Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home

แผนพัฒนาประเทศ โดย อาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

แผนพัฒนาประเทศของเราผ่านมา ๕๑ ปีแล้ว คือเริ่มระยะที่ ๑ ปี ๒๕๐๔   ปีนี้ ๒๕๕๕ เริ่ม แผนฯ ระยะที่ ๑๑  ชื่อเต็มคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

ถามว่าถ้าปรเทศไทยไม่มีกลไกการวางแผนพัฒนาประเทศ ในช่วง ๕๑ ปีที่ผ่านมา ผลจะเป็นอย่างไร   คำตอบของผมคือ (เดาว่า) เราคงจะประสานการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ได้ไม่ดี   ภาคส่วนต่างๆ คงจะต่างหน่วยต่างทำมากกว่านี้    การพัฒนาประเทศคงจะขาดความสมดุลยิ่งกว่านี้   หรือมีความขัดแย้งมากกว่านี้

 

ผมมองว่า แผนพัฒนาฯ เป็นเสมือน “ฝันร่วม” (Shared Vision) ของคนไทยทั้งชาติ   และของภาคส่วนต่างๆ ในประเทศ    รวมทั้งพันธมิตรในต่างประเทศด้วย

 

เมื่อผมได้รับแต่งตั้งให้ร่วมอยู่ใน คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑
(พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙)   ผมจึงนั่งรำพึงกับตนเอง ฝึกมองภาพใหญ่เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ  การใช้พลังของแผนยุทธศาสตร์   และ การดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ได้ผลจริงจัง

 

ผมมองว่ายิ่งนับวันสังคมก็ซับซ้อนยุ่งเหยิงมากขึ้นๆ   สังคมมีธรรมชาติ Complex – Adaptive หรือ Chaordic   การพัฒนาประเทศ การดำเนินการขับเคลื่อนแผนพัฒนาประเทศ ตามแนวเดิมๆ คือ ใช้สไตล์ Command and Control มองปัจจัยต่างๆ แบบเส้นตรงหรือระนาบเดียว และคิดว่าจะควบคุมได้    น่าจะไม่ได้ผล หรือได้ผลน้อย

 

อคติด้านฉันทาคติ ต่อ CAS (Complex-Adaptive System) ของผม   ทำให้ผมตั้งใจทำหน้าที่อนุกรรมการขับเคลื่อนแผนฯ ๑๑ แบบชักชวนให้ใช้พลังความเป็น CAS/Chaordic ของสังคม   คือรักษาเป้าหมายใหญ่ เป้าหมายระดับคุณค่า (ที่ภาษา Chaordic เรียกว่า Purpose) เอาไว้    และเปิดอิสระให้ภาคส่วนต่างๆ ที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น มีอิสระในการดำเนินการ    ไม่เข้าไปควบคุมสั่งการในระดับปฏิบัติ

 

หากดำเนินการตามแนวนี้ ก็หมายความว่า   การขับเคลื่อนแผนฯ ๑๑ จะเน้นที่ Purpose เป็นหลัก   ผมจึงลองเข้าไปดูว่า แผนฯ ๑๑ เขียนไว้อย่างไร   ที่เขียนไว้มีพลังในระดับ Purpose แล้วหรือยัง   คำตอบของผมคือ “ยัง”   คือยังเขียนแบบเอกสารราชการ

 

ที่จริง ทางสภาพัฒน์ฯ ส่งเอกสาร “ร่าง คู่มือการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ” มาให้   และนัดมาคุยกับผมคนเดียว โดยทางสภาพัฒน์ฯ มา ๖ คน นำโดยรองเลขาธิการ คุณธานินทร์ ผะเอม

 

ผมจึงเตรียมตัวให้ความเห็นรับใช้ชาติด้วยการเสนอให้ “เดินสองขา” คือขาราชการ ตามแนวทางที่วางรูปแบบไว้อย่างดี   แต่ค่อนไปทางแนว Command and Control และมีความเป็นทางการสูง    กับขาไม่เป็นทางการ ใช้การสร้างข้อมูล ความรู้ เพื่อทำความชัดเจนว่า Purpose คืออะไร   และสภาพที่เป็นอยู่กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ Purpose หรือยิ่งห่างออกไป

 

ยุทธศาสตร์สองขาอีกแนวหนึ่ง คือแนวค่อยทำค่อยไป (ซึ่งผมตีความว่าแผนฯ๑๑ เดินแนวนี้)   ควบคู่ไปกับแนวก้าวกระโดด   ซึ่งผมคิดว่าต้องใช้วิทยาศาตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความรู้ เป็นตัวสปริงให้เกิดการก้าวกระโดด

 

เป้าหมายที่สำคัญเชิง Purpose ของผมคือ ต้องก้าวข้าม Middel-income Trap ให้ได้นี่คือแนวคิดเพื่อก้าวกระโดด   ผู้ที่รู้ดีกว่าผมอาจหา “จุดคานงัด” ที่ดีกว่านี้

 

เมื่อมี Purpose ที่มีพลัง   (สมมติว่าใช้ การก้าวข้าม Middle-income Trap เป็น Purpose) ก็เอามาดำเนินการขับเคลื่อนแผนฯ ๑๑ แนว  Chaordic   โดยชักชวนกันตรวจสอบว่า พฤติกรรมอะไรบ้างในสังคมที่ทำให้เราติดบ่วงการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง   และต้องวางรากฐานอะไรบ้างเพื่อทำลายบ่วงนั้น

 

ผมมีความคิดว่าเวลานี้สังคมไทยกำลังบั่นทอนตัวเอง แทนที่จะเคลื่อนไปสู่การพัฒนา กลับมีพฤติกรรมมากมายหลากหลายอย่างที่สร้างความเสื่อมถอยให้แก่ตนเอง   เห็นชัดทั้งในระดับมหภาค (ระดับประเทศ) และระดับจุลภาค (คือระดับตัวบุคคล)

 

ยกตัวอย่างการใช้เวลา ๒๔ ชั่วโมงใน ๑ วัน ของผู้คน   มีคนจำนวนไม่น้อยใช้ ไอซีที หรือ โซเชี่ยล มีเดีย ไปในทางเสื่อมโดยไม่รู้ตัว    เวลาที่สูญเสียไปนั้น หากนำมาใช้ฝึกฝนตนเอง หรือในทางสร้างสรรค์อื่นๆ   จะเป็นปัจจัยทำลาย “บ่วงรายได้ปานกลาง” อย่างหนึ่ง   คืออาจใช้ขับเคลื่อนไปสู่สังคมเรียนรู้

 

สื่อมวลชน มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อสังคม   คุณภาพของสิ่งที่สื่อ เป็นเรื่องที่มีความหมายต่อการทำลาย “บ่วงรายได้ปานกลาง” อย่างสำคัญ   ผมมองว่า เวลานี้สื่อมวลชนกำลังทำให้บ่วงแข็งแรงขึ้น หรือมัดแน่นขึ้น

 

เราสามารถใช้แนวคิดบรรลุเป้าหมายเอาชนะ “บ่วงรายได้ปานกลาง” ไปทำสุนทรียสนทนา (dialogue) ได้กับทุกภาคส่วนในสังคม   โดยมีเป้าหมายตามแผนฯ ๑๑ ควบคู่อยู่ด้วย   ตั้งคำถามว่า ภาคส่วนเหล่านั้นเห็นด้วยไหมที่ประเทศไทยมีเป้า ๒ ขา นี้   หากเห็นด้วย เขาจะลดละเลิกอะไร   และจะทำอะไร  แล้วสภาพัฒน์รวบรวมเป็นยุทธศาสตร์   และส่งเสริมให้จัดสรรทรัพยากรของประเทศไปสนับสนุน

 

อีกทางหนึ่งคือใช้การวิจัยสร้างความรู้เกี่ยวกับ Middle-income Trap ของประเทศไทย   ว่ามีตัวการหลักๆ อะไรบ้าง   มีวิธีปลดพันธนาการที่ประเทศที่พ้นแล้วเขาทำอย่างไร   ในบริบทไทยน่าจะมียุทธศาสตร์ปลดพันธนาการอย่างไร   ใครทำบ้าง และทำอย่างมี synergy กันได้อย่างไร ฯลฯ


หมายเหตุ

บันทึกข้างบนนั้นผมเขียนตอนเช้าวันที่ ๑๔ ส.ค. ๕๕  ก่อนประชุมพูดคุยกับทีมจาก สศช. ในตอนบ่าย    ผมแปลกใจมากที่ทีมจาก สศช. “ซื้อ” ความคิดเรื่องก้าวข้าม middle-income trap   ท่านเล่าว่า เพิ่งไปคุยกับ ดร. นิพนธ์ ที่ ทีดีอาร์ไอมาในตอนเช้า   และ ดร. นิพนธ์ ก็เอ่ยเรื่อง middle-income trap เช่นเดียวกัน   การพูดคุยของทีมสภาพัฒน์กับผมมีเรื่องคุยกันกว้างขวางกว่าในบันทึกนี้   และผมแปลกใจที่หลังการพูดคุยเขาขออนุญาตไปถอดเทปบางตอนลงในจดหมายข่าวของสภาพัฒน์   ทำให้ผมใจชื้น ว่าหน่วยงานที่เป็นทางการ เขาก็ต้องการแนวคิดบ๊องๆ หลุดโลก อย่างที่ผมเสนอ ด้วยเหมือนกัน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ส.ค. ๕๕  ปรับปรุงเพิ่มเติม ๑๕ ส.ค. ๕๕

· เลขที่บันทึก: 502133
· สร้าง: 13 กันยายน 2555 12:59 · แก้ไข: 14 กันยายน 2555 09:19
· ผู้อ่าน: 270 · ดอกไม้: 6 · ความเห็น: 1 · สร้าง: 27 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8612103

facebook

Twitter


บทความเก่า