Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > พลังของความไว้วางใจ

พลังของความไว้วางใจ

พิมพ์ PDF

พลังของความไว้วางใจ

หนังสือTheTruth About Trust : How It Determines Success in Life ,Love, Learning, and More  เขียนโดยศาสตราจารย์ DavidDeSteno หัวหน้ากลุ่มวิจัย Social Emotions   มหาวิทยาลัย NortheasternUniversity บอกว่า ความไว้วางใจต่อกันและกันเป็นหัวใจของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในทุกด้าน   ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องชีวิตสมรส การทำธุรกิจและเมื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์  

 ผมตีความว่า ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันและกันเป็นพื้นฐานทางอารมณ์ของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม   และเป็นสัตว์ที่มีช่วงชีวิตอ่อนแอยาวนานในวัยเยาว์ ชีวิตต้องพึ่งพาคนอื่นในหลากหลายสถานการณ์    ที่เรียกว่ามี inter-dependence   ในพัฒนาการตอนเป็นเด็ก มนุษย์ต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะทั้งด้าน independence  และ inter-dependence ไปพร้อมๆ กัน   สองคุณลักษณะนี้หาดดูผิวเผินขัดแย้งกัน   แต่จริงๆ แล้วมันส่งเสริมกันได้   คือคนที่มีความมั่นคงในตนเอง  จะมีความสัมพันธ์พึ่งพาต่อกันกับผู้อื่นได้ดี    คือคนที่ trust ตนเองได้ดี  จะ trustคนอื่นได้ดีด้วย   

ผมตีความว่าtrustช่วยให้สมองใช้พลังงานน้อย   จิตใจผ่องใส   แต่มนุษย์เราต้องฝึกทักษะในการไว้ใจคน    ว่าใครไว้ใจได้  และใครไม่น่าไว้วางใจ   ความสามารถนี้วิวัฒนาการขึ้นในมนุษย์และลิง    จึงเป็นคุณสมบัติที่เป็นทั้ง สัญชาตญาน   และเป็นสิ่งที่ต้องฝึก    หนังสือเล่าการทดลองในลิงเพื่อทำความเข้าใจกลไกทางจิตวิทยาของความไว้วางใจ   

ความสามารถในการไว้วางใจเป็นทั้งจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก    ส่วนจิตใต้สำนึกอยู่กับเส้นประสาทสมองเส้นที่๑๐  ชื่อ vagus nerve   ซึ่งเป็นเส้นประสาทสมองที่ยาวที่สุด คือผ่านคอ ลงไปที่หน้าอกและลงไปในท้อง   และน่าจะเป็นเหตุให้ฝรั่งบอกว่าตัดสินใจโดยใช้ gut feeling   ซึ่งรวดเร็ว และในหลายกรณีใช้ได้ผล     แต่ก็มีหลักฐานเตือนว่า อย่าเชื่อ gutfeeling นัก   เพราะมันไม่ถูกเสมอไป

ตรงกับที่บอกในหนังสือว่าอย่าไว้ใจตนเองเสมอไป   หรือแม้ตัวเราเองก็อย่าไว้วางใจนัก   ในหลายกรณีตัวเราเองก็อาจผิด    โดยเฉพาะพฤติกรรมของตัวเองในอนาคต     ศ. DeSteno มีผลวิจัยมาเล่าด้วย    ว่าคำพูดกับพฤติกรรมจริงๆของคนเราแตกต่างกันได้มากเพียงไร   กล่าวใหม่ว่าคนจำนวนมากพูดอย่างทำอย่าง    โดยอ้างเหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของตนได้สารพัดเหตุผล    ที่ภาษาจิตวิทยาเรียกว่าเป็นพฤติกรรม rationalization    ที่ภาษาไทยพื้นบ้านเรียกว่า “เอาสีข้างเข้าถู”        

นอกจากใช้ประสาทอัตโนมัติแล้ว     ระบบประสาทด้าน trust ยังใช้ระบบฮอร์โมน เช่น oxytocin  นักวิจัยทดลองพ่น oxytocinเข้าโพรงจมูก ให้แก่ทีมที่กำลังร่วมกันตัดสินใจด้านการเงิน     พบว่าทีมมีความเชื่อถือกันและร่วมมือกันดีขึ้น    รวมทั้งเพิ่มความไม่ไว้วางใจทีมอื่นด้วย   

จะเห็นว่าความไว้วางใจต่อกันและกันเป็นกลไกทางสรีรวิทยาที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์    และเมื่ออยู่ในหมู่เพื่อนฝูงที่สนิทสนมไว้วางใจกัน  เราจะรู้สึกสบายใจ     และผมมีความเห็นว่าในสังคมที่คนซื่อสัตย์ต่อกัน มีความไว้วางใจต่อกันและกันสูง เป็นสังคมที่น่าอยู่    เป็นพื้นฐานของสังคมที่มีสุขภาวะสูง   ดังที่เรารู้สึกเมื่อไปญี่ปุ่นและประเทศแถบสแกนดิเนเวีย          

ในเมื่อคนเราตัดสินใจโดยอาศัยtrust    จึงมีคนหาวิธีเข้าไปสร้าง trustเพื่อหาผลประโยชน์   ที่เรียกว่า manipulate trust   กล่าวได้ว่า ที่ไหนมีผลประโยชน์ ที่นั่นมีการ “ปั่นความน่าเชื่อถือ”  โดยเฉพาะในยุคโซเชี่ยลมีเดียเฟื่อง     ซึ่งคำตรงกันข้ามคือ หลอกลวง 

ผมมีความรู้สึกตลอดมาว่าการที่ กสทช. อนุญาตให้มีทีวีช่องขายสินค้า   และอนุญาตให้โฆษกโฆษณาขายสินค้าอย่างที่ทำกันอยู่    เป็นกึ่งหลอกลวง    และเป็นการ manipulate อารมณ์อยากได้   เป็นกระบวนการล่าเหยื่อ   ที่ผมไม่อยากให้อนุญาตให้ใช้คลื่นทีวีเพื่อการนี้โดยเฉพาะ    ผมมองว่ามันก่อผลเสียมากกว่าผลดีต่อสังคมภาพรวม    ไม่ทราบว่าผมคิดมากไปหรือเปล่า       

แต่การmanipulatetrust  โดยใช้ไอทีก็มีที่ใช้ในทางบวกด้วย    ดังตัวอย่างหุ่นยนตร์ดูแลผู้ป่วยชื่อLouise ที่ใช้ถ้อยคำเตือนและแนะนำการกินยา และการปฏิบัติตัว แทนพยาบาล     โดยใช้ถ้อยคำที่อ่อนโยนห่วงใยเหมือนพยาบาลตัวจริง   ทำให้ผู้ป่วยเชื่อถือและปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง  

ที่น่าสนใจคือข้อสรุปจากผลวิจัยว่า คนเรายิ่งตำแหน่งสูง มีอำนาจมาก หรือร่ำรวยมากยิ่งเชื่อถือคนอื่นน้อยลง และเป็นคนที่น่าเชื่อถือน้อยลงด้วย   เขาอธิบายว่า เพราะในทางจิตวิทยา คนที่อยู่ในฐานะนี้รู้สึกว่าตนมีความจำเป็นด้านการพึ่งพาคนอื่น (inter-dependence) น้อย ความเห็นแก่ตัวจึงสูง    เพราะจิตใต้สำนึกบอกว่าตนไม่มีความจำเป็นในเรื่องการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับผู้อื่น   เขาจึงไม่จำเป็นต้องเห็นแก่ผู้อื่น   นักวิจัยสรุปว่า คนที่อยู่ในกลุ่มเศรษฐฐานะสูงจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจคนอื่นต่ำ                          

วิจารณ์ พานิช

๙ เม.ย. ๖๓

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน สภามหาวิทยาลัย


 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > พลังของความไว้วางใจ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591740

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า