Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > พระมหากษัตริย์ไทย

พระมหากษัตริย์ไทย

พิมพ์ PDF

 สงครามโลกครั้งที่ ๑ และ ครั้งที่ ๒ เกิดจากลัทธิล่าเมืองขึ้น(Colonialism)ของระบบทุนนิยม ซึ่งเกิดจากการแข่งขันกันสร้างประชาธิปไตยในเศรษฐกิจของอังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นสำคัญ ซึ่งตรงข้ามกับลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ของระบบทุนนิยม เช่นเดียวกัน

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสันนิบาตชาติ(League of Nations)ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ และสหประชาชาติ(United Nations)ซึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ต่อสู้เพื่อยกเลิกลัทธิล่าอาณานิคมที่เป็นต้นเหตุของสงครามโลกทั้ง ๒ ครั้ง เพื่อสร้างสันติภาพโลก และสร้างความมั่นคงระหว่างประเทศ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงเริ่มต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคมมาเป็นลำดับ 



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงต่อสู้เอาชนะลัทธิล่าอาณานิคมอย่างแหลมคมยิ่งนัก ด้วยหลักพุทธอหิงสาธรรมอันเป็นการต่อสู้สันติที่ลึกซึ้งที่สุดตามหลักทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการที่ดีที่สุดในโลกเหนือกว่าหลักการของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งปวง โดยทำให้ประเทศมีความเข้มแข็ง ทำให้มีการปกครองเสมอกับนานาอารยะประเทศ และเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาอารยประเทศ ได้ทำการสร้างประชาธิปไตยอย่างสันติตามหลักพุทธอหิงสาธรรม ที่เรียกทางวิชาการว่า.. “การปฏิวัติสันติ”(Peaceful Revolution) ซึ่งจะมีผลมีชัยชนะอย่างเป็นไปเองต่อประเทศนักล่าอาณานิคม
ที่สร้างประชาธิปไตยจากการปฏิวัติรุนแรง (Violent
Revolution) และทำการต่อสู้ด้วยแนวทางสันติอหิงสาพุทธเอาชนะลัทธิล่าอาณานิคมด้วย

ลัทธิประชาธิปไตย(Democracy)และ ลัทธิชาตินิยม
(Nationalism) และปรัชญาพุทธที่เหนือกว่าปรัชญาตะวันตกคือ.. “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น” ซึ่งเหนือและลึกซึ้งกว่าปรัชญา “เอกภาพของความแตกต่างที่ยึดมั่นถือมั่น” ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของชาติสมัยใหม่ของลัทธิประชาธิปไตย คือ เคารพในเอกราชและอธิปไตย ไม่รุกราน ไม่แทรกแซงกิจการภายในเคารพในบูรณภาพแห่งอาณาเขต เสมอภาคถ้อยทีถ้อยในผลประโยชน์ระหว่างชาติ ทรงดึงเอาประเทศประชาธิปไตยอื่นๆเป็นพันธมิตร เช่น รัชเสีย เยอรมัน อิตาลี ฯลฯ เข้าร่วมต่อสู้กับประเทศจักรพรรดินิยมนักล่าอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศส โดยทรงบุกเข้าไปต่อสู้ในบ้านของประเทศนักล่าอาณานิคมเองเลยทีเดียว เช่น การเสด็จพระพาสยุโรป ๒ ครั้ง ซึ่งไม่ใช่การเสด็จประภาสธรรมดาๆ แต่เป็นเสด็จไปทำการต่อสู้อย่างสันติเอาชนะต่อลัทธิล่าอาณานิคม นั่นเอง เพราะลัทธิล่าอาณานิคมเป็นเงื่อนไขให้เกิดของสงครามโลกทั้ง ๒ ครั้ง ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงทรงเป็นผู้นำของโลกในการต่อสู้เอาชนะลัทธิล่าอาณานิคม พระองค์จึงทรงเป็น.. 

...“พระมหากษัตริย์ผู้สร้างสันติภาพโลก”(The King of Peace Maker) นั่นเอง

พระองค์มีชัยชนะต่อลัทธิล่าอาณานิคมของโลก และลัทธิล่าอาณานิคมก็ล่มสลายและถูกยกเลิกให้หมดสิ้นไปด้วยสหประชาชาติหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงชัยชนะต่อลัทธิล่าอาณานิคมโดยอังกฤษและฝรั่งเศส คือ.. “สนธิสัญญาลับ The Entente Cordiale ค.ศ. 1904” ที่ได้บัญญัติไว้ว่า.. “คู่สัญญาระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสจะไม่ผนวกเอาดินแดนใดๆของประเทศสยามมาเป็นของตน” (The two contracting parties have no idea to annexing of any Siamese territory) ทรงมีบทบาทจนได้รับการยกย่องยอมรับขึ้นทำเนียบของพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทสูงเด่นของโลกในยุคนั้น 

ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงสืบทอดพระราชภารกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองฯ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕

ต่อๆมาทางกองทัพแห่งชาติและรัฐบาลได้นำเอาพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ มาประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ในขณะนั้นเป็น.. “นโยบาย ๖๖/๒๓” ยุติสงครามกลางเมืองของไทย นำประเทศไทยจากสถานการณ์สงครามเข้าสู่สถานการณ์สันติภาพ และยุคยุติสงครามเย็นของโลกระหว่างโลก ๒ ขั้ว(Bi-Polars) นำโลกยุคปฏิวัติรุนแรงเข้าสู่ยุคปฏิวัติสันติโดยพื้นฐานแล้ว นี่คือบทบาทของประเทศไทยต่อการสร้างสันติภาพโลก

จากประสบการณ์ของใช้นโยบาย ๖๖/๒๓ นำประเทศไทยเข้าสู่สถานการณ์สันติภาพ นำโลกเข้าสู่สถานการณ์สิ้นสุดยุคสงครามเย็นของโลก ๒ ขั้ว ได้ทำการสลายขั้ว และสลายความแตกต่างให้เข้าสู่เอกภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งประเทศและทั้งโลก โดยได้ทำการพิเคราะห์อย่างละเอียดลึกซึ้งและแหลมคมที่สุด ได้พบว่า.. “ปรัชญาของทั้ง ๒ โลก”..คือ... 

- โลกทุนนิยมเสรี..คือ.. “เอกภาพของความแตกต่าง”(The Unity of Diversity) 

- โลกสังคมนิยม..คือ.. “เอกภาพของด้านตรงข้าม”(The Unity of Opposites)


ปรัชญาทั้ง ๒ โลกเป็นอุปสรรคไม่สามารถจะสร้างเอกภาพทางความคิดจิตวิญญาณได้ ที่นำไปสู่การสร้างสังคมแห่งสันติภาพโลกถาวรที่แท้จริงได้ นั่นคือ... 


- “เอกภาพของความแตกต่าง”...ของโลกทุนนิยมเสรี ยึดมั่นถือมั่นแต่ความแตกต่าง(Diversity) ขอให้แตกต่างกันเข้าไว้ เคารพความแตกต่าง จนไม่เข้าสู่เอกภาพความไม่แตกต่างที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหตุเพราะมองไม่เห็น.. 

“เอกภาพ”(Unity) เพราะเข้าใจว่าเอกภาพไม่มีความหมายอะไร หรือเท่ากับ 0 หรือความว่างเปล่า ดังนั้น เอกภาพของความแตกต่าง..ก็คือ..ความแตกต่าง นั่นเอง ไม่สามารถที่จะเข้าถึงความไม่แตกต่างที่เป็นเอกภาพอันหนึ่งอันเดียวกันได้เลย แต่โดยสัจธรรมความจริงแท้แล้ว(Reality) ความไม่มีมีอยู่จริง(Existence) ความว่างมีอยู่จริง 0 สูญมีอยู่จริง สุญญตามีอยู่จริง อนัตตามีอยู่จริง ความไม่แตกต่างมีอยู่จริง ความหมายของเอกภาพมีอยู่จริง เพียงแต่ผู้คนที่ไม่ใช่ชาวพุทธมองไม่เห็น เพราะเรามักจะใช้หู ตา จมูก ลิ้น กายที่อายตนะทั้ง ๕ ไปมองจึงมองไม่เห็นรู้ไม่ได้สัมผัสไม่ได้ แต่จะต้องใช้จิต(ใจ)ไปมองตามอริยสัจธรรม ๔ มรรคมีองค์ ๘ ก็จะมองเห็นได้ รู้ได้ สัมผัสได้ เข้าถึงได้ ซึ่งเมื่อมองเห็นได้ รู้ได้ สัมผัสได้ เข้าถึงได้ด้วยวิถีจิตตามหลักพุทธธรรมก็จะเป็นเข้าสู่ความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกันที่ไม่มีความแตกต่างอีกต่อไป เพราะเอกภาพคือสภาวธรรม(Reality) ที่จิตจะต้องสะท้อนภาพสภาวธรรมซึ่งเป็นเอกภาพมาอยู่สมองมนุษย์เรียกว่า.. 

“สัจธรรม” หรือ “ความจริง” หรือ เรียกคำอังกฤษว่า “Truth” เมื่อมนุษย์สามารถใช้จิตไปสะท้อนภาพของความจริงแท้หรือสภาวธรรมอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ไม่มีความแตกต่างก็จะยกระดับจาก.. “ความแตกต่าง..ขึ้นสู่..เอกภาพสมบูรณ์ที่ไม่มีความแตกต่าง” ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพโลกถาวรได้อย่างแท้จริง เพราะจิตเมื่อเข้าถึงสภาวธรรมอันเป็นความว่าง เป็นสุญญตา เป็นอนัตตา เป็นความไม่มี เป็นอสังขตธรรม เป็นความไม่แตกต่างแล้ว ก็จะเป็นเอกภาพสมบูรณ์อันหนึ่งอันเดียวกันไม่แตกต่างเป็นเพศหญิง-ชาย คนชาตินั้นชาตินี้ จิตทุกคนจะเป็นเอกกัคคตาอันหนึ่งอันเดียวกันโดยสภาวธรรมที่เป็นเอกภาพสมบูรณ์ นี่คือ สันติภาพโลกถาวร เพราะความแตกต่างคือสัจธรรมสัมพัทธ์(Relative Truth)อันเป็นความถูกต้องอย่างประกอบด้วยเงื่อนไข และเอกภาพคือสัจธรรมสัมบูรณ์(Absolute Truth)อันเป็นความถูกต้องอย่างปราศจาเงื่อนไข 

-
“เอกภาพของด้านตรงข้าม”...ของโลกสังคมนิยม ยึดมั่นถือมั่นแต่ขั้วหรือด้านตรงข้ามที่เป็นสภาวะ.. “ความขัดแย้ง”(Contradiction) ขอให้ขัดแย้งกันเข้าไว้ ต้องเคารพความขัดแย้ง ต้องดำรงความขัดแย้งไว้ จนไม่เข้าสู่เอกภาพความไม่ขัดแย้งที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้เลย แต่โดยสัจธรรมความจริงแท้แล้ว(Reality) ความไม่ขัดแย้งมีอยู่จริง(Existence) ความว่างมีอยู่จริง 0 สูญมีอยู่จริง สุญญตามีอยู่จริง อนัตตามีอยู่จริง ความหมายของเอกภาพที่เป็นความไม่ขัดแย้งมีอยู่จริง เพียงแต่ผู้คนที่ไม่ใช่ชาวพุทธมองไม่เห็น เพราะเรามักจะใช้หู ตา จมูก ลิ้น กายที่อายตนะทั้ง ๕ ไปมองจึงมองไม่เห็นรู้ไม่ได้สัมผัสไม่ได้ แต่จะต้องใช้จิต(ใจ)ไปมองตามอริยสัจธรรม ๔ มรรคมีองค์ ๘ ก็จะมองเห็นได้ รู้ได้ สัมผัสได้ เข้าถึงได้ ซึ่งเมื่อมองเห็นได้ รู้ได้ สัมผัสได้ เข้าถึงได้ด้วยวิถีจิตตามหลักพุทธธรรมก็จะเป็นเข้าสู่ความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกันที่ไม่มีความขัดแย้ง นั่นคือ.. “วัตถุ”(Matter)ในปรัชญาวัตถุนิยม นั่นเอง เพราะลักษณะของวัตถุคือ..เป็นความจริงแท้ ไม่มีต้นไม่มีปลาย ไม่มีแดนเกิดไม่มีที่สิ้นสุด ดำรงอยู่เป็นอนันตกาล รู้ไม่ได้ สัมผัสไม่ได้ด้วยหู ตา จมูก ลิ้น หาย แต่ที่รู้ได้สัมผัสได้คือ.. “รูปของวัตถุ”(Form of Matter)ซึ่งสังขตธรรมเท่านั้น และรู้ได้สัมผัสได้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์

เพราะว่า.. “วิทยาศาสตร์..คือ..การค้นหาสัจธรรมความจริงจากรูปของวัตถุ”(Science is seeking truth from concrete fact) แต่วัตถุหรือเนื้อวัตถุที่ไม่เป็นรูป(Form)วิทยาศาสตร์ไม่อาจจะรู้ได้สัมผัสได้เลยอย่างสิ้นเชิง ยกเว้นจะใช้
จิต(ใจ)เท่านั้นที่เอาไปมองหาเนื้อวัตถุที่เป็นสภาวธรรมอันเป็นความจริงแท้ที่เป็นเอกภาพจึงจะรู้ได้เห็นได้สัมผัสได้ และอาวุธในการมองเห็นเนื้อวัตถุหรือตัววัตถุที่เป็นสภาวธรรมหรือความจริงแท้ที่เป็นเอกภาพ

บทความนี้ผมคัดลอกมาจาก ไลน์ของพระรูปหนึ่งที่ผมรู้จัก ได้สอบถามท่านไปว่าท่านเขียนเอง หรือคัดลอกมาจากไหน แต่ยังไม่ได้รับคำตอบจากท่าน ถ้าทราบข่าวอย่างไรจะรีบแจ้งให้ทราบ

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท

27 พฤศจิกายน 2561

 
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > พระมหากษัตริย์ไทย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559611

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า