Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > Student Engagement Techniques บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

Student Engagement Techniques บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF
SET เหล่านี้จะใช้ได้ผลหรือไม่ได้ผล ย่อมขึ้นกับประสบการณ์และการสร้างสรรค์ของครูเองด้วย ใน SET ใด SET หนึ่ง หากครูสื่อสารกับ นศ. ไม่ดี บอกกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำไม่ชัดเจน หรือไม่เหมาะสม SET นั้นอาจไม่ได้ผลเลยก็ได้

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 20. เทคนิคดึงความสนใจ นศ.

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด    จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley ในตอนที่ ๒๐ นี้ ได้จากตอนที่ ๓ (Part Three) ชื่อ Student Engagement Techniques (SETs)

ตอนที่ ๓ นี้เสนอ SETs (Student Engagement Technique) รวมทั้งสิ้น 50 SET ที่ได้ผ่านการทดสอบภาคสนามว่าใช้ได้ผลดีมาแล้ว (ในบริบทอเมริกัน)    แต่ละ SET ส่งเสริม active learning โดยให้ นศ. ร่วมลงมือทำกิจกรรม เช่น อ่าน เขียน อภิปราย แก้ปัญหา หรือสะท้อนความคิด    แต่ละ SET ช่วยกระตุ้นแรงจูงใจ เพราะ นศ. รู้สึกสนใจ และเห็นว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณค่า

ศ. เอลิซาเบธ คิด SET ขึ้นมาจากแนวทาง CATs และ CoLTs และแนะนำให้ครูใช้ SET เหล่านี้เป็นคู่มือประกอบการสร้างสรรค์ในการทำหน้าที่ครูของตน   ไม่ใช่ใช้เป็นแม่แบบหรือพิมพ์เขียวในการดำเนินการ   คือให้เอาไปปรับใช้ เพื่อการสอนอย่างสนุกสนานและได้ผลดี

ดังนั้น SET เหล่านี้จะใช้ได้ผลหรือไม่ได้ผล ย่อมขึ้นกับประสบการณ์และการสร้างสรรค์ของครูเองด้วย    ใน SET ใด SET หนึ่ง หากครูสื่อสารกับ นศ. ไม่ดี   บอกกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำไม่ชัดเจน หรือไม่เหมาะสม SET นั้นอาจไม่ได้ผลเลยก็ได้

เขาบอกว่า SETs แตกต่างจาก CATs และ CoLTs   คือ CATs ช่วยให้ครูเก็บข้อมูล สำหรับช่วยประเมินและปรับปรุงการเรียน   หากครูทำตามแนวทาง ก็มั่นใจได้ว่าจะรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ได้แน่นอน

ส่วน CoLTs ออกแบบสำหรับช่วยครูให้วางโครงสร้างการเรียนรู้เป็นกลุ่ม   หากครูทำตามแนวทาง ก็จะมั่นใจได้ว่า นศ. จะเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มอย่างได้ผล   คือความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายกับผลลัพธ์ชัดเจนแน่นอนสำหรับ CATs และ CoLTs

แต่ในกรณีของ SETs  ความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายกับผลลัพธ์ ไม่แน่นอน   เนื่องจาก student engagement ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่าง แรงจูงใจ (motivation) และการเรียนแบบลงมือทำ (active learning)   และ แรงจูงใจ ก็เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ซับซ้อนหลากหลายภายในตัว นศ. แต่ละคน   ดังนั้น จึงไม่สามารถรับรองได้ว่า นศ. ในชั้นเรียนของครูจะได้ผลจากเทคนิคเหล่านี้

SETs ได้รับการออกแบบให้ส่งเสริมการเรียนแบบลงมือทำ    แต่สัจธรรมคือการคิดเป็นเรื่องภายใน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น และเป็นสิ่งที่ นศ. เป็นผู้ทำ    ดังนั้นจะทำหรือไม่ทำ นศ. เป็นผู้ตัดสินใจ ครูบังคับไม่ได้

สิ่งที่ครู เอลิซาเบธ รับรอง คือ SETs มีประวัติใช้ได้ผลดีมาล้ว  ว่า นศ. จะตั้งใจเรียน และพบว่าบทเรียนน่าสนใจ หรือสร้างแรงจูงใจต่อการเรียน

ครู เอลิซาเบธ บอกว่าที่มาของ SETs ได้จากหลากหลายแหล่งมาก    และผ่านการทดลองใช้ การตรวจสอบแนะนำให้ปรับปรุงจากหลากหลายทาง    ผู้เขียนได้ให้เอกสารอ้างอิง (ส่วนใหญ่เป็นหนังสือ) ในแต่ละ SET มากมาย   ผมจะนำมาให้ไว้เพียงชิ้นเดียว จากที่ผมพิจารณาว่าเหมาะสมต่อบริบทไทยมากที่สุด

ในหนังสือ มีการจัดเรียงบทตามเป้าหมายการเรียน   ที่แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มเป้าหมาย คือ  (๑) เพื่อให้ได้ความรู้ และทักษะ  (๒) เพื่อให้ได้เจตคติ คุณค่า และความมั่นใจตนเอง ในฐานะผู้เรียน

SETs ส่วนใหญ่เขียนในลักษณะของกิจกรรมที่ teacher-led แต่เวลาประยุกต์ใช้ ครูสามารถปรับให้เป็น student-led ได้ไม่ยาก   และ SETs ส่วนใหญ่เสนอในรูปของกิจกรรมกลุ่ม    แต่ครูสามารถปรับให้เป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้

ครู เอลิซาเบธ แนะนำให้ครูเลือกหยิบเอา SET ใดไปใช้ก่อนก็ได้ ตามความเหมาะสมต่อการเรียนของ นศ.   ไม่ต้องเรียงลำดับก่อนหลังตามในหนังสือ

แต่ละ SET มีโครงสร้างการเขียนแบบเดียวกัน   เพื่อบอกวิธีดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน   มีการให้ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในต่างวิชา ในต่างสาขาวิชาการ    มีการให้คำแนะนำการใช้ใน online learning   มีคำแนะนำวิธีดัดแปลงให้เหมาะสมต่อแต่ละสถานการณ์   และมีข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม   ปิดท้ายด้วยรายการ key resources สำหรับค้นคว้าเพิ่มเติม

วิจารณ์ พานิช

๗ ต.ค. ๕๕

 

 

 

· เลขที่บันทึก: 504762
· สร้าง: 07 ตุลาคม 2555 07:37 · แก้ไข: 07 ตุลาคม 2555 07:37
· ผู้อ่าน: 41 · ดอกไม้: 2 · ความเห็น: 1 · สร้าง: 1 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > Student Engagement Techniques บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5611
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8635239

facebook

Twitter


บทความเก่า