Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๑๗๘๖. ชื่นชมบรรยากาศยามเช้าที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๗๘๖. ชื่นชมบรรยากาศยามเช้าที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๑๕ ก.พ. ๕๖  ผมมีกำหนดบรรยายเรื่อง “การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑” เวลา ๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต  และ ศ. ดร. สตีเฟน ยัง จากมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด และเป็น Global Executive Director ของ Caux Round Table ด้วย  ขอพบเพื่อปรึกษางาน  เรามีเวลาไม่ตรงกันจนต้องนัดกันที่ ม. กรุงเทพ รังสิต เวลา ๘.๐๐ น.

ผมไปถึงวิทยาเขตที่รังสิตเวลา ๗ น. ประทับใจในความกว้างขวาง และร่มรื่นสวยงามของสถานที่เป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะอาคารสมัยใหม่ที่อยู่ด้านหน้าติดถนน  ศ. สตีฟ ถึงกับเอ่ยว่า ไม่นึกว่าจะมีมหาวิทยาลัยเอกชนไทยที่ใหญ่โตกว้างขวางขนาดนี้

พื้นที่ดินของวิทยาเขตหน้าแคบแต่ลึกมาก  ผมถามยาม เขาบอกว่าลึกเข้าไปจดทางรถไฟ  และข้ามทางรถไฟลึกเข้าไปอีก  ท่านอธิการบดี ดร. มัทนา สานติวัตร บอกว่าที่ดินทั้งหมด ๕ ร้อยไร่  แต่ผมรู้สึกคล้ายใหญ่กว่าที่ดินของมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตศาลายา  แสดงว่า spatial sense ของผมแย่มาก  วิทยาเขตศาลายากว้างถึง ๑,๒๕๐ ไร่

ผมได้เรียนรู้ว่า ที่นี่เขาเริ่มงานสาย  ดังนั้นผมไปถึง ๗ น. บรรยากาศจึงเงียบสงัด  และตึกต่างๆ ปิดหมด  ผมชอบความเงียบอยู่แล้ว ยิ่งธรรมชาติและอาคารก่อสร้างสวยงาม ผมยิ่งชอบ  จึงได้เดินเที่ยวและถ่ายรูปอยู่ที่บริเวณนิเทศศาสตร์ คอมเพล็กซ์ ปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ ซึ่งเป็นคณะที่ใหญ่ที่สุดของมหาวิทยาลัย

จากการพูดคุยกับท่านอธิการบดีเป็นเวลาสั้นๆ ผมได้เรียนรู้ประวัติของ ม. กรุงเทพ ซึ่งอ่านได้ ที่นี่ แต่ที่ ดร. มัทนาเล่ามีความลึกมากกว่ามาก  โดยเฉพาะส่วนที่เป็นเป้าหมายการก่อตั้งสถานศึกษา ที่มีเป้าหมาย Internationalization มาตั้งแต่ต้น  คือสร้างคนไปทำงานในบริษัทฝรั่ง  คนที่จบไปจึงภาษาดี  พวกพ่อแม่คนจีนที่นิยมส่งลูกสาวไปเรียนวิชาเลขานุการ วิชายอดนิยมในสมัยนั้น ที่ปีนังหรือหรือประเทศตะวันตก  ก็หันมาส่งเข้าเรียนที่วิทยาลัยกรุงเทพ  วิชาเลขานุการ เป็นส่วนหนึ่งของสาขาบริหารธุรกิจ  ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๓ สาขาแรกที่เปิดสอน  อีก ๒ สาขาคือ บัญชี และการโรงแรม  คณะที่ ๔ คือนิเทศศาสตร์ ซึ่งเวลานี้เป็นคณะใหญ่ที่สุด


วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.พ. ๕๖



นิเทศศาสตร์ คอมเพล็กซ์ ปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์



ลานแสดงกลางนิเทศศาสตร์ คอมเพล็กซ์

ยามเช้าตรูมีหนุ่มน้อยมาซ้อมกีต้าร์อยู่คนเดียว



อีกสักครู่ก็มีเพื่อนมาสมทบอีก ๒ คน



รถรางเริ่มออกบริการ แต่ยังไม่มีคน



สถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตย์งดงาม



อีกมุมหนึ่ง



 
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๑๗๘๖. ชื่นชมบรรยากาศยามเช้าที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8607421

facebook

Twitter


บทความเก่า