Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > อธิบายการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน โดยอาจารย์วิจารณ์ พานิช

อธิบายการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน โดยอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

ผมลงมติกับตัวเองว่า ที่เรียกว่า trans formative learning คือการเรียนรู้แบบลงมือทำ (learning by doing) หรือ action learning นั่นเอง

 

อธิบายการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน

ที่จริงวงการศึกษารู้จักการเรียนรู้โดยการเปลี่ยนแปลงจากภายใน (trans formative learning) มานานแล้ว  ดังกรณี ปิระมิดแห่งการเรียนรู้ข้างล่าง

 

จะเห็นว่า ระบบการศึกษาที่ยึดถือการเรียนรู้แบบถ่ายทอดความรู้ (informative learning) จะจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการส่วนยอดของปิระมิด หรือส่วนสีชมพู

ส่วนระบบการศึกษาที่เชื่อในการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน  จะจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่ฐานปิระมิด หรือส่วนสีเหลือง

ผลการวิจัยเมื่อ 40-50 ปีมาแล้วบอกชัดเจน ว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีการส่วนฐานของปิระมิด ให้ผลการเรียนรู้ดีกว่ามาก  แต่ก็แปลก ที่วงการศึกษาไทยไม่ตระหนัก  และไม่รู้จัก trans formative education/learning

ผมเคยเข้าใจผิด ว่า trans formative learning เป็นเรื่องของการภาวนา เพื่อขัดเกลาจิตใจ แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านในแบบถอนรากถอนโคน  บัดนี้ หลังจากอ่านหนังสือ The Heart of Higher Education : A Call to Renewal อย่างไตร่ตรองใคร่ครวญ ผมลงมติกับตัวเองว่า  ที่เรียกว่า trans formative learning คือการเรียนรู้แบบลงมือทำ (learning by doing) หรือ action learning นั่นเอง

ผมตีความว่า trans formative learning เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นช้าๆ ทีละเล็กละน้อย ภายในตน ของผู้เรียน  ผ่านการปฏิบัติ (ทำ และ คิด)  จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงปัญญา (intellectual), อารมณ์ (emotion), สังคม (social), และจิตวิญญาณ (spiritual)

ครูที่ทำหน้าที่ "ครูฝึก" เก่ง จะช่วยชี้ ชวน ช่วย เชียร์ ชม ให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวา มีพลัง และตรงทาง  คือไปในทางสัมมาทิฐิ ไม่หลงไปทางมิจฉาทิฐิ  ครูจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  แต่ไม่ใช่ทำหน้าที่ ครูสอน ที่เน้นถ่ายทอดวิชา  แต่ทำหน้าที่ ครูฝึก ที่เน้นหน้าที่ ๕ช  ซึ่งตีความได้ว่า ทำหน้าที่ “คุณอำนวย” (facilitator) ต่อการเรียนรู้ ของศิษย์

กล่าวให้เข้าใจง่าย ทำงาย การเรียนที่เน้น PBL ตามด้วย AAR/Reflection คือการเรียนรู้แบบ เน้นการเปลี่ยนแปลง งอกงาม จากภายใน (trans formative learning)

การเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายในต้องมีส่วน เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ (contemplative learning) อยู่ด้วย  ส่วนนี้คือ AAR หรือ reflection นั่นเอง  ครูฝึก trans formative learning จึงต้องมีทักษะการเป็น คุณอำนวย ของกระบวนการ AAR

ผมตีความว่า ครูก็ต้องเรียนรู้ฝึกฝนตนเอง เพื่อให้เกิด trans formative learning ภายในตนเช่นกัน  และทำได้ไม่ยากโดย PLC (Professional Learning Community)  คือเรียนรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ครู  และผลัดกันทำหน้าที่ “คุณอำนวย”  ต่อการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเพื่อนครูด้วยกันเอง

ครูที่มีความสามารถ จะช่วยทำให้ การเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน ขับเคลื่อนจากความหมายทั่วๆ ไป  ไปสู่ความหมายพิเศษ  คือเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านใน ที่เกิดการละลดตัวตน ความเห็นแก่ตัว ไปสู่โพธิสัตว์ในความหมายทางพุทธ

ยิ่งฝึกปฏิบัติจิตตภาวนา สู่จิตตปัญญา ร่วมไปด้วย การเปลี่ยนแปลงสู่โพธิก็จะยิ่งสะดวกเด่นชัดขึ้น

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ม.ค. ๕๖

 

 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > อธิบายการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน โดยอาจารย์วิจารณ์ พานิช

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8589895

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า