Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home

ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

เป็นที่ตกลงกันทั่วโลกแล้วว่า หากจะให้ผู้คนในประเทศใดๆ มีสุขภาวะดี  ประเทศนั้นต้องมี ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า  โดยที่มตินี้ ได้รับการรับรองจากสมัชชาสุขภาพโลก  และจากสมัชชาสหประชาชาติ

แต่ละประเทศจะต้องมีระบบของตนเอง  เลียนแบบกันไม่ได้ทั้งหมด  เพราะแต่ละประเทศมีเงื่อนไขหรือบริบทแตกต่างกัน

คำว่า “คุ้มครอง” ในที่นี้หมายความว่าประชาชนได้รับความคุ้มครอง  คือเข้าถึงบริการที่จำเป็นหรือต้องการได้ อย่างเท่าเทียมกัน  และการใช้บริการนั้นไม่เกิดภาระด้านค่าใช้จ่ายต่อประชาชนผู้นั้นจนเกินกำลัง  และในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เกิดภาระต่อภาครัฐ หรือต่อสังคมจนเกินกำลังเช่นกัน

เรื่อง “ไม่เกิดภาระด้านค่าใช้จ่ายอย่างไม่สมเหตุสมผล” นี่แหละ ซับซ้อนอย่างยิ่ง  เป็นที่มาของการสร้างระบบที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค (ป้องกันปัญหาที่ต้นทาง) ยิ่งกว่าเน้นการรักษาโรค(แก้ปัญหาที่ปลายทาง)

ประเทศไทยเรามี สสส. เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ในการทำหน้าที่ที่ต้นทางของระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า  และทำหน้าที่อย่างชาญฉลาด  คือเน้นให้ตัวประชาชน และชุมชนใกล้ตัวเอง เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า จึงต้องทำงานเชิงรุก และงานตั้งรับ อย่างสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกัน  ให้เกิดการลงทุนลงแรงน้อย ได้ผลมาก  งานเชิงตั้งรับ คือด้านรักษาโรค ก็ต้องมีทั้งระดับปฐมภูมิ รักษาโรคง่ายๆ  ทุติยภูมิ  และ ตติยภูมิ เป็นเส้นทางส่งต่อผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ  ต้องสร้างความเข้มแข็งของทุกระดับ  และหาทางลดการใช้บริการแบบข้ามขั้นตอน เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก

ต้องมีการวางยุทธศาสตร์ วางแผนของระบบ เพื่อทำงานรับมือกับปัญหาได้ตรงเป้า  จึงต้องรู้เป้าของแต่ละประเทศ  ซึ่งในภาพใหญ่เหมือนกันหมด  คือปัญหาสุขภาพในปัจจุบันที่ก่อความสิ้นเปลืองมากอยู่ที่โรคเรื้อรัง ที่เกิดจากวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม (เช่นสูบบุหรี่  ไม่ออกกำลังกาย  กินอาหารมากเกินไป)  และอยู่ที่ประชากรสูงอายุมีสัดส่วนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในการประชุมคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ  Sir Gus Nossal กล่าวว่า ราคายาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ไม่ได้ตั้งตามราคาต้นทุนของการผลิต  แต่ตั้งตามความสามารถของผู้ซื้อ ว่าพอใจซื้อในราคาเท่าไร  ฝ่ายผู้ซื้อเทคโนโลยีจึงต้องมีความสามารถในการประเมินความคุ้มค่าของเทคโนโลยีแต่ละชนิด  ว่าในบริบทของประเทศของตน เทคโนโลยีนั้นคุ้มค่าหรือไม่  ไม่ใช่ซื้อเทคโนโลยีตามประเทศที่พัฒนแล้ว เพื่อโชว์ความทันสมัย

โชคดีที่ประเทศไทยมีแผนงานประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพทำหน้าที่นี้  เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า

ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ใช่ระบบที่หยุดนิ่ง  แต่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มีแรงกดดัน หรืออิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ รอบด้าน  จึงต้องมีการวิจัยตรวจสอบเชิงระบบในแง่มุมต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  สำหรับเป็นเข็มทิศชี้ทางต่อการวิวัฒนาการระบบ  ให้วิวัฒน์หรือดีขึ้น ไม่ใช่วิบัติ หรือเสื่อม

ประเทศไทยเราก็โชคดีเช่นกัน ที่มีสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.​๒๕๓๕   ได้สร้างผลงานวิจัยเชิงระบบที่มีคุณประโยชน์มากมาย  ที่จริงโครงการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า ที่เวลานี้จัดการโดย สปสช. เป็นองค์กรหลัก ก็มาจากผลงานวิจัยของ สวรส.  รวมทั้ง สสส. และ สรพ. ก็มาจากการวิจัยของ สวรส. ทั้งสิ้น

มองจากประชาชน ผู้รับการคุ้มครอง  นักวิชาการบอกว่า ประชาชนต้องเข้าถึงบริการที่จำเป็น (Access)  อย่างเท่าเทียมกัน (Equity)  โดยที่บริการนั้นต้องมีคุณภาพดี (Quality)  ตรงคุณภาพนี้ ประเทศไทยเราก็มีสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนคุณภาพของระบบริการสุขภาพทุกระดับ

ในการประชุม 2ndGlobal Symposium on Health Systems Research (31 Oct. – 3 Nov. 2012) ที่ปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๓๑ ต.ค. มีการนำเสนอเรื่อง การคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศ BRICs  คือ บราซิล  รัสเซีย  อินเดีย  และจีน  ผมประทับใจประเทศบราซิลมาก  ที่มีการวิจัยตรวจสอบการเสียดุลการค้าระหว่างประเทศ ที่เกิดจากระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าด้วย  และวางยุทธศาสตร์ลดการเสียดุลย์ลง  โดยผลิตยาและเวชภัณฑ์ขึ้นใช้เอง

ประเทศไทยเรายังขาดการวิจัยระบบ ที่ตรวจสอบขนาดและแนวโน้มของการขาดดุลการค้า ที่เกิดจากระบบสุขภาพ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ พ.ย. ๕๕


· เลขที่บันทึก: 509774

 
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8627495

facebook

Twitter


บทความเก่า