Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > Prof. Vicharn Panich ผู้ติดตาม 724 ติดตาม 0 ติดต่อ เขียน สมุด บันทึก อนุทิน แลกเปลี่ยน ความเห็น ดอกไม้ วิธีพัฒนาความริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อความสำเร็จในชีวิต

Prof. Vicharn Panich ผู้ติดตาม 724 ติดตาม 0 ติดต่อ เขียน สมุด บันทึก อนุทิน แลกเปลี่ยน ความเห็น ดอกไม้ วิธีพัฒนาความริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อความสำเร็จในชีวิต

พิมพ์ PDF

บทความในนิตยสาร Scientific American Mind ฉบับเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เรื่อง How to Cultivate Creativity. Research shows that being open to new experiences spurs innovation in the arts, sciences and life. เขียนโดย Scott Barry Kaufman (Scientific Director, Imagination Institute, Positive Psychology Center, University of Pennsylvania) และ Carolyn Gregoire น่าอ่านมาก อ่านได้ ที่นี่


นี่คือวิธีการสร้างคุณภาพของพลเมือง ... ฝึกให้มีท่าทีเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ ... ทำตัวเป็นแก้วที่พร่องน้ำอยู่เสมอ และฝึกวิธีคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ ฝึกโดยประสบการณ์ เรียนรู้จากประสบการณ์


ครูที่ดีที่สุดคือประสบการณ์


ใน ๕ บุคลิกใหญ่ (big five personality traits) ซึ่งได้แก่ (๑) เปิดรับประสบการณ์ (opennesss to experience) (๒) มีคุณธรรม (conscientious) (๓) เข้าคนง่าย (extraversion) (๔) ไม่ขัดใจคน (agreeableness) และ (๕) อารมณ์แปรปรวน (neuroticism) บุคลิกเปิดรับประสบการณ์คือพื้นฐานสำคัญที่สุดต่อความสร้างสรรค์ และผมเติมว่า สำคัญที่สุดต่อการเรียนรู้


ผลงานวิจัยเพื่อปริญญาเอกของ Kaufman บอกว่า บุคลิกเปิดรับประสบการณ์มี พื้นฐานสำคัญอย่างน้อย ๓ ประการในด้านพันธะ (engagement) คือ (๑) พันธะเชิงปัญญา (intellectual engagement) (๒) พันธะทางจิตใจ (affective engagement) และ (๓) พันธะด้านสุนทรียะ (aesthetic engagement) และทางอารมณ์ ข้อค้นพบสำคัญของงานวิจัยคือ บุคลิกแบบนี้มีผลต่อความสำเร็จในชีวิตมากกว่าความฉลาดหรือไอคิว


ผู้เขียนสรุปประเด็นสำคัญ ๓ อย่างคือ (๑) บุคลิกเปิดรับประสบการณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อ ความสร้างสรรค์ทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ (๒) คนที่มีระดับ โดปามีนสูง มีแรงขับดันสูงต่อการค้นคว้า หาความรู้ และมีความเสี่ยงสูงต่อโรคจิต (๓) ประสบการณ์ใหม่ๆ อาจเปลี่ยนมุมมอง และเกิดการก้าวกระโดด ด้านการสร้างสรรค์


ผมสรุปต่อว่า บุคลิกนี้มีผลต่อการเกิด การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ได้ง่าย


เมื่อ ๓๘ ปีมาแล้ว ผมอ่านหนังสือ Creative Malady ชี้ให้เห็นว่าผู้ยิ่งใหญ่ของโลกจำนวนมากในด้าน ความริเริ่มสร้างสรรค์ ตั้งแต่ Charles Darwin, Sigmund Freud, Florence Nightingale เป็นต้น เป็นคนที่มีบุคลิก ของคนเป็นโรคจิตอยู่ด้วย หนังสือ How to Cultivate Creativity นี้รวบรวมหลักฐานจากงานวิจัย ชี้ว่าตัวการ ของความสร้างสรรค์ และโรคจิตมาจาก ฮอร์โมน โดปามีน


มีผลงานวิจัย บอกว่าในสมองส่วน thalamus ของคนที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์สูง และของคนเป็นโรค จิตเภทมีจำนวน receptor ต่อโดปามีน ชนิด D2 น้อยกว่าคนปกติ เขาอธิบายว่าเมื่อโดปามีนถูกจับไปน้อย จึงเหลืออยู่มากและออกฤทธิ์กระตุ้นให้มีจินตนาการ มีอารมณ์ และมีความเพ้อฝันสูง และอธิบายว่าการมี D2 receptor น้อยอาจทำให้มีการกรองผัสสะจากภายนอกออกไปน้อย ทำให้สมองมีการประมวลข้อมูลปริมาณมาก


เขาสรุปว่า ความริเริ่มสร้างสรรค์อาจเกี่ยวข้องกับการสร้างความเชื่อมโยง (connection) ใหม่ๆ


บทความนี้เป็นเรื่องย่อจากหนังสือ Wired to Create: Unraveling the Mysteries of the Creative Mind เขียนโดยผู้เขียนบทความทั้งสอง


ขอขอบคุณ รศ. ดร. สมโภชน์ ศรีโกสามาตร ที่กรุณาแนะนำบทความนี้


วิจารณ์ พานิช

๒๐ ต.ค. ๕๙


 คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/618571

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2016 เวลา 16:52 น.  
Home > Articles > การศึกษา > Prof. Vicharn Panich ผู้ติดตาม 724 ติดตาม 0 ติดต่อ เขียน สมุด บันทึก อนุทิน แลกเปลี่ยน ความเห็น ดอกไม้ วิธีพัฒนาความริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อความสำเร็จในชีวิต

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3047
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8594394

facebook

Twitter


บทความเก่า