Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > ประชาธิปไตย

ประชาธิปไตย

พิมพ์ PDF

 

ประชาธิปไตยในสังคมไทย

ข้อความนี้คัดลอกมาจากหนังสือ "การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง" ของ ทิพย์พาพร ตันติสุนทร

คำว่า "ประชาธิปไตย" นั้น แท้จริงแล้วก็คือระบอบการเมืองที่เปิดโอกาสให้สำหรับทุกคนได้เป็นตัวแสดง ไม่ให้ใครมาผูกขาดคิดรับเหมาทำแทนโดยไม่ผ่านการยอมรับได้ง่ายๆ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้พูดไว้ในหนังสือการเมืองของพลเมืองฯว่า "ประชาธิปไตยนั้นมีเนื้อหาและวิญญาณที่เป็นเอกอุ คือการปกครองของเราเอง เพื่อเราเอง และที่ตอกย้ำให้ถึงที่สุดก็คือโดยพวกเรากันเอง" พูดง่ายๆก็คือ การปกครองกันเอง การปกครองแบบนี้ คนในสังคมก็ต้องพูดกันรู้เรื่อง มีเหตุมีผล มีวิจารณญาณและมีความรับผิดชอบ ไม่ใช่เฮกันไปตามวาทกรรมของผู้นำ หรือนักการเมืองที่มักผูกขาดการชี้นำแบบเผด็จการ

โดยที่ประชาธิปไตยนั้น เป็นทั้งระบอบการเมืองและวิถีชีวิต บิดาทางรัฐศาสตร์ของตะวันตก ได้แก่ เพลโต (Plato) และอาริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้กล่าวไว้ว่า ระบบการเมือง-การปกครอง กับพฤติกรรมมนุษย์ หรือบุคลิกภาพและวัฒนธรรมการเมืองของสมาชิกในสังคมนั้นจะต้องสอดคล้องกัน จากความเห็นดังกล่าว การสร้างพลเมืองให้สอดคล้องกับระบบการปกครอง ก็จะเป็นการค้ำจุนตัวระบอบ ซึ่งการใช้ชีวิตจนเป็นวิถีชีวิตของพลเมืองที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับอุดมการณ์ของระบอบก็จะทำให้การเมืองมีความมั่นคง

สำหรับประชาธิปไตยในประเทศไทยขณะนี้ หากอนาคตของประเทศอยู่ที่ประชาธิปไตย และพลเมืองคือผู้สนับสนุนค้ำจุนตัวระบอบ เรายังไม่มีฉันทานุมัติ (Consensus) ในเรื่องประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการสะท้อนปัญหาความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐที่ควบคุมกลไกทางการเมือง กับพลเมืองผู้เป็นที่มาของอำนาจทางการเมือง นอกจากนี้ปัญหาที่ทับซ้อนกันก็คือ เราจะ "สร้างพลเมือง" หรือเปลี่ยนแปลงประชาชนให้เป็นพลเมืองที่ใช้ชีวิตและมีวัฒนธรรมการเมืองที่สอดคล้องกับระบอบการเมืองหรืออุดมการณ์ประชาธิปไตยได้อย่างไร และโดยวิธีใด

สิ่งที่สะท้อนให้เราเห็นก็คือสังคมไทยอ่อนแอ ไม่อาจแก้ปัญหาเมื่อเผชิญกับวิกฤติใหญ่ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐  วิกฤติการเมือง ความแตกแยกแบ่งสี ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๙ และวิกฤติมหาอุทกภัย ๒๕๕๔ สิ่งที่น่าพิจารณาคือ หลังการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ จวบจนปัจจุบัน ทั้งกลไกการเมืองระดับบนสุด และกลไกบริหารด้านต่างๆของรัฐมิได้มีความแข็งแกร่งหรือความสามารถในการจัดการเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ที่รุนแรงดังกล่าวมาแล้วได้ แม้ว่าเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญภายหลังปี ๒๔๗๕ คือ การขยายมิติการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง โดยการนำเอาระบอบประชาธิปไตยเข้ามาแทนที่ระบอบเดิม แต่ก็ปรากฎว่ามิตินี้ยังไม่สามารถผนึกกำลังเป็นปึกแผ่นแน่นหนาได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านอุดมการณ์ ค่านิยม และด้านสถาบันทางการเมือง ประชาชนโดยทั่วไปยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงใดๆได้ ทำให้บทบาทของรัฐราชการมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เมือถึงประเทศไทย จึงทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนจะมีขึ้นได้ก็โดยผ่านการเลือกตั้ง และการเข้าร่วมโครงการต่างๆ ตามที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด การมีบทบาททางการเมืองของประชาชนจึงถูกจำกัดอยู่เพียงการเป็น "ผู้เข้าร่วม" ทางการเมือง หาใช่ผู้ "มีส่วนในการกระทำร่วม" ทางการเมืองตลอดระยะเวลานับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แม้ในอีก ๑ ขวบปีข้างหน้าคือปี ๒๕๕๕ ก็จะครบรอบ ๘๐ ปี ของการนำเอาระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในประเทศ และคนไทยมีรัฐธรรมนูญใช้แล้วถึง ๑๘ ฉบับ แต่ความเข้าใจและความรู้ทางการเมืองของคนไทยยังอยู่ในลักษณะจำกัด ความอ่อนแอของสังคมจึงสะท้อนได้จากการไม่สามารถสร้างมิติการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เป็นพลังสังคมร่วมกับรัฐในการพัฒนาความมั่นคงทางสังคม เพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤติใหญ่ๆ ของชาติไปให้ได้ เรื่องการเมืองจึงยังไม่สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตของคนไทยโดยทั่วไป หรืออาจกล่าวได้ว่า คนไทยยังขาดวัฒนธรรมการเมือง จึงควรที่เราจะได้ทำความคุ้นเคยกับ "การเมือง" ให้มากขึ้น เพราะการเมืองเกี่ยวข้องกับทุกคน ทุกเรื่อง ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต  การไม่สนใจการเมืองและไม่มีความรู้และความเข้าใจการเมือง จึงมีผลทำให้คนไทยถอยห่างจากการเมืองมากขึ้น และปล่อยให้ธุระทางการเมืองเป็นเรื่องของข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ และกลายเป็นธุรกิจการเมืองไปแล้ว  เมื่อข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการเมือง ร่วมกันทำกิจกรรมทางการเมืองในทุกระดับ จึงเกิดการคอร์รัปชั่นขนานใหญ่ กลายเป็นมะเร็งร้ายทางการเมืองที่กัดกร่อนสังคมไทยอยู่ในทุกวันนี้

โปรดติดตามอ่านตอนต่อไปได้ในบันทึก " การเมือง"

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2013 เวลา 00:02 น.  
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > ประชาธิปไตย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559400

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า