Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home

เรียนรู้ตลอดชีวิต บทความของคุณวัฒนา คุณประดิษฐ์

พิมพ์ PDF

Constructivism  กับ  การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาตลอดชีวิต

Constructivism  คือ ลัทธิการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับสร้างองค์ความรู้ 
การศึกษาตามอัธยาศัยมีแนวโน้มในการเป็นลัทธิการศึกษาแนวสร้างองค์ความรู้.
ซึ่งก็แตกต่างอย่างสุดขั้วจากลัทธิการศึกษาอีกประเภทหนึ่ง  คือ ลัทธิท่องจำคำตอบ
แล้วเอาไปสอบอย่างสิ้นเชิง

สมมุติฐานของความรู้และองค์ความรู้  มาจากความรู้  ตัวความรู้ ข้อเท็จจริง
ก็มาจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  ทั้งรูป แสง สี  รส กลิ่น สัมผัส  นำเอามาปรุงแต่ง
เป็นการจัดประเภท สร้างเรื่องราว  สร้าง หลักการ กฎ  และการอธิบาย 
การกระทำต่อความรู้เช่นจัดประเภท สร้างเรื่องราว หลักการ กฎ และคำอธิบาย
นั่นแหละคือการสร้างองค์ความรู้

การสร้างองค์ความรู้ มีสิ่งสำคัญในการสร้างอย่างหนึ่งก็คือ ตรรกะและระบบความคิด
ตรรกะและระบบความคิด มีอยู่สองอย่าง คือ นิรนัย และ อุปนัย 
นิรนัย (Deductive) ก็คือตรรกะการให้เหตุผล ที่ร้อยเรียงความรู้มาจาก กฎ หลักการ  ที่รับรู้มาก่อนแล้ว
เพียงแต่เรียบเรียงให้สอดคล้องกับ กฎ ความรู้ หลักการ เหล่านั้น
อุปนัย (Inductive)  ก็คือตรรกะ การให้เหตุผล ที่เกิดจากการสร้าง กฎ หลักการ จากข้อเท็จจริง
โดยเรียบเรียงจากข้อเท็จจริง

ตรรกะแบบนิรนัย ส่วนใหญ่  เป็นความรู้สำเร็จรูปที่กำหนดเป็นความจริงขึ้นมา  การท่องจำกฎ
หลักการ ที่เชื่อว่าเป็นจริง  ถือว่าปลอดภัยเพราะหลักการเหล่านี้ได้ถูกกลั่นกรองโดยนักวิชาการ
แต่ไม่มีองค์ความรู้ใหม่   ในแต่ละบริบท  ตรรกะชุดนี้ยึดความจริงสูงสุดของอำนาจที่กำหนด
จากหลักสูตร  ไม่ให้ความสำคัญของคนหรือผู้เรียนรู้  ผู้เรียนรู้อยู่ในฐานะของ Object

ตรรกะแบบอุปนัย  ใช้วิธีการเรียบเรียงข้อเท็จจริง  เข้าไปสู่ หลักการ กฎ  วิธีการเหล่านี้จะพบว่า
มีหลักการ กฎที่หลากหลาย  เนื่องจากมีองค์ความรู้และวิธีการที่แตกต่างตรงบริบท และเน้นความสำคัญ
และให้ความสำคัญของมนุษย์  และสถาปนามนุษย์ให้อยู่ในฐานของ Subject

ยกตัวอย่างองค์ความรู้ทางการเกษตรแผนใหม่ผ่านระบบการศึกษา  เน้นการจัดการเกษตรเชิงเดี่ยวแบบ
พึ่งพา  ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และเทคโนโลยที่จะซื้อ  ไปสู่ระบบการจัดการฟาร์ม  ด้วยหลักวิทยาศาสตร์
จัดการทำต้นทุน กำไร ขาดทุน แบบการบริหารธุรกิจ  ความเป็นจริงแบบนี้ได้ถูกสร้างโดยนักวิชาการ
ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ  ที่ได้เรียนรู้ระบบเกษตรแบบปฏิวัติเขียว เขาจึงนำมาเขียนหลักสูตร

ส่วนอีกองค์ความรู้หนึ่ง  มาจากเกษตรกรที่สังเกตวิถีชีวิตของตนเอง  ว่าทำอะไรก็เป็นหนี้สินเพราะอะไร
เกิดการคิดวิเคราะห์ออกมา และทดลองการผลิตแบบใหม่ที่ไม่พึ่งพาตลาด  พึ่งพาตนเอง  ผลของการค้นคิด
ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตของการพึ่งพาตนเอง  อันเกิดจากการคิดจากขอ้เท็จจริงที่มีอยู่  และสรุปลงเป็น
ทฤษฎีว่า  ถ้าใช้การผลิตแบบเดิมพึ่งพาตลาด จะต้องชอกช้ำใจ  และเป็นหนี้ตลอดกาล  หากผลิตการเกษตร
แบบพึ่งพาตนเอง ก็จะมีซุปเปอร์มาเก็ตอยู่ในสวนของตนเอง 

ความล่มจมของเกษตรกรไทย มาจากวิธีแบบไหน คงจะสรุปเป็น กฎและทฤษฎีได้
แต่เนื่องจากความพยายามของนายทุนบรรษัทข้ามชาติ ทำให้ระบบเกษตรแบบพึ่งพา
ได้สนับสนุนและถูกชื้อตัวจากการหลอกไปแลกแจกกระดาษ  ตลอดจนการทำให้เกิดหลักสูตร
ที่พึ่งพาการใข้ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง  ผ่านการส่งเสริมของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
กับการเกษตร  เพื่อให้เกษตรกรของเราเป็นผู้บริโภคปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และปัจจัยการผลิต
ราคาแพง  ด้วยการจูงใจด้วยกำไรที่เป็นตัวเงิน ซึ่งก็ถูกกำหนดโดยกลไกของการตลาด
ที่มีพ่อค้าคนกลางได้รับผลประโยชน์สูงสุด

การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของขบวนการปราชญ์ชาวบ้านอีสาน
เป็นไปในรูปแบบของการสร้างองค์ความรู้ จากปรากฎการณ์  ที่เป็นอยู่  ทำให้หลุดพ้น
จากการเป็นหนี้ และมีคุณภาพชีวิตที่มีอยู่  และปรากฎการณ์สำคัญอีกปรากฎการณ์หนึ่ง
คือปรากฏการณ์หมอเขียว  หมอเขียวทำงานสาธารณสุข ได้สังเกตว่า วิธีวิทยาทางการแพทย์
ส่วนใหญ่เฉพาะโรคเรื้อรัง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของคนป่วยไข้ได้  หมอเขียวจึงได้พยายาม
หาวิธีการรักษาแบบพึ่งพาตนเอง ไม่พึ่งพาหมอ  ด้วยการทดลองทุกอย่างด้วยตนเอง และ
รักษาคนรอบข้าง  จนเกิดทฤษฎีแบบหมอเขียว ทฤษฎีสมดุลร้อนเย็น สมัยใหม่  การสร้าง
องค์ความรู้แบบนี้ทำให้คนหันมาพึ่งพาตนเอง  เป็น Super Constructivism  ที่มีปรากฎการณ์
ที่เห็นได้ สัมผัสได้  ได้ผลจริง

สรุปแล้วว่า Constructivism อยู่คู่ กับ การเรียนรู้ตลอดชีวิต  การศึกษาตามอัธยาศัย
ชนิดแยกออกจากกันไม่ออก  เพียงแต่ถูกกีดกัน  ลดบทบาท  ไม่ให้คนได้พึ่งพาตนเองได้
ก็เท่านั้นเอง

 

คำสำคัญ (keywords): เรียนรู้ตลอดชีวิต
· เลขที่บันทึก: 506163
· สร้าง: 19 ตุลาคม 2555 09:51 · แก้ไข: 19 ตุลาคม 2555 09:51
· ผู้อ่าน: 11 · ดอกไม้: 1 · ความเห็น: 1 · สร้าง: ประมาณ 1 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8556122

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า