Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > บทความ ของ Somkiat Osatsapa พาเที่ยวโรงพยาบาลจุฬาฯ

บทความ ของ Somkiat Osatsapa พาเที่ยวโรงพยาบาลจุฬาฯ

พิมพ์ PDF

**ต้องอ่านให้จบ**หายนะกำลังมาเยือนประชาชนคนไทย!!

ขอนำบทความที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งมาเสนอค่ะ

เครดิต พิมพ์ชนก พิทักษ์ชัยยะบุตร

Somkiat Osotsapa

January 31 at 5:18am ·

พาไปเที่ยวโรงพยาบาลจุฬาฯกัน

-------------------------

เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ผมไปรพ. จุฬาฯ เป็นประสบการณ์ใหม่ของชีวิต

ที่จริงแล้ว ผมไม่เคยป่วยนอนโรงพยาบาลเลย เคยแต่ไปเฝ้าไข้รพ.เอกชน ซื่งสบายมาก มีเชฟอาหาร ทั้งจีน อินเดีย ไทย ชั้นเลิศ ออกแนวบันเทิง มีร้านกาแฟแบรนด์เนม ที่จริงก็ไปตรวจนี่นั่น ที่รพ.เอกชนเหมือนกัน มันสะดวกมาก

แล้วผมก็เกิดอยากจะรู้ว่าถ้าผมจะใช้สิทธิข้าราชการของผมบ้าง จะต้องทำอย่างไร ลองไปรพจุฬา

แวะไปครั้งที่หนื่ง เข้าคิวอยู่ยาวช่วงบ่าย บอกว่าต้องมาเอาคิว ในวันรุ่งขึ้น

สอบถามได้ความว่าถ้าจะตรวจในวันรุ่งขึ้น ต้องมาเข้าคิวเอาบัตรคิวที่ตู้ที่จะเปิดตอนตี 5 ครื่ง

อ๊ะ! ถ้างั้นต้องตื่นตีสี่ ไปเข้าคิวตีห้า…

เมื่อผมไปถึงตอนตีห้า มีคนอยู่ร่วมหนื่งพันคน ตั้งแต่บัตรประกันสังคม คนไข้ส่งต่อ แรงงานต่างด้าว ร่วม 12 ประเภท หลากหลายช่องมาก

คิดถึงอารมณ์พระพุทธเจ้า เห็นทุกขเวทนาตัดสินใจออกบวชทันที

เอาว่าคนเคยไปรพ.เอกชน จะช้อค แต่ผมอยากรู้ว่าคนเขาลำบากอย่างไร…ไม่เส้น…ตามคิว…

แล้วก็รู้ว่า:-

  งานรพ.นี่เหนื่อยมากๆ คนมะรุมมะตุ้มถามโน่นนี่เยอะ

แต่เจ้าหน้าที่ก็ใจเย็น สุภาพเท่าที่จะทำได้ รับความเครียด แรงกดดันได้ดีสุดๆ คนป่วย คนมาตรวจมากมาย แต่ทุกคนก็ช่วยตัวเองกันดีนะครับ หลายคนก็ทุกขเวทนาทีเดียว งานรพ.นี่สาหัสทีเดียว คิดในใจ

  สถานที่ของรพ.ดีขื้นกว่าแต่ก่อนมาก ขอบคุณเงินค่าเช่ามาบุญครอง และสยามสแควร์ มีตืกใหม่ มีแอร์ มีระบบคิวที่ดีงาม

  เนื่องจากคนไข้มาก รอกันนาน ทำใจเถอะ แต่คนไข้จำนวนมากที่ป่วยมีอาการ นั่งกระจุกกันเป็นหลายร้อยเนี่ย ทำให้รู้สืกว่าติดเชื้อง่ายมาก หมอ เจ้าหน้าที่สตรองมาก

นักเรียนที่อยากเรียนแพทย์ พยาบาลควรมาหาประสบการณ์ ถ้าชอบและไหวก็เอา แต่ของผมลองนึกว่า ต้องไปทำงานห้องนั้น ทุกวัน จะให้เป็นหมอคงไม่เอา มันหดหู่นะ

  ดูเหมือนมีขบวนการของต่างชาติมาเอาคิวเป็นอาชีพ และมีคนจากประเทศเพื่อนบ้านมารักษาฟรี โดยทำบัตรต่างด้าวปลอม รัฐบาลควรส่งคนไปดูนะ เป็นขบวนการทีเดียว รพ.น่ะไม่รู้เห็นด้วยหรอก คิดรพ.ใหญ่ทั่วประเทศ รายจ่ายเยอะมาก  นั่งเครื่องมาเลย มีทำบัตรปลอมขายแน่นอน งบปท.ไทยไม่น่าเอาอยู่ แต่งตัวกันดี๊ดี

  เห็นนักศืกษาแพทย์ปีห้าโดนอาจารย์เอาปากกาเคาะหัวตลอด เรียนแพทย์เนี่ยเครียดมากนะครับ บอกเลย

  ค่ายา รพ.เอกชนแพงกว่ารพ. รัฐ เกินสิบเท่า หมอจุฬานี่เก่งนะครับ ความรู้เยอะ…ดีใจที่ได้ใช้สิทธิอดีตข้าราชการ มันน่าจะดีกว่านี้ แต่เอางบไปแบ่งให้ประชาชนก็ดีแล้ว ร่วมทุกข์สุขกัน ถ้ากระทรวงคลังเอาส่วนของข้าราชการไปแบ่งลงทุนไว้ น่าจะรักษาได้ระดับ รพ.เอกชน ก็อย่างว่า…ชีวิตคนในรพ.มันเหนื่อยนะ ใครไม่เคยตื่นไปเข้าคิวตีสี่เหมือนผม ห้ามวิจารณ์เรื่องงบสาธารณสุข นักการเมืองทุกคน ควรไปตอนตีสี่ จะเข้าใจชีวิตและปชช.มากขื้น นิสิตจุฬาทุกคนควรไปอย่างยิ่ง ขอบอก นี่คือมหาวิทยาลัยชีวิตครับ บัณฑิตต้องรู้จักประชาชน

Somkiat Osotsapa

February 5 at 12:31am ·

เมื่อประเทศไทยถูกยึด ม้าอารีต้องออกมายืนตากฝน คนไทยจะเข้าหาหมอได้อย่างไร

อาชีพที่ทำรายได้สูงกว่าบุคลากรการแพทย์ในรพ.จุฬาฯ คือ ล่ามต่างชาติ ที่ขนคนไข้ประเทศเพื่อนบ้าน มารายละไม่ต่ำกว่าสิบคนต่อวันต่อล่ามหนื่งคน มีรายได้จากคนไข้ตปท.รายละ 500 บาท วันละเกิน5000 บาท  ล่ามของแต่ละชาติมีมากมาย (หมอจุฬาผู้รักชาติหลังไมค์มาบอก)

 

ด้วยเหตุนี้ คนไข้ที่นั่งรอหมอจึงเป็นคนจากปท.เพื่อนบ้านร่วม 50% คนไทยที่จะเข้ารพ.จุฬาฯ มีวิธีเข้ารักษาอย่างรวดเร็วได้ โดยอาศัยทางด่วน คือ รถของมูลนิธิปอเต๊กตื๊ง เช่น ถูกรถชน ถูกยิง แทง ฟัน งูกัด เข้าห้องอุบัติเหตุ ฝั่งสวนลุมได้เลย

ที่รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกว่าระบบประกัน ทำให้คนไทยไปรักษามาก ต้องเก็บเงินผู้ป่วยไทยเพิ่ม หมอไม่พอ อุปกรณ์ไม่พอ นี่…ไร้สาระมาก…รายจ่ายเพิ่มเพราะรับคนไข้จากตปท.มาตรึม… การทำคลอดทำให้ต่างชาติมากกว่าคนไทย…รู้กันทั้งภูมิภาคเอเชียว่ามารักษาที่เมืองไทย แค่บอกว่าไม่มีเงินก็ฟรี…ตอนนี้ข่าวสารกระจายไปทั่ว จัดเป็นธุรกิจข้ามชาติใหญ่โตมาก ทำบัตรเสร็จ ตรวจสุขภาพเสร็จ หางานทำได้เลย

เศรษฐกิจดีมาก หางานง่าย  ไปบีบให้คนไทยลาออก พวกเราเยอะ เครือข่ายเพียบ เบิกล่วงหน้าได้

ผมมีรายงานต้นทุนการรักษาผู้ป่วยของรพ.ทุกประเภท ทั่วปท. รายกลุ่มโรค คลอดแบบไหนเท่าไร ค่าใช้จ่ายประเภทค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าเสื่อม…รู้หมด

งบประมาณแผ่นดินของรพ.จุฬาแห่งเดียว เพิ่มจากราวสองพันล้านมาเป็นหกพันล้าน  เพิ่มสามเท่าในเวลา 3-4 ปี ศิริราชก็บอกว่าขาดทุน รพ.ศูนย์ รพ.ท้องถิ่น รพ.ชุมชนขาดแคลนไปหมด หมอ พยาบาล เภสัช รังสี บุคลากรอื่นๆทำงานกันหนักมาก เศรษฐกิจไทย ระบบสาธารณสุขไทยจะล่มในไม่กี่ปี ตอนนี้อุตสาหกรรมขนคนเข้าปท.ไทยกำลังเติบใหญ่ ทั้งในลาว กัมพูชา พม่า อาฟริกันยังมาเลย เขาพูดกันว่าเมืองไทยแม่งโง่ ชอบอวดรวย ทั้งๆที่คนไทยจนจะตายห่า ผู้นำบ้ายอ ชมๆแม่งไป

--------------------------

ผมรู้ว่าคนไทยกำลังเครียดรุนแรง แต่อายไม่กล้าพูด  ระวังว่ามันจะระเบิด

ทั้งถูกแย่งคิวรพ. แย่งงาน แย่งที่ขายของ แย่งที่นั่งในรถเมล์แดง รถไฟฟรี ยึดสวนสาธารณะ อิทธิพลขั้นสูง คนจนทั้งนั้น ทุกสีเสื้อ ผู้บริหารสภากาชาด ครม คสช สนช สปท อะไรก็ไม่รู้จำไม่ได้  ไม่เคยมายืนเข้าคิวตอนตี 4

ปัญหาของประเทศนี้คือ ผู้นำ ผู้ตัดสินใจ ผู้วางแผน ไม่ได้ใช้ชีวิตสัมผัสทุกข์ยากของปชช. ตัดสินใจผิดมากๆ

เมื่อเห็นต่างชาติเยอะมาก ผมก็ออกมาเดินดูรอบนอก แถวร้านกาแฟขายลาตเต้นั่นแหละครับ

เจอเลย ขบวนการ มีผู้กำกับงาน แต่งตัวดีมาก ผมฟังภาษาออก เจ้าหน้าที่รบ.ปท.เพื่อนบ้านก็มี กำลังคุยถึงที่จะมาอีกหลายระลอก ผ่านด่านต่างๆ ดูรวย มีความสุข เขากำลังทำงานให้ชาติของเขา ส่งคนมารักษาที่ไทยฟรี…

ขำที่คนไทยดูทุเรศ ทุกขเวทนาวันนี้ คุยกับพรรคพวกที่รู้เรื่องดี จะได้รู้ต้นน้ำ กลาง น้ำ ปลายน้ำ

อือม์ มันน่ากลัว…เขื่อนความมั่นคงประเทศพังแล้ว

--------------

ความขัดแย้งรุนแรงเกิดขื้นเมื่อคนในชาติรู้สึกว่าพื้นที่ทำมาหากิน พื้นที่ชีวิตของเขาถูกรุกราน ถูกคุกคาม

เยอรมัน เรียกว่า libensraum แปลว่า life space

ตอนนี้หนักมาก สงครามเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ในทุกที่…

สวีเดน เดนมาร์กจึงเอาผู้อพยพออก เศรษฐกิจยุโรปจะพังเอา ก็เพราะแบบไทยตอนนี้…คนไทยจะจ่ายเงินหนัก ขาดแคลน แล้วจะโวย แล้วจะระเบิด…

ผมไปนั่งคุยกับพรรคพวก…

  คนในปท.รอบบ้านเราไม่ได้รวยแบบที่มีข่าวในไทยหรอก

ค่าแรงคนทั่วๆไปในพม่าก็ราวเดือนละ 6-7ร้อย ค่าแรงขั้นต่ำที่สู้กันเต็มที่ก็ 2,200 ต่อเดือน

ที่กัมพูชาสูงกว่านี้นิดนึง เวียดนามราวเดือนละ 3,000 แต่ยังมีคนไม่ได้ทำงานในระบบที่ค่าจ้างระดับนี้เยอะ ตอนนี้คนต่างชาติ มาอยู่ในปท. ไทย ไม่ใช่ 3 ล้าน  อาจถึง 6 ล้านแล้ว เขาบอกต้องไปดูที่ด่านที่เข้ามา… ราชการไม่มีตัวเลข – ที่มีก็ผิด มามาก ก็เข้ารพ.มาก ญาติพี่น้องเจ็บป่วยก็พามา ถูกกว่าไปพนมเปญ ย่างกุ้ง เวียงจันทร์ ซื่งหมอไม่เก่ง ยาไม่มี เครื่องมือไม่มี แพงกว่าเมืองไทยด้วย

  ตอนนี้ระบบจัดตั้ง เครือข่ายแน่นหนามาก คนทางโน้นก็รู้ว่ามาเมืองไทยแล้วรวย

ผมถามว่าที่สำรวจบอกว่ามาแล้วจะกลับไป…เขาบอกกลับไปที่ไหน…มีแต่กำลังแห่กันมา! มาแล้วมีบริการหางาน หาที่พัก ทำบัตรแรงงาน มีนายจ้าง ทำบัตรสุขภาพ พาไปรพ. หักเงินทีหลังก็ได้  มีนายทุน กองทุนระดับเป็นหมื่นล้าน มีตั้งแต่บริการขนส่ง ต้นทาง ถึงปลายทางแบบโรฮิงยา ได้สัญชาติกันเยอะ ซื้อบัตร เอาลูกมาใส่ชื่อพ่อคนไทย ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาก จะได้มาเรียนฟรีที่เมืองไทย ได้เข้ามหาวิทยาลัย รักษาฟรี อยู่ฟรีกับนายจ้าง อาหารพร้อม ไม่ต้องจ่ายแวต ส่งเงินกลับไปได้เยอะมาก มาคลอดเมืองไทย ค่าคลอด ดูแลทั้งปี 365.-บาทเท่านั้น ถ้าผ่าออกก็แค่นี้ ต้นทุนสองหมื่นกว่านะครับ จะหาที่ขายของ เปิดร้าน ใช้คนไทยเป็นโนมินีก็มี ทำแบบแบ่งเปอร์เซ็นต์ก็ได้ มามากก็เข้ารพ.มาก ทำบัตรสุขภาพราวปีละ 1,300.- รักษาทุกโรค 55 ---------------

 

  เขาบอกว่าเมืองไทยโฆษณา AEC เกินจริง จนคนและขรก. เข้าใจว่าแรงงานคนต่างชาติเข้าไทยได้ฟรี คนไทยทั่วไปก็เข้าใจเช่นนั้น ด่านจืงเปิด ยุคนี้ป่วยรุนแรง เหมารถจากพนมเปญมาเลย นอนรพ.3เดือน ให้ออกซิเจนตลอด จ่าย2หมื่น ต้นทุนจริงๆหลายแสน รวมค่าอุปกรณ์ ผ่าหัวใจฟรี ไปรพ.เอกชนสี่แสน ต้นทุนของรัฐแสนกว่า ไม่เจ๊งไงไหว

  เดินทางมาไทยง่าย ถูก…เมืองไทยไม่มีระบบตรวจสอบคนที่มาแล้วไม่กลับ

เงินซื้อได้ทุกอย่าง ตอนนี้เครือข่ายจัดหาคนเป็นพ่อ ทำงานดี เพราะรายได้มาก กำลังมากันเพียบ พลเมืองไทยจะเยอะมาก เตรียมงบไว้

  อุตสาหกรรม(พาคนมาไทย) รุ่งเรืองมากในปท.เพื่อนบ้าน กำไรดี ลูกค้าเยอะมาก ช่วงนี้ข่าวไปทั่ว

๖ การจะรักษาในไทย ก็แค่หาชื่อนายจ้าง ซื่งจัดไว้แล้ว ไปซื้อบัตรสุขภาพ รบ.ไทยบริการดีมาก…

  ที่ผิดกฏหมายทำไง ก็จ่ายเดือนละพันต่อคนเหมือนเดิม 55 ก็ต้องมีรายได้อะไรสักอย่าง

ไอ้คนที่ผมคุยด้วย มีหน้าที่แบ่งลูกน้องไปเก็บเงินรายหัวส่งทุกเดือน…วันนี้นั่งคุยละเอียด มึงจ่ายให้ใครกันบ้าง ไอ้นั่นย้ายแล้วเหรอ ตอนนี้ใครคุม…ชีวิตธรรมดาคุยกันยังงี้ครับ

ยังไม่บอกว่าจะแก้อย่างไรนะครับ ต้องเล่าสถานการณ์ก่อน

 

ผมแนะว่าต่อไป ถ้าป่วยไปรักษาแถวจังหวัดที่ไม่มีต่างด้าว เช่น ชัยภูมิ เลย น่าจะสะดวกกว่านะ

ช่วงนี้ก็สตรองหน่อย ถ้าพ่อแม่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี ยาลดลง ไม่มีเตียงก็ขอให้ทำใจ ผมจะไปเข้าคิวเป็นเพื่อน  ตอนนี้เตรียมแผนจะไปศิริราช ติดต่อไว้แล้ว ต่อไปจะไปราชวิถี รามา วชิระ ไปขอนแก่น อุดร สุราษฏร์ ที่จริง คสช ครม ควรส่งภรรยาไปเข้าคิวบ้างนะ  กรรมการสภากาชาดด้วย ไปพรุ่งนี้เลย จะได้รับรู้ความรู้สืกคนไทย

ผมเขียนไป ผมเศร้ามาก

เงินที่รบ.สัญญาว่าจะดูแลพยาบาลผมตอนแก่ แบ่งไปให้คนไทยอื่นๆ ผมมีความสุขนะ เจ็บ ตายด้วยกัน แต่ตอนนี้ ผมแก่ ผมต้องนั่งรอคิวยาว ตอนใกล้จะถึงคิว มันแทรกเข้ามา เอาลูกค้ามาแซงสิบคนนี่ผมไม่พอใจมาก ถาม ขาใหญ่มันเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เอาต่างชาติเข้ามา มันหัวเราะ บอกรายได้ของหลายคนจะดีมากทีเดียว มันถามว่าใครคิดวะ คนไทยได้อะไรบ้าง พวกนี้รักชาตินะครับ

ต่างชาติบอกผู้นำไทยไม่ติดดิน บ้าลูกยอ บ้า AEC งี่เง่า ชอบเอาหน้า ไม่รู้เรื่อง สบาย หมูที่สุดในปท.ย่านนี้ เพื่อนผมบอก ผมไม่ได้พูดนะ  จะแก้ปัญหาต้องพูดกันให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้…

วันนี้เขียนไม่เป็นระบบ มึนไวน์มานิดหน่อย ความรู้ที่เพื่อนเพจเล่ามา เป๊ะมาก ผมจึงพอมีภูมิไปคุยกับเขา

เห็นอะไรช่วยบอกมานะครับ…ช่วยกัน…


 
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > บทความ ของ Somkiat Osatsapa พาเที่ยวโรงพยาบาลจุฬาฯ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8588864

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า