Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

วิธีทวงเงินจากลูกหนี้

พิมพ์ PDF

ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดถ้ำขาม สกลนคร เคยเล่าให้ศิษยานุศษย์ฟังว่า ศิษย์ผู้หนึ่งของท่านมีความทุกข์ใจมาก เพราะถูกขอยืมเงินไปสองแสนบาท ซึ่งในเวลากว่า ๒๐ ปี มาแล้วนับว่าจำนวนมาก สัญญาว่าจะใช้คืนเมื่อนั้นเมื่อนี้ แต่ถึงเวลาแล้วก็ไม่ได้คืน จำเป็นต้องใช้ ไปขอคืนก็ปฏิเสธบิดพริ้วต่างๆ นานา เจ้าของเงินจำเป็นต้องใช้จริงๆ แต่ก็ไม่สามารถขอคืนได้ ได้อ้อนวอนขอให้ท่านอาจารย์ท่านช่วยภาวนาให้ได้เงินคืน เพราะจำเป็นต้องใช้จริงๆ ไม่ได้คืนต้องแย่แน่

ท่านอาจารย์ท่านได้เล่าว่า ท่านช่วยอะไรไม่ได้หรอก นอกจากจะบอกให้วิธีให้ช่วยตัวเอง ทำเองตามท่านบอกแล้วจะได้เงินจำนวนนั้นคืนแน่ และท่านก็บอกวิธีให้เขา เขาก็ทำตามและเขาก็ได้รับเงินคืนตามจำนวนที่ให้ยืมไป วิธีท่านอาจารย์ฝั้นท่านบอกศิษย์ของท่านเพื่อให้ได้เงินคืนก็คือ ทุกครั้งที่สวดมนต์ไหว้พระแล้ว ให้อธิษฐานจิตขอให้ผู้เป็นลูกหนี้นำเงินจำนวนนั้นมาคืนเถิด อธิษฐานจิตให้แน่วแน่ แล้วก็หยุดความคิดถึงเงินนั้นให้เด็ดขาดไป เพ่งจิตไปที่คำภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ นั้นเอง

ภาวนาไปเรื่อยๆ จะกี่วันกี่เดือนกี่ปี แล้วแต่จิตของเขาจะรวมได้เมื่อไร ก็เมื่อนั้นจะได้เงินคืนตามจำนวนที่เขาขอยืมไป ท่านอาจารย์เล่าว่าวันสองวันเท่านั้นศิษย์ของท่านก็ทำสำเร็จ เขามาหาท่านอย่างยิ้มแย้มแช่มชื่นมีความสุขและเล่าให้ท่านฟังว่า เขาได้เงินสองแสนที่ให้ยืมไปกลับคืนครบถ้วนแล้ว หลังจากทำตามที่ท่านอาจารย์สอน

ท่านบอกว่าเขาเล่าว่า เมื่อเขาอธิษฐานแล้วก็หยุดคิดถึงเงิน หยุดคิดถึงคำอธิษฐาน ตั้งใจภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ เท่านั้น จนกระทั่งวันที่ ๒ หรือวันที่ ๓ ต่อมา จิตก็สงบ เกิดความสว่างไสวและลูกหนี้ก็นำเงินมาใช้คืนให้ครบถ้วน ไม่บิดพริ้วอีกต่อไป

เขาก็ได้ใช้เงินนั้นสบายใจ ไม่เดือดร้อนอีกต่อไป ท่านอาจารย์ท่านเบิกบานแจ่มใสเมื่อสอนศิษย์ต่อไปว่า ให้พากันช่วยตัวเองตามวิธีง่ายๆ ที่ท่านแนะนำเถิด จะได้ไม่เดือดร้อนเรื่องเงินขาดอีกต่อไป

 

มนุษย์สัมพันธ์

พิมพ์ PDF

มนุษย์สัมพันธ์

มนุษย์เกิดมาไม่เท่าเทียมกัน มนุษย์จะต้องอยู่ด้วยกันอย่างสันติ และเป็นสุข ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน บางคนเก่งเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ บางคนเก่งเรื่องงาน จงถามตัวเองว่า เราเก่งเรื่องความสัมพันธ์ เป็นที่รักของทุกๆคน แต่งานไม่ดี จะทำอย่างไร หรือเราเก่งเรื่องงานแต่มนุษย์สัมพันธ์ไม่ดีจะทำอย่างไร จุดอ่อนของคนที่ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์  จะขาดการยอมรับ ไม่ค่อยจะมีคนช่วยเหลือ ไม่มีข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ไม่ค่อยจะมีคนช่วยหรือร่วมงาน ถ้าเรามีปัญหามากๆในที่สุดเราก็อยู่ไม่ได้ หรืออยู่ไปแบบไม่มีความสุข ต้องหัดปรับตัวเองให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มนุษย์สัมพันธ์ เกิดขึ้นระหว่าง เพื่อนร่วมงาน  เรากับลูกน้อง  เรากับเจ้านาย เรากับผู้ที่มาติดต่อหรือลูกค้า เรากับภรรยา เรากับพ่อแม่ เรากับลูกหลาน เป็นต้น

การบริหารอารมณ์

ความสำเร็จของการทำงานและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มาจากความอดทนในการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง ในแต่ละวันเราต้องทำงานหนัก และเหนื่อย อารมณ์จะขึ้นลงตามสถานการณ์ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการจัดการรับอารมณ์ของตนเอง จะมีความสำเร็จกว่า 90% บุคคลที่อารมณ์ร้ายจะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตและการงาน อารมณ์ที่ควบคุมได้ เริ่มจากการมีวินัยของตนเอง ทำให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น สามารถทำงานหรือดำรงชีวิต ร่วมกับคนอื่นได้สบาย ปัจจัยเรื่องอารมณ์จะต้องเน้นมากๆ         โดยทั่วไปการทำงาน จะเน้นเรื่องงาน ข้อมูล ผลประโยชน์ แต่ละเลยเรื่องความรู้สึก ของนาย ของตัวเอง ของเพื่อนร่วมงานและของผู้รับบริการ การบริหารอารมณ์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ต้องรู้ตัวเองว่าทำอะไรอยู่ ถ้าอารมณ์เริ่มรุนแรง ต้องควบคุมให้ได้ เมื่อเข้าใจตัวเองก็ต้องบริหารให้ได้ เช่น บริหารความโกรธ ความเจ็บปวด และบริหารความรู้สึก พยายามอ่านอารมณ์ของเพื่อนร่วมงาน และช่วยเหลือให้เพื่อนร่วมงานบริหารอารมณ์ของเขาให้ดีขึ้น การมีอารมณ์ที่ดี เริ่มจากการมีความคิดที่ดีต่อตัวเอง ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อเจ้านาย ต่อลูกค้า ตลอดเวลา

เราต้องรู้ความรู้สึกของตัวเอง รู้อย่างแม่นยำ และมั่นใจตัวเอง ก่อนที่จะเริ่มบริหารตัวเอง โดยการควบคุมตัวเองอย่างโปร่งใส ปรับตัวเอง  มีผลงาน  มีการริเริ่ม มีทัศนคติเป็นบวก เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ต้องเข้าใจและห่วงใยความรู้สึกของคนอื่น มีความเข้าใจองค์กรว่าเกิดมาเพราะอะไร ต้องอยู่ร่วมกัน เกิดมาให้ ไม่ใช่รับ อย่างเดียว

การบริหารความสัมพันธ์ เริ่มจากการเป็นผู้นำที่จุดประกาย มีอิทธิพลในการพัฒนาตัวเองและคนอื่น บริหารการเปลี่ยนแปลง ลดการขัดแย้ง สร้างทีมงานและทำงานเป็นทีม การบริหารทีมต้องมีความจริงใจต่อกัน อธิบายและถ่ายทอดให้ทุกคนรับทราบอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้สึกร่วมกัน เคารพความหลากหลายของทีม

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

20 เมษายน 2555

 

เชิญสมัครสมาชิก

พิมพ์ PDF

เรียนท่านผู้มีเกียรติ ทุกท่าน

เนื่องจาก ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ กำลังดำเนินการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ เพื่อขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่เป็นรูปธรรม จึงขอเชิญทุกท่านสมัครเข้าเป็นสมาชิก ศูนย์ฯ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อยกระดับคุณค่าของคนไทยให้สูงขึ้น ทั้งปัญหา และจิตใจ สร้างการเรียนรู้ สร้างปัญญาและคุณธรรมให้กับตัวเองและคนรอบข้างเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับสังคมและประเทศชาติ สร้างมรดกไว้ให้ลูกหลาน ดังเช่นที่บรรพบุุรุษได้สร้างไว้ให้พวกเรา โครงการนี้จะสำเร็จได้โดยการมีส่วนร่วมของคนไทยทุกคน จึงขอเชิญท่านมีส่วนร่วมโดยการสมัครสมาชิกในเวปไซด์นี้

บทความที่ลงในเวปไซด์นี้เปิดให้ทุกท่านแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็นของท่านลงในเวปไซด์  สำหรับท่านที่มีบทความที่ต้องการเผยแพร่ ขอได้โปรดแจ้งความจำนงโดยส่งบทความของท่านมาที่ e-mail address : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน เพื่อจะได้พิจารณานำบทความของท่านลงในเวปไซดืตามความต้องการของท่าน  สำหรับท่านที่เป็นสมาชิก ศบม และสนใจจะเขียนบทความประจำในเวปไซด์นี้ ขอได้โปรดแจ้งความจำนงในความคิดเห็นท้ายนี้ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของท่าน

นับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

 

 

 

คำถามจาก คุณวลัยลักษณ์

พิมพ์ PDF

ผมได้เข้าไปติดตามอ่านบทความของผมเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ใน gotoknow และได้พบคำถามของคุณวลัยลักษณ์ และคำตอบของผม รวมถึงข้อมูลจาก คุณกุลธิดา เลิศพงศ์วัฒนา เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เห็นว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ จึงนำมาเผยแพร่ในบทความนี้

คำถามจากคุณ วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์ ( 5 มีนาคม 2554)

ปัญหาในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนเศรษฐกิจ ค่อนข้างจะเป็นประเด็นใหญ่ที่ต่างก็พูดถึงกันมาก ทั้ง ๆ ที่ ไทยเราเองก็มีทรัพยากร แหล่งธรรมชาติที่สวยงาม คนไทยก็มีใจรักในด้านบริการ แล้วอะไรล่ะที่ทำให้เกิดปัญหา ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้มีผลต่อทิศทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยมากที่สุด และเพราะอะไร?

1. ปัญหาการกำหนดนโยบายของภาครัฐ ต่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร ความไม่ชัดเจน หรือการนำนโยบายไปปฏบัติ?

คำตอบ: ทั้งสองอย่างครับ นโยบายไม่ครอบคลุม และไม่ชัดเจน แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเป็นแผนที่มีการบูรณาการนำเอาส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนขององค์กรรัฐ ภาคธุรกิจ และชุมชน กำหนดเรื่องของแผนการพัฒนาทุนมนุษย์ในแต่ละอาชีพโดยทำให้เกิดทุนมนุษย์ภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจอย่างสมดุล

สำหรับเรื่องการนำไปปฏิบัติก็เป็นปัญหาอย่างมากเพราะระบบและขบวนการปฏิบัติมักจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการปฏิบัติ เรามักจะมีแผนมากมายแต่ไม่ครอบคลุมอย่างที่กล่าวในเบื้องต้น จึงทำให้ไม่มีการนำไปปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ได้ ในส่วนของภาครัฐมีส่วนของความเข้าใจของผู้ได้รับมอบหมายให้นำไปปฏิบัติ กำลังของหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ โดยเฉพาะไม่มีงบประมาณที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม หรือไม่มีงบประมาณ ผู้บริหารมอบหมายงานแต่ไม่ได้ให้กำลังคนและงบประมาณที่เหมาะสม

นโยบายของภาครัฐ แบ่งออกเป็นดังนี้

1.1นโยบายระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผนที่ 1-7 เน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รองรับการเติบโตของระบบทุนนิยม (เศรษฐกิจนำสังคม) และเป็นแผนที่กำหนดโดยภาครัฐเป็นหลักไม่ได้ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนมากนัก ตั้งแต่แผนที่ 8- ร่างแผนที่ 11 ที่กำลังจะนำออกใช้ในเดือนตุลาคม 2554 ได้มีการปรับแผนโดยเน้นเรื่องคนเป็นหลักให้ความสำคัญในด้านคนมากขึ้น นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมมากขึ้น เน้นความสำคัญด้านสังคมนำเศรษฐกิจ (ผมเห็นด้วยเพราะเมื่อสังคมเข้มแข็งเศรษฐกิจจะตามมาเอง)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนในภาพใหญ่เป็นภาพรวมของแต่ละประเทศ ผมอ่านร่างแล้ว คิดว่าแผนในภาพกว้างค่อนข้างดีแต่ยังมีเวลาในการเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังไม่ชัดเจน

1.2 แผนของแต่ละกระทรวง ปัจจุบันเป็นแผนที่ปรับเปลี่ยนตามรัฐมนตรี ไม่ได้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เป็นแผนหลัก อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

นอกเหนือจากนั้นแล้วก็ยังมีแผนของกรม และแผนของหน่วยงาน ต่างๆ มากมาย ที่ไม่รองรับซึ่งกันและกัน ต่างแผนต่างไปคนละทาง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ดังนั้นจะหวังพึงแต่แผนของภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้ เอกชนต้องมีแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคส่วนของธุรกิจ ขององค์กร และของชุมชนแต่ละชุมชนเอง โดยภาครัฐต้องเน้นที่แผนพัฒนาคนของภาครัฐเป็นสำคัญ ตั้งแต่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ (ทรัพยากรมนุษย์) เพื่อให้เน้นเรื่องการมีจริยธรรม คุณธรรม และการให้การสนับสนุนภาคเอกชนและชุมชนเป็นหลัก สร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในภาครัฐให้มีทุนสังคมมากๆ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าจะเกิดผลสำเร็จได้ภาคเอกชนต้องเป็นตัวขับเคลื่อน ภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน

การนำนโยบายไปปฏิบัติยิ่งเป็นปัญหาหนักเพราะเมื่อตัวแผนนโยบายเองมีปัญหา การนำไปปฏิบัติก็ยิ่งมีปัญหา เพราะปฏิบัติกันไปคนละทิศละทาง เสียเงินงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ กิจกรรมที่ควรจะได้รับการสนับสนุนก็ไม่ได้ งบประมาณถูกใช้ไปกับกิจกรรมที่ง่ายๆเพื่อให้เกิดผลงานว่าได้ทำแต่ไม่ได้คำนึงถึงผลของความสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง จึงทำให้คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

2. ปัญหาเรื่องของค่าแรงของไทย

ตอบ จริงๆค่าแรงงานที่เรากำหนดกันเป็นสิ่งที่ผิดพลาด เพราะไม่ได้คำนึงถึงความจริง เรามีการกำหนดเฉพาะค่าแรงของแรงงานไร้ฝีมือ คิดว่าถ้าแรงงานต่ำจะทำให้ภาคการลงทุนในประเทศขยายตัว แต่ไม่ได้คิดถึงค่าครองชีพที่แท้จริง เศรษฐกิจของประเทศไม่ได้อยู่ที่แรงงานขั้นต่ำ รายได้ของมนุษย์เงินเดือนมีความสำคัญกับแรงจูงใจ และเป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทย?

เรื่องค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพียงการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ จริงๆการแก้ปัญหาเรื่องค่าจ้างที่เหมาะสมและถูกต้อง จะต้องทำให้เกิดสภาวิชาชีพบริการ เพื่อให้มีองค์กรที่มาขับเคลื่อนในการสร้างมาตรฐานแรงงานและกำหนดอัตราที่เหมาะสม ในแต่ละธุรกิจ

การกำหนดอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำมีขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ในการคำนวณค่าแรงให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะภาคการผลิต ฝ่ายตัวแทนของผู้ประกอบการพยายามกดค่าแรงขั้นต่ำเพราะต้องการให้ทุนการผลิตต่ำ รัฐก็ไม่ต้องการให้ค่าแรงสูงเพราะกลัวว่าต่างชาติจะไม่มาลงทุน แต่ในความเป็นจริง แรงงานที่มีฝีมือถูกจ้างในราคาที่สูงกว่าแรงงานขั้นต่ำหลายเท่า อีกตัวที่เกี่ยวข้องกับค่าแรงขั้นต่ำคือการจ่ายค่าชดเชยของผู้ประกอบการที่เลิกจ้าง เป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบแรงงาน

3. ปัญหาความรู้ความสามารถของคนไทย?

คนไทยเป็นคนที่มีความสามารถในตัวเองสูง ส่วนของผู้ประกอบการ (เจ้าของ) ขาดการมองระยะไกล มองผลประโยชน์ของตัวเอง แข่งขันชิงดีชิงเด่นกันเอง ไม่ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน ขาดการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพ หวังผลระยะสั้น ขาดความจริงใจ ไม่เห็นความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไม่ลงทุนด้านคน

มนุษย์เงินเดือน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เนื่องจากไม่ได้รับการตอบแทนที่เหมาะสมกับค่าครองชีพ ขาดความมั่นคงทางอาชีพ ไม่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมด้านการพัฒนาทุนมนุษย์จากผู้ประกอบการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องร่วมมือกันทั้งสามฝ่าย ได้แก่ฝ่ายผู้ประกอบการ ฝ่ายมนุษย์เงินเดือน ฝ่ายการศึกษา โดยต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

คนไทยเก่งและฉลาดแต่ขาดโอกาสในการเรียนรู้ และขาดการสนับสนุน คนไทยสู้ต่างชาติได้สบายถ้าได้รับการพัฒนาทุนมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

ปัญหาและอุปสรรค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่ระบบและกลไกของธุรกิจ SMEs และ MSEs ไทย ต้องแก้ที่ระบบและกลไกของภาคธุรกิจ ทำให้ธุรกิจ SMEs และ MSEs ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมพอเพียงกับค่าครองชีพ ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มองเห็นอนาคตในอาชีพ

ผมโชคดีที่ได้พบคุณกุลธิดา เลิศพงศ์วัฒนา เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้เรียนท่านเรื่องคำถามของคุณวลัยลักษณ์ และคำตอบของผม หลังจากนั้นคุณกุลธิดา ได้ให้ความกรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10  (พ.ศ.2550-2554) ก็ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังปรากฏในยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยเน้นให้คนไทยหรือทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ขณะที่ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย อาทิ การพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ คุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีความรู้ทางวิชาการ และสติปัญญาทางอารมณ์ที่เข้มแข็งสามารถศึกษาหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง การพัฒนากำลังแรงงานให้มีความรู้และสมรรถนะที่สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและบริการบนฐานความรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นพลังในการพัฒนาสังคม นอกจากนี้ทั้งนี้ แผนพัฒนาฯ ยังได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยกำหนดแนวทางไว้ชัดเจนในแต่ละภาคี ทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันทางสังคมต่างๆ ได้แก่ ครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สื่อสารมวลชน องค์กรระหว่างประเทศ

ในทางปฏิบัติ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่อาจคุ้มครองให้ลูกจ้างที่ได้มีการพัฒนาทักษะและความสามารถจากการสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วระยะหนึ่งให้มีรายได้ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความจำเป็นพื้นฐานและการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว ขณะที่ รูปแบบของการจ้างงานแรงงานไทย โดยเฉพาะแรงงานในระดับ Unskilled ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสาขาการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labour Intensive) ซึ่งต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากและมีการแข่งขันสูง ทำให้เกิดข้อจำกัดในการขึ้นค่าจ้าง โดยเฉพาะในส่วนของสถานประกอบการขนาดเล็ก อีกทั้ง ในประเทศไทย ยังไม่มีระบบหรือขาดเกณฑ์ระดับการประเมินสมรรถนะหรือเกณฑ์ตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดค่าจ้างตามระดับความรู้ ความสามารถ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการริเริ่มในการจัดทำระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณากำหนดกรอบและกลไกที่เกี่ยวข้อง คุณวุฒิวิชาชีพจะช่วยให้แรงงานได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม เหมาะสมตามระดับสมรรถนะและมาตรฐานอาชีพของตน ซึ่งแรงงานดังกล่าวสามารถพัฒนาสมรรถนะหรือศักยภาพของคนเองในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับค่าจ้างในอัตราที่สูงขึ้น

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2012 เวลา 14:36 น.
 

คุณสมบัติที่ดีของผู้ประกอบการ SMEs

พิมพ์ PDF

คุณสมบัติที่ดีของผู้ประกอบการ SMEs โดย กฤษฎา เสกตระกูล
เอกสารบรรยายในโครงการพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI)
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
วันที่ 5 กันยายน 2548
Ryan et al. (1999, p.12-13) ได้รวบรวมและสรุปปัจจัยที่จะทำให้ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ 
และประสบความล้มเหลว โดยแยกได้เป็นดังนี้
10 ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
1) มีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ (Willingness to succeed)
การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องทั้งลงทุนและลงแรง ต้องทำงานหนักแทบไม่จะ
ไม่มีวันหยุด เพราะต้องวางแผน ตัดสินใจ ดำเนินการ แก้ไขปัญหาอยู่เกือบตลอดเวลา ลักษณะดังกล่าวนี้จึงจำ
เป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว
2) มีความมั่นใจในตนเอง (Self – confidence)
คนที่เชื่อมั่นในตนเองจะเป็นคนที่มีกำลังใจให้ตนเองสูง ไม่กลัวที่จะต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค จึงมี
โอกาสสูงที่จะบรรลุกับความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ คุณสมบัตินี้จะทำให้คนที่ทำงานด้วยหรือคนอื่นที่
เกี่ยวข้องมีความเชื่อมั่นตามไปด้วย
3) มีแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจของตนเองอย่างชัดเจน (A clear business idea)
ผู้ประกอบการจะต้องรู้ว่าตนเองกำลังอยู่ในธุรกิจอะไร ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนคืออะไร ธุรกิจของ
ตนเมื่อเทียบกับคู่แข่งมีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังต้องรู้ยุทธวิธีว่าทำอย่างไร ธุรกิจของตนจึงจะ
ประสบความสำเร็จได้ เช่น รู้ว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนถูกใจผู้บริโภคได้มากกว่า
มีคุณภาพมากกว่า เป็นต้น
4) มีแผนงานที่เป็นระบบ (The business plan)
การมีเฉพาะแนวคิดทางธุรกิจที่ดีไม่ได้ยืนยันว่าผู้ประกอบการจะประสบความสำเร็จ แต่ควรจะมีแผน
งานที่เป็นระบบด้วย แผนงานนี้ เรียกว่า แผนธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องมีความสามารถในการสร้างแผน
ธุรกิจ เพื่อชี้ให้เห็นว่า จะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร โดยใคร เมื่อใด ใช้เงินทุนเท่าใด จะได้ผลอย่างไร การมีแผน
ธุรกิจที่ชัดเจนจะช่วยให้เราวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นอยู่และที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เหมือนมีแผนที่อยู่
ในมือทำให้ไม่หลงทาง
5) มีความสามารถในการบริหารการเงิน (Exact control of finances)
ผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากสร้างตัวขึ้นมาได้จากการใช้ทักษะด้านการตลาด หรือการผลิต แต่มักละ
เลยไม่พัฒนาทักษะในเรื่องบัญชีและการเงิน โดยมักจะโยนให้เป็นหน้าที่ของพนักงานบัญชี ซึ่งเป็นสาเหตุ
หนึ่งที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของเงินทุนในกิจการ ยิ่งเมื่อกิจการเติบโต ความซับซ้อนและปริมาณของกิจกรรม
ทางการค้ายิ่งมีมากขึ้น ผู้ประกอบการควรทราบว่า ขนาดที่แท้จริงของกิจการเป็นอย่างไร เช่น มีสินทรัพย์ ราย
ได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไร เป็นอย่างไร ควรรู้วิธีการตรวจสอบฐานะทาวการเงินและผลการดำเนินงานของกิจ
การ จะได้รู้ปัญหาและหนทางแก้ไขปัญหาก่อนได้
6) มีความสามารถทางการตลาด (Targeted marketing)
ในยุคของการแข่งขันแบบนี้ ความสามารถทางการตลาดเป็นทักษะที่สำคัญที่จะทำให้กิจการอยู่รอดได้ ผู้
ประกอบการจะต้องแสดงฝีมือด้านนี้ให้เห็นชัดเจนว่า ตนเองรู้วิธีการที่จะนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ตลาดให้
ประสบผลสำเร็จได้
7) มีความสามารถมองเห็นสภาพของการแข่งขันในอนาคตได้ (A step ahead of the competition)
ในการทำธุรกิจนั้น แนวคิดแผนงานมักกระทำกันในวันนี้ แต่การดำเนินงานจริงมักจะเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งมีความไม่แน่นอน ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดีจะต้องคาดการณ์ได้แม่นยำว่าสภาพตลาดและการแข่งขันจะ
เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และทำการวางแผนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความ
พร้อม ไม่ได้รอคอยโอกาสทางธุรกิจเข้ามาเฉย ๆ
8) มีแหล่งสนับสนุนที่ดี (Management support)
ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จนั้นมักจะเป็นบุคคลที่รู้จักเครือข่าย แหล่งสนับสนุนต่าง ๆ ที่ที่มี
ผลต่อธุรกิจของตน เช่น ผู้ประกอบการอาวุโสที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันที่สามารถสนับสนุนแนวคิด และวิธีการ
แก้ไขปัญหาในลักษณะที่คล้ายกัน สถาบันการเงินที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเงินทุนและการขยายกิจการ
เป็นต้น การพัฒนาตนเองให้มีเครือข่ายกว้างขวางจะช่วยทำให้มีที่ปรึกษามากในการขอความสนับสนุนใน
ด้านต่าง ๆ ในอนาคต
9) มีทักษะในการประสานงาน (Cooperation)
ผู้ประกอบการควรทราบว่าตนเองไม่สามารถรู้ทุกเรื่อง และทำทุกเรื่องด้วยตัวคนเดียวได้ โดยเฉพาะเมื่อ
กิจการเริ่มขยายตัว การมีทักษะการประสานงานทั้งภายในกิจการ (กับพนักงานตนเอง) และกับภายนอกกิจการจะ
ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น ทักษะในการประสานงานนี้รวมถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี การมี
ทักษะในการสื่อสาร การสั่งการ การมีภาวะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดงาน เป็นต้น
10) มีการจัดองค์กรที่เหมาะสม (Clear company structure)
การจัดองค์กรที่เหมาะสมไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีโครงสร้างองค์กรเหมือนบริษัทใหญ่โดยทันที แต่
หมายถึงการมีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน เหมาะกับขนาดของกิจการ และสามารถปรับเปลี่ยน
ได้เป็นระยะ ๆ ตามขนาดขององค์กรที่เติบโตขึ้น
10 ปัจจัยที่ทำให้ประสบความล้มเหลว
1) ไม่มีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ (Weak personality)
บุคลิกภาพในที่นี้ หมายถึง ความเชื่อมั่นในตนเอง การมีพลังที่จะต่อสู้ ไม่ยอมแพ้ การขาดความมุ่งมั่นนี้
เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการจำนวนมากที่ล้มลุกคลุกคลานมาหลาย
ครั้งกว่าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องมีกำลังใจดีมาก ดังนั้นจึงต้องไม่คิดว่าจะไม่เจออุปสรรคใด ๆ เลยในการ
ทำธุรกิจ
2) ไม่ชอบพบปะผู้คน (The loner syndrome)
การทำธุรกิจจะต้องพบปะผู้คน ต้องรู้ความต้องการของผู้บริโภค รู้จักพนักงาน รู้จักผู้ผลิตและจำหน่าย
วัตถุดิบ รู้จักหน่วยงานราชการ และบุคคลอื่น ๆ เป็นต้น เจ้าของกิจการจึงต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี การที่มีนิสัย
ส่วนตัวไม่ชอบพบปะผู้คน เป็นคุณลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการเป็นผู้ประกอบการที่ดี
3) ไม่มีแนวคิดทางธุรกิจที่ชัดเจน (Nebulous business ideas)
ผู้ประกอบการที่ล้มเหลวคือ บุคคลที่ไม่รู้ว่าตนเองกำลังอยู่ในธุรกิจอะไร หรือรู้แต่ไม่ศึกษาว่าธุรกิจนั้น
กำลังถูกคุกคามจากอะไร คู่แข่งมีการปรับตัวอย่างไร ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงรสนิยมหรือไม่ มักจะทำ
ธุรกิจในรูปแบบเดิมอยู่ตลอดเวลา
4) ไม่มีแผนงานที่เป็นระบบ (No plan)
บางครั้งผู้ประกอบการมีแนวคิดทางธุรกิจที่ชัดเจน แต่เวลานำแนวคิดไปปฏิบัติลงในรายละเอียด กลับมี
ลักษณะเป็นมวยวัด อย่างนี้มีโอกาสจะล้มเหลวได้ง่าย เพราะแสดงถึง การทำงานแบบไม่เป็นระบบ การทำ
แผนงานเอาไว้จะทำให้กำหนดทิศทางและรายละเอียดเอาไว้ก่อน ทำให้ไม่ลืม เพราะสมองคนเราไม่สามารถ
จำทุกเรื่องและดึงออกมาทุกเรื่องอย่างเป็นระบบทุกครั้งที่เราต้องการได้
5) ไม่มีแหล่งเงินทุนของตนเอง (Too little financial backing)
แม้จะมีตัวอย่างมากมายของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการเริ่มต้นจากศูนย์ คือไม่มีเงินเลย
แต่ต้องทราบด้วยว่าในที่สุดกิจการที่จะเติบโตได้ก็ต้องใช้เงินทุน ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากศูนย์ก็ต้องเก็บ
หมอรอมริบให้ตนเองมีเงินทุนเพื่อใช้ดำเนินการเช่นกัน การขาดเงินทุนของตนเองทำให้ไม่มีฐานเงินทุนใน
ส่วนของเจ้าของ ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงมากสำหรับสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้ให้
6) ไม่มีความรู้ในการบริหารกระแสเงินสด (Cash – flow troubles)
ผู้ประกอบการที่ล้มเหลวมักจะไม่มีความรู้ในการจัดการ วางแผนเกี่ยวกับกระแสเงินสดเข้าและออก เมื่อ
ขายสินค้าไปเกิดลูกหนี้ ถ้าประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้ไม่ดี เกิดหนี้เสียมาก ก็จะทำให้กระแสเงินสดไม่เข้า
มาอย่างที่คาดหวังไว้ ในขณะที่ถ้าเงินสดรับที่เข้ามาช้านี้ ทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าแรง ค่าสินค้า วัตถุดิบได้ ก็จะ
ทำให้เกิดภาวะขาดสภาพคล่อง และส่งผลลบต่อการดำเนินงานด้วย
7) ไม่มีกลยุทธ์การตลาดที่ดี (No marketing strategy)
สถิติในสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของผู้ประกอบการรายใหม่ที่ล้มเหลวและออกไปจากตลาดสืบ
เนื่องมาจากการไม่มีกลยุทธ์และการวางแผนการตลาดที่ดีพอ ซึ่งส่งผลต่อการไม่สามารถขายสินค้าได้ เนื่อง
จากกลยุทธ์ที่ใช้ไม่สามารถตรงใจและดึงดูดใจลูกค้าได้
8) ไม่มีระบบการควบคุม (No controlling)
ผู้ประกอบการที่ล้มเหลวจำนวนหนึ่ง มักเป็นนักธุรกิจที่ชอบรุกไปข้างหน้าอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงว่า
เมื่อสร้างธุรกิจขึ้นได้ตามความฝันแล้ว การจะดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนจะต้องดำเนินการควบคุมให้ได้
ผลตามเป้าหมายอย่างไร การไม่มีระบบการตรวจสอบหรือการควบคุม จะทำให้ไม่สามารถทราบว่า แต่ละหน่วย
งานในกิจการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือมีการร่วมมือกันอย่างเต็มที่ระหว่างหน่วยงานหรือไม่เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
9) ไม่มีบุคลากรที่ดี (The wrong people)
ผู้ประกอบการมักจะสูญเสียเงินทองเป็นจำนวนมากในการว่าจ้างพนักงานที่ไม่มีความรู้ ความสามารถที่
เหมาะสมมาช่วยงาน ทำให้ต้องลงมาดูงานในรายละเอียดทุกอย่าง ทั้งที่บางครั้งไม่จำเป็น ทำให้การทำงานขาด
ประสิทธิภาพ ไม่สามารถขยายงานได้ หรือบางครั้งทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานจนก่อให้เกิดความล้ม
เหลวได้
10) ไม่มีการคาดการณ์สภาพการแข่งขันได้อย่างเหมาะสม (Underestimating the competition)
การมีแนวคิดที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันเสมอไปว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะการแข่งขันในธุรกิจ
มีอยู่ตลอดเวลา เราทำสิ่งหนึ่งได้ คนอื่นก็อาจจะทำตาม หรือทำให้ดีกว่าได้ ผู้ประกอบการที่ไม่เรียนรู้สภาพที่
แท้จริงของตลาด หรือประมาณการระดับการแข่งขันต่ำกว่าความเป็นจริงมีโอกาสล้มเหลวได้มาก

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 มกราคม 2012 เวลา 14:15 น.
 


หน้า 531 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559773

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า