Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน

พิมพ์ PDF

สรุปการบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

Panel Discussion หัวข้อนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) มี 3 เรื่อง

1.  นวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน

ทำอะไรใหม่

มีความคิดสร้างสรรค์

มีความรู้

2.  เปลี่ยนสิ่งเหล่านี้เป็น project

3.  โครงการประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

·  นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนเป็นเรื่องใหญ่

·  สิ่งสำคัญสุดคือความสมานฉันท์ เป็นญาติผูกพันกันในฐานะคนไทย

·  คนไทยพร้อมรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยู่แล้วเพราะเป็นผู้นำแสงสว่างและความเจริญมาสู่เขา แต่ทำไมคนรับไม่ได้

·  ชนบทวันนี้มีไฟฟ้า และความสะดวก นี่คือเครื่องมือในการพัฒนาและสร้างความสับสน ต้องบริหารข่าวสาร ทำเรื่องราวดีๆให้เป็นเรื่องวิเศษ เป็นหน้าที่ชาวกฟผ.ทุกคน

·  บทบาทสำคัญชาวกฟผ.

1.ทำงานในหน้าที่ให้ดี

2.ดูแลสังคมให้ดี ปัญหาสังคมคือ สังคมถูกทอดทิ้ง คนไทยทุกคนต้องดูแลสังคม ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องวิเศษ

3.ต้องเข้าไปเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน ให้ชุมชนบอกเรา ว่ามีปัญหาอะไร มีข้อเสนอแนะอะไร วิธีนี้จะทำให้ได้รับความไว้วางใจมากขึ้น ไม่ใช่เราให้อย่างเดียว เราได้ด้วย อย่างน้อยก็ได้ความสุข

·  เราไปสามารถไปเยี่ยมชุมชนได้รูปแบบต่างๆเช่น

1.ในรูปโครงการ

2.การอบรม ดูงาน

3.ในฐานะส่วนตัว

·  ก่อนไปมหาวิชชาลัยอีสาน ควรจะอ่านข้อมูลก่อน

·  ชาวกฟผ.ลงไปชุมชนไปสอนทำก๋วยเตี๋ยว ถือว่าทำเรื่องธรรมดาให้เป็นเรื่องวิเศษ ทำเรื่องง่ายก่อนแล้วค่อยทำเรื่องยาก

·  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะครบรอบ 100 ปี จะมอบบัณฑิต ตั้งสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติทำงานให้ชุมชน ทำโครงการ 3 วัน 3 คืน เวลาทำงานต้องได้ใจคนที่เกี่ยวข้อง

·  ชาวกฟผ.ไปในนามส่วนตัวลงชุมชน ทำอาหารร่วมกัน นำความคุ้นเคยไปติดต่อ เมื่อกลับมาแล้วก็ยังติดต่อสื่อสารกันถ่ายทอดให้ลูกหลาน

·  จากกระบวนการดังกล่าวทำให้ผมมีเครือข่ายเป็นอาจารย์จากหลายสถาบัน

·  จุดสำคัญของสังคมไทยคือความเอื้ออาทร พร้อมที่จะเข้าใจกัน

·  ปัญหาใหญ่ของเราคือเรื่องสุขภาพ ถ้าบริโภคผักปลอดสารพิษก็ช่วยได้ กฟผ.มีเทคโนโลยีไปช่วยสร้างอาหารปลอดภัยในชุมชนได้ เพราะพอมีไฟฟ้า เราก็มีปั๊มน้ำ

·  อีกปัญหาคือการทำลายพื้นที่ป่า นำป่าดงดิบมาปลูกยางพารา

·  ประเทศไทยก็ทำอะไรไม่ทันเวลา ประชุมไซเตสออกกฎคุ้มครองไม้พยุงเมื่อหมดประเทศแล้ว

·  นักวิทยาศาสตร์นาซ่ามาแนะนำให้เตรียมอาหารใต้ดินไว้ จึงปลูกเผือกยักษ์ไว้

·  ปัญหาชีวิตแก้ได้ถ้ามีการจัดการความรู้และใช้ชุดเทคโนโลยี

·  เราควรไปช่วยให้กำลังใจ ช่วยเหลือเครื่องมือแก่ชุมชน

·  ควรนำจุดแข็งคือประโยชน์ไฟฟ้า มีการประเมินคุณประโยชน์ไปเสนอต่อชุมชน

·  ปัญหาคือชาวการไฟฟ้าทำงานแล้วไม่ค่อยเก็บผลงาน

·  ท่าทีลีลาการผูกมิตรสร้างเครือข่ายกับชุมชนไม่ยาก

·  เรียนในห้องได้ความรู้ เรียนนอกห้องได้ความจริง นำความรู้มาผสมผสานกับความจริง แล้วจะรู้จริง

·  ต้องสนใจชนบทแล้วชนบทก็จะไม่ทิ้งเรา ควรมาร่วมอุปการะสังคม

·  ยุคนี้คนไทยต้องมาทำงานเชิงลึก โดยลุกออกจากที่ทำงานมาช่วยหาทางแก้ปัญหา

·  ต้องคิดใหม่ หาช่องทางใหม่ๆ พัฒนาสังคมประเทศนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  ผมได้ไปเยี่ยมท่านครูบา

·  ความคิดท่านครูบาต้องนำไปคิดต่อ

·  ถ้ามี re-union ควรไปพบกันที่ศูนย์การเรียนรู้ของท่านที่บุรีรัมย์

ดร.เสรี พงศ์พิศ

·  ผมมาในองค์การที่มี 2 บุคลิก ด้านหนึ่งเป็นพระเอก อีกด้านเป็นผู้ร้าย

·  สังคมจะดีขึ้นถ้าเป็นสังคมการเรียนรู้ องค์กรการเรียนรู้มีน้อยมาก ความคิดสร้างสรรค์ไม่เกิด

·  ขาดความรู้มือหนึ่งที่เกิดจากกการสร้างประสบการณ์ด้วยตนเอง

·  ถ้าไม่ลงทุนการเรียนรู้และมีการวิจัยมี แค่ 0.2% ของ GDP เป็นสังคมอำนาจกับเงิน เราก็จะอยู่ในกรอบตลอด

·  การเรียนรู้ที่ดีคือ หาวิธีทุบกระถางของไม้ในกระถาง แล้วลงดิน จึงจะโตเป็นไม้ใหญ่ ไม่ต้องรอใครรดน้ำก็โตได้

·  ลุงประยงค์ รณรงค์ได้รับรางวัลแมกไซไซเพราะเป็นนำผู้ชุมชนเรียนรู้ เป็นชุมชนเข้มแข็ง ลุงประยงค์ได้รับเชิญไปพูดที่ ADB

·  CNN ยกย่องว่า ถ้าชุมชนอื่นทำได้แบบชุมชนไม้เรียงนี้ ก็จะอยู่รอดได้

·  ลุงประยงค์ทำวิจัยนำประสบการณ์มาวิเคราะห์ได้แผนแม่บทยางพาราไทย ถือเป็นนวัตกรรมจากชุมชนเรียนรู้

·  ท่านเป็นตัวอย่างว่า เงินแก้ปัญหาความยากจนไม่ได้

·  ที่แก้ปัญหาไม่ได้เพราะขาดความรู้และปัญญา

·  ยุทธศาสตร์การพัฒนาไม้เรียง

·  เริ่มต้นจากการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการเรียนรู้ก็จะทำตามคำสั่งและงบประมาณ ถ้ามีการเรียนรู้และปัญญาก็พึ่งตนเองบริหารจัดการเป็น

·  ยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเองด้านอาหารและพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด 2 เรื่อง ดินเป็นปัจจัยการผลิตอาหารที่สำคัญ

·  ผมส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกสบู่ดำ เป็นน้ำมันดีที่สุดสำหรับรถและเครื่องบิน เป็นเยื่อกระดาษยาวที่ดีที่สุดกก.ละ 500บาท ชาวบ้านไม่ทราบเพราะไม่มีใครบอก ชาวบ้านควรจะผลิตและใช้เอง ขายเยื่อกระดาษให้บ่อสร้าง

·  หนี้สินคือสิ่งที่ชาวบ้านปรับตัวไม่ได้ เพราะถูกกระตุ้นจากทุนนิยมจึงซื้อหมด

·  เราต้องการระบบชุมชนที่มีพลัง ชาวบ้านพึ่งตนเองได้

·  ระบบที่ดีคือระบบที่ทำให้คนทำถูกได้ง่าย ทำผิดได้ยาก

·  ต้องรู้จักคิดนอกกรอบบ้าง

·  อยากให้มีสังคมการเรียนรู้จึงทำงานกับชาวบ้าน

·  ผมให้ชาวบ้านทำแผนชีวิตจัดการชีวิตตนเอง  สมัยโบราณพ่อแม่บอกหมด ยุคสมัยเปลี่ยน ก็มีคนอื่นๆมาบอกทำให้สับสน การวางแผนชีวิตสำคัญมาก

·  ต่อมาทำแผนการเงิน ส่งเสริมให้ชาวบ้านออม วางแผนใช้หนี้

·  วางแผนอาชีพ ให้เลิกทำนา 300 กก ต่อไร่ ต้องเป็นผู้ประกอบการ ทำเกษตรผสมผสาน ทำไร่ได้ 1 ตันครึ่ง เรามีจุดแข็งที่ไม่มีใครแข่งได้ เช่นมีข้าวสังข์หยดมีวิตามินอีมาก ทำให้เป็นหนุ่มสาวนาน ไม่แก่ง่าย ตายยาก โลกกลับมาสนใจสุขภาพ ต้องรู้จักกระแสโลก จะได้ตอบสนองได้เหมาะสม

·  วางแผนสุขภาพ กินเป็น อยู่เป็น ไม่ต้องไปหาหมอ ยาดีที่สุดคืออาหาร โรงพยาบาลดีที่สุดคือครัว หมอที่ดีที่สุดคือตัวเรา เงินเดือนสูงขึ้นทำให้บริโภคไม่ระวัง ทำให้ไขมันสูงขึ้น

·  ถ้าคนคิดจะเรียนรู้ ก็จะไม่มีปัญหาเงินและที่ดิน ถ้าไม่มีความรู้ แม้มีเงินและที่ดินก็จะหมด

·  ต้องนำเนื้อหาชุมชนมาเรียนและมาร่วมแก้ปัญหากับชุมชน

·  ฝรั่งชื่อมาร์ตินบอกว่า คนไทยมีปัญหาวิธีคิด ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ น้ำ ดิน แดด แต่คนเข้าไปอยู่ในเมืองเพื่อรับค่าแรงวันละ 300 บาท พ่อเขารวยและมีความรู้ แต่ไม่มีความสุข แต่เขาอยากมีความสุข

·  จุดแข็งของไทย ไม่จำเป็นต้องวิ่งตามซัมซุง ซีพี แต่ผมพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชาวบ้านกำหนดว่าปลูกอะไร ขายอะไร

·  ยิ่งคุณเรียนในตำรามาก ก็จะติดกรอบ ต้องคิดนอกกรอบให้ได้

·  ต้องทำให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

·  ผมให้ชาวบ้านปลูกไผ่เพื่อใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น

·  เรายังไม่ได้นำสิ่งที่ค้นพบจากวิจัยมาใช้ให้เป็นประโยชน์

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

·  Social Innovation กฟภ.

·  ปี 2503 ก่อตั้งกฟภ.

·  ปี 2539 SCADA

·  ปี 2547 SAP

·  ปี 2550 LO

·  ปี 2553 แผนแม่บท

·  วิวัฒนาการ

·  ยุคที่ 1 2503-2513 กฟภ.ต้องผลิตไฟฟ้าเองจ่ายไฟในเมืองใหญ่

·  ยุคที่ 2 ขยายไฟฟ้าชนบท

·  ยุคที่ 3 ขยายไปธุรกิจอุตสาหกรรม

·  ยุคที่ 4 เทคโนโลยี

·  ปัจจุบัน พัฒนาพร้อมแข่งขัน

·  นวัตกรรมไฟฟ้าชนบท

·  ตั้งแต่ปี 2510 เสนอโครงการขยายไฟฟ้า 4000 หมู่บ้าน คิดเป็นประมาณ 10% ดร.จุลพงศ์ ผู้ว่าการคนที่ 5 ไปนำเงินยูเสดและยูซ่อม ปี 2515 ทำ pre-feasibility study

·  ต่อมารัฐบาลออกแผน Accelerated Rural Electrification Program ประชาชนไม่ต้องออกเงินสมทบก่อสร้าง ได้ 6 หมื่นหมู่บ้าน

·  โครงการที่ธนาคารโลกให้เงินกู้ก็ไปทำที่อีสาน เป็นจุดเริ่มต้น แล้วก็มีการอนุมัติโครงการต่างๆ 50-60 โครงการ

·  ปัจจุบันทำได้ 74000 หมู่บ้าน

·  ทำจริงใช้เวลา 35 ปี ใช้เงินไปทั้งหมดเกือบ 5 หมื่นล้านบาท

·  ลำตะคองใช้เงิน 3 หมื่นกว่าล้านบาท

·  กฟภ.ใช้เงินอย่างประหยัดมาก

·  กฟภ.ลงทุน infrastructure น้อย

·  กฟภ.สร้างองค์กรการเรียนรู้ได้แนวคิด Peter Senge  จะทำห้องค์กรเป็นอมตะ เจริญเติบโตมีนวัตกรรม

·  แล้วนำมาทำเป็นยุทธศาสตร์

1. LO Awareness

2. Knowledge Auditing

3. Knowledge Critique

·  โครงสร้างกฟภ.

·  ระดับสูง 130 คน

·  First line manager 19000 มีการสร้างทีมพลวัตรกฟภ.ที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดบรรยายวิชาการ ศึกษาดูงาน มีการทำ Team Learning และการทำวิจัย มีการแบ่งกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มละ 80 คน ในแต่ละกลุ่มมีประธาน รองประธาน และกรรมการ

·  ยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกฟภ. ต้องสร้างวิสัยทัศน์ รอบรู้ เรียนรู้ มองไกลแล้วไปให้ถึง

·  สิ่งที่เป็นนวัตกรรมในสังคมเกิดจากวิสัยทัศน์ มองไกลแล้วไปให้ถึง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  กฟภ.มีปัญหาคือการขยายไฟฟ้าไปชนบท ก็ทำได้ดี

·  กัมพูชา ลาว พม่า การไฟฟ้าในชนบทมีไม่ถึง 50%

·  Social Innovation กฟภ.คือการพัฒนาบุคลากร

·  ผู้ว่าการกฟภ.ไม่ต่อเนื่อง

คุณศานิต นิยมาคม

·  เราส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  สร้างความสุขคุณภาพชีวิตให้ประชาชนแต่บนเส้นทางที่ทำให้บรรลุเป้าหมายอาจกระทบชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน

·  จากการไปบางปะกง ประเด็นทางสังคมสำคัญมาก กฟผ.จะทำอย่างไรให้สังคมยอมรับ

·  ตอนแรก กฟผ.สร้างความเจริญ ตอนหลังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อมีการดำเนินการ

·  ตอนนี้มีกระแสสิ่งแวดล้อม เราต้องมีความรับผิดชอบ ต้องไปดูแลสังคม

·  เราต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชน สร้างโรงไฟฟ้าต้องฟังความเห็นของประชาชน

·  เราช่วยเหลือเกื้อกูลหน่วยงาน การให้ไม่ใช่คำตอบ ต้องสร้างสังคมที่มีความยั่งยืน โครงการต่างๆต้องเน้นเรื่องนี้

·  หลายหน่วยงาน CSV สร้าง Shared Value เหนือกว่า CSR

·  สิ่งสำคัญ

·  ต้องอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืนเสมือนคนในครอบครัว ใช้วัฒนธรรมเข้าหา อ่อนน้อมถ่อมตน

·  เมื่อเร็วๆนี้เราจัด Focus Group ว่า ทำมาก คนกำกับดูแลเห็นว่าเราทำดี แต่คนนอกเขามองเห็นความตั้งใจ กฟผ.อยากสร้างโรงไฟฟ้า บางส่วนบอกว่า ทำไมไม่บริหารการจัดการไฟฟ้าให้ดีก่อน

·  ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เข้าใจบริบทชุมชน

·  โครงการ CSR มีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ มีโครงการที่ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

·  ต้อง Balance ภายในองค์กรและวิ่งไปหาโอกาสใหม่ ที่จะนะเป็นตัวอย่าง

·  การเข้าหาชุมชนต้องเข้าหาคนที่คนในชุมชนเชื่อถือ ท่านอาซิสเป็นประธานอิสลามที่สงขลา ท่านรองผู้ว่าการก็เข้าไปหา เข้าไปถามว่ามีอะไรที่คนในชุมชนเป็นกังวลกับการทำงานของกฟผ.ได้แล้วปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

·  การเข้าไปฟังเขาด้วยความอ่อนน้อมเป็นการให้เกียรติเขาแล้วเขาก็จะให้ความร่วมมือ

·  กฟผ.นำคนไปช่วยสนับสนุนโภชนาการและการตลาดกะปินาทับที่มีมูลค่าเพิ่มหาศาล เป็นการสร้างนวัตกรรมที่มีส่วนร่วมกับชุมชน

·  เราศึกษาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานความร้อนใต้พิภพที่สันกำแพง เราเข้าไปทำความคุ้นเคยชุมชน เขามาปรึกษาพลังงานแสงอาทิตย์จึงทดลองทำโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้ตากร่มหน้าฝน มีการทำตู้อบกล้วยตากม้วนทำให้ผลิตภัณฑ์สะอาด มีราคา

·  ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานำเถ้าลอยลิกไนต์ทำปะการังเทียมมีการออกแบบมีการหมุนวนคลื่นในตัวปะการังแล้วลดแรงกระแทกคลื่นเซาะฝัง

·  กฟผ.ต้องอาศัยพวกเราทุกคนมาช่วยกันขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมเพราะทุกคนต้องดูแล Stakeholders แต่ละกลุ่ม ต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

·  เราต้องสร้างให้สังคมรักผูกพัน เชื่อมั่นไว้วางใจ ต้องเข้าไปดูแลสังคมไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  อยากให้กฟผ.ฝึกเรื่อง CSR ให้กับทุกคนในองค์กร

·  กฟภ.ลงทุนทำเรื่ององค์กรการเรียนรู้

·  กฟผ.ต้องพัฒนาคนแล้วคนในชุมชนต่างๆมองในแง่ดีด้วย

ช่วงแสดงความคิดเห็น

1.มีประสบการณ์อะไรที่นำจากจะนะมาใช้กับที่อื่นไม่ได้

2.จากคุณศานิตพูดที่เปรียบเทียบกฟผ.กับกฟภ. คนรักกฟภ.มากกว่า จะทำ CSR อย่างไร

การรอนสิทธิ์ชาวบ้านไม่ให้ปลูกสิ่งก่อสร้างสูง จะเข้าหาชาวบ้านอย่างไร

3. ทำไมกฟผ.ไม่สามารถสร้างในที่เดิมที่ไม่มีการต่อต้าน

4. ในอนาคต จะมีถ่านหินสะอาด 3200 เมกกะวัตต์ วางแผนว่าจะไปทำโรงไฟฟ้าในภาคใต้ มีนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อชุมชนยอมรับกฟผ.มีบ้างไหม

5. ทั้งหมด ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระแสต่อต้าน กฟผ.ถูกต่อต้านมากที่สุดเพราะตามกรอบ แต่เอกชนสามารถทำได้สำเร็จก่อนเราในพื้นที่เดียวกัน อาจใช้วิธีทางเศรษฐกิจทำให้เสร็จได้ ทุกหน่วยงานในกฟผ.เคยหารือร่วมกันหรือไม่ เมื่อเดือนที่แล้วมีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้เสนอว่าให้มีศูนย์ทำ CSR ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ยังไม่มีการสอน คนที่ทำอาศัยประสบการณ์ล้วนๆ กฟผ.น่าจะมีตัวกลางเผยแพร่งานกฟผ.และทำโครงการให้สำเร็จแต่ละโครงการ

6. Innovation ใหม่ๆด้านการสร้างโรงไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

·  ควรลงไปล่วงหน้าร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชุมชน ทำการบ้านเชื่อมสัมพันธ์ล่วงหน้า ควรจ้างมืออาชีพไปช่วยประสานให้นุ่มนวลและเป็นกันเองมากขึ้น นำความรัก ความเมตตา ความเข้าใจไปก่อน ต้องให้ประชาชนตอบคำถามแทนท่าน

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

·  กฟผ.ควรถอยมาอยู่ฝ่ายเทคนิคแล้วให้ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้นำในการประสานกับชุมชน

·  การหาที่ดินสร้างโรงไฟฟ้า ควรให้กระทรวงพลังงานหาที่ดินให้

·  กฟผ.ควรเป็นเถ้าแก่คุมการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

ดร.เสรี พงศ์พิศ

·  กฟผ.ก็ควรจะถอยไปตั้งหลัก สู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา ชนะด้วยความรู้

·  ต้องสร้างภาคีเป็นหุ้นส่วนกับชุมชน สนองความต้องการของชุมชน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งองค์กรต้องมีวิญญาณการทำงานร่วมกับชุมชน

·  อาวุธอย่างเดียวที่เหลือของคนยากคือวัฒนธรรม

·  ต้องใช้ทุนทางปัญญาและทุนทางสังคมสร้างนวัตกรรม

·  ถ้าจะตอบโจทย์ในการทำงานร่วมกับชุมชน ต้องทำงานเป็นภาคี ทำให้เกิดทุนทางปัญญาและทุนทางสังคม

·  ควรอ่านบทความของผมโลกเปลี่ยน เรียนรู้ อยู่รอดและบทความ ไฟดับ ก็ดี

·  ควรเข้าไปดูเว็บไซต์มหาวิทยาลัยชีวิต life.ac.th

คุณศานิต นิยมาคม

·  แต่ละที่บริบทไม่เหมือนกัน

·  ในอดีต ที่กระบี่ คนไม่ต่อต้านโรงไฟฟ้าเพราะมีความสัมพันธ์ที่ดี

·  การทำงานต้องบูรณาการกันไป

·  ต้องมองปัญหา ดูว่ามีใครเกี่ยวข้อง ทำตามความต้องการชุมชน จะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  เรื่องชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ยังมีช่องทางที่จะเกิดขึ้น

·  ควรให้ผู้นำระดับกลางและระดับล่างได้เรียนแบบรุ่น 9 แค่วันเดียวจะได้คิดร่วมกัน

·  ถ้าจะทำให้เกิดความสำเร็จ ต้องร่วมกันคิดและให้โอกาสการเรียนรู้เกิดขึ้นในมุมกว้าง ควรจัดโครงการ 2 วันให้คนกฟผ.ได้คิดเกี่ยวกับอนาคตกฟผ.

·  สิ่งสำคัญคือ การจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้ สถานการณ์การไฟฟ้าเปลี่ยนไปหมดแล้ว

·  ใน HR Function เรายังไม่ได้สร้าง Learning Organization

·  ฟังแล้วต้องหาประเด็นที่เกิด Value Added

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/531366

 
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591643

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า