Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ไขปริศนา..เนรเทศปรีดี แต่โดนปฎิวัติกลับ นำสู่ประวัติศาสตร์ด้านมืดที่ถูกปิดบังมากว่า 80 ปี (ตอน 3)

ไขปริศนา..เนรเทศปรีดี แต่โดนปฎิวัติกลับ นำสู่ประวัติศาสตร์ด้านมืดที่ถูกปิดบังมากว่า 80 ปี (ตอน 3)

พิมพ์ PDF

นที่ 11 ธ.ค.57 ไขปริศนา..เนรเทศปรีดี แต่โดนปฎิวัติกลับ นำสู่ประวัติศาสตร์ด้านมืดที่ถูกปิดบังมากว่า 80 ปี (ตอน 3)

ตอนที่แล้ว ปรีดี ได้จัดทำโครงการเศรษฐกิจ "สมุดปกเหลือง" เสร็จ เขานำขึ้นทูลเกล้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงพิจารณา และยังได้ยื่นต่อคณะรัฐมนตรีอีกทางหนึ่งด้วย เพราะปรีดีต้องการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 พระองค์ท่านมีพระราชวินิจฉัย ไม่เห็นชอบด้วย เพราะกำลังนำพาประเทศไทยสู่ระบอบ “คอมมิวนิสต์” แบบรัสเซีย

ซึ่งพระยามโนปกรณ์ เองเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและคุณวุฒิสูง มีบุคคลิกพูดจาตรงไปตรงมาแบบขวานผ่าซาก ก็ไม่เห็นชอบด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับคอมมิวนิสต์นี้ ด้วยเช่นกัน จึงเป็นชนวนสำคัญ ที่ืทำให้เกิดการแตกแยกอย่างรุนแรง ระหว่างพระยามโนปกรณ์ กับคณะราษฎรฝ่ายปรีดี , ฝ่ายพระยามโนปกรณ์ ได้เก็บโครงการนี้เข้าลิ้นชัก ไม่ยอมนำเสนอต่อสภา

แม้สภาจะทวงถามหลายครั้ง พระยามโนปกรณ์ก็ถ่วงเวลา ด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา แม้กรรมการส่วนใหญ่เห็นชอบ กับโครงการเศรษฐกิจฉบับนี้ แต่พระยามโนปกรณ์ ก็ยังยืนยันให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างรัฐบาลเก่า คือรัฐบาลของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งยังขู่ว่า "หากจะให้ข้าพเจ้าทำในสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย ข้าพเจ้าก็ขอลาออก"

ปรีดี มีความเชื่อว่ากำลังทหารของกลุ่มบุคคลที่สนับสนุนตน มีมากกว่า และในสภา ส.ส.ส่วนใหญ่ นิยมสนับสนุนปรีดี และ พระยาพหล เพราะเป็นพวกสายล้มเจ้าเสียเป็นส่วนใหญ่ (คล้ายๆ เสื้อแดง เผาไทยในปัจจุบัน)

ฝ่ายพระยามโนปกรณ์เอง ก็มั่นใจว่าในคณะรัฐบาลฝ่ายตนก็มีมากกว่าฝ่ายปรีดี และมี 3 ทหารเสือ พระยาทรง พระยาฤทธิ์ และ พระประศาสน์ หนุนหลัง โครงการเศรษฐกิจของปรีดี จึงได้รับการคัดค้านจากคณะรัฐมนตรี แต่ได้รับความเห็นชอบ สนับสนุนจาก ส.ส.ในสภา สายล้มเจ้า อย่างท่วมท้น

วันที่ 1 เมษายน 2476 พระยามโนปกรณ์ ใช้อำนาจคณะรัฐมนตรี ออกพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร ยุบคณะรัฐมนตรี และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยมีเหตุผลว่า "... โดยที่ทรงดำรัสเห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรในขณะนี้ ประกอบไปด้วยสมาชิก ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะถึงเวลาอันควรที่จะโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรตั้งผู้แทนขึ้นมา

เพราะฉะนั้น จึงเป็นการไม่สมควร ที่สภาจะพึงดำริการเปลี่ยนแปลงนโยบายของประเทศ มาแต่โบราณกาล ณ บัดนี้ ปรากฏว่ามีสมาชิกเป็นจำนวนมากแสดงความปรารถนาอันแรงกล้า เพียรจะทำการเปลี่ยนแปลงไปในทางนั้น โดยวิธีการอันเป็นอุบายทางอ้อม ในอันที่จะข่มขู่ให้ดำเนินการไปตามความปรารถนาของตน

อันเป็นการไม่สมควร เห็นได้ชัดแล้วว่า จะนำมาซึ่งความไม่มั่นคงของประเทศ และทำลายความสมบูรณ์ ของประชาราษฎรทั่วไป..." ปรากฏว่า พระยามโนปกรณ์ ปลดคณะรัฐมนตรีครั้งนี้มี 5 คน คือ หลวงประดิษฐ์ฯ และผู้นิยมหลวงประดิษฐ์ฯ อีก 4 คน ส่วนพระยามโนปกรณ์ รับโปรดเกล้าเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3

วันที่ 6 เมษายน 2476 พระยามโนปกรณ์ ก็เรียกปรีดี ไปพบ ขอร้องให้ไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งเท่ากับเนรเทศนั่นเอง แต่รัฐบาลจะจ่ายเงินยังชีพให้ปีละประมาณ 10,000 บาท แม้กลุ่มผู้สนับสนุน ปรีดี จะคัดค้านเรื่องนี้อย่างรุนแรง ก็ไม่สามารถจะทำอะไร พระยามโนปกรณ์ ซึ่งคุมอำนาจเบ็ดเสร็จได้

วันที่ 12 เมษายน 2476 ปรีดี หัวหน้าขบวนการล้มเจ้า ถูกเนรเทศไปยังประเทศฝรั่งเศส และออกเดินทาง ที่ท่าเรือ บี.ไอ. ถนนตก กรุงเทพฯ ฝ่ายคณะราษฎร ซึ่งแม้จะเห็นใจปรีดี พากันไปส่งที่ท่าเรืออย่างพร้อมหน้า พระยาพหล กอดลาหลวงประดิษฐ์ฯ อย่างอาลัย แต่ก็ไม่มีใครช่วยอะไรได้

ในวันที่ปรีดี ออกเดินทางจากประเทศไทย พระยามโนปกรณ์ ยังได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นฉบับแรก ของไทย เป็นการตอกฝาโลง ไม่ให้ปรีดี เป็นคอมมิวนิสต์ พระยามโนปกรณ์ จึงกระทำรัฐประหาร ด้วยการใช้ "ปากกาด้ามเดียว" ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มคณะราษฎร ที่สนับสนุนปรีดี

ปรีดี ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ถึงการไปต่างประเทศครั้งนี้ ตอนหนึ่งว่า "...ข้าพเจ้าตั้งใจอยู่อย่างหนึ่งว่า จะไปต่อว่าศาสตราจารย์ ผู้สอนวิชาโภคกิจที่ขณะนี้ เป็นเสนาบดี กระทรวงการคลังของฝรั่งเศสด้วย ว่าข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามหลักวิชา ที่อาจารย์สอนให้ข้าพเจ้า ก็ไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลสยาม"

พระยามโนปกรณ์ ยังนำพระบรมราชวินิจฉัยของพระปกเกล้าฯ ซึ่งคัดค้าน โครงการเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ ของหลวงประดิษฐ์ฯ มาตีพิมพ์เป็นสมุดปกขาว ออกจ่ายแจกประชาชน ให้รู้ถึงแผนการร้ายของปรีดี ต่อประเทศชาติ , แม้เสี้ยนหนามทางการเมือง คือ ปรีดี หลุดพ้นไปแล้ว แต่ พระยาทรง ที่แปรพักตร์สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ ยังเดินเกมส์รุกต่อไปอีก

ทางด้านการทหารยังมีพระยาพหล อยู่อีกคน ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พระยาทรง พร้อมด้วย 2 ทหารเสือ จึงไปเยี่ยมพระยาพหล บ่อยขึ้น และชวนให้วางมือด้วยกันทั้งหมด ลาออกจากทั้งตำแหน่งรัฐมนตรี และทางการทหาร พระยาพหล หลงเชื่อยอมลาออกตาม

พระยาทรง ซึ่งยังเดินหมากอยู่อย่างลับ ๆ จัดการย้ายคนของพระยาพหล ออกจากหน่วยคุมกำลังทั้งหมด โดยเฉพาะ หลวงพิบูล (จอมพล ป.) ซึ่งได้ก้าวขึ้นมาเป็นเสืออันดับ 2 ของคณะราษฎร รองจากพระยาพหล ถูกสั่งย้ายจากทหารปืนใหญ่ ไปอยู่พลาธิการ หน่วยช่วยรบ ที่ไม่มีกำลังอาวุธ

คณะราษฎร ฝ่ายพระยาพหล เห็นว่าถ้าพลาดจากก้าวนี้อีกก้าวเดียวเท่านั้น พระยามโนปกรณ์ และพวก ก็อาจนำการปกครองถอยเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชได้อีก และเมื่อนั้น คณะราษฎรฝ่ายไม่จงรักภักดี จะต้องหัวขาดกันเป็นแถว

วันที่ 19 มิถุนายน 2476 กลางดึกพระยาพหลก็ทำการปฏิวัติ รถถัง รถเกราะ จึงสตาร์ทเครื่องอีกครั้ง และเข้าคุมจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ อย่างฉับไว จนฝ่ายพระยาทรง ขยับตัวไม่ทัน ทหารกลุ่มหนึ่ง ถือหนังสือไปพระยามโนปกรณ์ นายกรัฐมนตรีให้เซ็นลาออก เมื่อเผชิญหน้ากัน พระยามโนปกรณ์ บอกด้วยอารมณ์เครียดว่า

"..จะพูดกันเสียตรง ๆ ก็ไม่เห็นจะขัดข้องอะไร ผมเองก็เคยปรารภว่าจะลาออกมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็เสียคำอ้อนวอนจากคณะทหารไม่ได้ จึงต้องทนรับราชการต่อไป ด้วยความเอือมระอาจนบัดนี้ เพราะฉะนั้น ความมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ ถ้าจะบอกให้ทราบเรื่องกันมาก่อน ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีการยึดอำนาจดังนี้ เพราะผมก็มีปากกาอยู่อันเดียวเท่านั้นเอง"

หลังถูกบีบบังคับลาจากตำแหน่งแล้ว พระยามโนปกรณ์ ก็หลบไปพักผ่อน อย่างเงียบ ๆ ที่ชะอำ และลี้ภัยออกไปนอกประเทศโดยทางรถไฟสายใต้ พระยามโนปกรณ์ ก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม ในวันที่ 1 ตุลาคม 2491 จบบทบาท นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

วันที่ 20 มิถุนายน 2476 การรัฐประหารพระยามโนปกรณ์สำเร็จ ถัดมาอีกวันเดียว จอมพล ป.ครองอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และผลักดันจะเชิญปรีดี กลับมาจากฝรั่งเศษอยู่ในคณะรัฐบาล การทำหน้าที่ของเขาไม่ราบรื่นนัก เนื่องด้วยประสบกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กำลังจะเกิดขึ้น

แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลง และทรงยินยอมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยแล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงเป็นห่วงว่าประชาชนจะมิได้รับอำนาจการปกครอง ที่พระองค์ทรงพระราชทานให้โดยผ่านทางคณะราษฎรอย่างแท้จริง

พระองค์จึงทรงใช้ความพยายามที่จะขอให้ราษฎร ได้ดำเนินการปกครองประเทศ ด้วยหลักการแห่งประชาธิปไตย ตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง แต่พระองค์ก็มิได้รับการตอบสนองใด จากรัฐบาลของคณะราษฎร มีแต่จะกดขี่ราษฎรยากจนของพระองค์หนักมากขึ้นไปอีก บีบคั้นเสรีภาพของพลเมือง เพื่อบีบบังคับให้พระองค์ช้ำใจ และทนไม่ไหว

คณะราษฎร ยกย่องบูชาปรีดีอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทิศทางทางการเมืองของสยามขณะนั้นโน้มเอียงไปทางคอมมิวนิสต์ กองทัพแม้ว่าจะจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ แต่ก็ขาดหลักการ และผู้นำที่เข้มแข็ง ปรีดี จึงเป็นผู้ควบคุมในทางเป็นจริง และใช้พระยาพหลฯ เป็นนอมินี

สิงหาคม 2476 รัชกาลที่ 7 ทรงมีจดหมาย และบันทึกส่วนพระองค์ ถึงนายเจมส์ แบ๊กซเตอร์ ที่ปรึกษารัฐบาลไทยด้านการคลังชาวอังกฤษ ทรงแสดงความเห็นว่าปรีดี ต้องการให้สยามกลายเป็น “สาธารณรัฐสังคมนิยม…โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” กำลังวางแผนที่จะทำลายพระราชวงศ์ และหลอกล่อให้พระองค์เองสละราชสมบัติ

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จออกมาประทับภายนอก พระบรมมหาราชวัง มาสร้างวังสระปทุม พระองค์โปรดให้ปลูกพืชผักหลายชนิด เช่น กล้วย มะม่วง ขนุน รวมทั้งพระราชทานผลผลิตทางการเกษตรเหล่านั้นไปยังวังเจ้านายต่าง ๆ

ส่วนที่เหลือ เช่น ใบตอง เชือกกล้วย กล้วยสุก ได้นำออกจำหน่ายได้รายได้ปีหนึ่ง ๆ เป็นเงินหลายร้อยบาท โดยส่วนหนึ่งพระองค์ ทรงใช้สำหรับเลี้ยงดูข้าราชบริพารและทะนุบำรุงวังสระปทุม บรรดาที่ดิน วัง สถานที่สำคัญหลายแห่งก็ถูกคณะราษฎร์ยึด แถมบางที่ก็ถูกทุบทิ้งโดยไม่สนคุณค่าใดๆ

ตรงข้ามวังสระปทุม เคยมีวังกลางทุ่ง หรือ วังวินเซอร์สยาม ของเจ้าฟ้าวชิรุณหิต กลุ่มคณะราษฎร ได้ตั้งใจทุบทำลายวังกลางทุ่งทิ้ง เพียงเพื่อต้องการสร้างสนามกีฬาที่มีชื่อหลวงศุภชลาศัย ผู้ก่อการฝ่ายทหารเรือ ทั้งที่ห่างออกไปอีกไม่มากเป็นทุ่งนาแต่ไม่เอา

จงใจจะเอาวังนี้ให้ได้ สร้างความโทมนัส แก่สมเด็จพระพันวัสสา ฯ ยิ่งนัก ด้วยวังนี้ถือเป็นตัวแทนของพระราชโอรส ของพระองค์ที่สวรรณคต ขณะยังทรงพระเยาว์ พระองค์ได้ยินเสียงทุบวังทุกวัน ทุบวังก็เหมือนทุบตี รังแกหัวใจของพระองค์

คณะราษฎร์ได้ยึด วังของเจ้านายหลายพระองค์ เช่น วังบางขุนพรหม ตรงวังแดง ตรงข้ามกระทรวงศึกษา กระทรวงศึกษา ยึดเอาที่ดินของพระคลังข้างที่ มาขายกันถูกๆ เช่น ริมถนนพหลโยธิน ตั้งแต่อนุเสาวรีย์ชัยไปจนถึงหลักสี่ ห้าแยกลาดพร้าว แดนเนรมิต

พระยาพหลพล ยังรังแกเชื้อพระวงศ์ไม่สาแก่ใจ ได้ยึดวังปารุสกวัน จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เอาไปเป็นที่พำนักของตนเองหน้าตาเฉย และรัฐบาลยุคนั้นยังใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงพระมหากษัตริย์ ต่างๆ นาๆ อย่างมาก เพื่อบีบบังคับให้สละราชสมบัติ

นายถวัติ ฝ่ายปรีดี ได้หมิ่นพระราชอำนาจ ฟ้องร้องพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จากกรณีที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้าน แผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ (ปรีดี) ที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" ส.ส.หลายคนอภิปรายพาดพิงไปถึงสถาบันด้วยถ้อยคำจาบจ้วงรุนแรง เหมือนกุ๊ยด่ากันในซอย ประชาชนส่วนใหญ่ที่ยังคงจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัวก็ไม่พอใจคณะราษฎรมากขึ้น

วันที่ 11 ตุลาคม 2476 เพียง 11 วันหลังจากปรีดีเดินทางกลับสยาม ทำให้บทบาทไม่มั่นคงของพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ต่อมาเกิดความไม่พอใจ ต่อการยึดอำนาจของพระยาพหลพล ลงเอยด้วยรัฐประหารซ้อน ที่เรียกว่า “กบฏบวรเดช” โดยมีบุคคลคณะหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง

แผนของพระยาศรีสิทธิสงคราม ซึ่งวางกลยุทธไว้ว่าจะใช้วิธีจู่โจมจับคนสำคัญในคณะรัฐบาล ซึ่งขณะนั้นมีที่พักรวมกันอยู่ในวังปารุสกวัน โดยจะใช้ทหารหัวเมืองชั้นใน ที่อยู่ในคาถาของตนเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน จี้รถไฟมาลงที่สถานีจิตรลดาแล้วตรงเข้ายึดวังปารุสก์

โดยทหารในพระนครอีกส่วนหนึ่งที่คุยๆ กันไว้แล้ว อย่างพันตรีหลวงวีรโยธา ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 6 (ปัจจุบันคือ พล.1) ซึ่งตั้งอยู่หลังวังปารุสก์นั่นเอง จะเข้าสกัดหากมีฝ่ายรัฐบาลเคลื่อนพลออกมาต่อสู้ แต่พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกลาโหม ทรงเห็นว่า ถ้าบุกเข้าตีรังแตนตรงๆ อย่างนั้น คงจะได้มีเลือดตกยางออกแน่

ทรงมีแนวความคิดแค่ให้ระดมกำลังทหารหัวเมือง มาแสดงพลังให้มากที่สุด โดยยึดดอนเมืองเป็นฐาน เอากำลังพลที่เยอะกว่าขู่ให้ทหารฝ่ายรัฐบาลใจฝ่อ หลังจากนั้นจึงทำการเจรจาบีบให้รัฐบาลถอดใจลาออก จะได้จบกันไปโดยดี แบบไม่มีใครเสียเลือดเนื้อให้พระเจ้าอยู่หัวต้องเสียพระทัย

โดยทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้รู้ล่วงหน้าถึงการกบฏครั้งนี้ถึง 2 วัน เมื่อพระยาพหล นายกรัฐมนตรีได้ไปตรวจเยี่ยม มณฑลทหารราชบุรี จู่ ๆ นักบินผู้หนึ่งชื่อ ร.อ.ท. ขุนไสวมัณยากาศ ได้บังคับเครื่องบินลงจอดที่สนาม และได้ยื่นจดหมายฉบับหนึ่งให้แก่ พระยาสุรพันธเสนี สมุหเทศาภิบาลมณฑล

แล้วแจ้งว่าเป็น สาสน์จากพระองค์เจ้าบวรเดช พระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นต่อหน้า ก็เดาออกทันทีว่าเป็นสาสน์ที่ส่งมา เพื่อเชิญชวนให้ก่อการกบฏ จึงรีบเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในวันรุ่งขึ้นเพื่อดำเนินการต่อต้านทันที ฝ่ายรัฐบาล สั่งให้ยึดเอาลูกกระสุนปืนใหญ่ ฝ่ายก่อการทันที

เดิมแผนการจะเริ่มขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2476 โดยจะลงมืออย่างรวดเร็ว แต่เมื่อปฏิบัติจริงกลับถูกเลื่อนออกไปหนึ่งวัน จึงเปิดโอกาสให้ทางฝ่ายรัฐบาลได้มีเวลาตั้งตัวได้ติดและโต้กลับอย่างรวดเร็ว คณะรัฐบาลแต่งตั้ง หลวงพิบูล (จอมพล ป.) เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม พร้อมรถ ปตอ. และรถถัง บรรทุกรถไฟ ยกออกไปปราบปราม

พระองค์เจ้าบวรเดช บรรดานายพล และ นายทหารอื่นๆ ที่โดนปลด นำทหาร หัวเมืองจำนวนหนึ่ง เช่น โคราช เพชรบุรี , อุดร เดินทัพเข้ากรุงเทพ โดยหวังให้ทหารกรุงเทพ ที่สนิทกับพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม ไม่ร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล

ทหารกรุงเทพ หันไปร่วมมือกับรัฐบาลจอมพล ป. เนื่องจากฝ่ายทหารโคราชยืนยันเอาพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ทหารกรุงเทพ ต้องการ เนื่องจากทหารกรุงเทพนับถือ พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม มากกว่า พลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช

การยิงกันครั้งแรกเริ่มที่ อำเภอปากช่อง แล้วมีการจับคนของรัฐบาลเป็นเชลยที่โคราช คณะกู้บ้านกู้เมือง ได้ยกกองกำลังเข้ามาทางดอนเมือง และยึดพื้นที่เอาไว้ และเรียกแผนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยใช้กองกำลังทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้าล้อมเมืองหลวงว่า “แผนล้อมกวาง”

หลวงอำนวยสงคราม เพื่อนของหลวงพิบูล เพราะถูกยิงตาย ในรถจักรดีเซลไฟฟ้า ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งหลวงเสรี เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาล มาเจรจาให้ฝ่ายกบฏเลิกราไปเสีย และจะขอพระราชทานอภัยโทษให้ แต่ทางฝ่ายกบฏได้จับตัวหลวงเสรี ไว้เป็นตัวประกัน

และได้ส่ง พระยา พระยาเทเวศวร และเรือเอกเสนาะ เป็นคนกลาง ถือหนังสือของพระองค์เจ้าบวรเดชมาเจรจากับรัฐบาล โดยยืนเงื่อนไขทั้งหมด 6 ข้อ คือ

1. ต้องจัดการในทุกทางที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน

2. ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงของหมู่มาก

3. ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งหลาย และพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือลงไป ต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง

4. การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งราชการ จักต้องถือคุณวุฒิและความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมือง เป็นความชอบหรือเป็นข้อรังเกียจ ในการบรรจุเลื่อนตำแหน่ง

5. การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกจริง ๆ

6. การปกครองกองทัพบก จักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้รวมกำลังไว้เฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง

ซึ่งคำขอทั้งหมดนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลยืนกรานไม่ยินยอม จึงเกิดการต่อสู้กันของทั้งสองฝ่าย เกิดสงครามกลางเมือง โดยคณะปฏิวัติจึงเคลื่อนกำลังเข้าสู่พระนครทันที โดยยึดพื้นที่เรื่อยมาจากดอนเมืองถึงบางเขน

จอมพล ป. บัญชาการสู้ศึก โดยทางฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งกองอำนวยการปราบกบฏขึ้น ที่สถานีรถไฟบางซื่อ (ข้างโรงงานปูนซีเมนต์ไทยในปัจจุบัน) โดยกำลังทหารปืนใหญ่จากนครสวรรค์ ซึ่งขณะนั้นยกกำลังมาเพื่อสมทบกับกำลังฝ่ายปฏิวัตินั้น ได้ถูกกองกำลังฝ่ายรัฐบาล ที่สถานีโคกกระเทียม ตีสกัดไว้จนถอยร่นกระจายกลับคืนไป

ส่วนพระยาเสนาสงคราม แม่กองได้พยายามหนีเล็ดลอดลอบมาสมทบได้ในภายหลัง กองทหารเพชรบุรี ก็ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลที่ราชบุรี ตีสกัดกั้นไว้ที่สถานีบ้านน้อย (สถานีเขาย้อย) ไม่สามารถจะผ่านมารวมกำลังกับฝ่ายปฏิวัติได้

ส่วนทางกองทหารจากปราจีนบุรี ไม่มั่นใจว่าฝ่ายกบฏ จะได้รับชัยชนะเหนือรัฐบาล จึงประกาศแปรพักตร์เข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาล ทำการปราบปรามฝ่ายปฏิวัติเสียอีกด้วย เหตุการณ์ระส่ำระสายทำให้ฝ่ายปฏิวัติ สูญเสียกำลังใจในการสู้รบเป็นอย่างมาก

มีการสู้รบบนท้องถนนในหลายเมือง ทั้งสองฝ่ายต่างช่วงชิงการรับรองจาก รัชกาลที่ 7 ที่พระองค์ กับ พระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ประทับ ณ วังไกลกังวล เพื่อให้พ้นจากอันตรายทั้งสองฝ่าย ซึ่งพระองค์ทรงวางท่าทีเป็นกลางทางการเมือง

วันที่ 14 ตุลาคม ฝ่ายกบฏก็ยังคงปักหลักต่อสู้อย่างเหนียวแน่น ณ สถานีรถไฟหลักสี่ มีกำลังทหารม้าจำนวน 5 กองร้อย ของนครราชสีมา ประจำแนวรบ แม้จะมีปืนกลอยู่เพียง 5 กระบอกเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ยังสามารถรุกไล่ทหารฝ่ายรัฐบาลถอยร่น จนเข้ายึดคลองบางเขนไว้ได้อีกครั้งหนึ่ง

วันที่ 15 ตุลาคม ฝ่ายรัฐบาลได้หนุนกำลัง พร้อมอาวุธหนักนำขึ้นรถไฟ มีทั้งรถเกราะและปืนกล รุกไล่ฝ่ายปฏิวัติจนเกือบประชิดแนวหน้า ฝ่ายปฏิวัติซึ่งเป็นรองทั้งกำลังสนับสนุนและอาวุธต่าง ๆ จำเป็นต้องถอยกลับ และเมื่อเพลี่ยงพล้ำ ฝ่ายกบฏได้ใช้หัวรถจักรฮาโนแม็กเปล่า ๆ เบอร์ 277 พุ่งชนรถไฟของกองทัพรัฐบาล

จนมีทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก เช่น หลวงกาจสงคราม ก็หูขาดจากการครั้งนี้ โดยคนขับเป็นสารวัตรรถจักรภาคอีสาน กรมรถไฟหลวง ชื่อ อรุณ (ต่อมาถูกจับและนำส่งตัวไปเกาะตะรุเตา) และฝ่ายกบฎล่าถอยไปโคราช

เมื่อประเมินกำลังการต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลแล้ว เห็นว่าฝ่ายตรงข้ามมีกำลังเหนือกว่า พระองค์เจ้าบวรเดชก็สั่งให้ถอยทัพไปยึดช่องแคบสถานีปากช่อง เตรียมการต่อสู้กับรัฐบาลต่อไป

ขณะที่เคลื่อนกำลังถอยไปนั้น ก็ได้ทำการระเบิดทำลายสะพาน และทางรถไฟเสียหายหลายแห่ง เพื่อเป็นการประวิงเวลาการติดตามรุกไล่ของฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายปฏิวัติถูกกำลังฝ่ายรัฐบาลติดตามปราบปรามถึงสถานีหินลับ-ทับกวาง และปากช่อง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก

วันที่ 23 ตุลาคม พระองค์เจ้าบวรเดช และพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม และต่อไปยังประเทศกัมพูชาตามลำดับ และฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายปฏิวัติได้สำเร็จในที่สุด

เมื่อกบฏบวรเดชเพลี่ยงพล้ำ เพื่อความปลอดภัยข้าราชบริพารพร้อมใจกันพา รัชกาลที่ 7 ระหกระเหิน โดยเรือศรวรุณ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ท่ามกลางสภาวะอากาศเลวร้ายใช้เวลากว่าสองวัน จึงถึงจังหวัดสงขลา ไปประทับ ณ ตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา

หม่อมเจ้าอัปษรสมาน ได้ทรงรับหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร (พระยศของสมเด็จพระราชินีขณะนั้น) ที่ยังพระเยาว์มีพระชนม์เพียง 1 พรรษา ตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ไปสงขลาด้วย และต่อมารัชกาลที่ 7 ทรงเสด็จพรมแดนมลายู ที่อังกฤษควบคุมอยู่ ภายหลังการสู้รบอย่างดุเดือด 2 สัปดาห์

ในที่สุดรัฐบาล โดยทหารรัฐบาลที่นำโดยหลวงพิบูล (จอมพล ป.) ก็สามารถปราบรัฐประหารของคณะกู้บ้านกู้เมืองได้สำเร็จ ประกาศชัยชนะ ผู้นำกบฏคณะกู้บ้านกู้เมือง เสียชีวิตไปหลายคน มีการจับกุม และกวาดล้างผู้ต้องสงสัยว่าจะร่วมมือกับคณะกู้บ้านกู้เมือง

จนในระยะนั้นประเทศไทยเป็นระบอบเผด็จการ อย่างแท้จริง ช่วงนั้นคณะราษฎร ฝ่ายมีอำนาจ จึงตกลงกันว่าหมดความตั้งใจที่จะร่วมงานกับพระมหากษัตริย์ จะเลิกล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ 7 ทรงแสดงความในพระราชหฤทัยครั้งนั้นว่า "ฉันไม่คิด ไม่รู้สึกอะไรทั้งนั้น ถ้าจะตายก็ตายด้วยกัน" เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่สะเทือนพระราชหฤทัยมาก

วันที่ 16 ธันวาคม 2476 ความวุ่นวายทางการเมือง ดำรงต่อไปอย่างยุ่งเหยิง จอมพล ป. ครองอำนาจตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 2 มีการแย่งชิงพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ เอาไปเป็นของส่วนตน ขุนนางเดิมถูกปลดออกจากราชการ โดยรับเพียงบำนาญ และเจ้านายบางพระองค์ถูกเรียกทรัพย์สินสมบัติคืนเป็นของแผ่นดิน

วันที่ 12 มกราคม 2477 รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และข้าราชบริพารจำนวนมาก เสด็จไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศในแถบยุโรป พร้อมทั้งเสด็จประทับที่ประเทศอังกฤษ เพื่อทรงเข้ารับการผ่าตัดและรักษาพระเนตร

ในการนี้ได้แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ โอรสอายุ 70 ปี ของรัชกาลที่ 4 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างนี้พระองค์ ยังทรงติดต่อราชการ กับรัฐบาลผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงดำริว่าจะสละราชย์สมบัติ เพราะหากกระทำการสละราชย์ในกรุงเทพ อาจมีถูกรัฐบาลขณะนั้น ทำร้ายพระองค์ได้

ช่วงนั้นรัฐบาลจอมพล ป. และปรีดี มีแผนจะสำเร็จโทษผู้มีส่วนร่วมในกบฏบวรเดช รัชกาลที่ 7 ทรงมีเมตตา จึงยังทรงยืนยันสิทธิตามโบราณราชประเพณี มีพระประสงค์ละเว้นคดีประหารชีวิต โดยต้องการให้รัฐบาลปล่อยนักโทษทางการเมืองในคดีกบฏบวรเดช หากไม่ตกลง พระองค์ก็พร้อมจะสละราชย์สมบัติ

รัฐบาลจอมพล ป. และปรีดี ยิ่งยโสในอำนาจ ไม่เกรงกลัวการสูญเสียการรับรองจากพระมหากษัตริย์อีกต่อไปแล้ว จึงปฏิเสธไปเกือบทุกข้อ และส่ง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขณะนั้น พร้อมกับหลวงธำรง และนายดิเรก เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ ที่อังกฤษ และกราบบังคมทูลให้เสด็จกลับประเทศไทย แต่การเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ

เอกสารหลักฐานเหตุการณ์ทั้งหมด ประชาชนสามารถไปตรวจสอบอ้างอิงได้ ที่หอจดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน "ความจริงไม่มีวันตาย" แม้ว่าจะผ่านไปนานสักเพียงใดก็ตาม ใครจะแก้ตัวอย่างไรก็ได้ แต่หอสมุดแห่งชาติได้บันทึกไว้สำหรับบอกต่อลูกหลานแล้ว

** เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 พระองค์จะต้องเผชิญอะไรในต่างแดน และนักการเมืองมีมูลเหตุจูงใจอย่างไร จึงกล้าสั่งสังหาร ร.8 อ่านตอนต่อไปคลิ๊กที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/298975886959112

คัดลอกจาก Facebook  แฉ.....ลับ @topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:29 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ไขปริศนา..เนรเทศปรีดี แต่โดนปฎิวัติกลับ นำสู่ประวัติศาสตร์ด้านมืดที่ถูกปิดบังมากว่า 80 ปี (ตอน 3)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8600787

facebook

Twitter


บทความเก่า