Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

บทความของ วสิษฐ เดชกุญชร

พิมพ์ PDF

หนังสือควรอ่านและควรแจก โดย วสิษฐ เดชกุญชร

เมื่อต้นเดือนนี้เอง ผมโทรศัพท์ไปเยี่ยมน้องสาวผมซึ่งอยู่ที่เชียงราย ทราบว่าขณะนั้นเธอ กำลังทำบุญถวายผ้าป่าอยู่ที่วัด เธอบอกด้วยว่า พระภิกษุรูปหนึ่งที่รับผ้าป่านั้น คือท่านอาจารย์ พระมหา วุฒิชัย วชิรเมธี หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ .วชิรเมธี พอได้ยินดังนั้นผมก็รีบบอก น้องว่าขอทำบุญด้วย เพราะผมรู้จักรักและเคารพท่านอาจารย์อยู่แล้ว

หลังจากนั้น - วัน น้องเดินทางมาพบผมที่กรุงเทพ นำหนังสือมาด้วยเล่มหนึ่ง บอก ว่าท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยฝากมาให้ผม ผมรับหนังสือมาดูเห็นว่าเป็นหนังสือชื่อ กิเลส MANAGEMENT” ปกแข็งสีแดงเล่มไม่บาง (นับดูภายหลังได้ประมาณ ๓๐๐ หน้า) หุ้มปกด้วย กระดาษมัน พิมพ์สีเป็นภาพเขียนรูปท่อนบนของเด็กหญิงในเครื่องแบบนักเรียน นั่งหลับตาอยู่ใต้ กระท่อมหรือกุฏิ มีกรงเล็บของสัตว์ชนิดไหนก็ไม่รู้กำลังเอื้อมเข้าหาเด็กหญิงผู้นั้น ฝีมือเขียนรูปดู ก็รู้ว่าเป็นของชั้นศิลปินชั้นครู อ่านจากปกจึงรู้ว่าผู้เขียนคือ .วชิรเมธีและผู้เขียนภาพคือ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป (จิตรกรรม)

พอเอากลับมาบ้านและพลิกดูก็แล้ววางไม่ลง เพราะนอกจากจะพิมพ์ด้วยกระดาษมันและ หนาอย่างดี (อย่างที่เคยเรียกว่ากระดาษอาร์ต) แล้ว ในเล่มยังมีภาพเขียนสีฝีมือ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ แทรกอยู่ตลอดทั้งเล่มนับได้ ๓๘ ภาพ ส่วนเนื้อเรื่องนั้น ท่านอาจารย์มหาวุฒิชัย แบ่งออกเป็น บท และ ภาค คือบทนำซึ่งอธิบายความหมายของคำว่า กิเลสและเหตุผลที่ ต้อง manage หรือบริหารมัน ภาค ว่าด้วยการจัดการความโลก ภาค ว่าด้วยการจัดการ ความโกรธ ภาค ว่าด้วยการจัดการตัณหา มานะ และทิฎฐิ ภาค ว่าด้วยริษยา : หนามตำใจ จบลงด้วยบทส่งท้ายว่าด้วยการจัดการกิเลสตามแบบแผน คืออริยมรรคมีองค์

ใครที่เคยอ่านข้อเขียนของท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยหรือ .วชิรเมธี หรือเคยฟังท่านพูด หรือแสดงธรรมมาแล้ว ย่อมทราบดีด้วยกันทุกคนว่า จะเขียนหรือพูดก็ตาม ท่านอาจารย์พระมหา วุฒิชัยท่านเก่งตรงที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย หรือถ้าจะพูดอย่างสมัยใหม่ก็ต้องว่า โดนใจผู้อ่านหรือผู้ ฟัง ในหนังสือ กิเลส MANAGEMENT” นี้ก็เช่นเดียวกัน ตั้งแต่บทต้นภาคต้นจนถึงภาคสุดท้าย บทสุดท้าย ท่านอาจารย์ผู้เขียนเขียนด้วยภาษาที่กระทัดรัดและอ่านเข้าใจง่ายเช่นเคย

เนื้อที่หน้ากระดาษนี้ไม่พอ จึงจะขอย่อยและยกเพียงบางตอนมาให้อ่านกัน

ในบทนำตอนที่ว่าทำไมต้องบริหารกิเลสนั้น ท่านอาจารย์ผู้เขียนอธิบายว่า สภาพจิตเดิม ของคนเรานั้นบริสุทธิ์ ผ่องใส แต่เศร้าหมองไปเพราะกิเลสที่จรมา (อาคันตุกะกิเลส) สถานภาพ ของกิเลสจึงเป็นเพียง แขกที่สัญจรมาชั่วครู่ชั่วคราว แต่ถ้าเรารู้ไม่เท่าทัน แขกแปลกหน้าที่เคย เป็นอาคันตุกะนี้อาจจะอยู่กับเราถาวรก็เป็นได้ ท่านบอกด้วยว่า กิเลสเหมือนไฟ ถ้ารู้จักใช้อย่าง มีปัญญา ก็เป็นประโยชน์ในการหุงหาอาหาร แต่ถ้าเราปล่อยปละละเลย ไฟที่เคยใช้หุงอาหารอันมี ประโยชน์นั่นแหละก็อาจลุกพรึบขึ้นไหม้บ้านไหม้เรือนได้

และแม้เราจะไม่สามารถจะตัดกิเลสได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้หมือนพระอริยบุคคล แต่เราก็ ไม่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างคนที่ยอมตกเป็นทาสของกิเลสจนเต็มเวลา ในแต่ละวันของเรานั้น ควรจะมี บางช่วงบางเวลา บางชั่วโมง บางนาทีหรือบางขณะจิต ที่เราเป็นฝ่ายประกาศอิสรภาพ ลุกขึ้นมา ปราบดาภิเษกเป็นนายเหนือกิเลสบ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสครอบงำเราชั่วนาตาปี

ในภาคอื่น ที่ตามมานั้น ท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยท่านแยกแยะ และจัดการบริหาร กิเลสเอาไว้เป็นส่วน ผู้อ่านสามารถที่จะค้นหรือหยิบขึ้นมาประยุกต์กับสถานการณ์จริง ได้โดยง่าย

บทที่ผมอยากจะให้อ่านกันเร็ว มาก และบ่อย โดยเฉพาะผู้รับผิดชอบในการบริหาร งานบ้านเมืองและนักธุรกิจอภิมหานายทุนนั้น คือภาค การจัดการความหลง โดยเฉพาะในหน้า ๑๕๕ ที่ว่าด้วยหลงเงินจนเงินกลายเป็นพระเจ้า และหน้า ๑๖๙ ที่ว่าด้วยหลงอำนาจจนต้องบูชา อำนาจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการหลงเงินนั้น ท่านอาจารย์ผู้เขียนได้ยกเอาชีวิตจริงของ บิล เกตส์ และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มาเป็นอุทาหรณ์ให้เห็นความไม่หลงเงินของมหาเศรษฐีทั้งสองคน ที่แม้จะ รวยแล้วอย่างมหาศาลเป็นอันดับที่ และที่ ของโลก แต่ลงท้ายก็ใช้เงินจำนวนมหาศาลของตน ก่อตั้งโครงการเพื่อมนุษยธรรมขึ้นหลายโครงการ ทั้งยังเชิญชวนมหาเศรษฐีทั่วโลก ให้ร่วมเป็นหุ้น ส่วนของความดีอีกด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับการหลงอำนาจนั้น ท่านอาจารย์ผู้เขียนได้คัดเอาส่วนหนึ่ง ของบทความของพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล มาให้อ่าน ซึ่งว่าด้วยการขึ้นสู่อำนาจ และในที่สุดก็ สูญเสียอำนาจของ วลาดิเมียร์ เลนิน และ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำคอมมิวนิสต์รัสเซีย ความหลง อำนาจของทั้งสองคนนั้นทำให้ชาวรัสเซียต้องตายไปกว่า ๒๐ ล้านคน และลงท้ายทั้งเลนินและ สตาลินก็จบชีวิตลงด้วยอาการอันน่าสมเพชและทนทรมาน

ตอนท้ายของภาค นั้น ท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยแนะนำวิธีบริหารจัดการความหลง เอาไว้ วิธี คือ ) หมั่นศึกษาหาความรู้ทางโลกคู่ทางธรรมอยู่เสมอ ) รู้จักเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง อย่างมีปัญญา และ ) หมั่นเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ผมไม่ทราบว่านักเรียนชั้นประถมปีที่ และชั้นอื่น จะได้รับแจก แทเบล็ตฟรตามนโยบายของรัฐบาลไปแล้วหรือไม่เพียงใด แต่ผมขอเสนอแนะให้รัฐบาลของ ..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซื้อหนังสือ กิเลส MANAGEMENTของท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี แจกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา คนละหนึ่งเล่ม หนังสือนี้ ราคาตามปกเล่มละ ๓๐๐ บาท ถูกกว่าแทเบล็ตหลายสิบเท่า แต่ผมเชื่อว่า ประโยชน์ที่จะได้จาก การอ่านหนังสือเล่มนี้จะมากมายมหาศาลหลายร้อยหลายพันเท่า ยิ่งกว่าที่นักเรียนชั้นประถมจะได้ จากการใช้แทเบล็ต

และถ้าแม้ว่ากิเลสของผู้ที่ได้รับแจกบางคนจะหนาเสียจนเหลือวิสัยที่จะบริหารได้ และผู้ที่ได้ รับแจกเอาหนังสือเล่มนี้ไปขว้างทิ้ง แต่ผู้อื่นที่เก็บได้ก็ยังอาจจะได้อ่าน และสามารถบริหารจัดการ กิเลสของตนได้ไม่มากก็น้อย ผู้แจกก็ยังจะได้บุญอยู่วันยังค่ำ.

 

บทความของ วสิษฐ เดชกุญชร

พิมพ์ PDF

หนังสือควรอ่านและควรแจก โดย วสิษฐ เดชกุญชร

เมื่อต้นเดือนนี้เอง ผมโทรศัพท์ไปเยี่ยมน้องสาวผมซึ่งอยู่ที่เชียงราย ทราบว่าขณะนั้นเธอ กำลังทำบุญถวายผ้าป่าอยู่ที่วัด เธอบอกด้วยว่า พระภิกษุรูปหนึ่งที่รับผ้าป่านั้น คือท่านอาจารย์ พระมหา วุฒิชัย วชิรเมธี หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ .วชิรเมธี พอได้ยินดังนั้นผมก็รีบบอก น้องว่าขอทำบุญด้วย เพราะผมรู้จักรักและเคารพท่านอาจารย์อยู่แล้ว

หลังจากนั้น - วัน น้องเดินทางมาพบผมที่กรุงเทพ นำหนังสือมาด้วยเล่มหนึ่ง บอก ว่าท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยฝากมาให้ผม ผมรับหนังสือมาดูเห็นว่าเป็นหนังสือชื่อ กิเลส MANAGEMENT” ปกแข็งสีแดงเล่มไม่บาง (นับดูภายหลังได้ประมาณ ๓๐๐ หน้า) หุ้มปกด้วย กระดาษมัน พิมพ์สีเป็นภาพเขียนรูปท่อนบนของเด็กหญิงในเครื่องแบบนักเรียน นั่งหลับตาอยู่ใต้ กระท่อมหรือกุฏิ มีกรงเล็บของสัตว์ชนิดไหนก็ไม่รู้กำลังเอื้อมเข้าหาเด็กหญิงผู้นั้น ฝีมือเขียนรูปดู ก็รู้ว่าเป็นของชั้นศิลปินชั้นครู อ่านจากปกจึงรู้ว่าผู้เขียนคือ .วชิรเมธีและผู้เขียนภาพคือ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป (จิตรกรรม)

พอเอากลับมาบ้านและพลิกดูก็แล้ววางไม่ลง เพราะนอกจากจะพิมพ์ด้วยกระดาษมันและ หนาอย่างดี (อย่างที่เคยเรียกว่ากระดาษอาร์ต) แล้ว ในเล่มยังมีภาพเขียนสีฝีมือ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ แทรกอยู่ตลอดทั้งเล่มนับได้ ๓๘ ภาพ ส่วนเนื้อเรื่องนั้น ท่านอาจารย์มหาวุฒิชัย แบ่งออกเป็น บท และ ภาค คือบทนำซึ่งอธิบายความหมายของคำว่า กิเลสและเหตุผลที่ ต้อง manage หรือบริหารมัน ภาค ว่าด้วยการจัดการความโลก ภาค ว่าด้วยการจัดการ ความโกรธ ภาค ว่าด้วยการจัดการตัณหา มานะ และทิฎฐิ ภาค ว่าด้วยริษยา : หนามตำใจ จบลงด้วยบทส่งท้ายว่าด้วยการจัดการกิเลสตามแบบแผน คืออริยมรรคมีองค์

ใครที่เคยอ่านข้อเขียนของท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยหรือ .วชิรเมธี หรือเคยฟังท่านพูด หรือแสดงธรรมมาแล้ว ย่อมทราบดีด้วยกันทุกคนว่า จะเขียนหรือพูดก็ตาม ท่านอาจารย์พระมหา วุฒิชัยท่านเก่งตรงที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย หรือถ้าจะพูดอย่างสมัยใหม่ก็ต้องว่า โดนใจผู้อ่านหรือผู้ ฟัง ในหนังสือ กิเลส MANAGEMENT” นี้ก็เช่นเดียวกัน ตั้งแต่บทต้นภาคต้นจนถึงภาคสุดท้าย บทสุดท้าย ท่านอาจารย์ผู้เขียนเขียนด้วยภาษาที่กระทัดรัดและอ่านเข้าใจง่ายเช่นเคย

เนื้อที่หน้ากระดาษนี้ไม่พอ จึงจะขอย่อยและยกเพียงบางตอนมาให้อ่านกัน

ในบทนำตอนที่ว่าทำไมต้องบริหารกิเลสนั้น ท่านอาจารย์ผู้เขียนอธิบายว่า สภาพจิตเดิม ของคนเรานั้นบริสุทธิ์ ผ่องใส แต่เศร้าหมองไปเพราะกิเลสที่จรมา (อาคันตุกะกิเลส) สถานภาพ ของกิเลสจึงเป็นเพียง แขกที่สัญจรมาชั่วครู่ชั่วคราว แต่ถ้าเรารู้ไม่เท่าทัน แขกแปลกหน้าที่เคย เป็นอาคันตุกะนี้อาจจะอยู่กับเราถาวรก็เป็นได้ ท่านบอกด้วยว่า กิเลสเหมือนไฟ ถ้ารู้จักใช้อย่าง มีปัญญา ก็เป็นประโยชน์ในการหุงหาอาหาร แต่ถ้าเราปล่อยปละละเลย ไฟที่เคยใช้หุงอาหารอันมี ประโยชน์นั่นแหละก็อาจลุกพรึบขึ้นไหม้บ้านไหม้เรือนได้

และแม้เราจะไม่สามารถจะตัดกิเลสได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้หมือนพระอริยบุคคล แต่เราก็ ไม่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างคนที่ยอมตกเป็นทาสของกิเลสจนเต็มเวลา ในแต่ละวันของเรานั้น ควรจะมี บางช่วงบางเวลา บางชั่วโมง บางนาทีหรือบางขณะจิต ที่เราเป็นฝ่ายประกาศอิสรภาพ ลุกขึ้นมา ปราบดาภิเษกเป็นนายเหนือกิเลสบ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสครอบงำเราชั่วนาตาปี

ในภาคอื่น ที่ตามมานั้น ท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยท่านแยกแยะ และจัดการบริหาร กิเลสเอาไว้เป็นส่วน ผู้อ่านสามารถที่จะค้นหรือหยิบขึ้นมาประยุกต์กับสถานการณ์จริง ได้โดยง่าย

บทที่ผมอยากจะให้อ่านกันเร็ว มาก และบ่อย โดยเฉพาะผู้รับผิดชอบในการบริหาร งานบ้านเมืองและนักธุรกิจอภิมหานายทุนนั้น คือภาค การจัดการความหลง โดยเฉพาะในหน้า ๑๕๕ ที่ว่าด้วยหลงเงินจนเงินกลายเป็นพระเจ้า และหน้า ๑๖๙ ที่ว่าด้วยหลงอำนาจจนต้องบูชา อำนาจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการหลงเงินนั้น ท่านอาจารย์ผู้เขียนได้ยกเอาชีวิตจริงของ บิล เกตส์ และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มาเป็นอุทาหรณ์ให้เห็นความไม่หลงเงินของมหาเศรษฐีทั้งสองคน ที่แม้จะ รวยแล้วอย่างมหาศาลเป็นอันดับที่ และที่ ของโลก แต่ลงท้ายก็ใช้เงินจำนวนมหาศาลของตน ก่อตั้งโครงการเพื่อมนุษยธรรมขึ้นหลายโครงการ ทั้งยังเชิญชวนมหาเศรษฐีทั่วโลก ให้ร่วมเป็นหุ้น ส่วนของความดีอีกด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับการหลงอำนาจนั้น ท่านอาจารย์ผู้เขียนได้คัดเอาส่วนหนึ่ง ของบทความของพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล มาให้อ่าน ซึ่งว่าด้วยการขึ้นสู่อำนาจ และในที่สุดก็ สูญเสียอำนาจของ วลาดิเมียร์ เลนิน และ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำคอมมิวนิสต์รัสเซีย ความหลง อำนาจของทั้งสองคนนั้นทำให้ชาวรัสเซียต้องตายไปกว่า ๒๐ ล้านคน และลงท้ายทั้งเลนินและ สตาลินก็จบชีวิตลงด้วยอาการอันน่าสมเพชและทนทรมาน

ตอนท้ายของภาค นั้น ท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยแนะนำวิธีบริหารจัดการความหลง เอาไว้ วิธี คือ ) หมั่นศึกษาหาความรู้ทางโลกคู่ทางธรรมอยู่เสมอ ) รู้จักเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง อย่างมีปัญญา และ ) หมั่นเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ผมไม่ทราบว่านักเรียนชั้นประถมปีที่ และชั้นอื่น จะได้รับแจก แทเบล็ตฟรตามนโยบายของรัฐบาลไปแล้วหรือไม่เพียงใด แต่ผมขอเสนอแนะให้รัฐบาลของ ..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซื้อหนังสือ กิเลส MANAGEMENTของท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี แจกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา คนละหนึ่งเล่ม หนังสือนี้ ราคาตามปกเล่มละ ๓๐๐ บาท ถูกกว่าแทเบล็ตหลายสิบเท่า แต่ผมเชื่อว่า ประโยชน์ที่จะได้จาก การอ่านหนังสือเล่มนี้จะมากมายมหาศาลหลายร้อยหลายพันเท่า ยิ่งกว่าที่นักเรียนชั้นประถมจะได้ จากการใช้แทเบล็ต

และถ้าแม้ว่ากิเลสของผู้ที่ได้รับแจกบางคนจะหนาเสียจนเหลือวิสัยที่จะบริหารได้ และผู้ที่ได้ รับแจกเอาหนังสือเล่มนี้ไปขว้างทิ้ง แต่ผู้อื่นที่เก็บได้ก็ยังอาจจะได้อ่าน และสามารถบริหารจัดการ กิเลสของตนได้ไม่มากก็น้อย ผู้แจกก็ยังจะได้บุญอยู่วันยังค่ำ.

 

เชิญล่องเรือ ชมศิลปะ สถาปัตยกรรม และวิถีดั้งเดิมเมืองบางกอก

พิมพ์ PDF

กิจกรรมล่องเรือคลองด่าน คลองบางหลวง

“ศิลปะ สถาปัตยกรรม และวิถีดั้งเดิมเมืองบางกอก”

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2555

โดยความร่วมมือระหว่างสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมอิโคโมสไทย

กำหนดการ

8.00 น.         ลงเรือ ที่ท่าช้างวังหลวง  ชมความงามของภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา

9.00 น.         เดินทางเข้าสู่คลองบางหลวงและคลองด่าน ผ่านโบราณสถานและสถานที่สำคัญหลายแห่ง ไปเริ่มต้น              การขึ้นชมวัดที่ วัดอัปสรสวรรค์ วรวิหาร ในบริเวณปากคลองด่าน เป็นวัดโบราณที่พระบาทสมเด็จ             พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นตามดำริของเจ้าจอมน้อยผู้ทรงมีความสามารถทางการละคร               และพระราชทานนามวัดไว้ให้เป็นอนุสรณ์ นำชมโบราณสถาน สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระประธาน 28 องค์ หลวงพ่อฉันสมอ และรับฟังการ บรรยาย เกี่ยวกับโครงการ อาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย เพื่อการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร    พร้อมรับประทานอาหารว่าง

10.00 น.      ลงเรือเดินทางต่อไปยัง วัดนางนอง วรวิหาร วัดโบราณที่ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เช่นกัน                     เป็นวัดที่ทรงสร้างในบริเวณนิวาศสถานเดิมของพระศรีสุลาลัย พระราชชนนี นำชมโบราณสถาน                 นมัสการพระประธานทรงเครื่องชมภาพจิตรกรรมเรื่องสามก๊ก แห่งเดียวในประเทศไทย

10.40 น.       เดินทางต่อไปยัง วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร  วัดประจำรัชกาลที่ 3 ที่ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นตั้งแต่ดำรง   พระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ นำชมโบราณสถานซึ่งเป็นต้นแบบ                          งานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบพระราชนิยม และศาลาราย เจดีย์ถะ ในแบบจีน

11.20 น.      ลงเรือออกเดินทางไปยังบ้านศิลปิน คลองบางหลวง

12.00 น.      รับประทานอาหารกลางวันที่ บ้านศิลปิน คลองบางหลวง จากความตั้งใจที่จะอนุรักษ์คุณค่าของอาคารเก่า อายุร่วมร้อยปีนี้ไว้นำมาซึ่งการได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ชมบรรยากาศ         และการประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่บ้านศิลปิน  ชมการแสดงหุ่นละครเล็ก คณะคำนาย ณ บ้านศิลปิน

14.30 น.      เดินทางไป วัดคูหาสวรรค์ วรวิหาร วัดเก่าแก่ของบางกอกที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จ               พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ และนำพระประธานเดิมที่นี่ไปประดิษฐาน                  เป็นพระประธานที่พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยเราจะยังได้ชมร่องรอยงานศิลปกรรมบางอย่างที่ย้อนไปได้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา

15.30 น.      ลงเรือเดินทางกลับสู่ท่าช้างวังหลวง

16.30 น.      เสร็จสิ้นกิจกรรม

 

วิทยากร                        ประจำเรือ           อ.บุญยกร  วชิระเธียรชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ประจำฐาน          ดร.วสุ โปษยะนันทน์ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร

อ.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

คุณโกะ บ้านศิลปิน  (ชุมพล อักพันธานนท์)

 

ค่าใช้จ่าย              ท่านละ 999 บาท

รายได้ทั้งหมดสมทบกองผ้าป่าอาษาสามัคคีเพื่อการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร

 

สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่ง

ได้ที่      คุณวราภรณ์ ไทยานันท์

โทรศัพท์ 0 2628 8288 โทรสาร 0 2628 8289

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

 

ธุรกิจเพื่อสังคม

พิมพ์ PDF

ผมได้รับเชิญเข้าร่วมงานเสวนา "ธุรกิจเพื่อสังคม แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่" หรือชื่อภาษาอังกฤษ "Social Business: A New Business Model for the New Millennium" ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ที่ Plaza Athenee Bangkok จัดโดย Asian Institute of Technology, Yunus Center at AIT,Thai Health,Thai Social Enterprise Office (TSEO) และ TMA สนับสนุนโดยบางจาก

ก่อนเข้าเรื่องเสวนา ต้องขอโทษที่การเขียนของผมครั้งนี้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษปนกัน เนื่องจากการเสวนาและเอกสารเผยแพร่ใช้ภาษาอังกฤษ ผมพยายามเขียนออกมาเป็นภาษาไทย แต่เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการอ้างอิงผมจึงจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษที่ผู้ จัดให้มาในบางประโยค

การเสวนาครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการเรียนรู้ของผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักบริหาร ในทุกภาคส่วนของธุรกิจทั้งใหญ่และเล็ก ธนาคาร ผู้มีฐานะการเงิน นักการเมือง ข้าราชการ ตลอดจนนักวิชาการ สถาบันการศึกษา มูลนิธิ สมาคม ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป

หลังจากเสร็จพิธีเปิดงานเสวนาอย่างเป็นทางการ  ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส Professor Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2549 ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ปาฐกถาหัวข้อ "ธุรกิจเพื่อสังคม แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่"

ท่านศาสตราจารย์ ยูนุส ได้กล่าวถึง ธุรกิจธนาคาร เป็นธุรกิจที่หวังผลตอบแทนสูงและเสี่ยงน้อย ดังนั้นจึงเลือกทำธุรกิจกับคนที่มีโอกาส ทำให้คนเป็นจำนวนมากไม่ได้รับโอกาสในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจากธนาคาร

ศาสตราจารย์ ยูนุส เลือกแนวทางทำธุรกิจที่ตรงกันข้ามกับธนาคาร สิ่งไหนที่ธนาคารไม่ทำ ท่านจะทำในสิ่งนั้น ท่านเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถสูงโดยไม่มีที่สิ้นสุด เพียงแต่ยังขาดโอกาสที่จะนำความสามารถออกมาใช้ให้ประสบผลสำเร็จ

ศาสตราจารย์ ยูนุส เลือกลูกค้าของท่านจากคนที่ยากจน ใครคือผู้ที่ยากจน ? ท่านดูจากครอบครัวที่อยู่รวมกันในห้องเดียว คนเหล่านี้ไม่ยอมรับเงินจากผู้ที่นำเงินไปเสนอให้ เพราะเขากลัว เคยผ่านสิ่งเลวร้ายมามาก ดังนั้นจะต้องหมั่นเข้าไปหาและศึกษาให้แน่ใจว่า เขามีปัญหาอะไร แล้วจึงนำปัญหานั้นมาคิดให้เกิดขบวนการแก้ปัญหาในรูปแบบธุรกิจ นี่คือที่มาของ "ธุรกิจเพื่อสังคม"

ธุรกิจเพื่อสังคม ไม่ต้องการเงินมาก สิ่งที่สำคัญคือ "ความคิดสร้างสรรค์" มีความจำเป็นถึง 80% และความต้องการทางเงินแค่ 20% การทำธุรกิจเพื่อสังคม เอาปัญหาเป็นโจทย์ สร้างแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาให้กับผู้ที่มีปัญหาในกรอบของการทำธุรกิจ

ท่านเอ่ยถึงคนที่ไม่มีเหตุผล และได้ถามว่าใครคือผู้ที่ไม่มีเหตุผลกันแน่ คนมักคิดว่าตัวเองมีเหตุผลแต่คนอื่นไม่มีเหตุผล ธนาคารเลือกให้ความช่วยเหลือคนมีเงินเพราะเชื่อว่าได้ผลตอบแทนกลับมาให้ตัวเองอย่างแน่นอน แต่ไม่เลือกให้ความช่วยเหลือกับคนจนเพราะคิดว่าไม่ได้รับผลตอบแทนแน่นอน คนรวยมีเงินจ้างทนายความและต่อสู้เมื่อมีปัญหากับธนาคาร แต่คนจนไม่มีทางต่อสู้กับธนาคาร ใครที่ไม่มีเหตุผล ?

ท่านจบการปาฐกถาอย่างสมบูรณ์ ผมเข้าใจแนวทางอย่างแจ่มแจ้ง และจะนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปต่อยอดโครงการ "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์"

หลังจากนั้นเป็นเวทีเสวนา "The Future of Social business in Thailand and the region" วิทยากรเสวนา ประกอบด้วย Professo Yunus,Mr.Vichien Phongsathom,Chairman Premier Group, M.L.Dispanadda Diskul,Chief Development Officer,Doi Tung Development Project,Dr.Krissada Raungarreerar,CEO ThaiHealth,Mr.Paradai Theerathada,Executive Vice President-Head of Corporate Communication Group TMB

Moderator : Ms.Veenarat Laohapakakul,News Reporter TV Host

เสียดายวิทยากรฝ่ายไทยที่มาปะกบกับ ศาสตราจารย์ ยูนุส ยังห่างกันมาก  ผมสังเกตการจัดเวทีระดับประเทศหลายครั้งที่เชิญต่างชาติมาร่วมเป็นวิทยากร เสวนากับวิทยากรคนไทย วิทยากรคนไทยมักจะห่างชั้นกับวิทยากรต่างชาติมาก ทำให้รู้สึกอายที่วิทยากรคนไทยถูกวิทยากรต่างชาติต้อนจนตกเวที เสียภาพพจน์ของคนไทยทั้งประเทศ ทั้งๆที่เรามีผู้มีความรู้ในหัวข้อการเสวนานั้นๆที่มีความสามารถเสวนาร่วม กับต่างชาติในระดับสากล หลายท่าน

ก็ฝากขอความกรุณาผู้จัดโปรดคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยครับ เช่นการเสวนาครั้งนี้ หากมีท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นวิทยากรปะกบ กับท่าน ศาสตราจารย์ ยูนุส จะเป็นคู่ที่พอสมน้ำสมเนื้อกัน จะทำให้บรรยากาศในเวทีเสวนามีรสชาดและเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง ทั้งปัจจุบันและอนาคต

สนใจทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Social Business ได้ที่

www.yunuscenter.ait.asia

www.muhammadyunus.org

 

ธุรกิจเพื่อสังคม

พิมพ์ PDF

ผมได้รับเชิญเข้าร่วมงานเสวนา "ธุรกิจเพื่อสังคม แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่" หรือชื่อภาษาอังกฤษ "Social Business: A New Business Model for the New Millennium" ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ที่ Plaza Athenee Bangkok จัดโดย Asian Institute of Technology, Yunus Center at AIT,Thai Health,Thai Social Enterprise Office (TSEO) และ TMA สนับสนุนโดยบางจาก

ก่อนเข้าเรื่องเสวนา ต้องขอโทษที่การเขียนของผมครั้งนี้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษปนกัน เนื่องจากการเสวนาและเอกสารเผยแพร่ใช้ภาษาอังกฤษ ผมพยายามเขียนออกมาเป็นภาษาไทย แต่เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการอ้างอิงผมจึงจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษที่ผู้ จัดให้มาในบางประโยค

การเสวนาครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการเรียนรู้ของผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักบริหาร ในทุกภาคส่วนของธุรกิจทั้งใหญ่และเล็ก ธนาคาร ผู้มีฐานะการเงิน นักการเมือง ข้าราชการ ตลอดจนนักวิชาการ สถาบันการศึกษา มูลนิธิ สมาคม ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป

หลังจากเสร็จพิธีเปิดงานเสวนาอย่างเป็นทางการ  ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส Professor Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2549 ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ปาฐกถาหัวข้อ "ธุรกิจเพื่อสังคม แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่"

ท่านศาสตราจารย์ ยูนุส ได้กล่าวถึง ธุรกิจธนาคาร เป็นธุรกิจที่หวังผลตอบแทนสูงและเสี่ยงน้อย ดังนั้นจึงเลือกทำธุรกิจกับคนที่มีโอกาส ทำให้คนเป็นจำนวนมากไม่ได้รับโอกาสในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจากธนาคาร

ศาสตราจารย์ ยูนุส เลือกแนวทางทำธุรกิจที่ตรงกันข้ามกับธนาคาร สิ่งไหนที่ธนาคารไม่ทำ ท่านจะทำในสิ่งนั้น ท่านเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถสูงโดยไม่มีที่สิ้นสุด เพียงแต่ยังขาดโอกาสที่จะนำความสามารถออกมาใช้ให้ประสบผลสำเร็จ

ศาสตราจารย์ ยูนุส เลือกลูกค้าของท่านจากคนที่ยากจน ใครคือผู้ที่ยากจน ? ท่านดูจากครอบครัวที่อยู่รวมกันในห้องเดียว คนเหล่านี้ไม่ยอมรับเงินจากผู้ที่นำเงินไปเสนอให้ เพราะเขากลัว เคยผ่านสิ่งเลวร้ายมามาก ดังนั้นจะต้องหมั่นเข้าไปหาและศึกษาให้แน่ใจว่า เขามีปัญหาอะไร แล้วจึงนำปัญหานั้นมาคิดให้เกิดขบวนการแก้ปัญหาในรูปแบบธุรกิจ นี่คือที่มาของ "ธุรกิจเพื่อสังคม"

ธุรกิจเพื่อสังคม ไม่ต้องการเงินมาก สิ่งที่สำคัญคือ "ความคิดสร้างสรรค์" มีความจำเป็นถึง 80% และความต้องการทางเงินแค่ 20% การทำธุรกิจเพื่อสังคม เอาปัญหาเป็นโจทย์ สร้างแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาให้กับผู้ที่มีปัญหาในกรอบของการทำธุรกิจ

ท่านเอ่ยถึงคนที่ไม่มีเหตุผล และได้ถามว่าใครคือผู้ที่ไม่มีเหตุผลกันแน่ คนมักคิดว่าตัวเองมีเหตุผลแต่คนอื่นไม่มีเหตุผล ธนาคารเลือกให้ความช่วยเหลือคนมีเงินเพราะเชื่อว่าได้ผลตอบแทนกลับมาให้ตัวเองอย่างแน่นอน แต่ไม่เลือกให้ความช่วยเหลือกับคนจนเพราะคิดว่าไม่ได้รับผลตอบแทนแน่นอน คนรวยมีเงินจ้างทนายความและต่อสู้เมื่อมีปัญหากับธนาคาร แต่คนจนไม่มีทางต่อสู้กับธนาคาร ใครที่ไม่มีเหตุผล ?

ท่านจบการปาฐกถาอย่างสมบูรณ์ ผมเข้าใจแนวทางอย่างแจ่มแจ้ง และจะนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปต่อยอดโครงการ "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์"

หลังจากนั้นเป็นเวทีเสวนา "The Future of Social business in Thailand and the region" วิทยากรเสวนา ประกอบด้วย Professo Yunus,Mr.Vichien Phongsathom,Chairman Premier Group, M.L.Dispanadda Diskul,Chief Development Officer,Doi Tung Development Project,Dr.Krissada Raungarreerar,CEO ThaiHealth,Mr.Paradai Theerathada,Executive Vice President-Head of Corporate Communication Group TMB

Moderator : Ms.Veenarat Laohapakakul,News Reporter TV Host

เสียดายวิทยากรฝ่ายไทยที่มาปะกบกับ ศาสตราจารย์ ยูนุส ยังห่างกันมาก  ผมสังเกตการจัดเวทีระดับประเทศหลายครั้งที่เชิญต่างชาติมาร่วมเป็นวิทยากร เสวนากับวิทยากรคนไทย วิทยากรคนไทยมักจะห่างชั้นกับวิทยากรต่างชาติมาก ทำให้รู้สึกอายที่วิทยากรคนไทยถูกวิทยากรต่างชาติต้อนจนตกเวที เสียภาพพจน์ของคนไทยทั้งประเทศ ทั้งๆที่เรามีผู้มีความรู้ในหัวข้อการเสวนานั้นๆที่มีความสามารถเสวนาร่วม กับต่างชาติในระดับสากล หลายท่าน

ก็ฝากขอความกรุณาผู้จัดโปรดคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยครับ เช่นการเสวนาครั้งนี้ หากมีท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นวิทยากรปะกบ กับท่าน ศาสตราจารย์ ยูนุส จะเป็นคู่ที่พอสมน้ำสมเนื้อกัน จะทำให้บรรยากาศในเวทีเสวนามีรสชาดและเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง ทั้งปัจจุบันและอนาคต

สนใจทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Social Business ได้ที่

www.yunuscenter.ait.asia

www.muhammadyunus.org

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 09 พฤษภาคม 2012 เวลา 17:41 น.
 


หน้า 529 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559508

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า