Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ไขปริศนา..ลับที่สุด ปรีดี กำกับเข้มปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 สวรรคต (ตอน 2

ไขปริศนา..ลับที่สุด ปรีดี กำกับเข้มปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 สวรรคต (ตอน 2

พิมพ์ PDF

วันที่ 16 ธ.ค.57 ไขปริศนา..ลับที่สุด ปรีดี กำกับเข้มปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 สวรรคต (ตอน 2

ตอนที่แล้วเล่าถึงแผนการของปรีดี ที่มักใหญ่ไฝ่สูง สั่งให้นายเฉลียว คนสนิท นำรถพระที่นั่งของรัชกาลที่ 8 ไปใช้ส่วนตัว ต่อมา ปรีดี ร.อ.วัชรชัย นายเฉลียว นายชิต ประชุมเตรียมการกันถึง 5 ครั้งที่บ้าน พล.ร.ต.กระแส ครั้งสุดท้ายมี นายชาติ และมือปืนรับจ้าง นายสี่ หรือ ชูรัตน์ ร่วมด้วย

ช่วงที่ นายเฉลียว เป็นราชเลขานุการในพระองค์ ได้จัดพรรคพวกของตนเข้ามารับราชการเพิ่มเติม เช่น นายนเรศร์ เป็นหัวหน้ากองมหาดเล็ก แทนเจ้าหมื่นสรรเพชญภักดี ต่อมารัชกาลที่ 8 มีพระราชประสงค์ให้เปลี่ยนตัวนายเฉลียวไป

นายนเรศร์ จึงทำหนังสือฟ้อง ปรีดี คัดค้านว่าไม่ควรปลดนายเฉลียว ต่อมา รัชกาลที่ 8 ทรงเห็นว่านายนเรศร์ เป็นผู้ไม่เหมาะสมทำราชการหัวหน้ากองมหาดเล็ก จึ่งให้ไปทำหน้าที่อื่น ปรีดี จึงจัดการให้นายนเรศร์ไปรับตำแหน่ง เลขานุการนายกรัฐมนตรี ไปอีกคน..โห้

วันที่ 3 มิถุนายน 2489 สืบเนื่องจากรัฐบาลคณะราษฎร์ เลือกข้างญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ฆ่าคนจีนตายมากกว่า 3 แสนคน ข่มขืนหญิงจีนอีก 2 หมื่นคน ในไทยจึงเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายจีน จนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อรัชกาลที่ 8 ทรงทราบเรื่อง มีพระราชดำริว่า

หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร แต่รัฐบาลปรีดี ขัดขวางและทัดทานอ้างว่าจะไม่ปลอดภัย แต่ความจริงคือเกรงว่าพระองค์จะทำสำเร็จ และรัฐบาลจะเสียสถานะต่อสังคม

รัชกาลที่ 8 พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลย จึงใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง เสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งด้วยพระบาท เป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จครั้งนี้ เป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นระหว่างคนไทย และคนจีน ให้หมดไปเป็นปลิดทิ้งมาจนถึงบัดนี้ ทำให้ปรีดี และคณะราษฎร นักการเมือง ถึงกับอึ้งมาก

วันที่ 5 มิถุนายน 2489 รัชกาลที่ 8 ทรงเริ่มวางรากฐานต้นมะม่วงทางการเกษตร โดยทรงพระราชกรณียกิจ หว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 8 มิถุนายน 2489 หลังเลือกตั้งได้สภาผู้แทน ส.ส.ใหม่ ที่เป็นนอมินี ได้เลือกปรีดี เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 อีกครั้ง..บัดนี้อำนาจพร้อม เขามีความมั่นใจแล้วที่จะคิดการร้ายแรงใหญ่ ในสิ่งที่คนไทยทุกคนไม่คาดคิดมาก่อน ว่าจะมีอสูรกายร้าย คิดทำเช่นนี้กับพระมหากษัตริย์ไทย

มีการถกเถียงระหว่างปรีดี และรัชกาลที่ 8 ในเรื่องคณะผู้สำเร็จราชการฯ ในการจะตั้งใครเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กรณีพระองค์กลับไปศึกษาต่อต่างประเทศ ปรีดี ได้พูดกับนายวงศ์ เป็นภาษาไทย ปนอังกฤษความว่า “ต่อไปนี้จะไม่คุ้มครองราชย์บัลลังก์”

ก่อนวันสวรรคตรัชกาลที่ 8 วันนี้เอง นายสี่ หรือชูรัตน์ ได้บอกแก่ ร.ต.กรี ว่า นายชาติ พวกของปรีดี ได้ว่าจ้างเขาให้ยิงคนสำคัญ สัญญาให้ค่าจ่าง 4 แสนบาท และเขารับปากไว้แล้ว

รัชกาลที่ 8 ทรงพระประชวรเกี่ยวกับพระนาภี ทรงเสด็จไปเสวยพระกระยาหารเช้า และกลางวันตามปกติ ส่วนพระกระยาหารค่ำ สมเด็จพระราชชนนี รับสั่งให้จัดมาเสวยร่วมที่ห้องทรงพระสำราญ พร้อมถวายพระโอสถและอื่น ๆ ทรงงดเสด็จงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระองค์เจ้าอาทิตย์ และงานที่กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

หลวงนิตย ถวายตรวจพระวรกาย ปรากฏมีพระอาการไข้เล็กน้อย ขอให้สมเด็จพระราชชนนี ถวายพระโอสถแก้ไข้ ตอนค่ำถวายสวนล้างพระนาภี และตอนเช้าถัดไปถวายน้ำมันละหุ่งอีกครั้งหนึ่ง จนเสด็จเข้าที่พระบรรทม เมื่อเวลา 21.00 น.

เวลา 20.00 น. พระอนุชา เสด็จแทนพระองค์ เพื่อพระราชทานเพลิงพระศพ พระองค์เจ้าอาทิตย์ นายเฉลียว เรียกเจ้าหมื่นสรรเพชญภักดี เข้าไปหา โดยมีพระพิจิตร นั่งด้านขวา เจ้าหมื่นสรรเพชญภักดีถามขึ้นว่า ทำไมรัชกาลที่ 8 จึงไม่เสด็จ พระพิจิตร ตอบว่า ประชวร เจ้าหมื่นสรรเพชญภักดีถามว่า ประชวรอะไร พระพิจิตร ตอบว่า เกี่ยวกับพระนาภี

นายเฉลียว พูดเอียงตัวยื่นปากมาใกล้ ๆ ทางเจ้าหมื่นสรรเพชญภักดีว่า "ไม่ได้กลับ" , พันเอกประพันธ์ มางานนั้น เขาถามนายเฉลียวว่า "ทำไมจึงไปกำหนดวันเสด็จวันที่ 13 มิถุนายน เพราะเขาสงสงสัยเป็นเลขที่ฝรั่งเขาถือ นายเฉลียวตอบว่า "ไม่ได้ไปหรอก" พันเอก ประพันธ์ถามว่า "เพราะเหตุอะไร" นายเฉลียวตอบว่า "คอยดูไปก็แล้วกัน"

หลังเวลา 21.00 น. เมื่อรัชกาลที่ 8 เสด็จเข้าที่บรรทมแล้ว นายบุศย์ เป็นผู้ลงกลอนที่ฉากด้านในพระที่นั่ง คืนนั้น ร.อ.วัชรชัย ได้พา นายสี่ หรือ ชูรัตน์ มือปืนที่รับงานให้ยิงคนสำคัญ แต่ไม่บอกว่าใคร เข้าไปในวังมีผู้ที่รอรับอยู่ คือ นายชิต นายบุศย์

แต่พอนายสี่ เห็นเป้าหมายงานรับจ้างของเขา เป็นรัชกาลที่ 8 เขาแทบเข่าอ่อน ไม่กล้ายิง จึงรีบหลบหนีออกมาจากวังทันที (คำบอกเล่าจาก นายสี กับ ร.ต.กรี) ทำให้แผนการแรกผิดพลาดในนาทีสุดท้าย สร้างความปวดหัวให้ ปรีดี ร.อ.วัชรชัย นายเฉลียว นายชิต นายบุศย์ นายชิตมาก จึงตัดสินใจให้ ร.อ.วัชรชัย ลงมือในเช้าวันถัดไปอีกครั้ง

วันที่ 9 มิถุนายน 2489 รัชกาลที่ 8 ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน อยู่ทางริมด้านตะวันออก ส่วนพระชนนี และพระอนุชา ประทับคนละด้านกัน คือ ทางริมฝ่ายด้านตะวันตก (ห่างไปอีก 40 เมตร) เวลาราว 06.00 น. สมเด็จพระราชชนนี ได้เสด็จไปปลุกบรรทม รัชกาลที่ 8

รับสั่งถามว่า “หลับดีไหม” ทรงตอบว่า “หลับดี” สมเด็จพระราชชนนี ถวายน้ำมันละหุ่งผสมกับบรั่นดี แล้วรัชกาลที่ 8 ทรงรู้สึกว่ายังใคร่จะทรงบรรทมต่อ สมเด็จพระราชชนนีเสด็จกลับไป ขณะนั้น มหาดเล็กห้องพระบรรทมยังไม่มีใครมา

เวลาราว 06.15 น. ร.อ.วัชรชัย ก็ดำเนินการณ์ตามแผนสอง ให้ ส.ต.สวัสดิ์ (พยาน) คนขับรถเขาขับรถไปส่งเขา ที่หน้าสวนสราญรมย์

เวลาราว 07.15 น.นายบุศย์ มหาดเล็กประจำห้องพระบรรทม เวรประจำจึงมาถึง และนั่งเฝ้าอยู่ตามหน้าที่ตรงระเบียง หน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์ ซึ่งเป็นทางเข้าสู่ห้องพระบรรทม ตามแผนการที่สอง ที่นัดแนะกันไว้แต่กับ ร.อ.วัชรชัย แต่เมื่อคืนก่อนหน้า

เวลาราว 08.00 น. ร.อ.วัชรชัย เข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เขานั่งรถยนต์ ไปลงที่กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อถึงเวลา 08.15 น. ช่วงจังหวะไล่เลี่ยกัน นายชิต ผู้มีหน้าที่อยู่เวรคอยเฝ้าอารักขา ได้เดินมารอ นั่งอยู่คู่อยู่ กับนายบุศย์ และซุบซิบกัน

เวลาราว 08.50 น. นายจรูญ (พยาน) ทำงานอยู่ที่กรมราชองครักษ์ เห็น ร.อ.วัชรชัย เดินมาอยู่หน้าโรงละคร หลังพระที่นั่งบรมพิมาน และนายประสิทธิ์ (พยาน) มหาดเล็ก ที่อยู่ชั้นล่างของพระที่นั่งบรมพิมาน ได้เห็น ร.อ.วัชรชัย ยืนอยู่ระหว่างโรงละคร กับ หอโหร

จากนั้น ร.อ.วัชรชัย เดินตรงไปยังพระที่นั่ง ขณะนั้นรัชกาลที่ 8 ยังไม่เสด็จจากพระแท่นบรรทม นายบุศย์ และนายชิต มีหน้าที่อยู่เวรคอยเฝ้าอารักขาพระองค์ แต่เขากลับเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการลอบปลงพระชนม์ พวกเขาทำหน้าที่ “ดูต้นทาง” ให้ ร.อ.วัชรชัย ผ่านเข้ามาทางระเบียงหลังพระที่นั่ง และเข้าสู่ห้องพระบรรทม ขณะรัชกาลที่ 8 ทรงบรรทมอยู่ และแอบอยู่ภายในห้องหาจังหวะลงมือ

ราว 08.57 น. เวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง สมเด็จพระราชอนุชา เสด็จไปที่ระเบียงหน้าพระทวาร ห้องแต่งพระองค์ ทรงรับสั่งถามนายชิต และนายบุศย์ ว่า รัชกาลที่ 8 มีพระอาการเป็นอย่างไร ทั้ง 2 คนให้คำตอบว่า ทรงตื่นบรรทมแล้ว เข้าห้องสรงแล้วกลับเข้าพระที่อีก เอาน้ำส้มไปถวายก็โบกพระหัตถ์ไม่ต้องพระประสงค์

สมเด็จพระราชอนุชา ก็เสด็จกลับยังห้องพระบรรทมของพระองค์เอง ทางริมฝ่ายด้านตะวันตก (ห่างไปอีก 40 เมตร) ส่วนนายบุศย์ เข้าไปหยิบถ้วยน้ำส้มคั้น เพื่อนำไปถวาย แต่เมื่อรัชกาลที่ 8 เสด็จออกจากห้องสรงแล้ว ก็เสด็จกลับเข้าห้องบรรทม ประทับอยู่บนพระแท่นบรรทมในท่านั่ง หันพระพักตร์ไปทางปลายพระแท่น

ราว 09.10 น. ร.อ.วัชรชัย ที่ซ่อนตัวอยู่ แอบไปด้านหลัง แล้วจ่อลั่นไกอาวุธ “ปืนพาราเบลั่ม” หนึ่งนัดที่พระเศียร ภายในห้องพระบรรทม จากนั้นผู้สมรู้ร่วมคิดได้ช่วยกันจัดฉากท่าทางพระองค์อย่างเร่งรีบให้เสมือนปลงพระชนม์เอง เมื่อเรียบร้อยแล้ว ร.อ.วัชรชัย รีบเดินลงบันไดพระที่นั่งบรมพิมาน ด้านหลังไปอย่างรีบร้อน โดยมีหนอนบ่อนใส้ทั้ง 2 คน เป็นผู้ดูต้นทาง

ตอนนั้นเช้าแล้ว จึงมีนายช่วง (พยาน) กำลังถอนหญ้าข้างพระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อเขาได้ยินเสียงปืน 1 นัด จึงเดินไปเพื่อจะเอากระป๋องบัวตักน้ำไปเก็บที่โรงละคร เขาเห็น ร.อ.วัชรชัย เดินแกมวิ่งผ่านโรงละครไปจนลับตา

สมเด็จพระราชชนนี ที่กำลังจะเสด็จออกจากห้องบรรทมของพระองค์ ไปเสวยพระกระยาหารเช้าได้ยินเสียงปืน ขณะนั้น นายชิต แสร้งวิ่งไปกราบทูลว่า " รัชกาลที่ 8 ทรงยิงพระองค์" สมเด็จพระราชชนนี ก็ทรงวิ่งไปที่ห้องบรรทมทันที

พระอนุชา ประทับอยู่ในห้องเครื่องเล่น ซึ่งอยู่ติดกับห้องบรรทมของรัชกาลที่ 8 ระยะทางห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 40 เมตร ทรงเห็นคนวิ่งผ่านไปทางระเบียงหน้า และได้ยินเสียงสมเด็จพระราชชนนี วิ่งไปพร้อมทรงกรรแสง จึงทรงเสด็จออกจากห้องตามไป แล้วได้พบกับ น.ส.จรูญฯ ที่หน้าห้อง

ได้ตรัสถามว่า “มีเหตุอะไรเกิดขึ้น” น.ส.จรูญ เพราะอารามตกใจ จึงจำคำกล่าวของนายชิต ที่กราบทูลต่อสมเด็จพระราชชนนีมาบอกพระอนุชา ตอบว่า “ทรงยิงพระองค์” จากนั้น สมเด็จพระราชอนุชา พร้อมทุกคน คือ นายชิต น.ส.เนื่อง และ น.ส.จรูญ ตามติด ๆ เข้าไปในห้องพระบรรทมของ รัชกาลที่ 8

ร่าง พระองค์ บรรทมหงายบนพระแท่น พระเศียรหนุนพระเขนย ดุจบรรทมหลับอย่างปกติ มีผ้าดอกคลุมพระองค์อยู่เรียบตั้งแต่เหนือพระอุระ ตลอดลงไปจนถึงข้อพระบาท กึ่งกลางของผ้าอยู่กึ่งกลางของพระองค์พอดี ชายผ้าทั้งสองข้างล้ำพระองค์ออกมาพอ ๆ กัน มีพระโลหิตไหลโทรมพระพักตร์ลงมาที่พระเขนย และผ้าลาดพระยี่ภู่

พระเศียรตะแคงไปทางด้านขวาเล็กน้อย เหนือพระโขนงซ้ายมีแผลกระสุนปืน หนังฉีกเป็นแฉกคล้ายเครื่องหมายคูณ กว้างยาวประมาณ 4 เซนติเมตร พระเนตรทั้งสองหลับสนิท ไม่ได้ทรงฉลองพระเนตร เพราะวางอยู่บนโต๊ะเล็กข้างประแท่น พระเกศาแสกเรียบอยู่ในรูปที่เคยทรง พระโอษฐ์ปิด

พระกรทั้งสองเหยียดทอดทับนอกผ้าคลุมพระองค์ แนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ในท่าธรรมดา พระบาททั้งสองเหยียดทอดชิดกัน อยู่ห่างจากปลายพนักพระแท่นประมาณ 7 เซนติเมตร มีปืนขนาด “สิบเอ็ด ม.ม.” (คนละชนิดกับของ ร.อ.วัชรชัย) วางอยู่ข้างพระกรซ้าย ลำกล้องขนาน และห่างพระกร 1 นิ้ว ปากกระบอกหันไปทางพระบาท ศูนย์ท้ายของปืนอยู่ตรงระดับข้อพระกร (ข้อศอก)

ขณะที่ทุกคนกำลังตกตะลึง น.ส.เนื่อง จึงเข้าจับชีพจรที่ข้อพระหัตถ์ซ้าย ยังเต้นแรง และเร็วอยู่สักครึ่ง หรือหนึ่งนาทีก็หยุดเต้น น.ส.เนื่อง เกรงจะไม่ปลอดภัย แก่สมเด็จพระราชชนนี ซึ่งยังคงซบพระพักตร์อยู่ที่พระชงฆ์ ของรัชกาลที่ 8 จึงใช้สามนิ้ว จับกลางกระบอกปืนนั้นขึ้นหยิบย้ายปืนไป วางบนหลังตู้เล็กข้างพระแท่น แต่กระบอกปืนกลับไม่ร้อน และไม่มีอะไรเปื้อนเปรอะ

ต่อมาราว 20 นาที หลวงนิตย์ เร่งเดินทางมาถึง ตรวจพระอาการ แล้วทูลว่า “ไม่มีหวัง” สมเด็จพระราชชนนี ทรงกรรแสง และรับสั่งให้แต่งพระบรมศพ...สิริพระชนมายุ 20 พรรษา 8 เดือน 20 วัน โธ่..ทูนกระหม่อมของข้าพระบาทจากไปแล้ว นี่เป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่สองแล้ว ( พระองค์แรก รัชกาลที่ 7 ) ที่ปรีดี รังแกและบงการจนสิ้นพระชนม์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล จึงเสด็จสู่สวรรคาลัย โดยกะทันหัน จากการลอบปลงพระชมน์ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ในตอนเช้าของวันนั้นเอง แต่เป็นเรื่องประหลาด เมื่อมีการสืบได้ในภายหลังว่า ปืนกระบอก ที่วางอยู่ใกล้พระหัตถ์ขณะเสด็จสวรรคต

กลับไม่ใช่กระบอกที่ใช้ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 เพราะจากการพิสูจน์ปรากฏว่าปืนกระบอกนี้ได้เคยใช้ยิงมาก่อนวันเกิดเหตุ “ไม่น้อยกว่า 8 วัน” เพราะ ลำกล้องสกปรกมาก และมีสนิมอ่อนๆ จับ ดังนั้นจึงไม่ใช่ปืนของกลางที่ใช้ในการลอบปลงพระชนม์ที่แท้จริง และหัวกระสุนที่เก็บได้ในพระยี่ภู่ ก็ไม่ใช่กระสุนที่ทะลุผ่านพระเศียร เพราะมีลักษณะเรียบร้อย ไม่มีรอยยับเยินใดๆ เลยแม้แต่น้อย

นายชิต ออกเพทุบายว่า พบกระสุนปืน และปลอกกระสุนปืน อ้างว่าเก็บได้ใกล้พระแท่นบรรทมแล้วนำมามอบให้ตำรวจ เพื่อจงใจสร้างหลักฐานเท็จ ให้เกิดความเข้าใจผิด หลงเชื่อในการสืบสวนว่าเป็นอุบัติเหตุ ด้วยอธิบดีกรมตำรวจ เป็นคนของปรีดี

ในวันนั้นตำรวจจึงไม่มีการตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ เขม่าดินปืน หลักฐานอาวุธปืน กระสุน และปลอกกระสุน ที่ชัดเจน (ไม่ตรวจใครเลยสักคน) เพราะต้องการเบี่ยงประเด็น ให้เป็นเรื่องของอุบัติเหตุตามแผนการณ์ที่วางไว้ มากกว่าการถูกลอบปลงพระชนม์ เพื่อรับใช้ทางการเมือง

เวลา 10.00 น. ม.ร.ว.เทวาธิราช ได้ไปพบนายปรีดี ที่กำลังรอฟังผลการลอบปลงพระชนม์อยู่กับ พ.อ.ช่วง รมต.มหาดไทย และ พล.ต.ท. พระรามอินทรา อธิบดีกรมตำรวจ ที่ศาลาท่าน้ำ ทำเนียบท่าช้าง บอกว่าสวรรคตแล้ว ปรีดี แสร้งร้องว่า "เอ๊ะอะไรกัน" ทำท่าทางสะดุ้งตัว

อีกราว 15 นาที ม.จ.นิกรเทวัญ ถูกเรียกก็มาถึงเข้าไปหา ปรีดี แล้วเงยหน้าเป็นเชิงถาม พอประชิดตัว ปรีดี พูดเป็นภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยว่า “ ปลงพระชนม์พระองค์เอง” ทั้งๆ ที่ปรีดี เอง ยังไม่ได้เดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ และยังไม่เห็นด้วยซ้ำ แต่เขากลับเตี้ยมนัดพูดตรงกันกับนายชิต และนายบุศย์

เวลา 11.00 น. ปรีดี แสร้งเดินทางมาถึงที่เกิดเหตุพระที่นั่งบรมพิมาน และสั่งให้พระยาชาติ อัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ และเชิญคณะรัฐมนตรีทันที เพราะทุกอย่างวางแผนการณ์ไว้หมดแล้ว

ปรีดี ในฐานะนายกรัฐมนตรี และว่าการสำนักพระราชวัง ให้แสร้งทำทีเรียกตัว นายชิต นายบุศย์ น.ส.เนื่อง มาถามรายละเอียด นายชิต รีบบอกตามที่นัดแนะกันว่า “ทรงยิงพระองค์เอง” ปรีดี บอกให้นายชิตทำท่าให้ดู นายชิต จึงลงนอนหงายมือจับปืน ทำท่าส่องที่หน้าผากตนเอง

พ.อ.ประพันธ์ ราชองครักษ์ ถามถึงสาเหตุ นายชิต ตอบว่า ทรงมีเรื่องกับ สมเด็จพระราชชนนี ไม่ได้ร่วมโต๊ะเสวยกันมา 2-3 วันแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจากพยานหลายคน ก็พบว่านายชิต โกหก เพราะรัชกาลที่ 8 ทรงเสวยพระกระยาหาร กับ ครอบครัวพระองค์ทุกวันตลอดทุกมื้อ

แต่ ม.จ.ศุภสวัสดิ์ รับสั่งว่า ท่าจับปืนแบบนี้ยิงเอง ที่พระนลาฏอย่างนั้นไม่ได้ ทั้งหมดจึงปรึกษากันว่า จะออกคำแถลงการณ์อย่างไรดีถึงจะเนียน ปรีดี ออกไอเดียว่า “ ออกแถลงการณ์ว่า สวรรคต เพราะพระนาภีเสียได้ไหม” หลวงนิตย์ ตอบว่า ออกเช่นนั้นผมไปเข้าปิ้งก่อนเพื่อนแน่ เพราะเมื่อวานนี้ยังดี ๆ อยู่ วันนี้สวรรคตไม่ได้

พ.อ.ช่วง แนะว่าถ้าอย่างนั้น “ เอาเป็นโรคหัวใจได้ไหม” หลวงนิตย์ ตอบว่า ไม่ได้เหมือนกัน เพราะประชาชนก็ต้องทราบความจริง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาท รับสั่งว่า เห็นจะต้องแถลงตามความจริง ปรีดี จึงฟันธงว่า ให้ออกแถลงการณ์ว่า “เป็นอุบัติเหตุ” จึงสั่งให้สำนักพระราชวัง ได้ออกคำแถลงการณ์มีข้อความสำคัญว่านี้

"....เวลาประมาณ 9.00 นาฬิกา มหาดเล็กห้องพระบรรทม ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นในพระที่นั่ง จึ่งรีบวิ่งเข้าไปดู เห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล บรรทมอยู่บนพระที่ มีพระโลหิตไหลเปื้อนพระองค์และสวรรคตเสียแล้ว มหาดเล็กห้องพระบรรทม จึงได้ไปกราบทูลสมเด็จพระราชชนนี ให้ทรงทราบ แล้วเสด็จไปถวายบังคมพระบรมศพ

ต่อนั้นมา มีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ได้เข้าไปกราบถวายบังคม และอธิบดีกรมตำรวจ กับ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้ไปถวายตรวจพระบรมศพ และสอบสวน ได้ความสันนิษฐานได้ว่า คงจะทรงจับคลำพระแสงปืน ตามพระราชอัธยาศัยที่ทรงชอบ แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น"

ทันที่ข่าวเผยแพร่ออกไป ทั้งพระนครและประเทศไทยที่มีประชากรขณะนั้นราว 17 ล้านคน ก็มีเสียงหวีดร้อง ดังลั่น ระงมไปทั่วบ้านทั่วเมือง และประชาชน มีความคลางแคลงใจต่อรัฐบาลปรีดี เป็นอย่างมาก เพราะใครๆ ในสมัยนั้นก็รู้ว่า รัชกาลที่ 8 มีข้อขัดเคืองกันหลายประการกับปรีดี ไม่มีใครเชื่อรัฐบาลว่าเกิดอุบัติเหตุ

เวลา 21.00 น. ท่ามกลางบรรยากาศคุกรุ่นทั้งเมือง รัฐบาลปรีดี ได้เรียกประชุมรัฐสภาเป็นการด่วน เพื่อแจ้งให้สภาทราบเรื่องการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 และสรรหาผู้สืบราชสมบัติ ที่ประชุมได้ลงมติถวายราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ขึ้นสืบราชสมบัติ เป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" รัชกาลที่ 9 ทันที ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษาเท่านั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

คณะรัฐมนตรีปรีดี จึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และ พระยามานวราชเสวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ

วันที่ 10 มิถุนายน 2489 ปรีดี หวังว่าจะลดแรงเสียดทานจากประชาชน แต่โชคกลับไม่เข้าข้างเขา เมื่อครั้งแรกหลวงนิตย์ ไม่ได้พบแผลทางเบื้องหลังพระเศียรของรัชกาลที่ 8 เข้าใจว่ามีแผลทางพระนลาฏด้านเดียว แต่วันนี้เจ้าหน้าที่จากสภากาชาดมาแต่งพระบรมศพ เพื่อเตรียมการสรงน้ำพระบรมศพในตอนเย็น

จึงได้พบแผลที่เบื้องหลังพระเศียรอีกแผลหนึ่งแผลตรงท้ายทอย มีพระเกศาปกคลุมบาดแผล ทำให้แลเห็นเป็นแผลเล็กกว่าแผลที่พระนลาฏ จึ่งมีการกล่าวทักท้วงกันว่า ถูกยิงทางเบื้องหลังพระเศียรทะลุออกทางพระนลาฏ เสียงครหาระงมไปทั่ว ว่าคำแถลงการณ์ฉบับแรกไม่เป็นความจริง ปรีดี พร้อมด้วยคณะราษฎร จึงประชุมวางแผนกัน เพื่อให้ตำรวจออกแถลงการณ์ใหม่

หลังวันสวรรคต นายสี่ หรือ ชูรัตน์ มือปืนกลับใจ ได้ไปหา ร.ต.กรี อีกครั้ง เขาร้องไห้บอกว่า ที่รับจ้างยิงคนสำคัญนั้น คือ ยิงรัชกาลที่ 8 โดย ร.อ.วัชรชัย นำตัวเขาเข้าไปในวังก่อนสวรรคตเพื่อให้ยิง ผู้ที่รอรับอยู่ในวัง คือ นายชิต นายบุศย์ แต่เขาไม่กล้ายิง จึ่งหลบออกมาเสีย ส่วนผู้ที่ยิงในหลวง คือ ร.อ.วัชรชัย (คำบอกเล่าจาก นายสี กับ ร.ต.กรี)

เขาบอก ร.ต.กรี ว่าตำรวจกำลังติดตามจะยิงเขาอยู่ จึ่งขออาศัยอยู่กับ ร.ต.กรี ด้วย และจะตามไปฆ่า ร.อ.วัชรชัย ให้ได้ ขอร้องให้ ร.ต.กรี ช่วยพาไปหา พล.ท. พระยาเทพฯ เพื่อจะฝากลูกเมีย พระยาเทพฯ ได้ฟังเรื่องแล้วห้ามปราม แนะนำให้รักษาตัวให้ดี เจ้าหน้าที่จะปฏิบัติตามกฎหมายยังมีอยู่

ในที่สุดจึงบอกปัดไม่ยอมรับให้อยู่อาศัยด้วย นายสี่ หรือ ชูรัตน์ จึ่งมาพักอาศัยอยู่กับ ร.ต.กรี ต่อมาสักเดือนหนึ่งก็ขอหนีไปและบอกว่า จะไปอยู่กับ ร.ต.อ.เฉียบ (เป็นเพื่อนลูกชาย ปรีดี และต่อมาเขาลี้ภัยอยู่จีนกับปรีดี ) แต่แล้ว นายสี่ ก็หายสาบสูญไป ไม่มีใครหาร่างเขาพบอีกเลย

วันที่ 11 มิถุนายน 2489 ปรีดี ลาออก จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พอเป็นพิธี แต่ความพิรุธก็เกิดขึ้น เมื่อในวันนั้นเองสภาผู้แทนราษฎรนอมินี ก็ยกมือสนับสนุนให้ ปรีดี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อเป็นสมัยที่ 3 ตามเดิม เหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น..พอถึงจุดนี้ หลายคนตาสว่าง ร้องอ๋อแล้วใช่ไหม??

กรมตำรวจ ออกแถลงการณ์ อ้างว่า ได้สอบสวนเพิ่มเติมจากพระราชกิจประจำวัน ทรงโปรดเกล้าฯ กำหนดให้หม่อมเจ้าอาชวดิศ เข้าเฝ้าในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลา 10.00 นาฬิกา เพื่อกราบบังคมทูลลาทรงผนวช กับนัดให้หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ ร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวัน และทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายวงศ์ ไปกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชว่า

จะเสด็จไปทูลลาเสด็จสหรัฐอเมริกา ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศในวันที่ 10 มิถุนายน 2489 อันเป็นหลักฐานเพิ่มเติมข้อสันนิษฐานว่าการสวรรคต ได้เป็นไปโดยอุบัติเหตุ ไม่มีทางส่อแสดงว่า ทรงปลงพระชนม์เอง..เอาเข้าไป !!

แต่คำแถลงการณ์ ของตำรวจยังไม่เพียงพอที่จะระงับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ของหมู่ประชาชนซึ่งยิ่งแพร่สะพัดออกไปทุกทีว่า รัชกาลที่ 8 มิได้เสด็จสวรรคตโดยอุบัติเหตุ แต่ถูกลอบปลงพระชนม์ ถึงกับมีผู้ไปร้องตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า “นายปรีดีฆ่าในหลวง” เป็นเหตุให้รัฐบาลปรีดีเกรงจะเกิดจลาจล

--------------------------->
ในตอนนี้จะเห็นขั้นตอน การลอบปลงพระชนม์โดยละเอียดชนิดทุกระยะ พร้อมคำให้การพยาน หลักฐานต่อหน้าศาลที่ได้ถูกบันทึกไว้ รัชกาลที่ 7 และที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยถึง 2 พระองค์แล้ว ที่ปรีดี รังแก และบงการโหดร้ายจนสิ้นพระชนม์

สิ่งนี้คือ “ประวัติศาสตร์ ” ของราชการ ประวัติศาสตร์จะมี “เพียงชุดเดียว” และอ้างอิงได้ ถ้าใครจะโต้แย้งให้ไปค้นกูเกิ้ลคำว่า "คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1544/2497 " ก่อน แล้วอ่านคำพิพากษานั้นให้ละเอียด ถ้อยคำของพระ ของผู้ต้องหา ของญาติผู้ต้องหา จดหมายใครภายหลัง จะไม่สามารถมาหักล้างคำพิพากษาศาลฎีกาได้

** เหตุการณ์จะดำเนินต่ออย่างไร ใครจะเป็นฝ่ายล้มอสูรร้าย ปรีดี ลงได้ และเขาจะก่อกบฏบุกยึดพระราชวังหลวงอย่างไร ติดตามตอนต่อไปคลิ๊กที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/301460453377322

คัดลอกจาก facebook @topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:57 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ไขปริศนา..ลับที่สุด ปรีดี กำกับเข้มปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 สวรรคต (ตอน 2

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8589945

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า