Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > แนวคิด "ประชาธิปไตยสายตรง"

แนวคิด "ประชาธิปไตยสายตรง"

พิมพ์ PDF

นำความ “ประชาธิปไตยสายตรง”

ผมขอนำแนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตยสายตรง” มาโพสท์ เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันสักหลายตอน โดยวันนี้นำข้อเขียนเก่าเรื่อง “สภาประชาชน” ที่มีคนอ่าน (ในเวปต์เก่า) และแชร์มากที่สุดเมื่อหลายปีก่อน (๒๕๕๖ ก่อนรัฐประหาร ๑ ปี) ตอนที่กำลังวุ่นวายทางการเมืองและทุกฝ่ายช่วยกันหาทางออก

บทความต่อไป “ประชาธิปไตยชุมชน” เขียนเมื่อปลายปี ๒๕๖๑ หลังการสัมมนาที่มหิดลโดยผู้นำพรรคการเมือง นักวิชาการและผมได้เข้าร่วมอภิปราย

ต่อจากนั้น ข้อเขียนใหม่ ผมจะเล่าเรื่องประชาธิปไตยทางตรง (direct democracy) ที่สวิส และลิคเตนชไตน์ ว่าเขาทำกันอย่างไร พอจะเป็นแบบอย่างหรือแนวทาง โดยไม่ต้องถึงกับเป็นโมดงโมเดลอะไร เพราะบ้านเขาบ้านเราแตกต่างกันมาก

แต่ก็น่าจะมีบทเรียนให้เราเรียนรู้และนำคุณค่าและวิธีการดีๆ บางอย่างมาประยุกต์ใช้ได้ อย่างน้อยในระดับชุมชน อบต. เทศบาล ซึ่งมีขนาดเหมือนกับเทศบาลของสวิส และชุมชนบ้านเราในอดีตก็ดูแลกันเอง ปกครองกันเองมาตลอดจนเกิด “รัฐชาติ” เมื่อร้อยกว่าปีนี้เอง และเหมือนกับลิคเตนไชต์ทั้งประเทศ ซึ่งมีประชากรเพียง 38,000 คน มี ๑๑ เทศบาล มีคนไทยอยู๋ที่นั่นกว่า ๕๐๐ คน ประเทศเล็กที่สุดในโลกประเทศหนึ่งแห่งนี้ เป็นระบอบ constitutional monarchy มีเจ้าชายเป็นประมุข มีสภา บางคนเรียกโดยใม่ขัดเขินว่าเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชด้วยซ้ำ (เพราะเจ้าชายเขามีอำนาจมากที่สุด แต่ใช้น้อยที่สุดเพราะมีจิตใจเป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่าประมุขทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งในหลายประเทศ) เป็นประเทศที่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมทางตรง และมีรัฐธรรมนูญที่อนุญาตให้ชุมชนใด เทศบาลบาลใดอยากแยกออกไปเป็นอิสระ หรือไปอยู่กับประเทศอื่น (สวิส ออสเตรียที่อยู่ติดกัน หรือเยอรมันที่อยู่ใกล้กัน) ก็ทำได้เลย แต่ยุส่งท้าทายเท่าไรก็ไม่มีใครอยากไป เพราะเป็นประเทศที่ร่ำรวยทีสุดในโลก อาชญากรรมน้อยที่สุด อยู่ประเทศเล็กๆ นี้อยู่ดีกินดี มีความสุขอยู่แล้ว ใครบอกว่า รัฐในอุดมคติไม่มี เป็นเพียงยูโธเปีย !

 

#สภาประชาชน

ถ้าไปค้นหาในรัฐธรรมนูญไทยที่ใช้กันวันนี้คงไม่พบคำว่า “สภาประชาชน” แต่รัฐธรรมนูญมาจากประชาชน และ “เจตจำนง” ของประชาชนยิ่งใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญที่เขียนออกมาเป็นตัวหนังสือ เพราะเจตจำนงนั้นคือหัวใจของอธิปไตยของปวงชน (อังกฤษถึงไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร)  เมื่อประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปในสภา ไม่ว่าด้วยวิธีเลือกตั้งลงคะแนนหรือด้วยการสรรหา ซึ่งเป็นวิถีประชาธิปไตยทั้งนั้น แล้วผู้แทนเหล่านั้นต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนเองมากกว่าเพื่อสนองตอบเจตจำนงของประชาชน และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าผิด พวกเขาย่อมหมดความชอบธรรมที่จะทำหน้าที่ต่อไป ถ้ายังยื้อเพื่ออยู่ในอำนาจ ประชาชนก็มีสิทธิลุกขึ้นมาร่วมมือกันหาทางออกจากวิกฤติ เรื่องเช่นนี้ไม่ได้มีแต่ในประเทศไทย หลายประเทศทั่วโลกก็เกิดสภาประชาชนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงการเปลี่ยนแปลงประเทศจากระบอบหนึ่งไปสู่อีกระบอบหนึ่ง และที่สุด สภาประชาชนก็เป็นฝ่ายชนะ ไปดูประวัติศาสตร์ของเยอรมันตะวันตกตะวันออกเมื่อรวมชาติ และประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออกในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา

สภาประชาชนไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย เพียงแต่คำว่า “สภา” ทำให้เกิดความสับสน และถูกโยงไปหาคำอธิบายและสิทธิอำนาจในรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ปรากฏ เพราะคำว่า “สภา” ในที่นี้เป็นความหมายเชิงเปรียบเทียบ เช่นเดียวกับที่เราเรียก ธนาคารข้าว ธนาคารควาย ธนาคารเลือด เราเรียกมหาวิทยาลัยชาวบ้าน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มหาวิทยาลัยชีวิต

ที่ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชมี “สภาผู้นำ” มาได้ประมาณ 20 ปีแล้ว ผู้นำสำคัญของไม้เรียงคือลุงประยงค์ รณรงค์ ซึ่งได้รับรางวัลแมกไซไซเมื่อปี 2547 ในฐานะผู้นำชุมชนดีเด่นแห่งเอเชีย ไม้เรียงได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนโลกเลยก็ว่าได้ เพราะได้รับคำชื่นชมจากธนาคารพัฒนาเอเชียและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และสื่ออย่าง CNN ได้เผยแพร่เรื่องราว แนวคิดและวิธีการพัฒนาของชุมชนนี้ไปทั่วโลก

สภาผู้นำของไม้เรียงเกิดจากข้อตกลงของชาวบ้านจากทั้งตำบลว่า ควรมี”แกนนำภาคประชาชน” ขึ้นมากำกับ ดูแล และช่วยกันพัฒนาท้องถิ่น ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเพียงหน้าที่ความรับผิดชอบของคนที่ได้รับเลือกเข้าไปใน อบต.หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น ที่ประชุมชาวบ้านตกลงให้แต่ละหมู่บ้านในตำบลไม้เรียงเลือกผู้แทนของตนเองมาหมู่บ้านละ 5 คน8 หมู่บ้านรวม 40 คน ชาวบ้านสามารถเลือกกำนันผู้ใหญ่บ้าน อบต. หรือผู้มีตำแหน่งในชุมชนมาร่วมได้แต่ทุกคนที่มาต้องไม่มาตามตำแหน่ง ต้องถอดหัวโขนออกหมด ทุกคนเป็นประชาชนเท่าเสมอกัน มูลนิธิหมู่บ้านเสนอให้ตั้งชื่อองค์กรนี้ว่า “สภาผู้นำ” ซึ่งชาวบ้านก็เห็นว่าชื่อเหมาะสมดี

ความจริง สภาผู้นำชุมชนไม้เรียงค่อยๆ วิวัฒนาการมาจากกลุ่มผู้นำ 12 คน ที่รวมกันหาทางออกให้ชุมชนตั้งแต่ปี 2524 เริ่มจากการแก้ปัญหาราคายางพารา ไปเรียนรู้จากหน่วยงานของรัฐและเอกชน ไปดูโรงงานรมควันยางแล้วมาสร้างโรงงานอบยางของตนเองในปี 2527 ด้วยการลงทุนลงหุ้นของชาวบ้านทั้งหมดเป็นเงิน 1 ล้านบาท จากนั้นก็ค่อยๆ จัดระบบเศรษฐกิจชุมชนทำแผนแม่บทยางพาราไทย แผนแม่บทชุมชน วิสาหกิจชุมชน ซึ่งล้วนเกิดจากการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันของชุมชนคนไม้เรียงที่ถูกนำไปใช้กันทั่วประเทศ รวมทั้ง “สภาผู้นำ” ที่มีผู้แทน 5 คนจากแต่ละหมู่บ้านดังกล่าว

หลายปีก่อน มีการเสนอกฎหมาย “สภาองค์กรชุมชน” โดยเอาความคิดจากสภาผู้นำไม้เรียงมาปรับประยุกต์ แนวคิดที่ลุงประยงค์และผู้นำในระดับชาติหลายคนไม่เห็นด้วย เพราะสภาผู้นำของประชาชนเป็นสภาคู่ขนานที่มีสิทธิอำนาจในตัวเองอยู่แล้ว ทำไมต้องออกกฎหมายไป “ครอบ” อำนาจของประชาชนอีก เป็น “ขบวนการ” (movement) ที่มีชีวิต มีพลัง กลับไปตีกรอบแช่แข็งให้เป็น “สถาบัน” (institution) จะด้วยเหตุผลเพราะต้องการงบประมาณสนับสนุนหรืออะไรก็แล้วแต่ วันนี้มีข้อพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สภาองค์กรชุมชนก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเช่นเดียวกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติซึ่งตั้งขึ้นมาแล้วก็มีกฎหมายรองรับ มีงบประมาณสนับสนุน แต่ไม่มีชีวิตจิตวิญญาณขับเคลื่อน แทบไม่มีบทบาทอะไรเลย

 

การที่ประชาชนรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ วันนี้เราเห็นการรวมกลุ่มของชุมชนเป็นแสนๆ กลุ่มในทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ทุกอาชีพ ในชนบท ในเมือง มากมายหลายระดับหลายรูปแบบ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่โดดเด่นเห็นชัดมากในระยะหลังนี้เป็นสมัชชาประชาชนด้านสุขภาพที่จัดทั่วประเทศทั้งในระดับพื้นที่และในประเด็นต่างๆ มีสมัชชาประชาชนที่จัดทำธรรมนูญสุขภาพในระดับ อบต. เทศบาล และระดับจังหวัด มีกระบวนการที่กำลังเกิดเป็นสมัชชาประชาชนเพื่อให้จังหวัดจัดการตนเองเกิดธรรมนูญจังหวัด เรื่องเหล่านี้ไม่เห็นจะต้องไปค้นหาในรัฐธรรมนูญว่าเขียนไว้หรือไม่ จะเรียกสมัชชา จะเรียกสภา จะเรียกเครือข่าย จะเรียกชื่ออะไรไม่สำคัญเท่ากับความคิดที่ว่า ประชาชนจัดพื้นที่ จัดเวที เพื่อแสดงตนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในการจัดการชีวิต ชุมชน สังคม ของตนเอง เพราะการเคลื่อนไหวของประชาชนต่างหากที่เป็นพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง (dynamics) ที่แท้จริง ถ้ากลไกของรัฐไม่สามารถทำงานได้เพราะขาดความชอบธรรม ประชาชน ผู้เป็นเจ้าของอธิปไตย (sovereignty) ก็ต้องลุกขึ้นมากำหนดกฎกติกาใหม่ สร้างสังคมใหม่ จะเรียกกลไกนี้ว่าอะไรไม่สำคัญ และไม่จำเป็นต้องรออะไรเลย จัดกระบวนการสรรหาตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อมาร่วมกันคิดหาทางออก

เสรี พงศ์พิศ สยามรัฐ 4 ธันวาคม 2556


 
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > แนวคิด "ประชาธิปไตยสายตรง"

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5581
Content : 3036
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8538456

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า