Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > ความขัดแย้ง จัดได้ว่าเป็น ธรรมชาติ หรือ ธรรมดา

ความขัดแย้ง จัดได้ว่าเป็น ธรรมชาติ หรือ ธรรมดา

พิมพ์ PDF
ขอนำคำสอนที่คัดลอกมาจากบทความของ รศ.ดร.พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร มาเผยแพร่
“ความขัดแย้ง” จัดได้ว่าเป็น “ธรรมชาติ” หรือ “ธรรมดา” ของสังคมทั่วไป จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น “สิ่งจำเป็น” (Necessity) ของสังคม เพราะ สรรพสิ่งในสังคมนั้นแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) ผลจากการแปรเปลี่ยนดังกล่าวนั้นจึงทำให้เกิดบรรยากาศของ “ทุกข์” หรือ “ความขัดแย้ง” ซึ่งเป็นสภาวะหรือบรรยากาศที่ดำรงอยู่ในภาพเดิมไม่ได้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งก็เพราะทุกสิ่งทุกอย่างนั้นในแง่ของโลกวิสัยนั้นไม่สามารถเป็นไปตามความต้องการ หรืออำนาจของสิ่งใด หรือบุคคลใด กล่าวคือไม่มีสิ่งใด หรือบุคคลใดบังคับให้มันไม่เปลี่ยนหรือไม่ให้ขัดแย้งกัน ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยธรรมชาติแล้ว สรรพสิ่งต้องขัดแย้งกัน แต่ถึงกระนั้น พระพุทธศาสนาก็ได้เหลือ “พื้นที่” ของความ “ไม่ขัดแย้ง” เอาไว้ให้ “สภาวะสูงสุด” นั่นก็คือ “พระนิพพาน” ความขัดแย้งก็มิได้สะท้อนแง่มุมในเชิงลบแต่เพียงด้านเดียว เพราะใน ความเป็นจริงแล้ว ความขัดแย้งก็สะท้อนแง่มุมในเชิงบวกด้วย ประเด็นปัญหาสำคัญจึงอยู่ที่ท่าทีของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวกับข้องกับความขัดแย้งในครอบครัว หรือสังคมเป็นที่ตั้งว่าจะมองความขัดแย้งในมิติใด จะเห็นว่า หากบางคนมองความขัดแย้งในแง่ลบ หรือแง่บวก มักส่งผลต่อพฤติกรรม หรือการจัดการแก้ไขความขัดแย้งด้วย ในหลายกรณีพบว่า ผู้ที่มองความขัดแย้งในแง่ลบ มักจะ “ใช้ความรุนแรง” ในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น สำหรับผู้ที่มองความขัดแย้งในแง่บวกมักจะ “ใช้ความไม่รุนแรง” ในการจัดการความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อมองในแง่ของธรรม และวินัยนั้น ความขัดแย้งเกิดขึ้นจาก ๒ มิติ ใหญ่ ๆ กล่าวคือ ทั้งภายใน (อัชฌัตตัง) และภายนอก (พาหิรัง) แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่พระพุทธศาสนานำเสนอคือ ตัวแปรสำคัญนั้นเกิดได้ทั้งกุศลมูล และอกุศลมูล รวมถึง ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ เป็นแรงผลักดันให้เกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระพุทธเจ้าจึงได้นำเสนอ “แผนปฏิบัติการ” (Action Plan) เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งแผนปฏิบัติการบางอย่างนั้นพระพุทธเจ้าได้เข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง และแผนบางอย่างนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำให้พระภิกษุได้ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการด้วยกลุ่มของพระสงฆ์เอง จะเห็นว่าเริ่มแรกของการประดิษฐานพระพุทธศาสนาพบว่า พระพุทธเจ้าได้ใช้แนวคิดแบบ “อัตตาธิปเตยยะ” หมายถึงการที่พระองค์เป็นศูนย์รวมเพื่อบัญชาการหรือสั่งการในประเด็นต่างๆ แต่เมื่อพระสงฆ์มีจำนวนมากยิ่งขึ้น พระองค์ได้เปลี่ยนระบบการบริหารแบบใหม่เป็นการให้ความสำคัญแก่สงฆ์ หรือ “โลกาธิปเตยยะ” หรือ “สังฆาธิปเตยยะ” อันเป็นการกระจายอำนาจให้แก่คนกลุ่มใหญ่ ถึงกระนั้นสิ่งที่อัตตาธิปเตยยะ และโลกาธิปเตยยะจะขาดมิได้คือ “ธัมมาธิปเตยยะ” อันเป็นการปกครองหรือทำหน้าที่โดยมี “ความชอบธรรมเป็นศูนย์กลาง” จะพบว่า “ความถูกต้อง” หรือ “ความชอบธรรม” (ธรรมิกา) เป็น “หัวใจ” ของรูปแบบการจัดการความขัดแย้งของพระพุทธเจ้าในทุก ๆ วิธี และชุดของวิธี ดังจะเห็นได้จากการนำเสนอหลักการ “อธิกรณสมถะ ๗ ประการ” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการระงับความขัดแย้งนั่น พระองค์ทรงคำนึงถึงประเด็นนี้อยู่เสมอ และในทุกๆวิธี พระองค์ได้นิยามว่า คำว่า “ความชอบ” ในชุดของวิธีนี้คืออะไร ฉะนั้น รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในมิติต่าง ๆ ทั้งในแง่ของธรรม ได้แก่ “การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง” แล้ว ในแง่ของวินัยก็ประกอบไปด้วยสัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา เยภุยยสิกา และ ติณวัตถารกะ ซึ่งทุกวิธี หรือชุดวิธีจะแฝงไปด้วย “ชอบธรรม” ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ดำรงอยู่บนฐานของความชอบธรรมอีกประการหนึ่งคือ “ความพร้อมหน้า” (สัมมุขาวินัย) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ความ “โปร่งใส” “ยุติธรรม” และ “ตรวจสอบได้” เป็นต้น ที่คู่กรณีจะได้รับจากการพิจารณา หรือตัดสินความขัดแย้ง หรือพิพาทกัน อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสำคัญของความชอบธรรมที่เพียบพร้อมไปด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้นั้น มีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์ให้สังคมสงฆ์เป็นสังคมที่ไม่มีความหวาดระแวง และรังเกียจกันเกี่ยวศีลาจารวัตร อันจะทำให้สังคมสงฆ์เป็นสังคมที่เหมาะแก่การฝึกฝนพัฒนาตนเองตามแนวไตรสิกขาเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดกล่าวคือ “พระนิพพาน” ต่อไป
 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > ความขัดแย้ง จัดได้ว่าเป็น ธรรมชาติ หรือ ธรรมดา

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5610
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8633571

facebook

Twitter


บทความเก่า