Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > บทเรียนจากความตริง โควิด 19 เปรียบเทียบผู้นำ 3 คน สี จิ้น ผิง ทรัมป์ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

บทเรียนจากความตริง โควิด 19 เปรียบเทียบผู้นำ 3 คน สี จิ้น ผิง ทรัมป์ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

พิมพ์ PDF

บทเรียนจากความจริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันเสาร์ ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.

โควิด-19 (COVID-19) เปรียบเทียบผู้นำ 3 คน สี จิ้น ผิง-ทรัมป์ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

2 เดือนที่ผ่านมา ผมเขียนเรื่องโควิด-19 หลายครั้งและคงยังเขียนต่อไป วิธีการเขียนของผมสอนให้ผู้อ่านนึกถึงผู้นำกับการแก้วิกฤติโควิด-19 ว่า จะจัดการได้อย่างไร 3 ท่าน

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ผมเขียนถึง สี จิ้น ผิง ในการเป็นผู้นำในช่วงวิกฤติโควิด-19

บัดนี้มีตัวเลขชัดเจนแล้วว่า หลังจาก 2 เดือน ตัวเลขผู้ป่วยของคนจีนทั่วประเทศเริ่มนิ่งเพราะผู้นำเอาจริง เช่น ช่วงวิกฤติเขาเดินทางไปให้กำลังใจที่อู่ฮั่นด้วยตนเอง ส่งแพทย์และพยาบาลไปที่อู่ฮั่นทุกๆ จุดห้ามออกจากบ้านโดยเด็ดขาด

บัดนี้ตัวเลขนิ่งไม่มีผู้ป่วยเพิ่มและมีแนวโน้มจะลดลงด้วยแต่สถานการณ์ของจีนรุนแรงมาก เช่น มีผู้ป่วยเกือบ 80,000 คนเสียชีวิต 3,000 กว่าคน แต่ผู้นำเขามีศักยภาพแก้ปัญหาได้และพอเมื่อเหตุการณ์ดีขึ้น สี จิ้น ผิง ก็กลับไปเยือนอู่ฮั่นเพื่อให้กำลังใจ

ผมคิดว่า สี จิ้น ผิง คงกำลังคิดต่อว่าจะฟื้นเศรษฐกิจจีนอย่างไรนอกจากนั้นคงจะเป็นผู้นำในโลกในการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกและทำโดยเปิดเผยไม่ปกปิดข้อมูลผมเช็คหลายแห่ง เช่น องค์การอนามัยโลกที่ยอมรับว่าจีนภายใต้การนำของสี จิ้น ผิง มีธรรมาภิบาลโปร่งใสเปิดเผยทุกๆ เรื่อง

ผมต้องการให้จีนดูแลเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกด้วยเพราะประเทศจีนเองก็คงวิตกเรื่องการฟื้นตัวของเขาและเศรษฐกิจโลกที่สำคัญคือการเริ่มต้นของคนจีนมาเที่ยวไทยในระยะเวลาที่เหมาะสมและเน้นเศรษฐกิจ เช่น การส่งออกของไทยไปจีนและการเชื่อมโยงเรื่องห่วงโซ่อุปทานของ2 ประเทศต่อเศรษฐกิจโลกให้กลับมาสภาพเดิมโดยเร็วไม่ให้มีปัญหา หากมีเศรษฐกิจลูกโซ่จะอันตรายมาก ผมจึงให้คะแนนผู้นำจีน A

มาดูผู้นำอย่างทรัมป์ซึ่งเป็นผู้นำที่ไม่มีระบบความคิดเพราะไม่เชื่อวิทยาศาสตร์ช่วงแรกไม่ยอมรับด้วยว่ามีโควิด-19คือ คิดไม่รอบคอบเชื่อว่าโรคร้ายแบบนี้เดี๋ยวก็หายไปเอง พูดอย่างประมาทควรให้มืออาชีพมาเป็นผู้นำแต่ให้รองประธานาธิบดี ซึ่งไม่มีความรู้เรื่องการแพทย์ทำตอนหลังตัวเลขในอเมริกาพุ่งขึ้นอย่างมาก มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1,000 คน

ทำให้ทรัมป์เริ่มปรับตัวขึ้นเรื่อง โควิด-19 แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมโลกมากนัก

ผมเคยพูดว่าผู้นำต้องเป็นที่ยอมรับซึ่งมีภาษาอังกฤษอยู่ 2 คำที่ทรัมป์ขาดทั้ง 2 เรื่อง

-Trust ความไว้เนื้อเชื่อใจ

-Credibility ความน่าเชื่อถือ

เขาโกหกทุกๆ เรื่องที่เขาได้ประโยชน์พอราคาน้ำมันในโลกตก เรื่องโควิด-19 ปิดไม่ได้แล้ว ตลาดหุ้นตก ทรัมป์ไม่วิตกเรื่องสุขอนามัยของคนอเมริกาแต่วิตกเรื่องคะแนนนิยมเลือกตั้งปี 2020 ผมให้คะแนนผู้นำทรัมป์ในเรื่องโควิด-19 คือ F

มาถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้โดยเฉพาะการดูแลเรื่องนำเอาคนไทยจากอู่ฮั่นกลับมาเป็นที่น่าชื่นชมคือการแพทย์และการรักษาพยาบาลของไทยที่ผมชื่นชมมานานแล้วนายกฯประยุทธ์สนับสนุนให้การแพทย์ทำงานอย่างเต็มที่

จะมีจุดอ่อนเรื่องหน้ากากอนามัยที่ท่านนายกฯประยุทธ์ปล่อยให้กระทรวงพาณิชย์ทำข่าวที่ไม่ค่อยดีว่ามีคนสนิทของรัฐมนตรีหากินกับหน้ากากอนามัยโดยกักตุนและขายเกินราคาทำให้บุคลากรทางการแพทย์ไม่มีหน้ากากใช้ เป็นนายกฯก็ต้องรับผิดชอบด้วยผมให้คะแนนท่านประมาณ B+

ที่น่ากลัวจากนี้ไปก็คือ

1.โรคร้ายจะขยายไปยังประเทศอื่นๆที่น่ากลัวคืออิตาลีอิหร่าน อเมริกา เกาหลีใต้ ยังดีที่ไม่ขยายไปประเทศยากจน เช่นอินเดีย หรือทวีปแอฟริกา จะทำให้สร้างปัญหาให้เศรษฐกิจโลก
อย่างมาก

ท่านนายกฯประยุทธ์คงต้องมาดูแลเรื่องการฟื้นตัวระบบเศรษฐกิจจะทำอย่างไรโดยเฉพาะทำให้การท่องเที่ยวของไทยไม่ลงดิ่งไปมากกว่านี้ดีที่ไม่แจกเงิน

ผมเคยเขียนถึง เบนจามิน แฟรงคลิน ที่ผมอ่านแล้วเรื่องการทำงานเขาเมื่อ 300 ปีมาแล้ว และมีแนวคิดเกี่ยวกับความดีไว้ถึง 13 ข้อคือ

1.Temperance : บริโภคด้วยความพอประมาณ ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป

2.Silence : มีความสำรวมทางวาจา พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและตนเอง หลีกเลี่ยงการสนทนาที่ไร้สาระ

3.Order : มีระเบียบ จัดสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในที่ซึ่งเหมาะสมและบริหารเวลาให้เพียงพอสำหรับทำงานต่างๆ

4.Resolution : ตั้งปณิธานแน่วแน่ ในสิ่งที่ต้องทำและทำให้สำเร็จ

5.Frugality : ประหยัด พยายามใช้จ่ายให้น้อยที่สุดให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือตนเองโดยไม่ให้เกิดการสูญเปล่า

6.Industry : ขยันหมั่นเพียร ใช้เวลาให้คุ้มค่าด้วยการทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป

7.Sincerity : ความจริงใจ มีจิตใจที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม พูดแต่ความจริง ไม่หลอกลวงผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย

8.Justice : ยุติธรรม ไม่ทำร้ายผู้อื่นหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความเป็นธรรม

9.Moderation : เดินสายกลาง หลีกเลี่ยงการกระทำที่สุดโต่ง อดทนต่อความไม่พึงพอใจที่ได้รับจากผู้อื่น

10.Cleanliness : มีสุขอนามัย รักษาความสะอาดทั้งเสื้อผ้า ร่างกาย และที่อยู่อาศัย

11.Tranquility : มีความสงบทางจิตใจ ไม่ปล่อยให้เรื่องไร้สาระและสิ่งที่ควบคุมไม่ได้มาครอบงำจิตใจ

12.Chastity : รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่หมกมุ่นในกามารมณ์

13.Humility : ใช้ชีวิตอย่างถ่อมตัว

ทั้ง 13 ข้อเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนไทยและคนในโลกว่าหลักของชีวิตคือเกิดมาเพื่อทำความดีไม่เอาเปรียบคนอื่นอยู่อย่างง่ายๆ ซึ่งใน 300 ปีที่แล้วสังคมยังไม่มีความโลภร่ำรวยเหมือนในปัจจุบันแนวคิดของเขาเมื่อ 300 ปีที่แล้ว ยังนำมาใช้ในปัจจุบันได้และทั้ง 13 ข้อยังใช้แก้โควิด-19 ได้ด้วย

ผมอ่านแล้วทำให้เห็นสังคมไทยในอดีตที่ยังยกย่องคนดีในปัจจุบันคนดีในเมืองไทยกลายพันธุ์ไปเป็นคนไม่ดีมากมายข้อเขียนของคุณประสงค์ สุ่นศิริ ในแนวหน้าสัปดาห์ที่แล้วท่านพูดว่าคนไทยกลายพันธุ์ไปมากเช่น

ข้าราชการที่ดีก็หายาก มักรับใช้นักการเมือง ไม่รับใช้ประชาชน

ทหารดีๆ ก็หายาก

ครูดีก็หายาก

ผอ.โรงเรียนประถมมัธยมในเมืองไทยที่ดีๆ ก็หายากเพราะต้องมีเส้นจึงมาเป็นได้การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารเน้นวิธีสอบเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่ถูกต้อง ผอ.ควรจะได้รับการวัดด้านภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารผู้ปกครอง ครูและนักเรียนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันแบบที่ผมได้ทำร่วมกับทีมเทพศิรินทร์ เรียกว่า “เทพศิรินทร์โมเดล”

ในภาวะวิกฤติอ่านหนังสือเล่มนี้ดีบวกกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านบวกกับความดีที่คนไทยจำนวนหนึ่งกำลังจะทำเช่นคิดดีต่อโลกใบนี้ไม่ให้คนรุ่นหลังขาดธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภาวะโลกร้อน

วิกฤติครั้งนี้คนไทยน่าจะสงบจิตสงบใจสู้กับวิกฤติโดยทิ้งความโลภเช่นกักตุนหน้ากากอนามัยโดยรัฐบาลเองก็ไม่ได้สนใจดูแลหน้ากากอนามัยให้พอเพียงกับบุคลากรของการแพทย์ของไทยยังมีคนสนิทนักการเมืองบางคนทำเสียเอง

เศร้าครับ”

จีระ หงส์ลดารมภ์

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


 
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > บทเรียนจากความตริง โควิด 19 เปรียบเทียบผู้นำ 3 คน สี จิ้น ผิง ทรัมป์ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8598718

facebook

Twitter


บทความเก่า