Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF
การเรียนไม่ได้ขึ้นกับการคิดเชิงเหตุผลเท่า นั้น นศ. จะผูกพันกับการเรียนเมื่อเรียนอย่างเป็นองค์รวม คือ Cognitive learning (เมื่อ นศ. คิดอยู่กับเรื่องที่กำลังทำ), Affective learning (นศ. รู้สึกสนุก และพุ่งความสนใจ), และ Psychomotor learning (ลงมือทำกิจกรรม)

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 19. เคล็ดลับส่งเสริมการเรียนอย่างเป็นองค์รวม (๒)

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด    จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley ในตอนที่ ๑๙ นี้ ได้จากบทที่ ๑๑ ชื่อ Tips and Strategies to Promote Holistic Learning   โดยในตอนที่ ๑๘ ได้บันทึก คล. ๔๓ - ๔๘ ไปแล้ว    ในตอนที่ ๑๙ นี้จะเป็น คล. ๔๙ - ๕๐

การเรียนไม่ได้ขึ้นกับการคิดเชิงเหตุผลเท่านั้น   นศ. จะผูกพันกับการเรียนเมื่อเรียนอย่างเป็นองค์รวม   คือ Cognitive learning (เมื่อ นศ. คิดอยู่กับเรื่องที่กำลังทำ), Affective learning (นศ. รู้สึกสนุก และพุ่งความสนใจ), และ Psychomotor learning (ลงมือทำกิจกรรม)

 

คล. ๔๙  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายด้วย

นศ. สมัยนี้นั่งนิ่งๆ นานๆ ไม่เก่ง   และได้บันทึกแนะนำการกิจกรรมละลายพฤติกรรม   กิจกรรมกลุ่มย่อย และกิจกรรมให้ นศ. เคลื่อนไหวไปแล้ว    ต่อไปนี้เป็น ๔ กิจกรรมเพิ่มเติม ที่เสนอให้นำไปปรับใช้

  • กิจกรรมปาลูกบอลล์ ถือเป็นกิจกรรมกึ่งทบทวนสาระ กึ่งปลุกให้ตื่น   เป็นกิจกรรมที่ครูให้ นศ. ทำหลังจากได้ผ่านการเรียนแบบที่ต้องใช้สมองมาก จนรู้สึกล้า     ทำโดยให้ นศ. ยืนเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากัน    ครูปาลูกบอลล์เด็กเล่น ไปยัง นศ. คนหนึ่ง    นศ. ที่โดนปาต้องพูด ๒ ประโยค    (๑) ในการเรียนที่เพิ่งผ่านมา ประเด็นใดสำคัญหรือตนสนใจเป็นพิเศษ  (๒) ประเด็นใดยังไม่ชัดเจน    แล้วปาคนต่อไป

จนครบ

  • กิจกรรมการอภิปรายแบบ snowballing ทำโดยฉายประเด็นคำถามที่จะให้อภิปรายคำตอบขึ้นจอ   ให้ นศ. นึกสักครู่    แล้วจับคู่อภิปรายกัน ให้เวลา ๕ นาที    แล้วจับกลุ่ม ๔  ให้เวลา ๑๐ นาที    ต่อด้วยกลุ่ม ๘  ให้เวลา ๒๐ นาที   เช่นนี้ไปเรื่อยๆ คือจำนวนสมาชิกกลุ่มเพื่มขึ้นเท่าตัว และเวลาสำหรับอภิปรายแลกเปลี่ยน ก็เพิ่มขึ้นเท่าตัวด้วย    ทำเช่นนี้จนกลายเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งห้อง

เขาบอกว่า กิจกรรมที่เปลี่ยนสภาพกลุ่มไปเรื่อยๆ เช่นนี้ ทำให้เกิดสภาพที่ นศ. ได้รับการปลุกให้ตื่นตัว

  • กิจกรรม snowball ทำโดยตั้งคำถามให้ นศ. ตอบลงบนกระดาษ    แล้วปั้นกระดาษเป็นลูกบอลล์ และปาไปมาเป็นเวลา ๑ นาที    เมื่อครูบอก “หยุด” นศ. ผลัดกันอ่านคำตอบจากกระดาษในมือให้เพื่อนฟัง

วิธีนี้เหมาะแก่การให้ นศ. เปลี่ยนอิริยาบท ในคาบการเรียนนานๆ

  • กิจกรรม ค็อกเทล ปาร์ตี้ ให้ นศ. ยืนคุยกับเพื่อน แบบจับกลุ่มตามสบาย และเคลื่อนตัวเปลี่ยนกลุ่มไปเรื่อยๆ    เพื่อคุยกันในประเด็นคำถามหรือการเรียนรู้ที่ตกลงกัน   ครูคอยดูแลว่า นศ. ได้รู้จักกันทั้งห้อง   โดยทำหน้าที่ “เจ้าภาพ”  คอยแนะนำให้ นศ. รู้จักกัน และคุยกัน    ครูอาจทำหน้าที่ เสิร์พ เครื่องดื่ม (ไม่ผสมแอลกอฮอล์) และของว่าง

กิจกรรมเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อทำให้ นศ. ได้เรียนรู้ตามจริตของตน หรือของคนสมัยใหม่    ที่นั่งเรียนนานๆ ไม่เก่ง    ต้องการการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนอิริยาบท และการสังสรรค์    หากนำมาใช้ใน นศ. ไทย ควรพิจารณาปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม นศ. ไทย

 

คล. ๕๐  นำเสนอเอกสารรายวิชาแบบรูปภาพหรือกราฟฟิก

ปัญหาของ นศ. ปัจจุบันคือไม่ชอบอ่านตัวหนังสือยาวๆ    และมีการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า นศ. จำนวนมากไม่ได้อ่านเอกสารรายวิชา    ทำให้ขาดข้อมูลประกอบการเรียนของตน    ดังนั้นจึงมีคนแนะนำให้เขียนเอกสารอธิบายรายวิชาเป็นตาราง หรือเป็นกราฟฟิก    ย่อลงในหน้าเดียว     เพื่อให้น่าอ่าน และดึงดูดจริตของ นศ. ในยุคปัจจุบัน

เขาให้ตัวอย่างการเขียนคำอธิบายรายวิชาชนชั้นทางสังคม เป็นแบบร้อยแก้ว  แบบเป็นตาราง  และแบบเป็นแผนผังหรือกราฟฟิกบอกความสัมพันธ์ของทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเกิดและดำรงอยู่ของความไม่เท่าเทียมกันในสังคม    ซึ่งเมื่อผมพิจารณาแล้ว เห็นว่าวิธีนำเสนอทั้ง ๓ แบบ ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน   คือหากมีทั้ง ๓ แบบ จะยิ่งช่วยเพิ่มความกระข่าง    แต่นี่คือความคิดของคนชอบอ่าน อ่านแล้วพิจารณา    หากต้องอนุโลมตามนิสัยของ นศ.  ก็น่าจะพิจารณาทดลองนำเสนอหลายแบบ แล้วให้ นศ. โหวด ว่าชอบแบบไหนมากที่สุด   เสนอแบบนี้ งานของครูเพิ่มขึ้น   แต่ก็อาจนำมาเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยการเรียนการสอนได้

 

เป็นอันว่า ได้นำเสนอเคล็ดลับ ที่อาจารย์ใช้ดึงดูดความสนใจของ นศ. รวม ๕๐ เคล็ดลับครบถ้วนแล้ว    โดยผม AAR ว่า เคล็ดลับส่วนใหญ่ อยู่บนฐานของบุคลิกลักษณะของ นศ. สมัยใหม่   ที่ไม่เหมือนคนสมัยที่ครูเป็นเด็ก   คนเป็นครูต้องทำหน้าที่ครูแก่ศิษย์โดยรู้ใจ และเอาใจศิษย์    ไม่ใช่สอนตามใจครู

หากเน้นสอนตามใจครู    นศ. ก็จะรู้สึกไม่สนุก และขาดความสนใจ

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๕

 

· เลขที่บันทึก: 504719
· สร้าง: 06 ตุลาคม 2555 17:19 · แก้ไข: 06 ตุลาคม 2555 17:20
· ผู้อ่าน: 47 · ดอกไม้: 4 · ความเห็น: 2 · สร้าง: 1 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
บันทึกที่เกี่ยวข้อง
 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5611
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8634984

facebook

Twitter


บทความเก่า