Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > "คุณภาพคน" เริ่มต้นที่ "บ้าน" ...เลี้ยงดูบุตรหลาน ให้เป็น "คนเต็มคน : PIESS" (ตอนที่ 1).

"คุณภาพคน" เริ่มต้นที่ "บ้าน" ...เลี้ยงดูบุตรหลาน ให้เป็น "คนเต็มคน : PIESS" (ตอนที่ 1).

พิมพ์ PDF

“วัยเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัย” เป็นวัยที่มีอัตราการเจริญงอกงามและพัฒนาการในทุกๆ ด้านสูงที่สุด และเป็นวัยของการสร้างฐานบุคลิกภาพ ที่จะส่งผลสำคัญต่อบุคลิกภาพเมื่อโตขึ้น จึงเป็นวัยที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกฝังทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เปรียบเสมือนเหล็กที่ยังร้อน ที่สามารถตีให้เป็นรูปทรงต่างๆ ตามที่ต้องการได้ง่าย ดังภาษิตตะวันตกที่ว่า “Strike while the iron is hot.” จึงขอเชิญชวนให้ทุกบ้าน หันมาสร้างอนุชนคนรุ่นใหม่ ด้วยการเลี้ยงดูบุตรหลานในช่วงปฐมวัย ให้เป็น "คนเต็มคน"

ในเวลาที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายในด้านการเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาและประชาชน เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ตลอดจนกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาและประชาชน ให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม

แต่พอได้ดูสถิติต่างๆ ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ดังตัวอย่างในภาพข้างล่างแล้ว ก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะชี้ว่า เด็ก เยาวชนและคนไทยทั่วไป จะอยู่ในฐานะเสียเปรียบคนในประเทศสมาชิกอาเชียนอื่นๆ เมื่อประชาคมอาเซียนมาถึง ถ้าหากมัวชะล่าใจไม่หาทางแก้ไขจุดอ่อนต่างๆ

 


ด้วย “คุณภาพของคนไทย” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถให้ความร่วมมือและแข่งขันได้อย่างมีศักดิ์ศรี กับประเทศสมาชิกอื่นๆ ในประชาคมอาเซียน ผู้เขียนจึงขอเสนอทางเลือกทางรอดของประเทศไทยในเวทีอาเซียน นั่นก็คือ “การสร้างคนไทยให้เป็นคนคุณภาพ” โดย “การสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ” ขึ้นมา ซึ่งจะมีโอกาสทำได้สำเร็จกว่าการแก้ไขคนรุ่นเก่า ดังภาษิตไทยที่ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก

ไม้อ่อน ณ ที่นี้ หมายถึง “วัยเด็กตอนต้น หรือเด็กฐมวัย (Early Childhood)” ซึ่งอยู่ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 6 ปี (การกำหนดอายุในแต่ละช่วงวัยในที่ต่างๆ มักไม่ค่อยตรงกัน) เนื่องจากเป็นวัยที่มีอัตราการเจริญงอกงามและพัฒนาการในทุกๆ ด้านสูงที่สุด และเป็นวัยของการสร้างฐานบุคลิกภาพ ที่จะส่งผลสำคัญต่อบุคลิกภาพเมื่อโตขึ้น จึงเป็นวัยที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกฝังทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เปรียบเสมือนเหล็กที่ยังร้อน ที่สามารถตีให้เป็นรูปทรงต่างๆ ตามที่ต้องการได้ง่าย ดังภาษิตตะวันตกที่ว่า “Strike while the iron is hot.” อนึ่ง การได้รับการปูพื้นฐานที่ดีไปจากบ้าน จะทำให้สถานศึกษาซึ่งรับช่วงต่อในการพัฒนาอนุชน สามารถทำหน้าที่อย่างได้ผลมากขึ้น ดังคำคมของอริสโตเติ้ลปราชญ์ชาวกรีกที่ว่า “”Well begun is half done.

สารสนเทศ (Information) ที่ผู้เขียนนำมาใช้ประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นคนเต็มคน มาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ แหล่งแรกคือ ประสบการณ์เชิงวิชาการของผู้เขียน ซึ่งมาจากการศึกษาอบรมหลักสูตรต่างๆ ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย การก่อตั้งโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย ในสังกัดคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี (ณ ขณะนั้น) การผลิตครูปฐมวัย การเขียนตำราด้านพัฒนาการและการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และที่สำคัญที่สุด คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) กับครูและผู้ปกครองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4-5 ปี) ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยคู่ขนานกันไประหว่างบ้านกับโรงเรียน เป็นเวลา 2 ปี (รวมช่วงการศึกษานำร่อง การศึกษาเต็มรูป และการขยายผล) โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

“กิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก” จะเป็นกิจกรรมที่กำหนดหรือเสนอแนะให้ผู้ปกครองจัดให้กับเด็กในวันหยุดสุดสัปดาห์ ให้สอดคล้องกับหน่วยประสบการณ์ที่ครูจัดให้กับเด็กที่โรงเรียนในสัปดาห์ที่ผ่านมา อนึ่ง ในสารจะมีความรู้สำหรับผู้ปกครองชุด “การสอนลูกให้เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข” ฉบับละ 1 ตอน ดังตัวอย่าง เนื้อหาบางส่วนในตอนที่ 8 เล่านิทานให้ลูกฟัง ซึ่งจะบอกถึงประโยชน์ของการเล่านิทาน มีคำแนะนำวิธีการเลือกหนังสือนิทาน และวิธีการเล่านิทานที่จะช่วยให้เด็กได้รับทั้งความเพลิดเพลินและเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วย

สื่อวีดิทัศน์ที่ใช้มีหลายประเภท ได้แก่ เพลง นิทาน งานประดิษฐ์ เกมการแข่งขัน สารคดี และสถานการณ์จำลอง เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบันทึกที่เกี่ยวข้อง เรื่อง “สอนลูกดูทีวี”…และ…“ดูรายการดีๆ จะเกิดคุณ”

โปรดติดตามตอนที่ 2 ที่จะกล่าวถึงสารสนเทศแหล่งที่สอง ที่ผู้เขียนจะนำมาใช้ประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลานจากช่วงปฐมวัยให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ ซึ่งมาจากประสบการณ์ในชีวิตจริงของผู้เขียน ทั้งในบทบาทของการเป็น “ลูก” ที่กำพร้าพ่อมาตั้งแต่ช่วงปฐมวัย (อายุประมาณ 4 ปี) เคยกินข้าวกับต้มหัวหอมแดงจิ้มน้ำพริกอย่างเดียวเพราะความขัดสน ตั้งใจจะรับแม่ไปอยู่ด้วยหลังแม่เกษียณอายุราชการ เพื่อชดเชยที่มีโอกาสอยู่กับแม่น้อยมาก และจะได้ดูแลให้แม่ให้ได้สุขสบายบ้างหลังตรากตรำในการเลี้ยงดูลูกทั้งห้ามานาน แต่ก็ไม่มีโอกาสเพราะแม่ด่วนจากไปหลังเกษียณอายุราชการเพียงไม่กี่เดือน  และในบทบาทของการเป็น “แม่” ที่ต้องเลี้ยงลูกกำพร้าสองคนมาตั้งแต่ช่วงปฐมวัย แม่ที่รักลูกสุดหัวใจ แต่ในด้านการกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูลูก มีทั้งที่ทำได้เหมาะสมก่อให้เกิดผลดี และที่ทำผิดพลาดไปก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งจะนำมาเป็นอุทาหรณ์สำหรับกัลยาณมิตรในการดูแลบุตรหลาน ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนเติบใหญ่

บทความนี้คัดลอกมาจาก บทความของ ผศ.วิไล แพงศรี ที่นำเผยแพร่ทางเวป: https://www.gotoknow.org/posts/570253 สนใจโปรดเข้าไปใน link ที่ให้มาเพื่อติดตามผลงานซึ่งมีอยู่มากหลาย

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 06 เมษายน 2015 เวลา 11:32 น.  
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > "คุณภาพคน" เริ่มต้นที่ "บ้าน" ...เลี้ยงดูบุตรหลาน ให้เป็น "คนเต็มคน : PIESS" (ตอนที่ 1).

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3047
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8596875

facebook

Twitter


บทความเก่า