสปริงนิวส์
คุณโฆษิต สุขสิงห์ (to be confirmed)
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี เทคโนโลยี จากัด
ดร. กันยิกา ชอว์ (to be confirmed) อาจารย์ประจาสาขาวิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ห้องที่ 5 ทิศทางการปรับตัวและพัฒนาทุนมนุษย์ของภาครัฐและภาคเอกชน
โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
หมายเหตุ ผลสรุปของการสัมมนาฯจะจัดทาเป็นสมุดปกขาว (White Paper) เพื่อเสนอต่อรัฐบาลและใช้ประโยชน์ต่อไป

 

 

 

 

แบบตอบรับการเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ

เรื่อง ธุรกิจบริการ... ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond”

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2555 เวลา 08.30-16.30 น.

ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา

จัดโดย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ชื่อหน่วยงาน.............................................................................................................................................

ที่อยู่....................................ถนน...........................................แขวง/ตำบล.................................................

เขต/อำเภอ.......................................จังหวัด........................................รหัสไปรษณีย์.................................

ขอส่งผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา จำนวน ................ ดังนี้

1.ชื่อ ............................................................. นามสกุล ...........................................................................

ตำแหน่ง ..................................................... สังกัด ................................................................................

หมายเลขโทรศัพท์ ............................................... โทรสาร ....................................................................

e-mail ………………………………………………ช่วงบ่ายโปรดระบุห้อง..…………………………………

2.ชื่อ ............................................................. นามสกุล ...........................................................................

ตำแหน่ง ..................................................... สังกัด ................................................................................

หมายเลขโทรศัพท์ ............................................... โทรสาร ....................................................................

e-mail ………………………………………………ช่วงบ่ายโปรดระบุห้อง..…………………………………

3.ชื่อ ............................................................. นามสกุล ...........................................................................

ตำแหน่ง ..................................................... สังกัด ................................................................................

หมายเลขโทรศัพท์ ............................................... โทรสาร ....................................................................

e-mail ………………………………………………ช่วงบ่ายโปรดระบุห้อง..…………………………………

ลงชื่อ .............................................. ผู้แจ้ง

( .............................................. )

ตำแหน่ง ...............................................

สอบถามรายละเอียดและสมัครได้ที่ : ฝ่าย AEC และกฏระเบียบการค้าระหว่างประเทศ

โทรศัพท์ 02-622-1860-70 ต่อ 451-452 โทรสาร 0-2622-1883

หมายเหตุ : ผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่พักและค่าใช้จ่ายการเดินทางเอง

 

แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารคนในองค์กร

พิมพ์ PDF

แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารคนในองค์กร

หัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่างๆ ไม่ได้อยู่ที่ประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการพัฒนาเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรได้พัฒนาบุคลากรถูกที่ถูกจุดหรือไม่ ถ้าจะพูดง่ายๆแบบภาษาชาวบ้านก็คือ เกาถูกที่คัน หรือไม่ หลายองค์กรได้นำเอาเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาใช้ แต่สุดท้ายปัญหาการบริหารคนก็ยังคงมีอยู่เหมือนกัน เพราะจัดยาไม่ตรงกับโรค หรือไม่ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคคืออะไร

มีหลายองค์กรสอบถามผมว่าเราจะมีแนวทางหรือวิธีการอย่างไรบ้างที่จะสำรวจ ค้นหาและประเมินปัญหาในการบริหารคนขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับวิธีการที่หลายองค์กรนิยมใช้ในการประเมินปัญหาคือ การพูดคุยสอบถาม การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การใช้กล่องรับความคิดเห็น ฯลฯ แต่สุดท้ายผู้บริหารองค์กรก็ยังรู้สึกว่าปัญหาที่ได้มามันไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง เพราะมันไม่ตรงกับความรู้สึกของตัวผู้บริหารเอง หรือไม่ก็พอนำไปแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาเรื่องคนก็ยังไม่จางหายไป

ผมคิดว่าการที่หลายองค์กรเริ่มหันกลับมามองที่การค้นหาปัญหามากกว่าการหาเครื่องมือมาแก้ไขปัญหาน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีขององค์กรในบ้านเราในปัจจุบันและอนาคต เพราะถ้าตราบใดที่เรายังไม่รู้ว่าปัญหาที่แท้จริงในการบริหารคนของเราคืออะไร ต่อให้ใช้เงินลงทุนไปมากเท่าไหร่ ต่อให้ใช้เครื่องมือการบริการจัดการคนสมัยใหม่อย่างไรก็คงจะไม่ได้ผล แถมยังเสียเงินเสียเวลาไปแบบไม่คุ้มค่าอีกต่างหาก

จากการที่ผมได้ให้คำแนะนำองค์กรต่างๆไป รวมถึงได้มีโอกาสเห็นแนวทางการค้นหาปัญหาขององค์กรบางองค์กร จึงอยากจะนำเสนอทางเลือกในการค้นหาปัญหาด้านการบริหารคนดังนี้

กำหนดกลุ่มของปัญหาที่ต้องการศึกษาวิเคราะห์

เนื่องจากปัญหาของคนมีหลายรูปแบบ ดังนั้น ถ้าต้องการให้ได้ปัญหาที่แท้จริง จึงควรจะแบ่งกลุ่มปัญหาของคนในองค์กรออกเป็นกลุ่ม เช่น ปัญหาเกี่ยวกับบรรยากาศในการทำงาน ปัญหาเกี่ยวกับผลตอบแทน ปัญหาเกี่ยวกับความผูกพันต่องานหรือองค์กร ปัญหาด้านการทำงานร่วมกัน ปัญหาชีวิตส่วนตัวครอบครัว ฯลฯ การแบ่งกลุ่มปัญหาจะช่วยให้การศึกษาปัญหาชัดเจนมากขึ้น เพราะถ้าเราศึกษาปัญหาโดยภาพรวมทำให้ไม่สามารถแยกแยะลักษณะและสาเหตุของปัญหาได้อย่างชัดเจน

เลือกเครื่องมือในการค้นหาปัญหา

เมื่อเราแบ่งกลุ่มของปัญหาได้แล้ว ให้ลองหาเครื่องมือในการค้นหาปัญหาว่ามีเครื่องมืออะไรบ้าง แต่ละเครื่องมือมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง เช่น การสำรวจอาจจะเหมาะสำหรับการค้นหาภาพรวมของปัญหา แต่อาจจะไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกอาจจะดีตรงที่ได้ข้อมูลละเอียด แต่ถ้าผู้สัมภาษณ์ไม่เหมาะสม ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถูกสัมภาษณ์ อาจจะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง สุดท้ายวิธีการที่เหมาะสมอาจจะเป็นแบบผสมกันก็ได้ เช่น ช่วงแรกอาจจะใช้วิธีการสำรวจ เมื่อได้ปัญหาในภาพรวมมาแล้ว ก็ค่อยมาใช้วิธีการเจาะลงรายละเอียดของปัญหาแต่ละปัญหาย่อยอีกครั้งหนึ่ง

การตรวจสอบความถูกต้องของปัญหาที่ค้นหาหรือสำรวจมา

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าปัญหาที่เราค้นหามาได้นั้นสะท้อนปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงเปลือกนอกของปัญหา จึงควรมีการตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของปัญหา อาจจะใช้บุคคลภายนอกเข้ามาช่วยดำเนินการสำรวจปัญหาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันว่าปัญหาที่เราได้มานั้นถูกต้องจริงหรือไม่ หรืออาจจะใช้วิธีการศึกษาเชิงการวิจัยที่มีการตั้งสมมติฐานของปัญหานั้นๆตามที่เราได้ศึกษามาในเบื้องต้น และทดสอบสมมติฐานคร่าวๆโดยการศึกษาเชิงการวิจัย แต่คงไม่ต้องลงลึกที่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยอะไรมากมายนักนะครับ

การประเมินระดับของปัญหา

เมื่อแน่ใจว่าปัญหาในการบริหารคนขององค์กรถูกต้องและสะท้อนความเป็นจริงแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการประเมินระดับของปัญหาว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด ปัญหานั้นเกิดขึ้นมานานหรือยัง ปัญหานั้นๆส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อองค์กรอะไรบ้าง อย่างไร ระดับไหน นอกจากนี้อาจจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ประเมินได้ด้วยว่าปัญหาควรจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาเร่งด่วนกว่ากัน ปัญหาไหนที่ต้องแก้อีกปัญหาหนึ่งก่อนจึงจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาได้ เช่น การที่จะพัฒนาความสามารถของบุคลากรได้ จะต้องแก้ไขปัญหาชีวิตส่วนตัวของบุคลากรที่ส่งผลกระทบต่องานให้ได้ก่อน

จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาหรือแผนพัฒนาบุคลากร

เมื่อรับทราบปัญหาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำเอาปัญหาทั้งหมดมาจัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนา แผนที่ว่านี้อาจจะจัดทำเอง หรืออาจจะลองให้ที่ปรึกษาจากภายนอกเข้ามานำเสนอแผนก็ได้ ส่วนเราจะเลือกใช้บริการหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ อย่างน้อยเราจะได้มั่นใจได้ว่าแผนที่เราจัดทำขึ้นมานั้นถูกต้อง (ตรงกับแผนที่บุคคลภายนอกนำเสนอ)

การดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาบุคลากร

เมื่อเราได้ปัญหาที่แท้จริงแล้ว จัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนาเรียบร้อยแล้ว บางปัญหาเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการตัดสินใจเชิงการบริหารจัดการ เช่น ปัญหาเรื่องผลตอบแทน ปัญหาเรื่องระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงาน สถานที่ทำงาน ฯลฯ แต่บางปัญหาอาจจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เช่น การพัฒนาฝึกอบรมต่างๆ และถ้าจะให้ได้ผลควรจะกำหนดขอบเขตของผู้ที่จะต้องพัฒนาฝึกอบรมให้ชัดเจน กลุ่มนี้จะต้องพัฒนาเรื่องการวางแผนงาน กลุ่มนี้จะต้องเน้นเรื่องการคิดเชิงระบบ อีกกลุ่มอาจจะต้องเน้นเรื่องการประสานงาน/ทำงานเป็นทีม ไม่ควรกำหนดเป็นระดับ เช่น พนักงานระดับนี้(ทุกคน) จะต้องเข้าอบรมหลักสูตรนั้นหลักสูตรนี้ เพราะจะทำให้ปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขหรือคนที่ไม่เก่งก็ยังคงไม่เก่งต่อไป ส่วนคนที่เก่งอยู่แล้วก็เก่งมากยิ่งขึ้น

สรุป แนวทางในการสำรวจ ค้นหา
วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาบุคลากรขององค์กรควรจะทำอย่างเป็นระบบและเริ่มให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนแรกให้มากเพราะถ้ากำหนดปัญหาผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องแล้ว จะทำให้กระบวนการต่อๆมาไม่มีประโยชน์อะไร และการแก้ไขปัญหาอะไรก็ตามควรจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ผลที่คาดหวัง ตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนา ถ้ายังกำหนดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งดำเนินการเลยครับ เดี๋ยวจะเสียเงินเสียเวลาเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกนะครับ สุดท้ายนี้หวังว่าทุกองค์กรจะมุ่งเน้นการสำรวจปัญหาการบริหารคนขององค์กรที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนะครับ

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นบทความที่ผมคัดลอกมาจากที่ใดที่หนึ่ง ผ่านมาหลายปีแล้ว บังเอิญไปพบเข้าและเห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงขออนุญาตนำมาลงในบทความนี้ และต้องขอโทษที่ไม่ได้นำชื่อของผู้เขียนมาลงเพราะจำไม่ได้ ถ้าเจ้าของบทความนี้อ่านพบขอให้แสดงตัวด้วยครับ ขอให้ท่านผู้เขียนได้รับบุญจากผลงานของท่านที่ให้ประโยชน์ต่อส่วนรวม


 

 

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

พิมพ์ PDF

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ โดย วสิษฐ เดชกุญชร

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (...) เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคมนี้ ..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ...ได้เสนอชื่อ พล...อดุลย์ แสงสิง แก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่ หลังจากที่คนปัจจุบันคือ พล...เพรียวพันธุ์ ดามาพงศ์ ถึงเกษียณอายุราชการในเดือน กันยายนที่จะถึงนี้ ที่ประชุม ...ลงมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบกับที่ประธาน ...เสนอ

การที่ประธาน ...เลือกเสนอชื่อ พล...อดุลย์ ให้ที่ประชุม ...พิจารณานั้น เป็น สิทธิและอำนาจของประธานโดยถูกต้องตามกฎหมาย

เมื่อ พล...อดุลย์เริ่มรับราชการตำรวจในตำแหน่งรองสารวัตร ยศร้อยตำรวจตรี ในปี ..๒๕๑๙ นั้น ผมยังอยู่ในราชการตำรวจ เป็นพลตำรวจตรีแล้ว และมีตำแหน่งเป็นนายตำรวจ ราชสำนักประจำ ต่างสังกัดกับคุณอดุลย์ และแม้จะเคยเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ แต่ผม ก็หยุดสอนมาตั้งแต่รุ่นที่ ๒๑ ก่อนรุ่นที่ ๒๙ ซึ่งเป็นรุ่นของคุณอดุลย์ ผมจึงไม่สามารถที่จะไปรู้จัก นายตำรวจใหม่ที่มีตำแหน่งและยศอย่างคุณอดุลย์ได้หลายคนนัก แต่เผอิญคุณอดุลย์ได้มาเป็นลูก เขยของเพื่อน ผมจึงรู้จักคุณอดุลย์ และได้ติดตามความก้าวหน้าในราชการของคุณอดุลย์ตั้งแต่ต้น มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

ผมจึงสามารถยืนยันได้ว่าคุณอดุลย์รับราชการมาด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ บากบั่น และ อุทิศตนให้แก่ราชการไม่แพ้ตำรวจอื่น คนใด ใน ..๒๕๒๐ คุณอดุลย์รับอาสาไปเสี่ยงอันตราย อยู่ในพื้นที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ใน สมัยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกำลังถูก ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์คุกคามอย่างรุนแรง

คุณอดุลย์ได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่า เป็น วีรบุรุษคนหนึ่งของกรมตำรวจ

คุณอดุลย์ไม่เหมือนคนอื่นอยู่อย่างหนึ่ง คือไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม คุณอดุลย์ต้อง ศึกษาวิเคราะห์และวิจัยงานที่ตนรับผิดชอบอย่างจริงจัง แล้วเขียนผลการศึกษาวิเคราะห์วิจัยนั้น ออกมาเป็นคู่มือหรือตำรา ให้เพื่อนร่วมงานและผู้อื่นได้ใช้ด้วย ในห้องสมุดของผมยังมีตำราที่คุณ อดุลย์เขียนสมัยที่เป็นผู้บังคับการตำรวจจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล

ครั้นเมื่อได้เป็นผู้บังคับการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้ (เมื่อก่อนเรียกว่าศูนย์ ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า หรือ ศปก.ตร.สน.) หรือเป็นแม่ทัพตำรวจภาคใต้ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ จนถึงปี ๒๕๕๒ คุณอดุลย์ก็อุตส่าห์เขียนตำราเกี่ยวกับงานของศูนย์เอาไว้เช่นเดียว กัน

คุณอดุลย์เป็นนายตำรวจที่มีฝีมือทั้งด้านบุ๋นและด้านบู๊

ผมไม่เชื่อว่า ..ยิ่งลักษณ์ จะรู้จักคุณอดุลย์ดีพอที่จะตัดสินใจเสนอชื่อคุณอดุลย์ให้ กตช. เลือกเป็น ผบ.ตร. แต่เชื่อว่า ..ยิ่งลักษณ์คงทำตามคำแนะนำของ (...)ทักษิณ ชินวัตร พี่ชาย ของตน ซึ่งรู้จักตำรวจดีกว่า

มีผู้อ้างเป็นเชิงกล่าวหาว่า ก่อนที่จะได้รับการเสนอให้เป็น ผบ.ตร.นั้น คุณอดุลย์เดินทางไป พบ (...)ทักษิณที่ดูไบ แต่ผมไม่เชื่อว่าการอ้างหรือกล่าวหานั้นเป็นความจริง เพราะผมไม่เคย เห็นหรือรู้ว่าคุณอดุลย์เคยวิ่งเต้นกับใครเพื่อเอาตำแหน่งใด เคยแต่เสนอตัวเองไปทำงานในพื้นที่ที่ มีอันตราย ที่ใคร เขาไม่อยากไปมากกว่า

ผมรู้แน่นอนด้วยว่าคุณอดุลย์เคยปฏิเสธเสียด้วยซ้ำไป เมื่อได้รับการทาบทาม และมีโอกาส ที่จะรับตำแหน่งสูงขึ้น

เกือบลืมบอกไปว่า อีกเหตุผลหนึ่งที่ผมลำเอียงเข้าข้างคุณอดุลย์ คือคุณอดุลย์เป็นชาว อีสานเช่นเดียวกับผม คุณอดุลย์เกิดที่จังหวัดนครพนม ส่วนผมเกิดที่อุดรธานี ในขณะที่ยินดีที่คุณอดุลย์จะได้เป็น ผบ.ตร. ผมก็เป็นห่วงและเห็นใจคุณอดุลย์ด้วย ที่กำลัง จะได้ตำแหน่งใหม่ที่ใหญ่และสำคัญตำแหน่งนี้ เป็นห่วงและเห็นใจเพราะผมรู้ว่า คุณอดุลย์เป็นคน ซื่อสัตย์และซื่อตรง ไม่เคยยอมทำอะไรที่ผิดระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย และสมมติว่า คุณอดุลย์ ได้รับการขอร้องหรือบังคับให้ทำผิด คุณอดุลย์ก็คงไม่ยอม ไม่ว่าผู้ที่ขอร้องหรือบังคับนั้นจะเป็นใคร แม้จะเป็น (...)ทักษิณ ผู้แนะนำให้ ..ยิ่งลักษณ์เสนอตั้งคุณอดุลย์ก็ตาม

จะอย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่ายุคที่คุณอดุลย์ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.นี้ จะเป็นยุคที่ตำรวจมี นายที่ซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ไม่เบียดเบียน แต่เห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา และเป็นเพื่อนทุกข์อย่าง แท้จริงของผู้ใต้บังคับบัญชา

การทำสงครามกับอาชญากร และสงครามกับผู้ก่อความไม่สงบในส่วนต่าง ของประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะยังเป็นงานหนักของคุณอดุลย์ต่อไปอีก แต่นอกเหนือไป จากนั้น คุณอดุลย์ยังจะต้องเผชิญกับการทำสงครามกับนักการเมือง ที่หวังจะใช้ตำรวจเป็นเครื่องมือ ในการหาประโยชน์ของตนด้วย

ผมเอาใจช่วยคุณอดุลย์ และขออวยพรให้ประสบชัยชนะในสงครามครั้งนี้.


 

บทความของ อาจารย์ รุจิระ บุนนาค

พิมพ์ PDF

กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--พีอาร์   โฟกัส

เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง

http://admax.effectivemeasure.net/emnb_1_439802.gif

ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว

ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย

ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย

ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน

นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ร. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน

และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น

ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง

บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค

กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค


 

นโยบายด้านศาสนา ของมีค่าที่ถูกลืม โดย ศ.วิจารณื พานิช

พิมพ์ PDF

 

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา จัดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “นโยบายด้านศาสนา : ของมีค่าที่ถูกลืม” วันที่ ๑๑ - ๑๒ พ.ค. ๕๕ ผมโชคดี ได้รับเชิญเข้าร่วม และบรรยายเรื่อง ความร่วมมือทางศาสนาในประชาคมอาเซียน จึงนำ narrated ppt มาฝากที่

http://www.uc.mahidol.ac.th/file/ความร่วมมือทางศาสนา_NRC_550512_N.pptx

 

ผมตั้งใจไปทำความเข้าใจว่านักวิชาการและวิทยากรที่มาพูด มองคุณค่าของศาสนาอย่างไร

 

ผมเพิ่งบันทึกความในใจเรื่องการถือศาสนาของผมที่นี่

 

บ่ายวันที่ ๑๑ ผมมีโอกาสได้ฟังส่วนหนึ่งของการอภิปรายเรื่อง “นโยบายในการส่งเสริมและทำนุบำรุงศาสนา : จากบริบทไทยไปบริบทอาเซียน ส่วนของศาสนา ซิกข์  และศาสนาอิสลาม   สิ่งที่ผมได้คือ ทั้งสองศาสนาเน้นการเรียนรู้สืบทอดหลักศาสนาภายในครอบครัว    เน้นความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว    วิทยากรจากทั้งสองศาสนาเน้นตรงกันอีกอย่างหนึ่งคือ การปฏิบัติ ที่อยู่กับเนื้อกับตัว ในทุกขณะจิตของชีวิต   ข้อนี้ตรงกับความเข้าใจของผม ว่าการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ที่เรียกว่าการฝึกฝนตนเอง เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของชีวิต   และเข้าใจว่าทุกศาสนาเน้นข้อนี้   แต่มีวิธีดำเนินการแตกต่างกัน

 

วันที่ ๑๒ พ.ค. ผมจึงเข้าร่วมประชุมตลอดวัน เริ่มจากการบรรยายของผมตาม narrated ppt ข้างต้น   และเมื่อกลับมาไตร่ตรอง (AAR) ต่อที่บ้าน จึงเห็นว่า ศาสนาก็เช่นเดียวกับองค์กรหรือปัจจัยทางสังคมอื่นๆ (เช่น การศึกษา) ที่ตกอยู่ในสภาพที่ปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม   มีการพูดกันว่าวงการพุทธศาสนาไทยสื่อสารกับคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่รู้เรื่อง

 

สังคมไทยทั้งสังคม ไม่มีกลไกปรับตัวให้แก่ระบบทางสังคมที่มีคุณค่าในอดีต   ให้เปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม    เพื่อให้ระบบทางสังคม (เช่นศาสนา) ยังดำรงคุณค่า (ในรูปแบบใหม่) ให้แก่สังคมต่อไปได้

 

ผมตีความว่า ระบบศาสนาต้องเรียนรู้มาก และปรับตัวมาก จึงจะดำรงคุณค่าแก่สังคมได้   แม้ว่าแก่นของศาสนาไม่เปลี่ยน แต่เปลือกหรือส่วนสัมผัสสื่อสารกับผู้คนในสังคมต้องเปลี่ยน   เพื่อดำรงคุณค่าต่อคนส่วนใหญ่ในสังคมให้ได้   เป้าหมายคือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ให้ยึดมั่น เชื่อมั่น ในคุณงามความดี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

 

ที่จริงจะว่าวงการศาสนาไม่ปรับตัวก็ไม่ถูกต้อง    มีคนกล่าวในที่ประชุม (ตรงกับข้อสังเกตของผมเองด้วย) ว่าเดี๋ยวนี้วัดต่างๆ ในประเทศไทย ปรับตัวเป็น one stop service แก่ความเชื่อแบบงมงาย แก่ผู้มาสะเดาะเคราะห์ขอพร เป็นมีทั้งพระพุทธรูป เจ้าแม่กวนอิม ทั้งเทพฮินดู พระราหู ฯลฯ ให้กราบไหว้บูชา    ไปที่เดียวได้พบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ครบทุกประเภท

 

ผมได้เรียนรู้มากมายจากการบรรยายและการอภิปรายในวันนี้   แต่ผมแปลกใจ ที่ในช่วงการอภิปรายเรื่องศรัทธากับงานสร้างสรรค์ทางศาสนา วิทยากร ๖ ท่าน   ไม่มีใครเอ่ยถึงงานสร้างสรรค์ หรืองานศิลปะ ที่เป็นเครื่องเอื้อต่อการเข้าถึงแก่นแท้ของศาสนาได้ดีขึ้น   ซึ่งผมนึกถึงโรงมหรสพทางวิญญาณที่สวนโมกข์   และนึกถึงหอจดหมายเหตุพุทธทาส ที่กรุงเทพ มีแต่ ศ. ดร. วิรุณ ตั้งเจริญ ที่ยกเอาบทกวีของท่านพุทธทาสมาอ่าน ได้แก่ มองแต่แง่ดีเถิดโลกนี้คืออะไรแน่เป็นมนุษย์หรือเป็นคน

 

แต่กลอนชื่อ มองแต่แง่ดีเถิด ที่ ศ. ดร. วิรุณ ยกมา มี ๓ ตอน เพิ่มจากที่ผมค้นและลิ้งค์ไว้ข้างบน ๑ ตอน   จึงขอนำตอนที่ ๓ มาลงไว้ ดังนี้

ไม่นานนัก  จักมี  ดีประดัง

จนกระทั่ง  ถึงมี  ดีอย่างยิ่ง

เมื่อพ้นดี  จะถึงที่  นิพพานจริง

นับเป็นสิ่ง  ควรฝึกแน่  “มองแต่ดี”

 

ขอนำบันทึกส่วนตัว ที่ผมใช้ iPad จดประกอบการฟังและคิดที่นี่ (link ไปยังไฟล์ ศาสนา_550511)   ข้อความที่มีดอกจันทน์อยู่ข้างหน้าหมายถึงความคิดของผมที่ผุดขึ้นระหว่างฟัง

ท่านมหาหรรษา วิทยากรท่านหนึ่ง กล่าวว่า คนในประเทศออสเตรเลีย ร้อยละ ๗๐ บอกว่าตนไม่มีศาสนา    ผมไม่เชื่อ   ผมคิดว่าเขาไม่ถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งโดยเฉพาะ   แต่คนเราต้องการความเชื่อชุดหนึ่งสำหรับยึดถือหรือเป็นที่พึ่งทางใจ   ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรงกับศาสนาหนึ่งศาสนาใดทั้งหมด   แต่ก็เป็นการยึดถือทางศาสนานั่นเอง

AAR อีกข้อหนึ่งของผมคือ ยังแตะศาสนาส่วนที่เป็นแก่น และส่วนที่เป็นการปฏิบัติในชีวิตประจำวันน้อยไป   ผมพยายามบอก(ในการบรรยายของผม)ว่าต้องเน้นที่การสอดแทรกทักษะด้านใน คือทักษะด้านศาสนาธรรมที่เป็นแก่นเข้าไปใน PBL   และครูต้องเอาเรื่องวิธีเป็น facilitator เพื่อปลูกและงอกงามทักษะด้านใน เอามา ลปรร. และวางแผนดำเนินการร่วมกันใน PLC   เพราะทักษะด้านในเป็นส่วนสำคัญของ Life Skills ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ 21st Century Skills    แต่ผมคงจะพูดไม่ชัด จึงเอามาย้ำไว้ ณ ที่นี้

ทักษะด้านในที่เป็นศาสนธรรมนี้ น่าจะเป็นศาสนธรรมสากล คือก้าวข้ามแต่ละศาสนา เข้าสู่ส่วนที่เหมือนกันของทุกศาสนา    และทักษะนี้แหละที่จะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างศาสนาลงได้

 

ส่วนหนึ่งของทักษะด้านในด้านศาสนธรรมสากลคือ EFของสมองนั่นเอง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ พ.ค. ๕๕

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2012 เวลา 19:41 น.
 


หน้า 527 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8560053

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า