Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

สัปดาห์ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๕ ก.ย.​ ๕๕ ผมมีโอกาสเรียนรู้เรื่องนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพถึง ๒ ช่วง   คือเมื่อเช้าวันจันทร์ที่ ๑๐ กับ เช้าวันเสาร์ที่ ๑๕

เช้าวันที่ ๑๐ ก.ย. ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศของโครงการประเมินการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔   การประเมินนี้ดำเนินการโดย HITAP โดยที่ สช. ทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ด้วยเครื่องมือ ๓ ชิ้น   คือ (๑) ธรรมนูญสุขภาพ  (๒) สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่  (๓) CHIA (Community Health Impact Assessment)

การประชุมนี้ เป็นการให้คำแนะนำต่อรายงานความก้าวหน้าของการประเมิน   ที่รายงานโดย (๑) ศ. นพ. ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล  (๒) ดร. ภญ. สิตาพร ยังคง  และ (๓) รศ. ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง   ซึ่งหลังฟังท่านทั้งสามนำเสนอแล้ว ผมมีความเห็นว่า เรื่องนี้ขึ้นกับว่า คสช. มีเป้าหมายที่แท้จริงเป็นอะไรแน่   เป็นการพัฒนานโยบายเป็นชิ้นๆ   หรือเป็นการพัฒนากระบวนทัศน์และขีดความสามารถของสังคมไทยในการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ    โดยผมอยากให้เลือกเป้าหมายหลังเป็นตัวหลัก    อาจมองว่าสัดส่วนระหว่างเป้าหมายแรกกับเป้าหมายหลัง = 1:2 ซึ่งหากคิดเช่นนี้ เครื่องมือ ๓ ชิ้นที่มีอยู่จะไม่เพียงพอ

 

ผมจึงเสนอเครื่องมือชิ้นที่ ๔ คือหลักสูตรการศึกษา    ผมเสนอให้ สช. ตั้งงบประมาณสักปีละ ๑๐ ล้านบาท นำไปร่วมมือกับ สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น    ให้ดำเนินการส่งเสริมการเรียนแบบ PBLในโรงเรียน ที่โจทย์คือการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพในพื้นที่    ที่จะทำให้เด็กได้เรียนครบทั้ง ๘ หน่วยสาระ   โดย สช. ต้องร่วมกับ สกว. จัด workshop ฝึกอบรมครูในโรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ให้รู้วิธีตั้งโจทย์ PBL  และวิธีทำหน้าที่ coach การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำของนักเรียน   เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ครบทุกหน่วยสาระวิชาจากการลงมือทำโครงงานพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพในพื้นที่   ซึ่งนักเรียนจะต้องเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยต้องขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่และคนในครอบครัว ผู้นำชุมชน และคนในพื้นที่   คำถามของเด็ก จะค่อยๆ สร้างกระบวนทัศน์เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพขึ้นภายในชุมชนหรือพื้นที่    และเมื่อเด็กทำโครงงานจบ ก็ให้เสนอรายงานต่อประชาคมในพื้นที่ ก็จะยิ่งสร้างความตระหนักเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะกับสุขภาวะของคนในชุมชน

 

โครงงานแบบนี้ทำได้ในนักเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมต้น ไปจนถึงมัธยมปลาย   แม้ระดับอุดมศึกษาก็ใช้ได้   ขึ้นอยู่กับการตั้งโจทย์ให้ซับซ้อนมากน้อยแตกต่างกัน

 

วันที่ ๑๕ ก.ย. ผมไปร่วมประชุม โครงการเสริมสร้างศักยภาพนักพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ของ สช.

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ก.ย. ๕๕

 

 

· เลขที่บันทึก: 505328
· สร้าง: 12 ตุลาคม 2555 11:09 · แก้ไข: 12 ตุลาคม 2555 11:09
· ผู้อ่าน: 65 · ดอกไม้: 4 · ความเห็น: 0 · สร้าง: 2 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559828

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า