Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๕๒. ประชุมเตรียม PMAC 2016 ที่นิวยอร์ก.

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๕๒. ประชุมเตรียม PMAC 2016 ที่นิวยอร์ก.

พิมพ์ PDF

การประชุมนี้ เป็นภาคต่อเนื่องจากการประชุมที่โตเกียว เมื่อวันที่ ๑๖ - ๑๘ เมษายน ๒๕๕๘

การประชุมจัดระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ โดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์เป็นเจ้าภาพ จัดประชุมที่ Rockefeller Foundation Headquarters 420 Fifth Avenue ตัดกับ 38th Street (ไม่ใช่ที่ Rockefeller Center ซึ่งเป็นย่านธุรกิจ และสถานที่ท่องเที่ยว) เป็นการประชุม ๓ ประชุมติดต่อกัน คือวันที่ ๒๖ - ๒๗ ประชุม Coordinators, วันที่ ๒๘ ประชุม Joint Secretariat, วันที่ ๒๙ ประชุม IOC ครึ่งวัน

การประชุม PMAC 2016 นี้ ชื่อเรื่องคือ Priority Setting for Universal Health Coverageอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ หากจะให้มีการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า ก็ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญว่าจะให้ความคุ้มครองการดูแลสุขภาพเรื่องอะไรบ้าง ที่เรียกว่า benefit package โดยที่เครื่องมือของการจัดลำดับความสำคัญก็คือ HTA (Health Intervention and Technology Assessment)

ผมไม่เคยเข้าประชุม coordinators ของการประชุมแต่ละ session เช่นนี้มาก่อนเลย มาเห็นผู้ประสานงานของแต่ละ session นำเสนอ โดยมีเอกสารให้อ่านล่วงหน้า แล้วผู้ประสานงานแต่ละ session สรุปต่อที่ประชุมซึ่งมีเกือบ ๓๐ คน และมีประชุมแบบ teleconference มาจากลอนดอนคนหนึ่ง และจากวอชิงตัน ดีซี อีกคนหนึ่ง หลังจาก ผู้ประสานงานสรุป ก็ให้คนอื่นๆ ในที่ประชุมซักถามและให้ความเห็นตามด้วยการให้ผู้ประสานงานสรุปว่าจะปรับปรุง session นั้นอย่างไรบ้าง

ทีมงานละเอียดรอบคอบมาก คอยช่วยกันตรวจสอบว่าทีมวิทยากรของแต่ละ session มีความสมดุลในเรื่องเพศ, ประเทศพัฒนาแล้ว - กำลังพัฒนา, ภาครัฐ - ภาคอุตสาหกรรม - ภาคประชาชน - ภาคสื่อมวลชน

coordinators ที่มาร่วมประชุมมีความแตกต่างกันมาก และมีประสบการณ์สูง ส่งผลให้การประชุมสร้างสรรค์มาก จึงเป็นประเด็นเรียนรู้สำหรับผมอย่างยิ่ง อย่างในเช้าวันที่ ๒๗ Dr. Leonardo Cubillos จากประเทศ โคลอมเบีย แห่งธนาคารโลก เสนอประเด็นการประชุม Parallel Session เรื่อง Human Rights เกี่ยวกับ right to health ชี้ให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ปกป้องสิทธิต่อสุขภาพของพลเมืองด้วย ๒ วิธี คือ (๑) ออกกฎหมาย (๒) ใช้กระบวนการจัดลำดับความสำคัญ

ที่ผมตื่นตาตื่นใจคือมุมมองต่อการปกป้องสิทธิต่อสุขภาพที่ละเอียดลึกซึ้งมาก เช่น ไม่ถูกโฆษณาชวนเชื่อแบบไร้หลักฐาน ที่มั่นคงสนับสนุน เปิดโอกาสให้บุคคลปฏิเสธไม่รับบริการบางแบบ เรื่องสิทธิที่จะไม่ถูกปู้ยี่ปู้ยำด้วยเหตุผลว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี แล้วหาทางยัดเยียดให้แก่ประชาชน เป็นการบังคับกลายๆ ให้รัฐต้องจ่าย

สิทธิที่สำคัญที่พูดกว้างๆ แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดคือสิทธิที่จะได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมกัน ระหว่างคนจนกับคนรวย และระหว่างคนในชนบทกับคนในเมือง

วันที่ ๒๘ เป็นการประชุม Joint Secretariat Meeting คนที่มาประชุมเป็นหน้าเดิมเกือบทั้งหมด แต่ส่วนหนึ่งกลับไปก่อน และมีเพิ่มมา ๒ คน คนหนึ่งจากเกาหลี อีกคนหนึ่งคือ นพ. วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.

ถึงตอนนี้ โครงสร้างการประชุมก็เป็นรูปเป็นร่างเกือบเป็นชุดสุดท้ายแล้ว มี 5 plenary, 3 Parallel Session ในแต่ละช่วง มี ๕ ห้องพร้อมกัน มีการอภิปรายวิธีดึงดูดผู้เข้าร่วมประชุมให้อยู่ถึงวันสุดท้าย ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ (๓๑ มกราคม ๒๕๕๙) ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ

วันที่ ๒๙ เป็นการประชุม IOC – International Organizing Committee ที่มีผู้ใหญ่จาก co-host มาประชุมเพิ่มขึ้นหลายคน จาก WB, Gates Foundation, Chattham House, USAID, และจากกระทรวงสาธารณสุขของไทย (ท่านรองปลัดฯ นพ. สุริยะ วงศ์คงคาเทพ) โดยที่ PMAC 2016 มี co-host ถึง ๑๐ หน่วยงาน ได้แก่ CGD, WHO, WB, JICA, USAID, CMB, RF, NICE, Bill & Melinda Gates Fdn, และ NECA ของเกาหลี หลายคนในที่ประชุมมาประชุมตั้งแต่ ๓ วันแรก จึงรู้เรื่องดี แต่ก็มีอีกหลายคน ที่เพิ่งมาประชุมในวันที่ ๔ ซึ่งเป็นการประชุม IOC จึงมีการซักถาม หรือแนะนำเพิ่มขึ้นอีกมาก

จากคำอภิปรายของผู้แทน People’s Health Movement ทำให้ผมได้เข้าใจว่า เป้าหมายของ priority-setting อย่างหนึ่งคือ equity นำไปสู่ประเด็น equity ในโลก ที่ต้องใส่ใจ priority ต่อประเทศ/สังคม ยากจน ให้มาก

มีการพูดถึง priority-setting ที่ระดับเล็กกว่าประเทศ เช่นระดับชุมชน ซึ่งที่จริงในสังคมไทยมีตัวอย่างดีๆ มากมาย ที่ อบต. ใช้ข้อมูลเพื่อจัดลำดับความสำคัญในการใช้ทรัพยากรเพื่อดูแลสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ของตน

การอภิปรายของเหล่านักพัฒนาทั้งหลายที่มาทำหน้าที่กรรมการ IOC ทำให้ผมได้เข้าใจว่า วิชาการด้าน priority-setting มอง priority-setting ว่าเป็นกระบวนการที่เลื่อนไหล ไม่ใช่คงที่ เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา และตามบริบท และจะต้องมี องค์ประกอบต่อไปนี้ (1) accountability (2) equity (3) transparent (4) ใช้ evidence (5) คำนึงถึง social determinants of health และอื่นๆ

สรุปในภาพรวมได้ว่า การประชุมเพื่อเตรียมการ PMAC 2016 ที่ดำเนินการมาถึงขั้นนี้ มีความก้าวหน้าดีมาก มีการกำหนดปฏิทินการทำงาน เพื่อให้ coordinator ของแต่ละ session และของแต่ละ co-host ส่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งถ้าเขาไม่ส่งตามกำหนด ทีมงานของ อ. บุ๋มก็จะติดตามทวงเอาจนได้

ผมได้เห็นบรรยากาศของความเป็นเจ้าของ PMAC ร่วมกัน และได้เห็นนักวิชาการไทยทำงานร่วมกับฝรั่ง อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ น่าชื่นใจมาก

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/592372

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 15 กรกฏาคม 2015 เวลา 21:42 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๕๒. ประชุมเตรียม PMAC 2016 ที่นิวยอร์ก.

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8589948

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า