Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช คุณภาพอุดมศึกษา

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช คุณภาพอุดมศึกษา

พิมพ์ PDF

หลังเข้าร่วมประชุม The 7th annual University Governance and Regulations Forum ที่นครแคนเบอร์ร่า ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๔-๕ ก.ย.55 ที่นครแคนเบอร์รา  ออสเตรเลีย   ผมก็บอกตัวเองว่า หัวใจของเรื่องระบบประกันคุณภาพ ในบริบทไทย ส่วนที่สำคัญยิ่ง มี ๓ ประการ

๑. เป็น means ไม่ใช่ end  หรือเป็นการเดินทาง ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง

๒. ไม่มีจุดจบ   คือต้องทำเรื่อยไป

๓. ตัวเอกคือผู้ทำงาน   ไม่ใช่หน่วยกำกับ

ระบบประกันคุณภาพเป็นการเดินทาง

ระบบประกันคุณภาพอุดมศึกษาเป็นการเดินทางที่ไม่มีจุดจบ   เป้าหมายคือการทำให้อุดมศึกษาเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็ง ในการพัฒนาประเทศชาติ    ระบบประกันคุณภาพที่เข้มแข็งไม่ใช่เป้าหมาย    ความเข้มแข็งหรือคุณภาพของอุดมศึกษาต่างหากที่เป็นเป้าหมาย

ในการประชุมนี้ จึงมีคนออกมาเตือน   ว่าให้ระวังกรณีที่ TEQSA เข้มแข็งมาก มีอำนาจมาก และใช้อำนาจบังคับมาก    ลงรายละเอียดให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ จนต้องเสียเวลา คน และค่าใช้จ่ายปฏิบัติตามที่ TEQSA กำหนด    จนตัวคุณภาพและการสร้างสรรค์เองย่อหย่อน   เข้าทำนอง “ระบบประกันคุณภาพเข้มแข็งมาก  แต่ตัวคุณภาพจริงๆ อ่อนแอ”   ซึ่งเป็นสภาพที่ประเทศไทยเผชิญอยู่

 

ระบบประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือ (means)  ไม่ใช่เป้าหมาย (end)

ระบบประกันคุณภาพไม่มีจุดจบ

การประกันคุณภาพของทุกสิ่ง ทุกเรื่อง ไม่หยุดนิ่ง    เป็นเป้าเคลื่อนไหว หรือมีชีวิต     จึงมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเรื่อยไปตามปัจจัยแวดล้อมมากมาย   การประกันคุณภาพของอุดมศึกษาก็เช่นเดียวกัน

แต่ที่สำคัญที่สุด ระบบประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาของแต่ละแห่ง จะต้องปรับตัวตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีการเปลี่ยนแปลง    เพื่อตอบสนองสังคม ในฐานะเป็นหุ้นส่วนของการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวเอกในระบบประกันคุณภาพคือผู้ทำงาน

เมื่อเป้าหมายแท้จริงของระบบประกันคุณภาพคือผลงานหลักขององค์กร   ตัวเอกของระบบประกันคุณภาพจึงต้องเป็นผู้ทำงานประจำในองค์กร    ผู้ทำงานประจำเหล่านี้จึงควรเป็นเจ้าของระบบประกันคุณภาพ    และใช้กลไกประกันคุณภาพมารับใช้ตน ให้สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพอยู่ตลอดเวลา

หน่วยงานใดสร้างการบวนทัศน์นี้ได้ ระบบประกันคุณภาพจะไม่เป็นตัวกดขี่หรือสร้างความทุกข์แก่คนทำงาน   แต่จะมีผลในทางตรงกันข้าม

นวัตกรรมของกระบวนการพัฒนาคุณภาพ

การพัฒนาคุณภาพมีความหมายกว้าง    ไม่ใช่เพียงดูที่ตัวคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการเท่านั้น   แต่ยังต้องดูที่ประสิทธิภาพ และดูที่ความพึงพอใจของผู้ทำงานเองด้วย   ระบบประกันคุณภาพ จึงสู้กระบวนการพัฒนาคุณภาพไม่ได้    กระบวนการพัฒนาคุณภาพให้ความหมายกว้างกว่า    และเน้นบทบาทของผู้ทำงานมากกว่า    รวมทั้งเปิดโอกาสให้การทำงานประจำเป็นการพัฒนาคุณภาพไปพร้อมๆ กัน    มีผลให้คนทำงานอยู่ในบรรยากาศเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา    การทำงานประจำที่มีการพัฒนาคุณภาพฝังอยู่ภายในเป็นส่วนหนึ่ง   เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง เป็นการเรียนรู้

 

ในกระบวนการทั้งหมดนี้ หากสร้างบรรยากาศของการทำงานและการเรียนรู้ ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   เน้นการทดลองและค้นพบนวัตกรรม    การทำงานประจำนั้นเองจะสามารถสร้างนวัตกรรมได้ในลักษณะ “นวัตกรรมยกกำลังสอง”   คือนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมของระบบประกันคุณภาพ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๘ ก.ย.​๕๕

 

 

 

 

· เลขที่บันทึก: 505354
· สร้าง: 12 ตุลาคม 2555 14:52 · แก้ไข: 12 ตุลาคม 2555 14:52
· ผู้อ่าน: 48 · ดอกไม้: 5 · ความเห็น: 1 · สร้าง: 1 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
ดอกไม้
เลิกชอบ สมาชิกที่ให้กำลังใจ: Blank ชาญโชติ , Blank Dr. Pop, และ 3 คนอื่น.
Facebook
Twitter
Google

ความเห็น

สุดยอดเลยครับ อาจารย์ ทำอย่างไรจะให้คนส่วนมากเข้าใจ ครับ ขออนุญาติเผยแพร่ในเครือข่ายของผมด้วยครับ

ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้
ชื่อ: ชาญโชติ
อีเมล: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ข้อความ:
เรียกเครื่องมือจัดการข้อความ เขียนแบบ Markdown ได้
แนบไฟล์:
ชื่อไฟล์ต้องใช้ตัวอักษร a-z, A-Z, 0-9 สัญลักษณ์ขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) และห้ามเว้นวรรค
ส่งอีเมลแจ้งด้วยเมื่อรายการนี้มีความเห็นเพิ่มเติม New!
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.๒๕๕๐
แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2012 เวลา 20:44 น.  
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช คุณภาพอุดมศึกษา

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8604001

facebook

Twitter


บทความเก่า