Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > ชีวิตที่พอเพียง: ๑๗๖๓. ชีวิตเข็นครก

ชีวิตที่พอเพียง: ๑๗๖๓. ชีวิตเข็นครก

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๔ ก.พ. ๕๖  ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการประเมิน  และข้อเสนอแนะสำหรับโครงการวิจัย  “ การประเมินการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๐- ๒๕๕๔ ”   ซึ่งก็คือการประเมินการทำงานของ สช. นั้นเอง

ผมจึงได้ตระหนักว่า งานของสช. เป็นงานเข็นครกขึ้นภูเขา  การประเมินนี้เน้นการประเมินครกและคนเข็นครก  ไม่ได้ประเมินภูเขา  ทั้งๆที่ผลงานขึ้นกับ “ภูเขา” หรือบริบทสังคมไทยด้วย

สช. ทำงานแนวระนาบกระจายอำนาจ  และมุ่งผลประโยชน์ของส่วนรวมของสังคมไทยภาพรวม  ในท่ามกลางบริบทสังคมไทย ที่เป็นสังคมอำนาจแนวดิ่ง  อำนาจรวมศูนย์มีการแก่งแย่งผลประโยชน์ส่วนกลุ่มและพลเมืองไทยมีคนกลุ่ม active citizen น้อยมาก  ที่ลุกขึ้นมาทำงานสาธารณะ ส่วนใหญ่เพราะมีประเด็นร้อนเข้ามาใกล้ตัว  ที่จะทำงานสาธารณะประเด็นเย็นเพื่อวางรากฐานสังคมมีน้อยมาก   รวมทั้งผู้คนในสังคมติดวิธีคิดแบบขาว-ดำ  ถูก-ผิด  ในขณะที่เรื่องราวต่างๆ ในสังคมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อน และเป็นพลวัตสูง

สภาพเช่นนี้ เปรียบเสมือนการทำงานแบบเข็นครกขึ้นภูเขา   ซึ่งต้องวางยุทธศาสตร์การทำงานระยะยาว ทำต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง  ตระหนักว่า กว่าจะเห็นผลจริงจังต้องใช้เวลา ๑๐ - ๒๐ ปี  ไม่ใช่  ๕ ปี

การทำงานในสภาพที่มีข้อจำกัดเช่นนี้  ต้องการทักษะพิเศษ  ซึ่งฝ่ายบริหารสช. ทำได้ดีอย่างน่าชื่นชม    แต่ก็ยีงมีส่วนที่น่าจะปรับปรุงได้อีกมาก

สช. ทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยใช้เครื่องมือ ๔ อย่างได้แก่

·  สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

·  สมัชชาสุขภาพในพื้นที่  รวมทั้ง HIA (และcHIA, eHIA)

·  ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ

·  commission

 

เพราะสช. ทำงานเพื่อสุขภาวะของคนส่วนใหญ่ของประเทศ  และทำงานในลักษณะกระจายอำนาจ    เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม  จึงอยู่ในสภาพ “เอียงข้าง” เข้าหาภาคประชาชน   ภาคราชการซึ่งเคยผูกขาดอำนาจจึงไม่สนใจเข้าร่วม  ยกเว้นจะเข้ามาปกป้องตนเอง  และภาคธุรกิจซึ่งเคยร่วมกับภาคราชการ  แสวงหาความได้เปรียบในสังคมก็ไม่อยากเข้าร่วม  ยกเว้นนักธุรกิจจิตสาธารณะซึ่งก็มีหลายคนแต่ก็ไม่ใช่ผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากนักในองค์กรของภาคธุรกิจ  หรือบางท่านเข้ามาร่วมอย่างเอาจริงเอาจัง ก็ขัดแย้งกับเพื่อนนักธุรกิจ

นี่คือสภาพความเป็นจริงในสังคมไทยที่เราเผชิญอยู่   และสช. ต้องทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ  ในท่ามกลางความเป็นจริงนี้

ผมจึงให้ความเห็นว่าสช. ต้องยึดการทำงานแบบ evidence-based เป็นหลัก  โปร่งใสเข้าไว้   เพื่อจะได้เป็นที่ยอมรับในสังคมว่าไม่เอียงข้างฝ่ายใด  แต่มุ่งรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม  โดยที่ประเด็นต่างๆมีความซับซ้อน

เราพูดกันว่าสช. ต้องทำงานมุ่งพัฒนา evidence เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ ให้ยิ่งขึ้น  และมีวิธีสื่อสาร  หลักฐานความรู้นี้ให้แพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น  ทั้งๆที่ที่ผ่านมาก็ทำได้ดีอยู่แล้ว

เราพูดกันว่าสช. เลือกทำงานแบบใช้“อำนาจอ่อน”คือไม่บังคับ  ใช้การพูดจากัน (สมัชชา)  และการสร้างความรู้ขึ้นใช้ก็ต้องพัฒนาทักษะในการทำงานแบบนี้ในหลากหลายระดับ

ผมมองว่าทักษะ “สื่อสารหลักฐานความรู้” (evidence communication)  สำคัญกว่าทักษะสร้างกระแสสังคม  หรือขับเคลื่อนสังคม (advocacy)  สำหรับสช.

เรื่องมาลงที่การใช้ commission ในการทำงานเฉพาะเรื่อง  ที่ยังไม่ชัดเจนว่าสช. ต้องไปเป็นคณะเลขานุการกิจ(secretariat) ของcommission หรือไม่

ซึ่งผมมีความเห็นแบบขาว-ดำว่า “ ไม่ ”   ผมเห็นว่าcommission ต้องรับงานไปแบบรับcontract out งาน   จะcontract ให้ใครภายใต้ความรับผิดชอบอย่างไร   ส่งมอบผลงานอะไร  มีเกณฑ์คุณภาพอย่างไร  ตรวจรับงานอย่างไร ฯลฯ    สช. ต้องมีทักษะในการcontract out งาน  เป็นความสัมพันธ์แบบกึ่งธุรกิจ  ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบไหว้วานหรือขอให้ช่วย

ทักษะอีกอย่างหนึ่งที่คนสช. ต้องมี  คือทักษะต่อยอดความรู้จากข้อเสนอของ commission  หรือจากผลการวิจัยที่มอบให้นักวิชาการทำ  คนสช. ต้องมีพื้นความรู้เรื่องระบบสุขภาพดี  และเรียนรู้ต่อยอดจากกิจกรรมต่างๆเพิ่มพูนขึ้นตลอดเวลา   นี่คือ learning skills   คนสช. ต้องเป็นexpert ด้านนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ  ที่เรียนรู้เพิ่มพูนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอยู่ตลอดเวลา

เหล่านี้เป็นกระบวนการเข็นครกทั้งสิ้น

ผมสรุปกับตัวเองที่บ้าน  ว่าคนสช. ต้องเป็น “นักจัดการความรู้” ด้านนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ   โดยที่สช. ต้องจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ของสช.  เพื่อให้เจ้าหน้าทุกคนได้ฝึกฝนทักษะ จัดการความรู้ด้านนโยบายสุขภาพอย่างต่อเนื่อง  ไม่ทราบว่าสรุปถูกหรือผิด

จัดการความรู้สำหรับเอาไปสื่อสารสังคม เน้นสื่อสารอย่างมีข้อมูลหลักฐาน (evidence communication)  ไม่ใช่เน้นขับเคลื่อนสังคม (advocacy)  สรุปอย่างนี้ยิ่งไม่ทราบว่าถูกหรือผิด

 

วิจารณ์  พานิช

๕  ก.พ. ๕๖

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/521519

 
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > ชีวิตที่พอเพียง: ๑๗๖๓. ชีวิตเข็นครก

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559719

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า