อย่าให้พืชเฉพาะถิ่นของไทยสูญพันธุ์

บทความเรื่อง Act now to save Thailand’s threatened plant species ลงใน นสพ. บางกอกโพสต์ วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ ระบุพืชใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย ๓ ชนิด คือ พลับพลึงธาร (Crinum thaianum) พบเฉพาะที่ระนองและพังงา กับ หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิด Nepenthes suratensis พบเฉพาะถิ่น ที่สุราษฎร์ธานี และอีกชนิดคือ Cryprocoryne loeiensis (ค้นชื่อไทยไม่พบ) พบเฉพาะถิ่นในแม่น้ำโขงที่ อ. เชียงคาน จ. เลย

พืชเหล่านี้เสี่ยงสูญพันธุ์เพราะการพัฒนาของภาครัฐ แบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดัง ข้อมูลนี้

ผมแปลกใจ ที่คนลุกขึ้นมาโวยเป็นฝรั่ง

นี่คือพืชเฉพาะถิ่น อยู่ในพื้นที่ที่มีระบบนิเวศน์จำเพาะ คือน้ำขึ้นน้ำลงประจำปี มีช่วงน้ำขึ้น และต้นพืชแช่น้ำอยู่นานหลายเดือน สลับกับหน้าแล้งยาว พืชต้องอยู่ในช่วงพัก หากมีการทำลาย ระบบนิเวศน์แบบนั้น พืชชนิดนั้นก็สูญพันธุ์

ผมมองว่า นี่คือโอกาส พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ คือโอกาสให้ทุนวิจัยขยายพันธุ์ สร้างระบบนิเวศน์จำลอง เพื่ออนุรักษ์ และจำหน่ายพันธุ์ เป็นธุรกิจเชิงนิเวศน์

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มิ.ย. ๕๘