Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > การประชุมกลุ่มย่อย ด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง การจัดการขยะสู่เส้นทางความยั่งยืน

การประชุมกลุ่มย่อย ด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง การจัดการขยะสู่เส้นทางความยั่งยืน

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับชาวBlog และลูกศิษย์ทุกท่าน

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 ได้รับเกียรติจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีการประชุมกลุ่มย่อย ด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง การจัดการขยะสู่เส้นทางความยั่งยืน เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2564 ณ ห้องประชุมแมนดาริน ซีชั้น 1 โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์

การประชุมกลุ่มย่อยด้านทรัพยากรธรรมชาติเรื่อง "การจัดการขยะสู่เส้นทางความยั่งยืน"

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์

กล่าวเปิดการประชุม

โดยนายพงศ์บุณย์ ปองทอง

รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายพงศ์บุณย์ ปองทอง รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวสวัสดีและขอบคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่านที่มาร่วมการประชุมวันนี้

ความเป็นมาเรื่องการเตรียมการแผนยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

ปัจจุบัน สผ.อยู่ระหว่างการจัดเตรียมการแผน 5 ปี ฉบับที่กำลังเตรียมการนี้อยู่ในแผนฉบับที่ 5 คือปี พ.ศ. 2560 – 2564 ซึ่งเป็นการเตรียมการในช่วง 2 ปีข้างหน้า เป็นการจัดทำแผนโดยตรงของ สผ. และแผนการพัฒนาของประเทศด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

ในปีพ.ศ. 2558 นี้จะเป็นการเตรียมการด้านการจัดทำแผนทั้งปี โดยจะดูถึงสถานภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร ดำเนินการอย่างไร และจะแก้ไขอย่างไร

การจัดประชุม Focus group ช่วงนี้เป็นช่วงที่ 2 ของการเตรียมแผน หลังจากประชุมเมื่อเดือนมกราคมแล้วได้มีการประชุมกลุ่มย่อย Focus Group 3 ครั้งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เรื่อง ความเป็นหุ้นส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติการจัดการขยะของประเทศไทยสู่เส้นทางความยั่งยืน และการใช้เครื่องมือและกลไกที่สนับสนุนการปรับเปลี่ยนสู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลังจากนั้นในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2558 จะคุยทุกภาคส่วนทั่วประเทศและจะมาสรุปช่วง กรกฎาคม- สิงหาคม โดย Output ที่ได้จะเสนอต่อสภาพัฒน์ฯ แผนจัดการสิ่งแวดล้อมของชาติ และ สผ.

การจัดการขยะ

สืบเนื่องจากการประชุมเมื่อเดือนมกราคม 2558 ได้มีการพูดถึงประเด็นที่จะต้องหารือสำคัญ ด้านขยะ ปัจจุบันยังคงมีปัญหาอยู่ ทั้ง ๆ ที่ได้แก้ไขปัญหามาหลายสิบปี แต่ที่มีอยู่และแก้ไขนั้นไม่ได้รับความพึงพอใจเท่าที่ควรสืบเนื่องจากประชากรเพิ่มมากขึ้น มีประชากรแฝงเพิ่มมากขึ้น ประชากรอายุยืนขึ้น มีการผลิต และบริโภคมากขึ้น

1. ประชากรแฝงเกิดจากสังคมเปลี่ยนแปลงไป สังคมชนบทน้อยลง เป็นสังคมเมืองมากขึ้น

2. เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นแม้ขยายตัวน้อยแต่ก็ถือว่าขยายตัว

3. การจัดการที่ผ่านมาไม่ได้อยู่ในระดับพึงพอใจเท่าที่ควร

ได้เคยมีเป้าหมายที่กำหนดเรื่องการจัดการขยะจะนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ปัจจุบันปี พ.ศ. 2557 ทำไม่ถึงร้อยละ 20 ซึ่งยากมากที่ปี พ.ศ. 2559 จะทำถึงร้อยละ 30

รัฐบาลที่เข้ามาชุดนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดการเรื่องน้ำ เรื่องป่า และเรื่องขยะ โดยให้ทำ Roadmap การจัดการขยะเนื่องจากพบว่าที่ผ่านมาเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ และมีการบูรณาการร่วมกันน้อย นอกจากกระทรวงทรัพย์ฯ ที่ต้องดูเรื่องการจัดการขยะแล้ว ยังมี มีกระทรวงสาธารณสุขดูเรื่องกฎหมาย และกระทรวงมหาดไทยดูเรื่องท้องถิ่น

แผนบริหารจัดการขยะได้ทำมาในช่วงหนึ่งแล้ว เน้นที่ขยะเก่าจะแก้ไขอย่างไร และขยะใหม่จะแก้ไขอย่างไร เน้นการแปลรูปพลังงาน การจัดระเบียบและสร้างวินัยกับคนในชาติ แต่ยังคงมีปัญหาจากการนำ Roadmap มาดำเนินการ

ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้มีการพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ยังมีน้ำเสียจากอุตสาหกรรม น้ำเสียชุมชน ที่มีหลายหน่วยงานดูแล้ว แม้จะมีระบบดูแลน้ำเสียเยอะแยะทั่วประเทศ แต่ยังมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำเสียสิ่งแวดล้อมทางอากาศในพื้นที่บางพื้นที่ยังมีปัญหาอยู่ เช่น ถนนสายสำคัญ หรือถนนสายหลัก เรื่องขยะอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นขยะอิเล็กโทรนิกส์ เคมี ก็ยังเป็นปัญหาอยู่

การอภิปรายเรื่อง "แนวทางการจัดการขยะของประเทศไทยสู่เส้นทางความยั่งยืน"

โดย ดร.ไชโยจุ้ยศิริ กรมควบคุมมลพิษ

ดร.สมไทย วงษ์เจริญประธานกรรมการบริษัทวงษ์พาณิชย์

ดำเนินรายการโดยดร.ฉัตรชัยอินต๊ะทา

ดร.ฉัตรชัย อินต๊ะทา ได้ถามผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านว่าที่บ้านมีการคัดแยกขยะเปียก ขยะรีไซล์เคิล ขยะอันตรายหรือไม่ในที่ประชุมตอบว่ามีเป็นส่วนใหญ่

แต่จากการสำรวจพบว่าการจัดการขยะยังไม่ได้มีประสิทธิภาพยังพบว่ามีไฟไหม้กองขยะอยู่บ่อยครั้ง ถ้ามีการจัดการที่ดีจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ และสามารถช่วยในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

แนวทางการจัดการขยะที่ประเทศไทยจะมีการดำเนินงานในระยะต่อไป ปัญหาและอุปสรรคที่ประเทศไทยต้องเอาชนะให้ได้

โดย ดร.ไชโย จุ้ยศิริ

สถานการณ์ปัจจุบันมีอะไรบ้าง ปัญหามีอะไรบ้าง

- สถานการณ์ขยะ มีปริมาณมหาศาล และครอบคลุมพื้นที่โดยรอบการเกิดปัญหาเกิดจากการไม่ได้ฝังกลบให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

- คสช. ได้เห็นชอบกับ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

ปริมาณขยะเก่าที่สะสมตกค้าง การเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2557 และปี พ.ศ. 2556

พบว่าในปี พ.ศ. 2556 มีขยะเก่าสะสมตกค้าง มี 28 ล้านตัน ซึ่งมีมูลค่ามากมายมหาศาลเทียบได้กับตึกใบหยก 2 ถึง 144 ตึก แต่พบว่าในปี พ.ศ. 2557 สถานการณ์ดีขึ้น พบว่ามีขยะเก่าสะสมตกค้าง 14.8 ล้านตัน เทียบเท่ากับตึกใบหยก 2 77 ตึก ลดลงกว่าปี 2556 จำนวน 13.2 ล้านตัน หรือ 47% แต่การปฏิบัติสู่ท้องถิ่น บางแห่งมีขยะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าที่ประมาณการไว้ แสดงว่าการบริหารจัดการขยะสะสม มีการปรับปรุงขึ้นในปี 2557

สถานการณ์ขยะมูลฝอย

สถานการณ์ขยะมูลฝอย ถ้านำมาเข้าตารางเปรียบเทียบพบว่าขยะที่เกิดขึ้นในปี 2557 ลดลง 2% จากปี 2556 ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นแค่ 6% เท่านั้น ที่เหลือยังมีการจัดการไม่ถูกต้อง มีการนำไปใช้ประโยชน์ลดลง 8 %และมีการตกค้างสะสมลดลง 47%

สังเกตได้ว่าอัตราการเกิดขยะในแต่ละปีนั้นขึ้น ๆ ลง ๆ เนื่องจากประเทศที่พัฒนาต้องใช้ทรัพยากรที่ค่อนข้างมาก

สถานภาพของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย

สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยทั่วประเทศในปี 2557 มีจำนวน 2,450 แห่ง มีการทำแบบถูกต้อง 480 แบบไม่ถูกต้อง 1,970 แห่ง และปี 2556 ที่มีจำนวน 2,490 แห่งมีการทำแบบถูกต้อง 466 แห่ง แบบไม่ถูกต้อง 2,024 แห่ง จึงมีการถูกปิดไปอีกประมาณ 40 แห่ง

พบว่ามีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่สร้างเสร็จแล้วแต่ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ 16 แห่ง

1. อบจ.เชียงใหม่

จ.เชียงใหม่

9. ทม.กาญจนบุรี

จ.กาญจนบุรี

2. ทน.เชียงราย

จ.เชียงราย

10. ทม.สมุทรสงคราม

จ.สมุทรสงคราม

3. ทม.ชัยนาท

จ.ชัยนาท

11. ทต.บ้านเชียง

จ.อุดรธานี

4. ทน.อ้อมน้อย

จ.สมุทรสาคร

12. ทน.อุบลราชธานี

จ.อุบลราชธานี

5. ทน.สมุทรสาคร

จ.สมุทรสาคร

13. ทม.เดชอุดม

จ.อุบลราชธานี

6. ทม.คูคต

จ.ปทุมธานี

14. อบจ.ชลบุรี

จ.ชลบุรี

7. ทม.ปทุมธานี

จ.ปทุมธานี

15. ทม.ฉะเชิงเทรา

จ.ฉะเชิงเทรา

8. ทม.นครนายก

จ.นครนายก

16. ทม.ทุ่งสง

จ.นครศรีธรรมราช

และที่ก่อสร้างไม่เสร็จ และเปิดดำเนินการไม่ได้อีก 2 แห่ง คือ ทม.ตาก จ.ตาก และ ทม.นางรอง จ.บุรีรัมย์

ตาม Roadmap ที่กำหนดไว้ มีศูนย์กำจัดขยะรวมเพื่อเป็นแนวทางการจัดการที่ดี

การทำโรงไฟฟ้าต้องดูถึงสถานการณ์ที่ต่อเนื่องของขยะที่เข้ามาแต่ละพื้นที่ให้ดูศักยภาพพื้นที่ของแต่ละคลัสเตอร์ว่าสามารถทำได้หรือไม่

พื้นที่ที่มีศักยภาพในการแปรรูปขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงาน

- มี 32 แห่ง เปิดดำเนินการแล้ว 2 แห่งคือที่ ทน.ภูเก็ต และ ทน.หาดใหญ่ จ.สงขลาอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 3 แห่งคือ ทน.ขอนแก่น ทต.แม่ขรี จ.พัทลุง และ กทม.

- การเลือกพื้นทีต้องมองศักยภาพของพื้นที่ และต้องคุยกับการไฟฟ้าด้วยว่าสามารถสร้างแล้วรับได้หรือไม่ สายส่งเต็มหรือไม่

ศูนย์รวบรวมของเสียอันตรายชุมชน

- Roadmap กำหนดให้บ้านเรือนต้องคัดแยกของเสียอันตรายออกจากขยะทั่วไปก่อนทิ้ง และให้แต่ละจังหวัดมีศูนย์รวบรวมของเสียอันตรายชุมชน

- ตาม Roadmap อย่างน้อยอยากให้มีจังหวัดละแห่งเป็นของชุมชน เพื่อนำไปกำจัด ทั่วประเทศที่เสนอแล้วมีประมาณ 83 แห่ง

พื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมในปี 2557

- พื้นที่ต้นแบบแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่คือ ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง

- มีพื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม 98 แห่ง (77 จังหวัดรวมกทม.)

1. ต้นทาง – คือบ้านเรือน ทำอย่างไรให้เกิดขยะน้อยที่สุด มีปริมาณลดลง ส่งเสริมให้คนในพื้นที่มีมีขยะต้นทางน้อยลง

2. กลางทาง – เรื่องการคัดแยก ถ้ามีการคัดแยกได้แล้ว ขยะที่ไปปลายทางจะลดลง ถ้าทำไม่ได้จริง ๆ จะเข้าสู่การฝังกลบ

3. ปลายทาง - ให้มีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง

ปริมาณของเสียอันตรายระหว่างปี 2553 -2557

- ของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรมลดลง 23 %

- ของเสียอันตรายจากชุมชนเพิ่มขึ้น 2.4%

- มูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น 3 %

ของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม

- มีการลดลงประมาณ 0.6 ล้านตันจากปี 2556 – 2557

เนื่องจาก 1. มาตรการส่งเสริมการลดของเสียจากกระบวนการผลิต

2. การเพิ่มความสามารถในการนำกากอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์

3. บริษัทมีนโยบายการใช้ประโยชน์ของเสียทั้งหมด (Zero Waste to Landfill)

- ปัญหาที่ยังพบอยู่คือการลักลอบทิ้งเรื่อย ๆ

- ภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ที่มีของเสียมากที่สุด (แหล่งอุตสาหกรรม) โดยเฉพาะระยองและชลบุรี และยังคงพบการลักลอบทิ้งกากของเสีย

ของเสียอันตรายจากภาคชุมชน

- E-Waste 65 % เช่น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก

- อื่น ๆ35 % เช่น แบตเตอรี่ แบตเตอรีแห้ง หลอดไฟภาชนะบรรจุสารเคมีและสิ่งต่าง ๆ ควรทำความเข้าใจกับชุมชน

พบว่า ซาก WEEF จะเพิ่มขึ้นเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยน ไม่มีระบบเก็บรวบรวมและเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์ กำลังยกร่างกฎหมาย WEEF (จะเสนอ สนช. กุมภาพันธ์ 58)

ปริมาณการนำเข้าโซลาร์เซลล์ และแท็บเล็ต

- โซลาร์เซลล์มีการนำเข้ามาประมาณ 3 ล้านแผ่น แท็บเล็ตมีการนำเข้าประมาณ 1 ล้าน 4 แสนเครื่อง

- กฎระเบียบที่กำลังจะออก

1. กฎกระทรวงการคัดแยก เก็บขน และกำจัดขยะมูลฝอย

2. กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป

3. กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอย

4. ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขนและการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาล
และสถานบริการสาธารณสุขทุกประเภทและทุกขนาด

ภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

- อยู่ระหว่างการยกร่างตามกฎหมายฉบับใหม่

1. ร่าง พรบ.การบริหารจัดการขยะแห่งชาติ สามารถเสนอสมาชิกบริหารจัดการขยะแห่งชาติ

2. ร่าง พรบ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น

- มีเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวพันกับภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชน มีการเตรียมการจัดการขยะมูลฝอยที่มีความสำคัญมาก และมีการประกาศเรื่องหลักเกณฑ์

การร้องเรียนปัญหามลพิษ

กทม. กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย ศูนย์บริการประชาชนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยได้มีการสรุปแต่ละปีว่าเป็นเท่าไหร่ และมีประเภทอะไรบ้าง

ประเภทแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีการร้องเรียน

มาจากโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ บ่อขยะ/ทิ้งขยะ เผาขยะ อาคาร/ที่พักอาศัย การเลี้ยงสัตว์ การก่อสร้างอาคาร/ถนนอื่น ๆ โดย มลพิษที่มาทางอากาศได้ถูกร้องเรียนมากที่สุด

การวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุการจัดการขยะมูลฝอย

1. ขยะมูลฝอยมีปริมาณเพิ่มขึ้นเกินขีดความสามารถการบริหารจัดการ

- ภาคการผลิต ผู้ประกอบการการผลิตยังไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

- ไม่มีการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด

- การจัดารในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว / พื้นที่พิเศษ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการในพื้นที่จัดการได้ยาก เช่นบนภูเขาสูง

2. การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยยังไม่มีประสิทธิภาพ

- การเก็บรวบรวม / เก็บขน / ขนส่งขยะมูลฝอยยังไม่มีประสิทธิภาพ

- อปท.ขนาดเล็ก (อบต.) บางส่วนยังไม่มีระบบเก็บรวบรวม / เก็บขน / ขนส่งขยะมูลฝอย

- ไม่มีระบบเก็บรวบรวม / เก็บขน / ขนส่งขยะมูลฝอยแบบแยกประเภทเพื่อรองรับการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง

3. ขยะมูลฝอยที่ได้รับการบำบัดกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการมีจำนวนน้อย

มีคนบอกว่าขยะคือทอง มีหลายพื้นที่จัดเก็บขยะได้ เมื่อสร้างโรงไฟฟ้าแล้ว ขยะที่ถูกส่งไปอาจไม่เพียงพอ เชื่อว่าในอนาคตอาจต้องขายได้แน่ ๆ

- สถานที่บำบัดกำจัดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการมีจำนวนไม่เพียงพอ

- มีสถานที่บำบัดกำจัดที่ดำเนินการไล่ถูกต้องตามหลักวิชาการจำนวนมาก

- ขาดกฎ ระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน

ความท้าทายในการคัดแยกขยะมีแนวทางในอนาคตอย่างไรบ้าง

โดย ดร.สมไทย วงษ์เจริญ

41 ปีที่เรียนรู้จากการลองผิดลองถูกในการประกอบอาชีพ สู่การสร้างความมั่งคั่งมั่นคง

การมองเรื่องการบริหารจัดการขยะ

1. ความมั่นคงทางทรัพยากรนำเข้ามาใช้ในการผลิต มีจริง มีเพิ่ม และสามารถจัดการผลิตสินค้าได้จริงหรือไม่ ปริมาณขยะสามารถทยอยเพิ่มการผลิตได้จริงหรือไม่

2. การบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีเงินเพียงพอหรือไม่ เราสามารถทำอย่างไรให้การบริหารจัดการมีกระบวนการตั้งแต่แรกจนถึงกระบวนการสุดท้ายได้

3. สุดยอดนักการตลาด คือแสวงหาเป้าหมายคือลูกค้าที่ใช้ประโยชน์จากขยะให้ได้

สังเกตได้ว่าทั้งสามส่วนที่กล่าวนี้เป็นเรื่อง Waste ,Logistic, Marketing

ความหมายในการเก็บรวบรวมการบริหารจัดการทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพสู่ผู้ใช้ปลายทางให้สำเร็จเป็นอย่างไร

การมองเรื่องการแข่งขันในสินค้าระดับนานาชาติ

เรื่องของ LCA (Life Cycle Assessment) มีจริงความต้องการของผู้บริโภค เรื่อง Eco-Design เป็นตัวสะท้อนให้เรื่องขยะสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือ Recycle เป็นจริง ขยะสามารถเป็นทองได้จริง

วิธีการจัดการขยะสู่เส้นทางที่ยั่งยืนจะมีแนวทางไหน

- บรรยากาศการเผาบ่อขยะ มีนักสิ่งแวดล้อมจำนวนมากไปดู พบว่ามีหลายอย่างที่ไม่สามารถนำไป Recycle ได้เช่น PVC หรือเมลานิน ที่เมื่อเผาแล้วปล่อยควันพิษที่ไปทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน

- ให้ดูแผนข้างหน้าอีก 5 ปี 10 ปี 100 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร

- ดูตัวอย่างจากประเทศที่เจริญแล้วมีการบริหารจัดการเป็นอย่างไรบทเรียนบทแรกที่ต้องเรียนกันคือเรื่อง Eco-Design ถ้านักออกแบบมีความคิดด้าน Eco- Designนี้จะไม่เห็นสารที่เป็นอุปสรรคต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ และการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนจะไม่มีสารที่เป็นอันตรายเช่น PVC หรือ เมลานิน

ตัวอย่างโรงพยาบาลศิริราช มีการทำกองทุนขยะที่ Recycle ได้ และ Recycle ไม่ได้ เริ่มมีการประกาศตั้งแต่ภายในและภายนอก ว่าไม่ให้มีกล่องข้าวโฟมมาในโรงพยาบาลศิริราช และปัจจุบันก็ไม่มีกล่องโฟมเข้ามาใช้จริง ๆ

การจัดการเล็ก ๆ ที่ โรงพยาบาลศิริราช ทำให้ขยะที่ทางกทม.ต้องขนไปกำจัดลดลงครึ่งหนึ่ง ขยะติดเชื้อลดลงไปครึ่งหนึ่งแต่มีขยะเพิ่มในส่วน Recycleอย่างทันตา ทำให้เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนจากการจัดการขยะทำให้มีรายได้จาก Recycle เดือนละ 300,000 บาท ที่ส่งผลให้คนมีกำลังใจในการทำงาน ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี

ขยะจะสามารถเป็นทองคำได้จริงหรือไม่

เครื่องมือจะเป็นตัวชี้ว่าข้างหน้าจะใช้ขยะทองคำเป็นทองคำได้หรือไม่ หรือเป็นขยะที่ต้องถูกทำลายด้วยวิธีต่าง ๆ อยากให้ศึกษาการจัดการขยะที่เมืองใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น ที่กำลังเร่งวิศวกรผลิตให้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไป Recycle สามารถพิสูจน์ได้ว่าบรรจุภัณฑ์สามารถนำไปสร้างประโยชน์หรือนำไปเสียงบประมาณในอนาคตก่อนที่จะออกผลิตภัณฑ์สู่สังคมได้

การเข้ามาของการจัดซื้อสีเขียวนานาชาติ ต้องมีความรู้มากเรื่องวัสดุศาสตร์ เรื่องอุปกรณ์ เมื่อ Recycle ได้ก็ไม่ใช่ขยะการสร้างบ้าน สร้างสิ่งก่อสร้าง จำเป็นต้องใช้วัสดุที่อันตรายหรือไม่ เมื่อซื้อสีเขียวนานาชาติเข้ามา จะสามารถช่วยด้านนี้ได้ตัวอย่าง รถยนต์โตโยต้า รถทุกคันและส่วนประกอบของรถต้องสามารถ Recycle ได้ ถือว่าเป็นแนวความคิดของการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน

การเริ่มต้นของการสร้างสังคม Recycle เป็นการเริ่มของการมองเห็นการกำจัดขยะอย่างยั่งยืนเรื่อง RDF ขยะที่รีไซเคิลได้ 1,200,000 ตัน ให้เริ่มจากการสังเกตวัสดุอะไรบ้างที่เข้ามาใหม่ ๆ เสมอ มีอะไรแปลกบ้าง เราต้องไปสำรวจ และไปดู และมีอีก 40,000 – 50,000 ชนิดไม่สามารถรีไซเคิลได้ แต่สามารถไปเป็นเชื้อเพลิงได้

ตลาดเป็นเรื่องความยั่งยืน หมายถึงทุกคนมีส่วนได้คนผลิต ผู้บริโภค อุตสาหกรรม ประชาชน มีส่วนได้ จึงอยากให้ทำความเข้าใจเรื่องพลังงานสะอาด ซึ่งถ้าเข้าใจแล้วจะสามารถทำให้ไฟฟ้าราคาถูก สิ่งบริโภคราคาถูก และปูนราคาถูก

การสร้างศูนย์รีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ มีสาขาอยู่ 200 สาขา แต่ได้รับการฟ้องร้องมีเขต 3 เขตที่ขับไล่ศูนย์รีไซเคิลว่าผิดกฎหมายของเมือง ต้องย้ายกิจการศูนย์รีไซเคิลออกไปนอกเมือง ซึ่งเป็นกรณีคล้ายกับศูนย์รีไซเคิลที่โตเกียว ญี่ปุ่นที่ต้องไปอยู่นอกเมือง ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลมีนโยบายในการคัดแยกขยะ แต่ทำไม่สำเร็จ จึงต้องดึงศูนย์รีไซเคิลมาที่กลางเมือง

ศูนย์รีไซเคิลจำเป็นต้องอยู่คู่สังคม ประชาชนต้องสะดวกที่จะนำไปส่งเพื่อให้เกิดประโยชน์ประหยัดและแรงรูงใจให้เกิดได้จริง

การแสดงความคิดเห็น

1. เป็นคนที่ทำธุรกิจรับซื้อของเก่าอยู่เช่นกันแต่ปัจจุบันมีปัญหามาก แค่ถมดิน ก็ต้องมีการขออนุญาตเรื่องการนำเอาพลังงานมาเป็นเชื้อเพลิง นับว่าเป็น Model ที่ดี แต่อยากให้ดูเรื่องความคุ้มทุน เช่นโรงไฟฟ้าที่โคราช ที่โรงปูน จะคุ้มหรือไม่

2. ตัวแทนจาก TPI กล่าวว่าปกติขยะที่เข้าไปตามโรงงานมีการคัดแยกตามปกติ ถ้าค่าความร้อนน้อยจะไม่คุ้มในการนำไปทำต่อ ถ้าต้องการข้อมูลชัดเจนติดต่อโรงงานจะชัดเจนมากขึ้นขยะส่วนใหญ่ที่เทศบาลสระบุรี ส่วนใหญ่ส่งให้ทางโรงปูน แต่ที่กทม.เป็นไปได้หรือไม่ที่นำสู่โรงปูนเนื่องจากกำจัดขยะได้ทุกประเภท เป็นไปได้หรือไม่ที่สัมปทานขยะสามารถกระจายไปที่ทางโรงปูนได้ด้วย

3. ตัวแทนจาก กทม.กล่าวว่า กองที่รับผิดชอบจัดการขยะ มีสัญญาว่ากี่ปี ซึ่งเพิ่งต่อสัญญาไม่กี่ปี แต่ตอนนั้นยังไม่มีวิธีการรองรับการจัดการขยะที่ชัดเจน ต้องเป็นนโยบายในระดับผู้บริหารด้วยและในตอนนั้นมีเรื่องการฝังกลบอยู่ มีการจัดการขยะในรูปเตาเผาถ้าในอนาคตอาจมีการกำจัดขยะโดยวิธีการอื่น เช่น เตาเผา ลดการฝังกลบให้ลดลงเป็นต้นมีการเปลี่ยนรูปแบบจัดการขยะให้มีความหลากหลายมากขึ้น พยายามเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานให้มากขึ้น

4. ตัวแทนจาก สผ. ท่านนึงกล่าวว่า ได้ข่าวว่ามีหลายเทศบาลไม่อยากฝังกลบด้วยตัวเอง แต่ส่งเข้า TPI ไม่รับเลยเกิดข้อขัดแย้ง ไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

- ที่ TPI ตอนนี้เริ่มเปิดเตาเผาแล้ว สามารถรองรับขยะได้มากขึ้น

5. แนวคิดของ กท. หรือภาครัฐอยากให้รวมศูนย์เพื่อให้จัดการมีประสิทธิภาพ ส่วนในแง่ของ ดร.สมไทยบอกว่าอยากกระจายให้องค์กรหนึ่ง ๆ จัดการจึงคิดว่าถ้ามีแนวคิดในการจัดการไม่ให้กระจุก แบ่งความรับผิดชอบของคนจะดีหรือไม่ และจากที่ไปดูงานที่เยอรมัน มาตรการที่ กท.จัด ถ้ามี Philosophy ที่ถูกต้องจะไปเกิดการหมุนเวียนหรือ Turn กลับสู่สังคมและถ้าไม่อยากให้มีบ้านตัวเองเป็นบ่อขยะจะทำอย่างไรPhilosophy จะกระจายอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ มีเทคโนโลยีอะไรที่เติมแต่งได้บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องการตลาดและสินค้าใหม่ ๆ ที่ต้องคำนึงถึง

ดร.ไชโยจุ้ยศิริ

- อยากให้แต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัดทำเป็นแผนแม่บท ซึ่งสามารถบูรณาการจัดการได้

- แผนมีการปรับเปลี่ยนได้ เนื่องจากมีปัญหาตามมาแน่นอน เทศบาลมีการเซ็น MOU เยอะไปหมด แต่เมื่อเราสร้าง Capacity ขึ้นมาพบว่ามีบางครั้งก็ไม่มาจริง

- ในส่วนของ Roadmap จะทำให้มีการบริหารจัดการขยะเพิ่มมากขึ้น

ดร.สมไทย วงษ์เจริญ

- ทรัพยากรธรรมชาติที่ตายแล้วทำให้เกิดใหม่ ใครที่ทำได้แล้วถือว่าเป็นยอดขุนพลนักธุรกิจส่วนหนึ่งต้องการสินค้า Recycle

- การใช้ขยะสร้างประโยชน์ ต้องคุยในสิ่งที่เป็นไปได้ ไม่ใช่คุยในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

- รัฐต้องให้เงินสนับสนุนตั้งแต่เชื้อเพลิงต้นทางขยะเมื่อหมดแล้ว มีการขนส่งไปต่อ จะคุ้มค่าขนส่ง

- โรงงานขยะมีสิทธิ์ขึ้นราคาตันละ 5,000 บาท

การแสดงความคิดเห็นจาก ผอ.สำนักวิชาการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

- ได้ทำงานวิจัยด้านมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ พูดเรื่องขยะมีพิษ และขยะอุตสาหกรรม มีวิธีการจัดการอะไรบ้าง เรื่องสิ่งแวดล้อมขออนุญาตพูดถึงการทำ Roadmap หรือการกำจัดขยะ

- ประชาชนเดือดร้อนมาก ถ้าเราเริ่มต้นผิดก็จะเกิดปัญหาตามมา เวลาที่คิดการกำจัดขยะและโรงไฟฟ้า กระทบกับความเป็นอยู่ของเขา เช่นที่ภูเก็ต และสมุยสร้างผลกระทบมหาศาล

- กรณีกระจาย 1 จังหวัด 1 โรงไฟฟ้า เป็นสิ่งที่ไม่อยากได้ ควรมีการรับฟังความเห็นของคนในพื้นที่ การทำการวิจัยและศึกษาข้อมูลต้องให้คนพื้นที่ช่วยคิด

- เรื่อง Recycle จากมืออาชีพ และการ Recycle ในปัจจุบันเป็นคนละเรื่องพบว่ามีโรงงานทำ Recycle อยู่ทั่วไปแต่อาจทำไม่ถูกต้องซึ่งเป็นปัญหาของประเทศที่ควบคุมไม่ได้

- การนำเข้าขยะ ยกเว้นกรมควบคุมมลพิษ การทำสนธิสัญญาการค้าเสรี ไทย-ญี่ปุ่น สิ่งที่เหลือใช้เข้ามาในประเทศ ดึงมาไม่สำเร็จ สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือการเอากากอุตสาหกรรมในประเทศ มีบริษัทรับกำจัดสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งก็ยังมีการตรวจสอบกันอยู่

- ถ้าเราต้องการกำจัดขยะที่มีอยู่ โดยไม่รวมเอาขยะอื่นมาด้วย ถือว่าเป็นแนวโน้มที่น่ากังวลมาก

สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำประเด็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 และแนวทางการประชุมกลุ่มย่อย

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ครั้งแรกที่ประชุมเป็นการมองภาพใหญ่ สำหรับการร่างแผนแต่ละครั้ง ทุกคนอยากเห็นการนำแผนนำไปสู่การปฏิบัติ ให้มองว่าประชาชนได้อะไร ข้าราชการต้องทำอะไรเพื่อส่วนรวม

ในปี 2560สถานการณ์เป็นอย่างไร โดยเฉพาะในช่วงการปฏิรูป ขยะกลายเป็นวาระแห่งชาติภาคเอกชนให้ได้เห็นทั้งโอกาสและการคุกคาม ช่วงนี้อยากให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

คนที่ไม่อยู่ตอนบ่ายก็พูดตอนเช้าได้เลย อยากให้ทุกคนออกความเห็นร่วมกัน

ขยะ การจัดการขยะ สู่ความยั่งยืน อยากให้ทุกท่านช่วยออกความเห็นได้มากที่สุด

เมื่อมี Idea ต้อง Turn idea into action แล้วนำไปสู่ความสำเร็จ เราอยู่ได้เพราะความสำเร็จ อยู่ได้ด้วยผลที่ทำอยู่ เราต้อง Combine ภาคเอกชน และภาควิชาการเพื่อให้ใช้เวลาในบ่ายวันนี้เกิดประโยชน์สูงสุด

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ให้วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยต่าง ๆ และแนวทางในอนาคต

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำท้องถิ่นถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องขยะ ต้องมี Networking ต้องปรับ Mindset เพื่อไปสู่ Execution ถ้ามีความสำเร็จ การประชุมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป

ทำอย่างไรถึงจะจัดการเรื่องขยะให้มีการจัดการสำเร็จมากขึ้น ให้ทุกคนมีความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เอาความหลากหลายของความคิดมาเพื่อแสดงให้ประชาชนรับทราบด้วย

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. นักวิจัยที่สถาบันสิ่งแวดล้อมจุฬาฯ กล่าวว่า จากที่ฟังและติดตามประเด็นปัญหายังติดกับดักปัญหาปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาที่พบจะเป็นปัญหาเฉพาะหน้าเยอะข้อเสนอหรือ Roadmap ยังให้ท้องถิ่นนำ แต่ถ้าจะก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคได้ พบว่าท้องถิ่นมี 7,000 กว่าแห่ง แต่ขาดบุคลากรที่ส่งเสริมการแยกขยะต้นทางเรื่องการลดการเกิดขยะ ไม่มีใครที่พูดว่าจะลดการบริโภคเท่าไหร่ อยากให้มองไปในอนาคตว่าขยะเป็นทรัพยากรที่ Recycle ได้ และให้มองว่าทุกภาคส่วนมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทำไมไม่โยนโจทย์ว่าการกำจัดขยะแต่ละ Sector ควรทำอย่างไร ภาคส่วนแต่ละคนทำอย่างไร มหาวิทยาลัยต่างประเทศจะร่วมมือกันได้อย่างไรตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลศิริราชมหาวิทยาลัยสีเขียว เป็นไปได้หรือไม่ให้แต่ละ Sector ช่วยกันคิด มีการให้รางวัลส่วนที่อนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวเสริมว่า เรื่องขยะ ควรจะใช้หุ้นส่วนหรือไม่ เริ่มตั้งแต่ Mindset คุณธรรม จริยธรรม พัฒนาคนไปด้วย และไม่ได้พัฒนาที่ Skill หรือ Knowledge เท่านั้น

ประเทศไทยอ่อนเรื่องวินัยในการดำรงชีวิต

2. สถาบันสิ่งแวดล้อมจุฬาฯ เห็นว่าประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาจัดการปัญหาที่ปลายทางไม่จัดการตั้งแต่ต้นทางทำให้ไม่ครบ Loop ประเด็นผู้ประกอบการรายใหญ่เกิดข้อกฎหมายที่จะต้องบริหารจัดการในพื้นที่ ผู้ประกอบการรายเล็ก หรือรายย่อย ในแวดวงราชการ จะมองเห็นการจัดการปัญหา ที่มองโครงสร้างหรือ Hardware เป็นหลัก และให้ความใส่ใจน้อยการพูดตั้งแต่แผน 8-11 ซึ่งการเตรียมการสู่แผน 12 นี้ เราต้องหันมาพูดเรื่อง Software ให้มากขึ้น ให้คนมี Capacity Building ให้คนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะ อาจมีการรวมศูนย์แล้วส่งไปให้ท้องถิ่นจัดการด้วย และให้แต่ละพื้นที่มีเงื่อนไขนี้เช่นเดียวกัน

การส่งเสริมและการหากลไก ต้นทางจะส่งเสริมทำอย่างไรให้การแยกขยะในบ้านสามารถแยกขยะได้เลย การคัดแยกยังไม่สามารถจัดการกับผู้คนได้ ดังนั้นเราต้องหากลไกบางอย่างเพื่อเป็น Incentive ที่เกิดขึ้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กล่าวว่าในเมืองนอกมีการส่งเสริมให้คนแยกขยะให้ถูกต้อง ถ้าแยกผิดจะถูกทำโทษ แต่ คนไทยยังขาดวินัย ด้าน Capacity Building ต้องเอาจริงเรื่องคน

คนเปลี่ยนพฤติกรรมยาก อยากให้มีการสร้างความร่วมมือเพื่อไปสู่ความสำเร็จ ตรงประเด็น และเกิดพลังเอาชนะอุปสรรค

3. ตัวแทนจากกระทรวงการคลังได้เสนอว่า 1. อยากให้มองที่กฎหมายของแต่ละส่วนก่อนอยากให้กฎหมายที่มีอยู่สามารถจัดการได้ และมีผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง2. การสร้างความตระหนัก และจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้มีความรู้มากขึ้น 3. การรับคืน ส่วนกรมควบคุมพลพิษควรเข้ามีบทบาท

4. การดูเรื่องภาษีสิ่งแวดล้อม ก.การคลังกำลังปรึกษาด้านนี้อยู่ ขึ้นอยู่กับนโยบายในการบริหารจัดการ

4. การบริหารจัดการขยะยังมีความอ่อนแอของกฎหมายอยู่ พ.ร.บ.ยังไม่ได้มีกฎหมายในการคัดแยกขยะ ทำให้การบังคับใช้ไม่สามารถบังคับใช้ได้บทบัญญัติในการลงโทษผู้กระทำผิดต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนในการบำบัดขยะอย่างเช่น มีบุคลากรของกระทรวงถูกลงโทษไปแล้วในการคอรัปชั่นที่เป็นปัญหามาก ที่ให้มีการนำขยะที่เป็นอันตรายออกมาข้างนอก เกิดการรั่วไหล และมีการกำจัดขยะโดยเอาทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่ผ่านการบำบัดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การนำขยะมีพิษออกจากอุตสาหกรรมนั้นเป็นความผิด หน่วยงานอนุญาตกับหน่วยงานตรวจสอบควรเป็นคนละหน่วยงานกันจะได้คานอำนาจกัน

สิ่งที่ชุมชนเสนอคือ 1 นิคมอุตสาหกรรม 1 บ่อขยะกำจัดในพื้นที่ ให้หน่วยงานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ควบคุมความรั่วไหล

5. ตัวแทนจากกรมพลังงานทดแทนกล่าวว่าอยากให้มีการกำหนดว่าขยะอะไรบ้างที่เราจะควบคุม รวมขยะนิวเคลียร์ด้วยหรือไม่ การจัดการขยะมีพิษกับขยะไม่มีพิษ มีการแบ่งประเภทอย่างไร ปัญหาขยะของประเทศไทยอยู่ตรงไหนบ้าง สถานการณ์เป็นอย่างไร จะจัดการได้อย่างไร ให้ความสำคัญในการกำจัดขยะแต่ละประเภทได้อย่างไร เช่นการป้องกันไม่ให้เกิดขยะมากขึ้น การ Recycle และ Recovery การจัดการมาสู่การผลิตพลังงานเพิ่มขึ้น

กฎหมายมีประสิทธิภาพหรือไม่ ควรมีนโยบายหรือกฎหมายไหนเพิ่มเติมบ้าง การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาขยะอยากให้ทำมากขึ้น

6. หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลการจัดการขยะ กล่าวว่าอยากให้มองตั้งแต่ต้นทางคือผู้บริโภค ทำอย่างไรให้การจัดการขยะมีประสิทธิภาพคือการให้ความรู้เพื่อจัดการขยะเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง และดีที่สุด แต่ที่ผ่านมาพบว่าในบริบทของสังคมเมื่อค่าครองชีพสูงก็สนใจที่จะแยกขยะมาหาเงิน แต่พอค่าครองชีพต่ำก็กลับมาเหมือนเดิม

การขนส่งวัสดุรีไซเคิล ประเด็นอยู่ที่ปลายทางและการขับเคลื่อนวัสดุมาสู่ปลายทางได้ หลายที่ยังขาดอยู่ เนื่องจากค่าขนส่งมีราคาแพงทำให้สามารถเคลื่อนย้ายวัสดุรีไซเคิลเช่นแก้วมาจากในพื้นที่ทำได้ยาก ซึ่งถ้าทำได้อย่างต่อเนื่องจะเป็นการเสียงบประมาณของภาครัฐเป็นจำนวนมาก

การส่งเสริมองค์ความรู้ในภาคอุตสาหกรรมให้มีการกระจายและครอบคลุมทั่วประเทศจะทำให้การคัดแยกทำได้จริง ต้องสร้างระบบ Logistics ที่ดีเพื่อดึงการจัดการขยะมาจากครัวเรือนได้

ด้านการเก็บรวบรวมขยะที่ถามว่าแยกทำไมเพราะสุดท้ายก็ไปรวมอยู่ในรถพาหนะในการเก็บขยะไม่มีช่องในการแบ่งทิ้ง ถ้าจะแก้ปัญหานั้นจะซื้อรถใหม่ทั้งหมดหรือไม่ ควรให้ความรู้ในการคัดแยก จะได้เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุด

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ กล่าวเสริมกรณีที่เกาะพิทักษ์ว่ามีการแยกขวดออกมาจากพื้นที่ มีการบวกค่าขวดและค่ากระป๋องเครื่องดื่มเพื่อเป็นค่ากำจัดขยะในแหล่งท่องเที่ยว

7. ที่ TPI โรงปูนที่รับขยะมาเป็นการจัดการเกือบปลายทางแล้ว ส่วนหนึ่งจะนำไปทำปุ๋ย หลังจากแยกโลหะจะเข้าสู่กระบวนการปกติไปทำโรงไฟฟ้าส่วนหนึ่ง ได้พลังงานที่มาจากเตาเผาด้วยโรงปูนได้ลดขยะได้ส่วนหนึ่ง แต่ขยะส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ที่ กทม. อยู่ดี

ทางโรงงานได้มีการทำมีชุมชนสัมพันธ์โดยการเข้าไปติดต่อกับทางเทศบาลต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้และสร้างสัมพันธ์อันดี คนที่ได้รับผลกระทบที่มีปัญหาทางโรงงานจะรับรู้มากสุด แต่ปัญหาเชิงลึกถ้าไม่ส่งถึงสำนักงานใหญ่ ก็จะไม่ทราบข้อมูล

8. กรมศุลกากร อาจเป็นปัญหาที่กฎหมายยังไม่เข้มงวดเลยเป็นช่องโหว่ทางด้านนี้ หน่วยงานทำเต็มที่ในการผลักดัน อยากเน้นที่จิตสำนึกผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกขยะที่อันตราย

9. กรมการท่องเที่ยว ด้วยภารกิจของกรมฯ พบว่าพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญ จากที่สังเกตในหลายพื้นที่ หลายท่านอยากแยกขยะ แต่เห็นถังขยะที่แยกน้อยมาก อยากขอความร่วมมือหน่วยงานตรวจสอบด้านการจัดการขยะ เนื่องจาก รมต.กอบกาญจน์ เน้นการบริหารจัดการขยะล้นเมืองโดยเฉพาะช่วงเทศกาล เห็นข้อแตกต่างเยอะ สิ่งที่ได้ข้อมูลมาไม่รู้ว่ามีข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหน อยากเห็นข้อมูลที่แท้จริงเพื่อนำไปจัดเก็บอย่างถูกต้อง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความไร้ระเบียบวินัยของนักท่องเที่ยวอย่าว่าแต่เรื่องการแยกขยะเรื่องการเก็บขยะยังไม่ดีเท่าที่ควรควรให้เยาวชนรุ่นใหม่เป็นตัวแทนเรื่องเหล่านี้

10. หัวหน้าส่วนวิจัย สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวว่า กทม. โดนพาดพิงเยอะ เนื่องจากมีการบริหารจัดการที่ค่อนข้างอุ้ยอ้าย เพราะมี 50 สำนักงานเขต มีประชากรที่รวมประชากรแฝงเกือบ 10 ล้านคน การบริหารจัดการขยะทำได้ยากมาก และปัญหาเรื่องการเมืองยังไม่ค่อยนิ่งคนไทยของเราขาดวินัย ไม่ได้ผ่านสงคราม แผ่นดินมีความสุข หลายครั้งที่ กทม.เข้าไปตามกลุ่มเป้าหมายแนะนำแล้วดีหมด แต่ไม่ยั่งยืนคือ ต้องดีแล้วมีรายได้ถึงยั่งยืน ต้องมีการทำการตลาดหรือมาร์เก็ตติ้งให้เขาด้วยฃ

ขยะรีไซเคิลไม่ค่อยเป็นปัญหา สามารถขายได้ชัดเจน ตัวอย่างที่ กทม.ทำคือ ให้โรงเรียนมีการทำถังหมักไบโอแก๊ซ กระทรวงพลังงานได้ให้งบประมาณสนับสนุนในด้านนี้ แต่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญจริง ๆ เพราะถ้าไม่เข้าไปดูพบว่าถังหมักไม่มีเหลือสำหรับใช้งาน

ท้ายที่สุดต้องสร้างคน สร้างจิตสำนึก ตั้งแต่โรงเรียน 400 กว่าโรงเรียน ภาครัฐ และกทม.ต้องช่วยด้วย ให้มีการทำหลักสูตรเรื่องสิ่งแวดล้อมไปด้วย ครูทุกวิชาต้องสอดแทรกเข้าไปหมด อยากฝากในส่วนภาครัฐบาลให้ดูแลด้วยในส่วนกทม.เองก็พยายามพัฒนาหลักสูตรตัวเองเช่นกัน แต่อยากให้กระทรวงศึกษาธิการคิดหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมมี Roadmap ของรัฐบาล มีเรื่องการคัดแยกขยะต้นทาง อย่างเช่นในอนาคตอันใกล้อาจแยกให้ชัดเจนว่าเป็นขยะทั่วไปและขยะรีไซเคิล

กทม.มีปัญหาเรื่องระบบการจัดการขยะไม่ครบวงจรควรออกกฎหมาย 3 R เพื่อบังคับใช้ ทำทุกรูปแบบเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

11. ตัวแทนจากสภาวิจัย ฯ ขอเน้นที่บุคคลมากกว่า เพราะว่าการสร้างกฎหมายที่มาบังคับ บังคับมากมีจังหวะ โอกาสก็จะฝ่าฝืน แต่ถ้าเราสร้างจิตสำนึก ตั้งแต่อนุบาล มีการปลูกฝังว่าจะทำตัวอย่างไรการมองขยะคือของมีค่าที่จะแปลรูปเป็นอย่างอื่นได้จะลดได้อีกแบบหนึ่งการแยกขยะที่บ้านมีการแยกขยะอย่างดี แต่พอถึงรถขยะ ก็มีการค้นหาขยะอยู่ดีเพื่อเอาไปขาย จึงไม่มั่นใจว่าปัญหาอยู่ที่ไหน การแยกขยะสามารถทำได้ที่ต้นทางระดับหนึ่งแล้วทำอย่างไรไม่ต้องให้แยกอีก กลายเป็นขยะตามทาง ตามท้องถนน

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ กล่าวว่าเรื่องทรัพยากรธรรมชาติมีการระดมความคิดเห็นกัน เป้าหมายอยากให้ประเทศเรามีความสำเร็จ ต้องใช้ Wisdom มีการพยายามหลายอย่าง มี Authority Base มีเงิน มีอำนาจ มีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรค

กระทรวงฯ กับ กทม. น่าจะมีกรณีศึกษาเล็ก ๆ ในระบบเขตขึ้นมาที่เป็นตัวอย่างที่ดีและดึงพลังของสังคมเข้ามา สิ่งที่ชอบมากคือ Loop พฤติกรรมของคนในการบริโภค การทิ้งขยะ น่าจะปรับได้ด้วย เน้นการทำให้ถูกวงจร การ Recycle จะช่วยได้เยอะ

วัฒนธรรมในการรักประเทศ มีปัญหามากเรื่องการจัดการขยะ เมื่อข้าราชการทำวิจัยต้องคิดเรื่องการวางแผนด้วย

ควรมีการดูเรื่อง Capacity Building และการวางแผนต่าง ๆ

จากการหาจุดอ่อนของข้าราชการพบว่า มี Silo เยอะ และไม่ได้ร่วมมือกัน ทำโดยไม่มี Feeling กับ ถ้าเปลี่ยนบทบาทราชการเป็นบทบาทคนที่คิดถึงเป้าหมายและ End ก็จะประสบความสำเร็จ

การจัดครั้งต่อไปอยากให้เชิญประชาชน สื่อมวลชน นักวิชาการที่อยู่ข้าม Field มาด้วย ต้องมี idea ใหม่ ๆ ไม่พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกแต่ในวันนี้มีข้อดีคือใช้ Flagship เรื่องขยะเป็นหลัก ทำให้การร่างแผนครั้งนี้ประสบความสำเร็จ

แผนมีไว้ปฏิบัติแล้วนำสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติให้ได้

ความคิดเห็นภาคบ่าย

1. กฎหมายเรื่องการกำจัดขยะเพื่อความยั่งยืน กฎหมายมีอยู่แล้ว แต่เรื่องการปฏิบัติงาน การบูรณาการอย่างยั่งยืนยังไม่เกิดขึ้น ยุทธศาสตร์ของประเทศและปัจจุบันปรับเปลี่ยนหลายรอบ เรื่องขยะเป็นเรื่องของทุกกระทรวงภายใต้การควบคุมกำกับ ทุกกระทรวงฯ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกลไกกำจัดขยะ

สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้พูดถึงตัวขยะ แต่พูดถึงว่าเป็นลักษณะอะไรบ้าง แหล่งผลิตขยะมาจากธุรกิจอะไร อะไรที่เกิดขึ้น

เรื่องการท่องเที่ยวคือเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้ ผลคือการพัฒนาการท่องเที่ยว มีสิ่งผลิตที่เหลือจากการท่องเที่ยวออกมา เป็นแหล่ง ถ้าวางรูปแบบการจัดการแต่ละแหล่งท่องเที่ยวอาจไม่เหมือนกัน ควรมีการวางในบริบทของการจัดการร่วม สิ่งที่เป็นปัญหาคือขยะจะบริหารจัดการขยะอย่างไร วงจรของธุรกิจประเภทนั้น เป็นขยะอย่างไร ประเภทไหน ซึ่งควรให้การจัดการไม่เหมือนกันในแต่ละรูปแบบ

กระทรวงทรัพย์ฯ กรมควบคุมมลพิษควรดูรูปแบบการจัดการมลพิษให้เหมาะสม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การผลิตขยะแต่ละแหล่งกำเนิดควรเกิดจากอะไรบ้าง ใครเป็นเจ้าภาพหลัก กลไกของเจ้าภาพกระทรวงฯ มีบทบาทไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงฯ สู่การนำไปทำแผนปฏิบัติของกระทรวงฯถ้ามีการทำจริงสิ่งที่ Roadmap ประกาศอาจเร็วไปเนื่องจากเป็นการเอาเป้าประสงค์ 1 ปีไปจับกับนโยบายและเป้าหมายในการจัดการ มีการลดปริมาณขยะเท่าไหร่ เป้าหมายของประเทศตั้งไว้เท่าไหร่ กลไกการขับเคลื่อนทุกกระทรวงต้องรับรู้ ให้มีการวางเป้าหมายอีกรอบก่อนนำไปสู่เป้าหมายชาติ นี่คือสิ่งที่คาดหวังถึงความรับผิดชอบของกระทรวงหลายกระทรวง แต่ตาม Roadmap ส่วนที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพย์ฯ

กลไกของการบังคับใช้ยังไม่มีใครกล้าเริ่ม กลไกการบังคับใช้ ยังไม่มีใครกล้า ต้องรื้อในกลไกของกฎหมายมาดู จิตสำนึกคือทำให้คนเห็น และย้อนกลับไปว่าถ้าจะตั้งต้นให้หนักแน่นพอต้องก้าวไปพร้อมกันว่ามีกลไกอะไรบ้าง แหล่งผลิตอะไร เช่นกระทรวงอุตสาหกรรมต้องเข้าไปมีบทบาทมากขึ้น

Eco Industry และ Eco Time ยังไม่ได้เกิดการสัมพันธ์กัน ยังมีการปะปนกันในเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีการแยกพื้นที่กันอย่างชัดเจนมีการแยกโซนได้อย่างเด่นชัด ทำอย่างไรถึงจะรวมหน่วยงานรับผิดชอบหลายกระทรวงในเรื่องการจัดการขยะ ถ้ามองเป็นเรื่องกลไกทั้งหมด จะมองเห็นว่ากระทรวงฯไหนสามารถเคลื่อนได้แค่ไหน จะลดปริมาณขยะไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างไร ต้องมีการวางแผนเรื่องสิ่งแวดล้อม แผนก็คือแผน แต่ไม่ตอบโจทย์เพื่อความสำเร็จว่ามากน้อยแค่ไหน สิ่งที่เกิดเป็นการมองในเชิงนโยบาย แต่ความจริงแล้วอยู่ในพื้นที่ และท้องถิ่นจะเป็นตัวควบคุมอีกที สิ่งที่ควรทำคือต้องรู้บทบาทของกระทรวงฯ ว่ามีมากน้อยแค่ไหนแล้วประเมินอีกที

2. การบริหารจัดการฝ่ายทั่วไป มีขยะ 422 ตัน ขยะรีไซล์เคิลเกิดจากชุมชน โรงเรียน ครอบครัว รถขยะทุกคันควรจะต้องมีกล่องที่เก็บเพื่อกำจัด อาจมีการคิดราคาการจัดเก็บขยะเช่น กิโลกรัมละ 5 บาท ขยะติดเชื้อจะมีรถสำหรับขยะติดเชื้อ 5 คันในการบริการเก็บทุกวันเป็นต้นในสถานการณ์ปัจจุบันจะมีการวางรูปแบบกับสาธารณสุขจังหวัด เทศบาล มีอบต. และท้องถิ่นที่ต้องแบกรับภาระในการเก็บค่ากำจัดกิโลกรัมละ 11 บาท การกำจัดวันละ 22,000 บาท

ถ้าจะปรับรูปแบบคือผู้ประกอบการต้องมีการสนับสนุนเรื่องการนำขยะสู่การรีไซเคิล การหาตลาดสู่สถานประกอบการ การทำ Eco-Design เพื่อลดทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต ลดการนำเข้าและกีดกันขยะที่มาจากต่างประเทศ

การให้ความรู้และจิตสำนึกสำหรับผู้บริโภค

การประกวดเรื่องการกำจัดขยะที่ยั่งยืน เพื่อสร้างความมีส่วนร่วม

การสร้างแรงจูงใจ ให้เริ่มสอนตั้งแต่เด็กนักเรียนจะง่ายกว่า

รัฐมีลักษณะ 2 อันคือ นโยบายและการบังคับใช้กฎหมาย ถ้านโยบายมั่นคง ทุกคนต้องขยับตาม

แต่ถ้าการบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ต้องมีผังเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.สาธารณสุข ถ้าให้ท้องถิ่นเก็บ บางท้องถิ่นไม่ตอบ ท้องถิ่นต้องแบกรับแล้วแต่นโยบายของผู้บริหาร ซึ่งถ้าไม่เก็บถือว่าท้องถิ่นละเว้นจากหน้าที่

พ.ร.บ.ร่วมทุน เช่นทำสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยแบบเตาเผา ท้องถิ่น 46 แห่ง จะขอเรื่องการร่วมทุนแต่ยังติดอยู่ เราเสนอ คสช.ไปแล้วแต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้

3. ตัวแทนจากบริษัทลูก ปตท. ผลิตตัวพลาสติกที่ย่อยสลายได้ กล่าวว่า

- ขยะอินทรีย์ ในครัวเรือน 50% เป็นขยะอินทรีย์ ถ้าแยกให้ดี สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักในแต่ละชุมชนและตำบลช่วยลดปุ๋ยเคมีได้

- การลดการใช้ขยะ ให้ดูตัวอย่างในต่างประเทศที่มีประสบการณ์ อย่างเรื่องตัวพลาสติก 50% เป็นถุงพลาสติก จะพุ่งเป้าไปที่การใช้ถุงพลาสติกให้ใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ เนเธอร์แลนด์มีการเก็บภาษีขยะ 1 ยูโรต่อกิโล เป็นการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกลง อย่างเกาหลีห้ามแจกถุงพลาสติกฟรี เงินที่จ่ายไปเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม ทำปุ๋ยหมัก และการย่อยสลายได้

- การคัดแยกขยะ มีการรณรงค์มาแล้ว 10 กว่าปี แต่ก็ไม่มีคนแยกอยู่ดี ต้องมีกฎหมายบังคับให้แยกขยะ

4. ทำงานอยู่ที่อุทยานแห่งชาติ เห็นเจ้าหน้าที่เก็บขยะมาเผาใกล้สำนักงาน แต่ไม่รู้ว่าเป็นการทำถูกต้องหรือไม่เป็นไปได้หรือไม่ว่าในแหล่งท่องเที่ยวควรมีกระบวนการให้ขนออกอย่างเดียว อย่ามีพื้นที่กำจัดขยะในแหล่งท่องเที่ยวเพราะว่าแค่สถานที่ท่องเที่ยวก็มีพื้นที่ไม่พอแล้ว

อยากให้ดูเรื่องการย่อยสลาย และกำจัดขยะอินทรีย์ให้ถูกต้อง

เรื่องความรู้ การจัดการขยะอันตรายเมื่อไม่รู้และนำไปใช้ต่อนั้นอาจเป็นภัยต่อการใช้งานหรือไม่ ผู้ใช้ไม่รู้ ผู้จัดการไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ต้องผ่านการรณรงค์หนัก ๆถ้าโฆษณายาฆ่าหญ้าต้องโฆษณาตามด้วยว่าจะเก็บมลพิษอย่างไร

ภาชนะสำหรับการผลิต และการบริโภค สมัยก่อนจะมีการมัดจำขวด มียี่ปั๊ว ซาปั๊วเป็นคนกลางในการเก็บสะสมของเหล่านั้น

ตัวอย่างที่ต่างประเทศจะมีศูนย์ที่เอาของที่บ้านไม่ใช้แล้วไปให้ที่ Center เช่นมี Furniture เก่า ซึ่งอาจมีการให้ซื้อต่อหรือให้เลยก็ได้ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียน จึงให้มีระบบ Center สามารถดูได้ว่ามีอะไรบ้างที่สามารถเป็น Assess ได้

การใช้กลไกการเก็บขยะ ต้องมีคนกลางในการสื่อสารที่ดี ใช้คนกลุ่มนี้ในการให้ความรู้

การรวมกระจุกหรือกระจาย ในมุมมองตัวเองมองว่าฟังก์ชั่นการกระจายน่าจะ Work กับภาคส่วนของประเทศไทยมากกว่า ตัวอย่างเช่นการบำบัดน้ำเสีย ถ้ามีการกระจายมากจะลดภาระได้มาก

การสื่อสารกับผู้บริโภค แต่ก่อนมีตราหัวไขว้กะโหลก แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว จึงอยากให้มีฉลากที่เป็นการเตือนว่าสิ่งไหนเป็นอันตรายหรือไม่

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

มีอะไรที่เป็นตัวเร่ง ให้แนวคิด ให้วิธีการ ช่วงบ่ายเห็นว่าทั้งสี่คนมีประเด็นเพิ่มเติม อย่างท่านแรกคือ ผอ.พูดดีคือหน่วยงานนี้ทำคนเดียวไม่ได้ต้องร่วมมือกับกระทรวงอื่น พูดง่าย แต่ทำยากเพราะแต่ละองค์กรมีวัฒนธรรมองค์กรไม่เหมือนกัน

การทำ Focus group หรือ SWOT ไม่ค่อยเข้าใจจุดอ่อนของตัวเอง สิ่งที่ตามมาคือความซ้ำซาก จึงอยากฝากเรื่องการร่างแผนครั้งนี้ให้พูดถึง อุดมการณ์ จิตวิญญาณ และการทำงานร่วมกันมากขึ้น เน้นความหวังดีในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ต้องมีการผนึกกำลังกัน

เราต้อง Conceptual ให้ครบวงจร ข้อเสียของไทยคือต่างคนมีแนวคิดของตัวเองไม่ค่อยมาแชร์ความแตกต่าง

การนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ให้ได้ ให้มีทุนทางปัญญา และให้คิดนอกกรอบ

5. การทำ TOR เรื่องการบริหารจัดการขยะของ คสช.อยากจะย่อยออกมานิดนึงว่า การจัดการขยะออกมาในรูปแบบใด ในชุมชน มีของเสียแยกเป็นกี่ประเภท การจัดการขยะชุมชนจะมีวิธีการจัดการอย่างไร การไปสู่เส้นทางความสำเร็จจะมีกระบวนการและวิธีการอย่างไรที่ไปสู่ผลของความยั่งยืน และจะยั่งยืนอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียง มีต้นแบบไม่ต่างจากการจัดการขยะ แต่ว่าเราลงไปทำมากน้อยแค่ไหน

เราควรมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทางสิ่งแวดล้อม ควรมีภาคประชาชน สื่อมวลชนมาเป็นพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อม ความคิดหลากหลายจะนำพาไปสู่จุดหมายปลายทางได้ เป็นการนำนโยบายภาครัฐมาสู่ภาคเอกชน

หลายท้องถิ่นหรือหลายพื้นที่ บอกว่าอย่าผลิต แต่การผลิตก็เพื่อไปสู่การบริโภค จึงควรมุ่งเน้นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีแนวทางที่ช่วยในการผลักดันไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้เพื่อสู่ 3 R การบริหารจัดการชุมชน กรมควบคุมมลพิษ มีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย

แนวทางการจัดการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ได้มี Master Plan แผนการลงทุนเกิดขึ้นแล้ว มีการนำผลที่ได้มาไปสู่กระบวนการ Land Fill ที่เกิด มีการฟื้นฟูและมีการนำแผนสู่การปฏิบัติจริง พื้นที่มีความยั่งยืนแค่ไหน ในวันนี้มี คสช.ให้ทำแผนแม่บทเพื่อคัดเลือกเป็นโครงการหรือโครงงานที่จะเกิดในอนาคตแต่บางทีก็ไม่ได้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับท้องถิ่นตรงนั้น

สื่อในพื้นที่จ.สมุทรสาคร ลุ่มน้ำท่าจีนมีความสำคัญในการรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์ เพราะว่าจะสร้างให้เกิดการกระตุ้น และรณรงค์เรื่องการบริหารจัดการขยะ

เรื่องสื่อ เรื่องการจัดการขยะ บางหน่วยงานและสิ่งแวดล้อมได้จัดการขึ้นเองแล้ว เรื่องสิ่งแวดล้อมการจัดการขยะจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาเซียนด้วย

การจัดการขยะเรื่องความยั่งยืนควรมีมานานแล้ว แต่อยากให้เอาเศรษฐกิจพอเพียงที่เกิดแล้วมาเป็นต้นแบบ

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

แผนนี้มีปัจจัย Positive 2 เรื่องคือการปฏิรูป และอาเซียน ถ้าเราอยู่ในสภาพเดิมเราจะทำงานเหมือนเสมียน การมี Creativity หรือ Innovation นั้นสอนให้คิดต่างแต่เพื่อไปสู่ความสำเร็จ

6. จากกลุ่มวิเคราะห์และประสานแผนปฏิบัติการกล่าวว่าได้ทำงานด้านนี้โดยมีการให้เงินตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบัน อปท. ท้องถิ่นเดินตามนโยบายชาติคือ กท. ท้องถิ่นจะตามตลอด ดังนั้นความชัดเจน และแน่นอนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ท้องถิ่นต้องการความชัดเจนระดับนโยบาย ถ้าไม่มีความรู้และนโยบายที่ถูกต้องจะจัดการตรงนั้นได้อย่างไร

ควรมีการประกาศให้ชัดเจนว่าเป็นขยะแบบไหน และจะจัดการขยะอย่างไร ราคาจะเป็นตัวจูงใจเพราะเทศบาลอยากได้เงินซึ่งเทศบาลจะไปจัดการกับประชาชนในพื้นที่ได้เอง แล้วประชาชนจะมีส่วนร่วมและจัดการเอง

สิ่งที่ควรทำคือการจัดการเชิงพื้นที่ แต่ละเขตของกทม. มีความแตกต่างไม่เหมือนกัน ดังนั้นควรมีการกำจัดขยะให้เหมาะกับสภาพของพื้นที่

เรื่องลดโลกร้อน ควรมีการเข้าไปวิเคราะห์ตรงนี้ด้วย มีตัว Indicator ที่วิเคราะห์ตรงนี้อย่างไรเพื่อตอบสนองต่อระดับชาติและโลก

การสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนจะทำอย่างไร ให้ท้องถิ่นจัดการและดูแลตนเองได้อย่างไร ทุกอย่างต้องเน้นเรื่องความรู้และกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน

7. ขอเล่าประสบการณ์ของกองทุนสิ่งแวดล้อมที่กองทุนให้ความสนับสนุน ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ และแนวคิดที่ดีต้องมีการพัฒนาศักยภาพของผู้นำโดยเฉพาะ อปท.มีการส่งเสริมเรื่องการคัดแยกแล้วแต่ไม่ได้มีการส่งเสริมด้านการจัดการขยะอย่างทั่วถึงแม้ว่ามีการจัดการขยะด้วยการคัดแยกแล้วต้องมีส่วนหนึ่งที่นำสู่การกำจัดขยะที่เหมาะสม ยุทธศาสตร์ที่มีคือเรื่องการศึกษาด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศไทยในอนาคต

8. เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศไทย มีคณะกรรมการขึ้นอยู่กับกระทรวงวิทย์ ฯ ซึ่งน่าจะมีการผลักดันใช้ให้เป็นประโยชน์ ทำอย่างไรถึงมีการผลักดันบังคับใช้ เพื่อให้กระบวนการตรงนี้ทั่วถึง

พ.ร.บ.สาธารณสุข มีการจัดการทั้งดีและไม่ดี แต่ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ ดังนั้นจะมีกระบวนการอย่างไร น้ำเสียที่ออกจากพื้นที่ผลกระทบที่ตามมาคือน้ำเสียทั้งระบบ ยังไม่มีข้อกำหนดในด้านนี้ ร้านรับซื้อของเก่ามีขึ้นมาได้แต่ต้องดูว่ามีผลต่อชุมชนหรือไม่

อยากให้เพิ่มหลักสูตรทางการศึกษาด้านการจัดการขยะอย่างชัดเจนและได้ผลที่แท้จริงขยะอินทรีย์มีที่ไป เมื่อคัดแยกจะต้องนำไปใช้ได้ บ้านเรือน เมื่อไม่มีการปลูกต้นไป อาจมีการรณรงค์เรื่องรถขยะ มีการรับซื้อขยะเพื่อทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น

ตัวอย่างจังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดเดียวที่ทั้งจังหวัดมีระบบทำอย่างไรถึงผลักดันให้จังหวัดอื่นเป็นอย่างนี้ได้บ้าง

ประชาชนมีการต่อต้านในพื้นที่รอบบ่อขยะ ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนถ้ามีให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและมีการทำความเข้าใจเกิดขึ้นแล้ว ก็จะไม่เกิดการต่อต้าน

9. ปัญหาการคัดแยกขยะเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะพลาสติกกับอินทรีย์ ถ้าเอาไปให้โรงปูนเผาเครื่องแยกจะแยกลำบาก จะอำนวยความสะดวกอย่างไร

จากประสบการณ์บริษัทขายพลาสติกทั่วโลก เม็ดพลาสติดชีวภาพมีราคาสูงกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไป การทำการตลาดในประเทศไทย มีปัญหาเรื่องราคา ทุกคนบอกว่าดีหมดแต่ไม่ยอมจ่าย อย่างเกาหลี หรือไต้หวันจะบังคับใช้ถ้าจะให้มีการใช้อย่างแพร่หลายอาจมีการเก็บภาษีซึ่งก็สามารถช่วยได้

10. จิตสำนึก มีแคมเปญออกมามากมายแต่วันนี้ควรตระหนักหรือไม่ ขอสนับสนุนแนวคิดที่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมและผลิตภัณฑ์ ในระยะเดียวกัน ช่วงแรกอาจเป็นถุงหูหิ้ว ถุงร้อน ถุงเย็น

การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศโดยไม่มีสถาบันหรือองค์กรตรวจสอบอาจต้องมีการปรับปรุงระเบียบกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการอะไรเลยศุลกากรจะมีมาตรการทดสอบสินค้าทางเทคนิคและสินค้ามือ 2 อยู่ จึงควรมีมาตรการตรวจสอบสินค้า

ดร.จีระ เสริมว่าต้องมีและทำให้สำเร็จ

11. การรณรงค์เรื่องการลดขยะจากต้นทางให้เก็บจากปริมาณขยะว่าบ้านไหนขยะเยอะ หารปริมาณคนที่อยู่ในบ้านจะช่วยลดปริมาณในการสร้างขยะขึ้นมา

การจัดการขยะเป็นการลดค่ามีเทนจากการเผาขยะถือว่าเป็นการช่วยลดมลพิษ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อยากตั้งมูลนิธิใบตอง

สิ่งแวดล้อมอยู่ที่ Political Supportโดยเฉพาะรัฐบาลสนับสนุนก็ทำเลย ต้องเน้นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ต้องการเงินจากเขา แต่ต้องการปัญญาจากเขา ทำไมใบตองไม่กลับมา

12. สิ่งที่เกิดขึ้นจากโรงงาน 40 โรงที่นำสู่มาตรการผังเมืองเป็นข้อฟ้องร้อง หลายเรื่องที่ผู้แทนให้ความเห็นมา เครื่องมือกลไกและปัญหาอุปสรรคมีอะไรบ้าง ให้ใส่เป็นประเด็น Hi - light ให้มีกลไกที่ชัดเจนสู่การปฏิบัติด้วยแผนบริหารราชการแผ่นดินมาจากนโยบายรัฐบาล มีกี่ข้อที่เข้ากับนโยบายกระทรวงทรัพย์ แล้วจับมาเข้ากับแผนราชการแผ่นดิน และแผนชาติ จะบรรจุแผนที่ 12 ในแผนราชการแผ่นดินด้วยในนี้จะมีเรื่องกลไกงบประมาณที่ผูกกับกระทรวงทรัพย์ฯ และแผนชาติ ควรให้มีความชัดเจน ซึ่งขึ้นอยู่กับการดำเนินการในรอบที่ผ่านมา กลไกที่ทำอยู่จะช่วยแก้ปัญหาระดับชาติอย่างไร

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ประเด็นหารือวันนี้

1. การจัดการขยะต้นทาง เก็บรวบรวม เก็บขน สู่ทำลายในระบบ Logistic ยังเป็นปัญหาอยู่ ยังจัดการได้ไม่ดี

2. ภาพ Macro ในระดับประเทศ และ Micro ในระดับชุมชนมีการบริหารจัดการขยะ 3 แนวคือ

1. ขยะประโยชน์ที่สามารถนำไป Recycle 2.ขยะที่ต้องกำจัด3. ขยะติดเชื้อหรืออุตสาหกรรม

3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

- ภาครัฐ มีเรื่องนโยบาย ทำอย่างไรให้มีนโยบายในการปราบปรามอย่างแท้จริงแผนยุทธศาสตร์น่าจะมีการผลักดันให้กระทรวงอื่น ๆ เช่นกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงท่องเที่ยว กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ ทำอย่างไรให้นโยบายได้มีการปรับตามความเป็นจริง

- กฎหมายแม้ว่าจะมีอยู่แล้วควรมีการบังคับใช้และปรับแก้ เช่นกฎหมาย 3 R กฎหมายระหว่างประเทศ ให้เข้าถึงพวกกากอุตสาหกรรม

- การเพิ่มกฎระเบียบ การบังคับใช้และการกำกับดูแล การคอรัปชั่น

- การเพิ่มพันธมิตร หรือบูรณาการในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

- ภาควิชาการ ภาคเศรษฐกิจ

- ภาคประชาชนให้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ให้มีการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง

- การนำเสนอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ให้หลายฝ่ายเข้ามาร่วมมือกัน

วิธีการ

มีการเขียน มีการทำอยู่แล้ว ทำอย่างไรถึงตรงนโยบายความเป็นจริง เพิ่ม Stakeholder หรือผู้รับผิดชอบไปได้

ทำให้ต่อเนื่องและทำอย่างไรให้สำเร็จ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า การทำให้สำเร็จต้องพัฒนาให้ตนเองมีศักยภาพ และสามารถเผชิญกับภาวะวิกฤตได้ ให้เป็นในลักษณะ Overcome difficulty

13. อยากให้ดึงโครงการตาวิเศษกลับมาเป็น Symbolic

ขอยอ อยากฝากไว้

อย่ายำ อย่าโยน อย่ายักยอก

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/585583

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2015 เวลา 15:56 น.  
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > การประชุมกลุ่มย่อย ด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง การจัดการขยะสู่เส้นทางความยั่งยืน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8557700

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า