Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๕) เมื่อนักเรียนบางคนเรียนไม่ทัน

บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๕) เมื่อนักเรียนบางคนเรียนไม่ทัน

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดนี้ ถอดความมาจากหนังสือ Learning by Doing : A Handbook for Professional Learning Communities at Work. 2nd Ed, 2010 เขียนโดย Richard DuFour, Rebecca DuFour, Robert Eaker, Thomas Many  
ตอนที่ ๕ นี้จับความจาก Chapter 4 : How Will We Respond When Some Students Don’t Learn?

บทที่ ๔ นี้เริ่มด้วยเรื่องเล่าว่าโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง ชั้น ม. ๔ ที่มีครูคณิตศาสตร์ ๔ คน ที่มีบุคลิกเฉพาะตัวคนละแบบ   ๔ คน ก็ ๔ แบบ

ครู ก กดคะแนน นักเรียนตกมาก เพราะถ้าไม่ส่งการบ้านตรงตามเวลา จะได้ศูนย์ "เพื่อฝึกความรับผิดชอบ" แต่เมื่อไปสอบรวมของรัฐจะมีนักเรียนที่ได้คะแนนเด่นจำนวนมาก

ครู ข ใจดี สอนสนุก นักเรียนได้คะแนน A และ B เท่านั้น แต่เมื่อไปสอบรวมของรัฐมีนักเรียนสอบตกมาก

ครู ค เลือกนักเรียน เมื่อสอนไปได้ระยะหนึ่งก็ขอย้ายนักเรียนให้ลงไปเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นต่ำลงไป "เพราะพื้นฐานคณิตศาสตร์ไม่ถึงระดับ ม. ๒"  ผลการสอบรวมของรัฐ นักเรียนที่เหลืออยู่ในชั้นทุกคนจะได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งรัฐ

ครู ง เป็นครูที่ครูใหญ่ชื่นชอบที่สุด เพราะ ฝึกนักเรียนให้มีความรับผิดชอบ และเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายคน  คนไหนเรียนล้าหลังครูจะนัดมาพบและสอนนอกเวลา

แต่ครู ง ก็โดนแม่ของนักเรียนร้องเรียน ว่าดึงเด็กไว้สอนซ่อมอกเวลา   โดยที่แม่ต้องการให้ลูกชายรีบกลับบ้าน ไปดูแลน้องสาว   เพราะแม่ทำงานกลับบ้านค่ำ   และที่บ้านไม่มีคนอื่นอีกแล้ว

ครูใหญ่ของโรงเรียนนี้จะทำอย่างไร?

วิธีแก้ปัญหานักเรียนบางคนไม่เรียน หรือเรียนช้า   ที่ได้ผลยั่งยืนคือต้องมีระบบช่วยเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในช่วงเวลาปกตินั้นเอง   โดยที่ระบบนั้นจัดเป็นทีม เป็นกิจกรรมของโรงเรียน ที่ครู นักเรียน และภาคีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ร่วมกันลงมือทำ   หรือกล่าวว่า PLC ของครูร่วมกันคิด และร่วมกันทำ

ทำอย่างเป็นระบบ   ภายใต้แนวคิดว่านักเรียนแตกต่างกัน   นักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ช้ากว่า และต้องการความช่วยเหลือ ก็จะมีระบบช่วยเหลือ ทั้งจากครู เพื่อนนักเรียน และผู้ปกครองทางบ้าน   จนในที่สุดสามารถเรียนได้ทันกลุ่มเพื่อนๆ   คือมี PLC เพื่อการนี้   ที่นอกจากนักเรียนได้รับการดูแลที่ดี ครูก็ได้เรียนรู้ร่วมกันด้วย

ครูได้เรียนรู้ตั้งแต่การร่วมกันคิดระบบตรวจสอบ ว่านักเรียนคนไหนที่กำลังเรียนไม่ทันเพื่อน และต้องการความช่วยเหลือพิเศษ   หรือที่จริงเป็นการร่วมกันพัฒนาระบบตรวจสอบการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งระบบ ที่เรียกว่า formative assessment เพื่อประโยชน์ในการเอาใจใส่ และช่วยเหลือนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ   โดยต้องระมัดระวังว่า ความช่วยเหลือพิเศษนั้น ไม่ใช่เป็นการลงโทษให้ต้องเรียนเพิ่ม   แต่เป็นการช่วยให้ได้เรียนรู้อย่างแท้จริง

ระบบช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนอ่อนนี้ มีลักษณะที่เป็นไปตามตัวย่อว่า SPEED

Systematic  หมายถึงมีการดำเนินการเป็นระบบทั้งโรงเรียน   ไม่ใช่เป็นภาระของครูประจำชั้นแต่ละคน   และมีการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร (ใคร ทำไม อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร) ไปยังทุกคน ได้แก่ ครู (ทีมของโรงเรียน)  พ่อแม่  และนักเรียน

Practical  การดำเนินการช่วยเหลือเป็นไปได้ตามทรัพยากรที่มีอยู่ของโรงเรียน (เวลา พื้นที่ ครู และวัสดุ)  และดำเนินการได้ต่อเนื่องยั่งยืน   ทั้งนี้ ไม่ต้องการทรัพยากรใดๆ เพิ่ม   แต่ต้องมีการจัดการทรัพยากรเหล่านั้นแตกต่างไปจากเดิม  นี่คือโอกาสสร้างนวัตกรรมในการจัดการทรัพยากรของโรงเรียน

Effective  ระบบช่วยเหลือต้องใช้ได้ผลตั้งแต่เริ่มเปิดเทอม   มีเกณฑ์เริ่มเข้าระบบและออกจากระบบที่ยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะสมสำหรับช่วยเหลือนักเรียนที่แตกต่างกัน   เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ได้ผลดีแก่นักเรียนทุกคน

Essential   ระบบช่วยเหลือต้องทำแบบโฟกัสที่ประเด็นเรียนรู้สำคัญตาม Learning Outcome ที่กำหนดโดยการทดสอบทั้งแบบ formative และ summative

Directive  ระบบช่วยเหลือต้องเป็นการบังคับ   ไม่ใช่เปิดให้นักเรียนสมัครใจ  ดำเนินการในเวลาเรียนตามปกติ  และครูหรือพ่อแม่ไม่มีสิทธิ์ขอยกเว้นให้แก่นักเรียนคนใด

ตัวอย่างของโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาที่สร้างระบบช่วยเหลือขึ้นใช้อย่างได้ผล ค้นได้ที่ www.allthingsplc.info เลือกที่หัวข้อ Evidence and Effectiveness

หัวใจคือ โรงเรียนต้องตั้งเป้าหรือความคาดหวังต่อผลการเรียนของนักเรียนไว้สูง   และสร้างบรรยากาศที่ทุกคนในโรงเรียนมีเป้าหมายนั้นร่วมกัน   มีปณิธานอันแรงกล้าที่จะช่วยกันทำให้บรรลุเป้าหมาย   และหมั่นตรวจสอบการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนว่าดำเนินไปตามเป้าหมายเป็นระยะๆ หรือไม่   นักเรียนคนใดเริ่มล้าหลัง ระบบช่วยเหลือจะเข้าไปทันที   เข้าไปด้วยท่าทีของการช่วยกัน โดยมีเป้าหมายให้กลับมาเรียนทันได้อีก

มีผลการวิจัยมากมายที่บอกว่าหากต้องการให้นักเรียนทุกคนเรียนสำเร็จ ต้องมีระบบช่วยเหลือนักเรียนบางคนที่ต้องการความช่วยเหลือบางเรื่อง ในบางเวลา   โดยระบบช่วยเหลือนั้นต้องดำเนินการอย่างเป็นทางการโดยโรงเรียน บริหารโดยโรงเรียน  โดยพ่อแม่และชุมชนต้องเข้ามาช่วย   กล่าวอีกนัยหนึ่งโรงเรียนทุกโรงเรียนต้องออกแบบระบบตรวจสอบหาเด็กที่เริ่มเรียนล้าหลังหรือไม่สนใจเรียน  และมีกระบวนการช่วยเหลือให้เขากลับมาเข้ากลุ่มเรียนทันเพื่อนได้อีก   โดยมีการออกแบบวิธีการช่วยเหลือที่ยืดหยุ่น ปรับให้เหมาะสมต่อแต่ละกรณีได้   การดำเนินการทั้งหมดนั้นทำโดย PLC  และมีการตรวจสอบทบทวนปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ  โดยกระบวนการ PLC

ผมขอเพิ่มเติมว่า ในสังคมไทยต้องดำเนินการเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง   อย่าให้เด็กรู้สึกว่าถูกลงโทษ   อย่าให้เด็กหรือพ่อแม่เสียหน้า   ต้องสร้างบรรยากาศว่าการเรียนล้าในบางวิชา ในบางช่วงเป็นเรื่องธรรมดา   แต่ต้องมีการแก้ไข เพื่อไม่ให้ปัญหานั้นลุกลามก่อผลร้ายต่อตัวนักเรียนคนนั้นเอง กลายเป็นคนที่ล้มเหลวต่อการเรียนในที่สุด   ซึ่งอาจมีผลต่อชีวิตมากมาย

โรงเรียนต้องตั้งเป้าหมายไว้ว่า นักเรียนปกติทุกคนสามารถบรรลุ Learning Outcome ที่กำหนด ได้ตามเวลาที่กำหนด  และเป็นหน้าที่ของทุกคนในโรงเรียน (และที่บ้าน) ที่จะช่วยกันสนับสนุนให้เป้าหมายนี้บรรลุผล

การดำเนินการนี้เป็นของใหม่   ย่อมมีปัญหาอุปสรรคมากมาย  และจะมีคนคัดค้านหรือมีข้ออ้างต่างๆ นาๆ   เพราะยึดมั่นถือมั่นอยู่กับกระบวนทัศน์เดิม ความเคยชินเดิมๆ   และครูบางคนก็ไม่ขยัน ไม่อดทน ไม่ต้องการเรียนรู้   แต่หากต้องการให้นักเรียนบรรลุผลสำเร็จตาม Learning Outcome ของ 21st Century Skills ไม่มีทางเลือกอื่น   ต้องใช้ PLC ดำเนินการ

อย่าลืมว่า PLC มีอุดมการณ์ที่การเรียนรู้ของครูโดยการรวมตัวกันทำสิ่งที่ยากหรือท้าทาย   การกำหนด essential learning แก่ศิษย์   การวัดความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของศิษย์เป็นรายคนตาม Learning Outcome ที่ร่วมกันกำหนด   และดำเนินการช่วยนักเรียนที่เรียนล้าหลังให้กลับมาเรียนทันกลุ่ม   เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบสิ้น   จึงเป็นประเด็นสำคัญยิ่ง เป็นหัวใจของสาระของการเรียนรู้จากการลงมือทำ ใน PLC

 

วิจารณ์ พานิช
๑๐ ส.ค. ๕๔

 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๕) เมื่อนักเรียนบางคนเรียนไม่ทัน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8560403

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า