Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร

สังคมการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

สังคมการเรียนรู้


การเรียนรู้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน 

สังคมการเรียนรู้

 

การเรียนรู้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน คนเราเริ่มการเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา ครูคนแรกจึงหนีไม่พ้นมารดา เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะเริ่มเรียนรู้จากคนรอบข้าง เมื่อเข้าโรงเรียนเด็กก็จะได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากครูอาจารย์ การเรียนรู้จะต้องมาจากความต้องการของคนๆนั้น ไม่มีใครสามารถใส่ความรู้ให้กับใครคนใดคนหนึ่งได้ทั้งหมด

การเรียนรู้ในห้องเรียนเป็นการเรียนรู้แบบจำกัด ขึ้นอยู่กับหลักสูตร และครูผู้สอน โดยมีคะแนนเป็นตัวชีวัดความสำเร็จในการศึกษาแต่ละระดับ ความรู้ที่ได้ในห้องเรียนเป็นการเรียนรู้แบบพื้นฐาน ความรู้ที่ได้ในห้องเรียนส่วนมากมีอยู่ สองส่วน คือส่วนที่ท่องจำมาจากตำรา และส่วนที่เข้าใจจากการฟังครูอาจารย์ที่ให้ความรู้ในวิชานั้นๆ สิ่งที่ท่องจำมา และสิ่งที่เข้าใจในห้องเรียนอาจไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของแต่ละคนก็ได้

การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดคือการเรียนรู้และใฝ่รู้ด้วยตัวของตัวเอง เราต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้ความเข้าใจในทุกสิ่งที่เราสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นในห้องเรียน หรือที่ใดก็ตาม ความรู้ที่เราได้มีมากมายยิ่งอายุมาก ได้สัมผัสมากเท่าใดก็ยิ่งมีความรู้มากเท่านั้น เราสามารถเรียนรู้ได้จากทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตของเราในแต่ละวัน สิ่งที่เราได้เรียนรู้ในแต่ละวันจะเป็นตัวสร้างและกำหนดชะตาชีวิตของแต่ละคน ทุกสิ่งที่เรียนรู้มีทั้งผิดและถูก เช่นเราได้เรียนรู้ว่าผู้ที่มีเงินมากมาย เขาสามารถซื้ออะไรก็ได้ที่เขาต้องการ มีบ้านใหญ่โต มีข้าทาสบริวารคอยรับใช้ รับประทานอาหารดีๆ มีรถดีๆขับ สิ่งที่เราได้เรียนรู้คือเขามีเงินจึงซื้อทุกอย่างได้ แต่ความจริงเขาซื้อไม่ได้ทุกอย่าง การมีเงินไม่ได้แสดงว่าเขามีความสุข สิ่งที่เราเห็นและได้เรียนรู้จากเขาเป็นเพียงแค่เปลือกนอก ยังมีอะไรอีกมากมายที่เราไม่รู้

หลายๆคนเข้าใจว่าฉันเรียนจบแล้ว ฉันเก่งแล้วรู้ทุกอย่าง แต่เมื่อนำความรู้มาปฏิบัติในการดำรงชีวิต เขาก็จะได้เรียนรู้ด้วยตัวเขาเองว่าสิ่งที่เขาเข้าใจนั้นไม่ถูกต้อง เขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอีกมากมายที่เขาไม่เคยได้รับรู้มาก่อน  แต่ก็มีอีกหลายคนที่ยึดติดกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจากสถาบันการศึกษา และไม่ยอมรับรู้สิ่งใหม่ๆ และนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ปรับแต่งเพื่อให้ได้สิ่งที่เหมาะสมที่สุด

 ความรู้ไม่สามารถไหลจากคนหนึ่งไปสู่คนหนึ่งได้ทั้งหมด คนเรามีความคิดเห็นของตัวเราเอง ครูสอนนักเรียน  40 คนในเวลาเดียวกัน แต่นักเรียนทั้ง 40 คนจะสามารถรับความรู้ที่ครูถ่ายทอดให้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนักเรียนแต่ละคนว่ามีความพร้อมและตั้งใจที่จะรับความรู้มากน้อยแค่ไหน ครูที่เก่งคือครูที่มีความสามารถที่จะทำให้เด็กนักเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้ได้มากแค่ไหน

 ความรู้ที่ทุกคนได้เรียนรู้มีทั้งผิดและถูก ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะคนเรียนรู้มาก แต่ไม่รู้จริง รู้เพียงแค่เปลือกนอก ไม่ได้นำมาแยกแยะ และทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง บางคนนำความรู้ที่ได้มาใช้เพื่อสร้างฐานะความเป็นอยู่ของตัวเองโดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้อง เช่นค้าขายสิ่งผิดกฎหมายเพื่อให้ตัวเองมีความร่ำรวย เพราะคิดว่าเมื่อร่ำรวยมีเงินก็สามารถซื้อทุกอย่างได้ แต่เมื่อปฏิบัติจริงๆไม่ได้เป็นอย่างนั้น  มีเงินทองมากมายและซื้อของทุกอย่างจนไม่รู้จะซื้ออะไร แต่ไม่มีเพื่อน ไม่มีความสุข ต้องคอยหวาดกลัวว่าจะถูกจับได้ และเมื่อถูกจับได้ก็ต้องติดคุก เงินทองที่มีอยู่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ เป็นต้น

สังคมคนกรุงเทพ ส่วนใหญ่เป็นสังคมที่ต่างคนต่างอยู่ แข่งขัน ชิงดี ชิงเด่น เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของตัวเอง สังคมกรุงเทพส่วนมากเป็นสังคมของคนยุคใหม่ เป็นชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ๆ ยังไม่ได้มีวัฒนาธรรม และอารยะธรรมของชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ สมาชิกชุมชนมาจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน ยังไม่มีจิตวิญญาณของความเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น  การเรียนรู้ของคนในกรุงเทพ จึงเรียนรู้จากห้องเรียน และจากสื่อต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น ทีวี หนังสือพิมพ์  Internet หรือคนรอบข้างในอาชีพที่ดำเนินอยู่ สิ่งที่เรียนรู้ส่วนมากเป็นการเรียนรู้แบบผิดๆ มีแต่การแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น ขาดความรักสามัคคี ยึดวัตถุเป็นตัวกำหนดการดำรงชีวิต

คนกรุงเทพส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตนเองและครอบครัว ไม่มีเวลาศึกษาหาความรู้ ไม่ได้เรียนรู้เพื่อนบ้านและชุมชนที่ตัวเองอยู่อาศัย ขาดการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน     คนกรุงเทพส่วนใหญ่ยึดตัวเองและครอบครัวเป็นที่ตั้งไม่สนใจเพื่อนบ้าน และทำตัวให้มีคุณค่าต่อชุมชนที่อยู่อาศัย ปล่อยให้เป็นหน้าที่และภาระของตำรวจ ข้าราชการและนักการเมืองจัดการกันเอง ทั้งๆที่คนกรุงเทพเป็นคนที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวมของประเทศชาติ คนกรุงเทพส่วนใหญ่คิดถึงการเรียนรู้ในห้องเรียนเพื่อให้ได้ปริญญาในระดับสูงๆเพื่อจะได้เข้าทำงานที่มีรายได้ดีๆ หรือนำไปประกอบอาชีพเพื่อให้มีเงินทองมากๆ เป็นที่นับถือและยกย่องของสังคม คนกรุงเทพส่วนใหญ่ไม่สนใจการเรียนรู้เพื่อทำให้เกิดปัญญาเพื่อสร้างความสุขที่แท้จริงให้กับตัวเองและครอบครัว

เงินทองไม่ได้ช่วยให้ชีวิตมีความสุข เงินทองเป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการดำรงชีพเท่านั้น ความสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ที่การมีความสุข และเราจะไม่มีทางพบกับความสุขอย่างสมบูรณ์ได้ถ้าสังคมและประเทศชาติมีปัญหา เราทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชน และประเทศชาติให้เข้มแข็ง พร้อมหรือยังครับที่คนกรุงเทพจะหันมาให้ความสนใจในการเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นคงและความสุขให้กับตัวเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ  หากพร้อมผมขอเสนอให้ตั้งชมรมศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในชุมชนที่ท่านอาศัยอยู่ เรียนรู้ให้เข้าใจในปรัชญาอย่างแท้จริงและนำไปปฏิบัติในการดำรงชีวิตประจำวัน            ท่านและ ครอบครัวของท่าน ชุมชนที่ท่านอยู่อาศัย และประเทศชาติก็จะมีความเข้มแข็ง มั่นคง ประชาชนมีความเป็นสุขโดยทั่วหน้า  

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

 

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8555986

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า