Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > บทความของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท > พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม The Ethical Power

พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม The Ethical Power

พิมพ์ PDF

วันที่ 13 ธันวาคม 2558 มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการสัมมนาสาธารณะ (Public Seminar) เรื่อง "พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม" ณ.หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) กิจกรรมนี้จัดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง "สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy

กิจกรรมเริ่มในเวลา 14.00 น กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ฯ โดย รศ.ดร.ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กล่าวต้อนรับโดย ศ.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.30-15.30 น เสวนา "พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม" โดย ท่านผู้หญิง วิวรรณ เศรษฐบุตร  ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี  รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ รศ.สุขุม นวลสกุล ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์พิชญ์ภูรี อาจารย์สุุภวัส วรมาลี

เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง ของการเสวนา เป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าอย่างมาก เต็มไปด้วยสาระและความรู้ที่ไม่สามารถหาได้ง่ายๆ วิทยากรทุกท่านได้ทำการบ้านและเตรียมตัวมาอย่างดี ตรงประเด็น เข้าใจง่าย มีเหตุผล และสิ่งอ้างอิง แต่ละท่านได้พูดในสิ่งเดียวกัน แต่ไม่ซ้ำกัน ตรงประเด็น และที่สำคัญคือการโยงให้ผู้รับฟังเข้าใจถึงเนื้อหาสาระในหนังสื่อ "พลังแห่ง คุณธรรม จริยธรรม" ที่อาศัยกิจกรรมนี้ร่วมเปิดตัวหนังสือไปด้วย (เนื้อหาและรายละเอียดของหนังสือจะนำเสนอในภายหน้า)

ท่านหญิง วิวรรณ เศรษฐบุตร ธิดาของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้พูดถึง เสด็จพ่อ "พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" ระหว่างที่ทรงงาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ.2506-2514)

ศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี  เริ่มรับราชการในตำแหน่ง เศรษฐกรโท สังกัดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมาได้โอนมาสังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ในตำแหน่งอาจารย์ และได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งฝ่ายบริหารหลายตำแหน่ง อาทิ หัวหน้าภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์ฯ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นจึงลาออกเพื่อรับตำแหน่ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. 2543

อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัย 2 ครั้ง ในช่วงต่อเนื่องจากศาสตราจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 และต่อเนื่องจากศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย ในปี พ.ศ. 2525 ต่อจากนั้นได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว นับเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในขณะที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดตั้งคณะใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ตลอดจนยังเป็นผู้ที่ริเริ่มการขยายการเรียนการสอนไปยังศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติอีกด้วย

ท่าน ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ได้เปิดเรื่อง "พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม โดยอ้างอิงจากหนังสือ "จึงเกิดมนุษย์เผ่าพันธ์ใหม่" ด้วยอำนาจการปรุงแต่งที่ผิดธรรมชาติทางสายพันธ์เทคโนโลยี โดย พระอาจารย์ อารยะ วังโส วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย์ จังหวัดลำพูน (รายละเอียดจะนำเสนอในบทความต่อไป) หลังจากนั้นท่านได้กล่าวอ้างอิงถึง ความรุ้สึกของท่านที่มีต่อ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ศาสตราจารย์ พัตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์

รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ท่านได้ตอบคำถามของท่านผู้ดำเนินรายการ "อะไรคือ "พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม" คำถามสั้นๆนี้ทำให้ท่านต้องอดนอนเนื่องจากต้องไปค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆเพื่อมาตอบคำถามนี้  ในที่สุดท่านก็ได้รับคำตอบโดยยึดแหล่งที่มาจาก 2 แห่ง แห่งแรกได้จากอริสโตเติล และอีกแหล่งมาจากไหนผมจำไม่ได้ แต่เป็นเรื่องของสัตว์ประเสริฐซึ่งก็ตรงกับของอริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ .ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์และสัตว์มีพันธุกรรมที่เหมือนกันมากถึง 90% ส่วนอีก 10 % ที่มนุษย์มีเหนือกว่าสัตว์ ก็คือ จริยธรรมและคุณธรรม ดังนั้นคนส่วนมากจึงเป็นคนที่มีพันธุกรรมเช่นเดียวกับสัตว์ ซึ่งไม่มี จริยธรรม และคุณธรรม สรุปจริยธรรม และคุณธรรม มาจาก

1.ใฝ่หาความรู้ชั่วนิรันด์  (ปัญญา)

2.ทำกับคนอื่นเหมือนกับที่เราอยากให้คนอื่นทำกับเรา (อัตตา / จริยธรรม)

3..มีความกล้า / พอดี  ไม่บ้าระห่ำ และไม่ปอดแหก (คุณธรรม)

พลังปัญญา คิดดี / โปร่งใส / ใจสูง

คนส่วนใหญ่จึงมีพันธุกรรมเช่นเดียวกับสัตว์ ซึ่งขาดจริยธรรม และคุณธรรม ที่เหลือเป็นคนที่มีเพิ่มอีก 10% ที่เหนือกว่าสัตว์ หรือที่เรียกว่าสัตว์ประเสริฐ ที่มีจริยธรรมและคุณธรรม

ผมได้ค้นหาข้อมูลตามทฤาฎีของอาริสโตเติล เพิ่มเติมดังนี้

    วิญญาณของพืชทำหน้าที่ดูดซับอาหาร (Nutritive Soul) วิญญาณของสัตว์นอกจากทำหน้าที่หล่อเลี้ยงชีวิตแล้ว ยังสามารถรับรู้โลกภายนอกได้ด้วยผัสสะ (Sensitive Soul) ส่วนวิญญาณของมนุษย์ นอกจากทำหน้าที่สองอย่างนั้นแล้ว ยังสามารถคิดอย่างมีเหตุผลด้วยพุทธิปัญญา (Nous) ซึ่งอริสโตเติลเรียกวิญญาณนี้ว่า Rational Soul

    อริสโตเติลเชื่อว่า วิญญาณของมนุษย์มีวิญญาณเดียว (ไม่แบ่งเป็นวิญญาณย่อยเหมือนกับเพลโต) เป็นวิญญาณที่มีสมรรถภาพในการรับรู้และการคิด แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

    ระดับ 1  เป็นความสามารถรับรู้โลกภายนอกด้วยผัสสะ

    ระดับ 2  ส่งต่อไปยังศูนย์ควบคุมและประสานงานอยู่ที่หัวใจ

    ระดับ 3  ทำหน้าที่จินตนาการเพื่อสร้างภาพเลียนแบบ

    ระดับ 4  เป็นสมรรถภาพในการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อเตรียมพร้อมในการคิดถึงสิ่งสากลหรือแบบ (Potential Reasoning) อันถือว่าเป็นเหตุผลแฝงกับสมรรถภาพในการทำหน้าที่คิดเพื่อทำความรู้จักกับสิ่งสากล เหตุผลจริง (Actual Reason)

    ในบรรดาสมรรถภาพของวิญญาณ ทั้ง 4 ระดับ วิญญาณส่วนที่ทำหน้าที่รับผัสสะ และผัสสะที่ทำหน้าที่ร่วมกับจินตนาการจะดับสลายไปพร้อมกับร่างกาย แต่วิญญาณแห่งเหตุผลจริง (Actual Reason) เป็นวิญญาณอมตะนิรันดร กลับไปรวมอยู่กับโลกแห่งแบบ

    อริสโตเติลแบ่งคุณธรรมออกเป็น 2 ประเภท

    1. คุณธรรมด้านพุทธิปัญญา (Intellectual Virtue)

    2. คุณธรรมด้านศีลธรรม (Moral Virtue)

    ปัญญาเชิงทฤษฎี + ปัญญาเชิงปฏิบัติ

    ธรรมชาติของมนุษย์มีอยู่สองระดับ คือ ไม่มีเหตุผลและมีเหตุผล ซึ่งแต่ละระดับจะมีความดีที่เกี่ยวข้องอยู่กับคุณธรรม

    ความดีทางศีลธรรมจะประกอบด้วยคุณธรรม เช่น ความกล้าหาญ ความรู้จักประมาณ ความกรุณา และความมีใจกว้าง เป็นต้น

    ระดับมีเหตุผล เป็นการคิดและการไตร่ตรองความจริง โดยคุณธรรมระดับนี้จะมีคุณค่าในตัวมันเอง ไม่ได้มีนัยสำคัญตามหลักศีลธรรม เพราะเมื่อธรรมชาติของมนุษย์ทั้งสองระดับทำงานร่วมกัน หลักศีลธรรมเป็นเพียงสิ่งที่เป็นไปได้เท่านั้น

รศ.สุขุม นวลสกุล ท่านเพิ่งมาทราบว่าจะต้องขึ้นเวทีเสวนาเมื่อท่านมาถึงสถานที่สัมมนา อย่างไรก็ตามท่านได้กล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับหนังสือและท่านอธิการบดีทั้ง 4 ท่านที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบของผู้ที่มีจริยธรรม และคุณธรรม ได้อย่างน่าฟัง แต่ผมจำรายละเอียดไม่ได้

ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านได้หล่าวถึงเหตุผลที่ได้จัดพิมพ์หนังสือ "พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม"

โปรดติดตามบทความต่อเนื่องอีก 2บทความ คือ "จึงเกิดมนุษย์เผ่าพันธุ์ใหม่" และ Press Release ในการเปิดตัวหนังสือ "พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

14 ธันวาคม 2558

 
Home > Articles > บทความของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท > พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม The Ethical Power

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591501

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า