Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > EF คือรากฐานอันแข็งแกร่งของการพัฒนาทุนมนุษย์.

EF คือรากฐานอันแข็งแกร่งของการพัฒนาทุนมนุษย์.

พิมพ์ PDF

ปาฐกถาพิเศษเพื่อนำเข้าสู่การเสวนา เรื่อง

EF คือรากฐานอันแข็งแกร่งของการพัฒนาทุนมนุษย์

โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช

EF SYMPOSIUM 2016

ปลูกฝังทักษะสมอง บ่มเพาะเด็กไทยยุค 4.0

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2559 ณ อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี


ขณะนี้ประเทศไทยกำลังสนใจเรื่องคุณภาพของพลเมือง เพื่อเข้าสู่ไทยแลนด์ยุค 4.0


ผมคิดว่ามีเรื่องสำคัญๆอยู่ 5 เรื่อง ซึ่งซ้อนทับกัน และถ้าทำได้ดีจะเกื้อกูลส่งเสริมกันและกัน แต่ถ้าทำไม่ดีแล้วก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของปัจจัยลบ  พลเมืองเราก็จะมีคุณภาพต่ำ ข้อสังเกตของผมก็คือ สิ่งที่เราทำอยู่ ในปัจจุบัน  ไม่สามารถที่จะทำให้เด็กไทยบรรลุสู่ศักยภาพสูงสุดที่ควรจะเป็นของความเป็นมนุษย์ได้


พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ระบบที่เราทำได้ไม่ดีในวันนี้  ได้ทำให้คุณภาพของคนไทยในอนาคตถูกลดทอนไปอย่างน่าเสียดาย

            5 เรื่อง ที่ผมจะกล่าวถึงก็คือ

           

 เรื่องที่ 1  Executive Functions (EF) ผมยังจะไม่ขยายเพิ่มในเวลานี้

          

เรื่องที่ 2 Growth Mindset จากหนังสือ “เลี้ยงให้รุ่ง” แปลจาก HOW CHILDREN SUCCEED - เด็กบรรลุความสำเร็จได้ Growth Mindset ก็คือความเชื่อในพลังของการพัฒนาสมอง พูดให้ชัด ก็คือ ความฉลาดไม่ใช่มาจากแค่พันธุกรรม หรือมีมาแต่กำเนิดเท่านั้น แต่มาจากการฝึกฝนในภายหลังอย่างถูกต้อง นี่คือ Growth Mindset

            

เรื่องที่ 3 ตรงกันข้ามกับเรื่องที่สอง ก็คือ Fixed Mindset  คือ ความเชื่อที่ว่า สมองนั้น ฉลาดก็ฉลาดเลย โง่ก็โง่เลย เปลี่ยนไม่ได้ ซึ่งข้อนี้ไม่จริง เป็นที่รู้กันว่าไอคิวฝึกให้เพิ่มขึ้นได้

                  

            จากหนังสือ “เลี้ยงให้รุ่ง” นี้นอกจาก Growth Mindset แล้ว ปัจจัยด้านวิชาความรู้ วิชาชีพทั้งหลาย ก็มีความสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จ แต่ไม่สำคัญเท่ากับ “ลักษณะนิสัย หรือ Character”  ถ้าภาษาไทยแท้ก็คือ อุปนิสัย ภาษาของภาคี Thailand EF partnership ก็คือสันดาน นั่นคือเก่งวิชาความรู้มากมาย สู้สันดานดีไม่ได้ ในการที่จะทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จ นี่มาจากงานวิจัยนับร้อยชิ้นประกอบกัน


เรื่องที่ 4  GRIT  เป็นเรื่องของการฝึกฝนตนเองอย่างเอาจริงเอาจัง ด้วยความคลั่งไคล้ใหลหลงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  อาจนำไปสู่ความสามารถพิเศษที่ไม่คิดว่าจะเป็นได้ หนังสือเล่มนี้เล่าถึงการฝึกเด็กในญี่ปุ่น ที่แตกต่างไปจากความเข้าใจเดิมๆ ที่ว่า คนที่จะประพันธ์เพลงได้ไพเราะ ต้องมีหูดีเหมือน Mozart ซึ่งมีอยู่คนเดียวในโลก   แต่ข้อพิสูจน์จากงานวิจัยที่อ้างในหนังสือ GRIT เล่มนี้ บอกว่าไม่จริง เขาลองฝึกเด็กจำนวนมาก เพื่อให้ได้คุณสมบัติหู ที่ฟังแยกเสียงดนตรีได้ดีเหมือนกับ Mozart ซึ่งเขาพบว่าทำได้ แต่จะต้องมีวิธีการที่ถูกต้องในการฝึก ดังนั้น คำที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาเด็กและมนุษย์ทุกวัยตลอดชีวิต คือการฝึก คำว่า “ศึกษา หรือสิกขา”ในทางพุทธเราแปลว่า “ฝึก” ไม่ใช่นั่งฟังเล็กเชอร์แบบที่ผมพูดตอนนี้นะครับ ถ้าท่านต้องการเข้าใจ EF อย่างแท้จริงท่านต้องกลับไปฝึก ฝึกลูกของท่าน หลานของท่าน ลูกศิษย์ของท่าน และตัวท่านเอง


ดังนั้น คำที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาเด็กและมนุษย์ทุกวัยตลอดชีวิต คือการฝึก


            ประเด็นสุดท้าย  นอกจาก EF  นอกจาก Growth Mindset – Fixed Mindset และ GRIT แล้ว ฐานที่จะทำให้ 4 เรื่องนี้ดีคือ การศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งไม่เรียนแบบถ่ายทอดการเรียนรู้สำเร็จรูป แต่เรียนแบบปฏิบัติ ก็คือ Action แล้วก็ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด (Reflection) เพื่อที่จะ Internalize นำความรู้จากการปฏิบัติ สร้างความรู้ขึ้นภายในสมอง จัดระบบเก็บไว้ นั่นคือการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21


การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 19-20  คือการที่ครูสอนแล้วเราก็จำไว้ แล้วนำไปตอบข้อสอบได้ การเรียนแบบนี้ดีในศตวรรษนั้น แต่มาถึงตอนนี้ไม่สอดคล้องแล้ว พูดง่ายๆคือเรียนไม่เป็น ไม่มีทักษะการเรียนรู้ที่ไวพอ เพราะศตวรรษที่ 21 ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นมายาหลอกลวง เพราะมนุษย์เรามีเครื่องมือช่วยให้สื่อสารกันได้เร็ว รับสารเร็ว ก็รับของหลอกบ้าง จริงบ้าง


แต่ถ้าเรียนแบบลงมือปฏิบัติ เก็บข้อมูลด้วยตัวเองจากการปฏิบัติ เอามาไตร่ตรองสะท้อนคิดเกิดเป็นข้อสรุป เอามาเทียบทฤษฎี ก็จะเกิดการเรียนรู้ที่ลึก แล้วก็ได้ทั้งสิ่งที่เป็นความรู้ สิ่งที่เป็นทักษะ ที่เรียกว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มากมาย และทักษะสำคัญที่สุดคือทักษะแห่งการเรียนรู้ เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง จึงจะทำให้การพัฒนาทุนมนุษย์บรรลุได้จริง

 

             ที่พูดเมื่อสักครู่นี้ ผมเอาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นฐาน ขึ้นด้วยการปฏิบัติแล้วก็ Reflect


            คราวนี้ผมลองเอา Executive Functions กับ Self-Regulation เป็นฐาน เพราะมันเป็น Brain Power ที่ทำให้สมองส่วนคิด คือ Cerebral Cortex  เป็นนาย เป็นตัวเจ้าเรือน เป็นตัวควบคุม สามารถควบคุมสมอง ส่วนล่าง หรือสมองส่วนสัตว์เลื้อยคลาน ที่เป็นตัวสนองรับได้ เมื่อสมองส่วนที่รอบคอบคิดเป็นก็จะคุมอยู่ได้ 


ผมคิดว่า Executive Functions เป็นผลจากการเชื่อมโยงใยประสาทของสมองหลายส่วนที่ซับซ้อนมาก แต่ตัวสำคัญคือ สมองส่วนหน้า ซึ่งมีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น เราเรียกว่า Neocortex และการเชื่อมโยงเส้นใยประสาทที่เรียกว่า Wiring นั้น จะเกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติ แล้วก็ตามด้วยการคิดไตร่ตรองสะท้อนคิด Reflection นี่แหละครับ

 

การปฏิบัติ ตามด้วยการคิดไตร่ตรองสะท้อนคิดนั้น ถ้าพ่อแม่รู้จักวิธี ครูรู้จักวิธี ก็จะได้ผลการสร้าง Executive Functions แล้วก็สร้างอุปนิสัยด้านดีด้านบวกให้เกิดขึ้น สิ่งนี้จะต้องเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในหลากหลายบริบท ในหลายโอกาส ในความสัมพันธ์กับคนหลายๆแบบ เราเรียกว่า “ปลูกฝังทางสมอง” ซึ่งเครือข่ายใยประสาท (Neural Network) ก็จะค่อยๆเข้มแข็ง แล้วก็เติบโตขึ้น สมองมนุษย์เรานั้นเก่งนะครับ ตรงไหนไม่ค่อยใช้ เขาจะจัดการทำลายทิ้ง มีกลไกการทำลายตามธรรมชาติอย่างชัดเจน

 

หัวใจสำคัญที่สุดของ Executive Functions & Self-Regulation คือการที่สมองส่วนรู้คิด สามารถเป็นนายของสมองส่วนสัญชาตญาณที่ว่องไวแต่ทำแบบไม่ยั้งคิด นี่เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดต่อชีวิตมนุษย์มาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย  


ตั้งแต่โบราณ มนุษย์อยู่ในป่า เมื่อเผชิญหน้าสัตว์ร้าย ปฏิกิริยาก็คือ “จะหนีหรือจะสู้” ซึ่งมาจากสมองที่ไม่ต้องคิด เพราะถ้ามัวคิดอยู่ก็อาจจะตาย ดังนั้น ปฏิกิริยานี้จึงเรียกว่า Impulsive Reaction มัวแต่คิดจะไม่ทัน คิดไม่ได้  ถ้าคิดเมื่อไร...ตาย ดังนั้น ต้องไวถึงขนาดนั้นไม่ต้องคิด แต่มนุษย์ก็มีเรื่องอื่นมากมายที่ต้องคิด ต้องคุมให้อยู่ การคุมให้อยู่ก็คือการฝึก เราจะต้องฝึกกันจนกระทั่งในที่สุดแล้ว สมองส่วนที่ไวจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของส่วนที่ช้า และรอบคอบ นี่คือหัวใจของ Executive Functions & Self-Regulation ที่เราจะเรียนรู้กันในครั้งนี้


เรื่องนี้สั่งสอนไม่ได้ แต่จะต้องผ่านการฝึกฝน การจะปลูกฝัง Executive Functions & Self-Regulation นั้น ต้องฝึก ฝึกซ้ำๆ ในหลายที่หลายกรณี หลายกาลเทศะ จนกระทั่งเด็กได้เรียนรู้ไปเองว่า สิ่งนี้แหละดี นี่คือหัวใจสำคัญ

 

นอกจากนี้ ผมเข้าใจว่า Executive Functions เป็นฐานของความสามารถสมรรถนะทางด้านสังคม ทางด้านอารมณ์ และทางด้านการคิด การคิดนี้โยงไปสู่การปฎิบัติ พฤติกรรมต่างๆที่ซับซ้อนทั้งหลายก็อาศัยคุณสมบัติหรือพลังของ Executive Functions เป็นฐาน ซึ่งมันจะพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพที่เรียกว่า VUCA ซึ่งก็คือลักษณะสังคมปัจจุบันและจะยิ่งรุนแรงขึ้นในอนาคต


  • V =  Volatility คือความไม่คงที่   มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  • U = Uncertainty คือความไม่แน่นอน ผันผวน
  • C = Complexity คือ ความซับซ้อนซ่อนเงื่อน
  • A = Ambiguity คือความไม่ชัดเจน มองมุมหนึ่งก็เป็นอย่าง มองอีกมุมก็เป็นอีกอย่าง


โลกวันนี้เป็นเช่นนั้น ดังนั้น การที่จะยกระดับ EF จึงต้องฝึกเด็กภายใต้สภาพโลกเช่นนั้น พูดง่ายๆก็


คือพ่อแม่ที่เฝ้าปกป้องลูกจนเกินไปจากปัญหา จากสภาพแวดล้อมทั่วไป ลูกก็จะไม่มีโอกาสได้ฝึก เด็กของเราจึงต้องอยู่กับโลก แล้วก็เติบโตอย่างรู้เท่าทัน ได้เรียนรู้อย่างรู้เท่าทันโลกของความเป็นจริง

ดังที่ทราบแล้วว่า  ทักษะพื้นฐานสำคัญ 3 ด้านของ Executive Functions & Self-Regulation คือ                    

1) การบังคับใจ บังคับพฤติกรรมตัวเองได้  

2) การมีความยืดหยุ่นทางด้านการคิด และ…

3) Working memory ความจำใช้งานดี  


Working Memory นี้เชื่อมโยงกับความจำระยะยาว (Long Term Memory) และเชื่อมโยงกับสิ่งที่สังเกตได้ในปัจจุบัน จากนั้นก็มีกระบวนการประมวลผล (Processing) เหมือนคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็ว แล้วนำมาไตร่ตรองหาเหตุหาผล หาทางที่จะตอบสนองให้เหมาะสม ฉะนั้น ถ้า Working Memory ดี นั่นคือเป็นคนสมองดี เป็นคนที่ฉลาด มีขีดความสามารถที่ซับซ้อน


ฉะนั้น ผมคิดว่า เรื่อง Executive Functions & self-Regulation นี้ยังเป็นเรื่องที่จะมีต้องมีการทำวิจัยและทำความเข้าใจอีกมาก เป็นเรื่องของความซับซ้อนของสมองมนุษย์

 

ทักษะทั้งสามด้านนี้ สำคัญที่สุดคือมันต้องใช้ท่ามกลางความสับสนของโลก แบบ VUCA


ศาสตราจารย์ ดร.แนนซี่ ไอเซนเบิร์ก จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอริโซน่า สหรัฐอเมริกา ได้มาเล่าให้เราเห็นชัดเจนที่มหาวิทยาลัยมหิดลว่า  มีประเด็นที่จะทำวิจัยเพื่อทำความเข้าใจ ความเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆระหว่างสมองจากล่างขึ้นบน บนลงล่างแล้วก็ไปโยงสู่พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กอีกมากมาย ประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่าในการประชุมนี้ยังกล่าวถึงน้อยไปก็คือเรื่องวัยรุ่น การที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) มาร่วมเป็นภาคขับเคลื่อน EF ด้วยนั้นเป็นเรื่องดีเยี่ยม เพราะว่า แทนที่จะไปทำการปราบปรามที่ปลายทาง แต่มาส่งเสริมการพัฒนา EF ในเด็กปฐมวัยเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน  ซึ่งจะทำให้พลเมืองที่เติบโตขึ้นมีจิตใจเข้มแข็ง    EF ดีคือจิตใจเข้มแข็ง แต่ผมก็คิดว่า ป.ป.ส. ควรจะเน้นการทำงานกับวัยรุ่นให้มากขึ้นด้วย ผมมีความเชื่อว่า วัยรุ่นเป็นอีกช่วงชีวิตที่สำคัญมากต่อการเรียนรู้


           อย่างไรก็ตาม ผมเห็นด้วยว่า ควรมีการศึกษาค้นคว้า EF ในบริบทวัฒนธรรมแบบไทยของเราอย่างจริงจังด้วย

            ทักษะศตวรรษที่  21 นั้นเขาจะให้ความสำคัญต่อทักษะชีวิต (Life Skill) ซึ่งเชื่อมโยงกับเรื่อง EF มาก เพราะฉะนั้น โรงเรียนที่พยายามจะสร้างการเรียนรู้ในทักษะศตวรรษที่ 21 ถ้านำเรื่อง EF เข้าไปทำความเข้าใจ เสริมวิธีการบางอย่างเข้าไป เด็กจะได้ประโยชน์มากทีเดียว


          Executive Functions of the brain เป็นเรื่องของการมีเหตุผล ยับยั้งชั่งใจ กำกับอารมณ์ พฤติกรรมได้ วางแผนทำงานเป็น มุ่งใจจดจ่อ คำว่า “มุ่งใจจดจ่อ” นี้ผมขอยกกำลังสองนะครับ เพราะว่ามันมีสองด้านที่สำคัญ มุ่งใจจดจ่อที่สำคัญด้านหนึ่งก็คือ ทำอะไรไม่วอกแวก โรงเรียนที่ฝึกเรื่องนี้ดี เราเข้าไปนั่งข้างหลังห้องเพื่อ Observe เด็กๆก็จะไม่วอกแวกเลย จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ตัวต้องทำ อีกด้านหนึ่งของ “มุ่งใจจดจ่อ” ซึ่งผมเห็นว่าสำคัญ ก็คือการที่เด็กได้รับการฝึกให้มีเป้าหมายชีวิตระยะยาว ดังนั้น การที่จะมีเรื่องมาดึงให้เขาไปติดยาหรือไปหลงในอบายมุขต่างๆนั้น มันจะดึงเขายาก เพราะจิตใจเขาจดจ่ออยู่กับเรื่องระยะยาวที่เป็นคุณต่อชีวิตเขา ผมคิดว่า Executive Functions เกี่ยวข้องกับสองเรื่องนี้ และมันเป็น Feedback Loop ด้วย ก็คือถ้าเด็กที่มีใจจดจ่อระยะยาว ก็จะฝึก EF ง่ายด้วย


           ดังที่กล่าวแล้วว่า ผมเชื่อว่า Working Memory ที่เข้มแข็ง มันจะโยงกับเรื่องในอดีต ที่เป็น Long Term Memory ซึ่งถ้า Long Term Memory ได้รับการ Organize ดี มันจะหยิบมาใช้ง่าย วิธี Organize Long Term Memory นี้อยู่ในการเรียนรู้สมัยใหม่ทั้งหมด ผมคิดว่า ถ้าใจจดจ่อดี มันจะจัดระบบความรู้ที่อยู่ใน Long Term Memory ได้ดี และถ้าทำ Reflection ดี ครูตั้งคำถามให้ลูกศิษย์ทำ Reflection เป็น เด็กก็จะจำเรื่องราวเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ แล้วก็ดึงออกมาใช้ง่าย ดังนั้น Working Memory ของเด็กก็จะมีคุณภาพ ดังนี้ เป็นต้น

 

            ผมได้กล่าวไปแล้วว่าทักษะสมองมนุษย์เรานี้ มีความสามารถมากกว่าที่เราคิด มันมีมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ แล้วเมื่อคลอดออกมาก็มีความสามารถมากกว่าที่เราคิดอยู่ในขณะนั้น เพราะฉะนั้นเราต้องทำความเข้าใจเพื่อพัฒนาเขา การพัฒนานั้นไม่มีทางสั่งสอนหรือถ่ายทอด มีทางเดียวเท่านั้นคือให้เขาได้ทำ ให้เขาได้เห็นว่าผลจากการทำนั้นเป็นยังไง ผลเป็นแบบนี้หมายความอย่างไร นั่นคือ Reflection


        การเรียนรู้เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เครื่องมือทั้งหลายจะวิจิตรพิสดารแค่ไหน ก็เป็นเพียงตัวช่วย ไม่ใช่ตัวหลัก เพราะฉะนั้นถ้าทักษะสมองได้รับการฝึกโดยมนุษย์สัมผัสมนุษย์ ได้สื่อสารกันด้วยวิธีการหลากหลาย แววตา ท่าทาง ซึ่งอาจบอกไม่ได้ด้วยคำพูด แต่เรารู้เราเข้าใจ เด็กๆ ก็สามารถเข้าใจเรื่องเหล่านี้มากกว่าที่เราคิด ความสัมพันธ์เหล่านี้  คือการปฏิบัติฝึกฝนอย่างหนึ่งที่เด็กจะได้รับ ได้ฝึกเป็นทักษะ

 

             ผมได้พูดแล้วว่า การจะสร้างสมองดีต้องคิดอย่างใหม่ ไม่ใช่อย่างที่เราเคยเข้าใจ สมองนั้นเปลี่ยนแปรได้ เด็กคนหนึ่งสมองดีก็อย่าคิดว่าจะดีตลอด เพราะถ้าสมาทาน Fixed Mindset คิดว่าข้าเก่งแล้วไม่มีความมานะพยายาม สมองดีก็กลายเป็นสมองไม่ดีได้ เด็กสมองดีเป็น Genius ในที่สุดก็อาจโง่ได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการฝึก สมองดีฝึกได้ นี่คือความรู้สมัยใหม่นะครับ

            ผมได้กล่าวไปตอนต้นว่า เด็กไม่ได้เกิดในสังคมที่สมบูรณ์แบบ  มนุษย์เราเกิดมาก็อยู่ในสังคมอย่างนี้ ทุกสังคมไทยมีทั้งจุดแข็งจุดอ่อนอย่างนี้ ฉะนั้นเราต้องยอมรับว่า ในสังคมมีส่วนปัจจัยลบต่อการพัฒนาเด็ก เช่น

  • พ่อแม่เองเป็นตัวการทำให้ลูกเดือดร้อน “พ่อแม่รังแกฉัน” ความจริงพ่อแม่อาจตั้งใจดีแต่

กลายเป็นรังแกลูก

  • ความเครียดเรื้อรัง เป็นอันตรายมากต่อพัฒนาการของสมองและ EF ที่ร้ายมากก็คือเครียดเรื้อรังตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  ความเครียดเรื้อรังนี้อาจเป็นความเครียดมาจากทางจิตใจก็ได้ เครียดจากยาก็ได้ เครียดจากขาดสารอาหาร ติดยา ติดเหล้า พวกนี้ทำลายพัฒนาการทางสมองและ EF ทั้งสิ้น เป็น Negative Factor และเมื่อคลอดออกมาแล้วพ่อแม่ตีกันทุกวัน ทะเลาะกันทุกวัน เด็กก็ได้รับผลลบไปโดยไม่รู้ตัว
  • การเลี้ยงดูที่ผิด ซึ่งจะต้องให้ความรู้แก่พ่อแม่ (Parenting Education) เด็กปฐมวัยควรได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
  • การศึกษาที่ผิด การศึกษาไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่ผิดที่สอนแบบถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป แล้วก็วัดการเรียนรู้จากวิชาเท่านั้น นั่นคือผิด จะทำให้เด็กได้โอกาสพัฒนา EF น้อย โรงเรียน กระทรวง ครู รวมถึงพ่อแม่ด้วยยังเอาใจใส่แต่เรื่องเรียนวิชาให้ได้คะแนนสูงๆ ทั้งที่เด็กควรจะได้พัฒนาเต็มศักยภาพมากกว่า ผู้ใหญ่ไปสนใจแค่เรื่องคะแนนนิดเดียว ไม่ได้สนใจเรื่องใหญ่ทั้งหมดของชีวิต

 

จุดอ่อนที่สุดในสังคมไทยที่จะ Develop EF ก็คือ รูปแบบการศึกษาที่ผิด คือการถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป ที่ถูกต้องคือต้องเรียนโดยการทำงานเป็นทีม ทำโจทย์เป็นทีม ทำโครงการเป็นทีม แล้วก็ตามด้วย Reflection ครูต้องทำหน้าที่เป็น Coach ไม่ใช่ Teacher อีกต่อไป ต้องเป็น Coach เป็น Facilitator

 

         ถึงตอนนี้ท่านก็คงพอเห็นแล้วว่าไทยแลนด์ 4.0 นั้น เราต้องการให้เป็น Creative Society, Creative Economy เราก็จะต้องมีพลเมืองที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีพลเมืองที่มีความยับยั้งชั่งใจตนเอง อยู่กับคนอื่นเป็น อยู่กับตัวเองเป็น ให้แก่สังคมได้ ให้แก่ผู้อื่นเป็น คือคุณสมบัติของมนุษย์เต็มศักยภาพ

 

  สรุปว่าทุนมนุษย์ที่เราอยากได้นั้น ขึ้นอยู่กับ

1. การเรียนรู้ที่ถูกต้องตามศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ได้ทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยที่การเรียนรู้นั้นเป็น Transformative Learning คือเมื่อเรียน เมื่อฝึกแล้ว มี Leadership เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันก็เกิดขึ้นได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร   แต่ต้องมีการปฏิบัติตามด้วยการสะท้อนคิด ไม่ใช่เรียนโดยครูบอกให้จำแล้วไปตอบข้อสอบ


2. ต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) ก็คือการมีทักษะของการเรียนจากการปฏิบัตินั่นเอง ไปทำงานอะไรก็เรียนร่วมกับคนอื่น แชร์ให้คนอื่นเป็น Reflection จากที่ทำงานเป็น ดึงความรู้จากการทำงานออกมาได้ ภาษาวิชาการเรียกว่า Knowledge Management การจัดการความรู้ ทุกอย่างเหล่านี้เป็นเรื่องเดียวกันหมด การที่จะมี Life-Long Learning ได้ แม้อยู่ในที่ทำงานก็ต้องมีการเรียน แล้วก็เรียนร่วมกันเป็นทีม อย่าง Team Learning ก็จะยกระดับสิ่งที่มนุษย์มีอยู่แล้ว


ความริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) ไม่ใช่ของใหม่สำหรับมนุษย์ มนุษย์มีอยู่แล้วตามธรรมชาติปกตินั่นเอง แต่เมื่อมีการส่งเสริมจะยิ่งยกระดับขึ้น การที่จะได้ Innovation ในการทำงาน ในการประกอบอาชีพทั้งหลาย มันก็มาเองโดยอัตโนมัติ แล้วสิ่งสำคัญคือการมีท่าทีเชิงบวก เห็นคุณค่าคนอื่นเป็น สามารถมองเห็นคุณค่าประโยชน์ในสิ่งที่ ซับซ้อนจนเกือบมองคุณค่าไม่เห็น แต่จริงๆมันมีของดีอยู่ในนั้น ถ้าคิดอย่างนี้เป็น ชีวิตก็จะมีความสุข แล้วก็จะเห็นลู่ทาง ไม่มีทางอับจน

   

เมื่อฝึกฝนดี จะเป็นคนที่เห็นแก่ส่วนรวมเป็น เพราะถ้าเห็นแก่ส่วนรวมเป็น คุณได้มากกว่า ถ้าเกิด Attitude แบบนี้ คนนั้นจะมีชีวิตที่ดี


การที่คนไทยเราจะเป็นอย่างนี้ทั้งหมดได้ และพร้อมที่จะเป็นทุนมนุษย์ของบ้านเมืองของเราทั้งหมด ตามความฝันร่วมกันที่จะออกจาก Middle Income Trap ไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 เป็นสังคมแห่งความสร้างสรรค์ ทำมาหากินโดยใช้ความสร้างสรรค์ร่วมกันของเพื่อนมนุษย์ได้ด้วยกันนั้น  Executive Function & Self-Regulation เป็นฐานครับ


ขอบพระคุณมากครับ

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/631719

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 28 กรกฏาคม 2017 เวลา 17:10 น.  
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > EF คือรากฐานอันแข็งแกร่งของการพัฒนาทุนมนุษย์.

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8589397

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า