Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > มีโรงเรียนไปทำไม : 4. โรงเรียนแบบใหม่

มีโรงเรียนไปทำไม : 4. โรงเรียนแบบใหม่

พิมพ์ PDF

ใน “โรงเรียนแบบใหม่” ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเกือบทุกสิ่ง นี่คือการเรียนรู้ยุคใหม่ ที่อาจเรียกว่า Learners-Directed Education - การศึกษาแบบที่ผู้เรียนเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับการศึกษาแบบเก่า ที่ครูและผู้บริหารระบบการศึกษาเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ นักเรียนเป็นเพียงผู้รอรับถ่ายทอดความรู้

 

มีโรงเรียนไปทำไม  : 4. โรงเรียนแบบใหม่

บันทึกชุด มีโรงเรียนไปทำไม รวม ๗ ตอนนี้ ตีความจากหนังสือ Why School? : How Education Must Change When Learning and Information Are Everywhere เขียนโดย Will Richardson บอกตรงๆ ว่า ระบบการศึกษาจะอยู่ในสภาพปัจจุบันไม่ได้  ต้องเปลี่ยนแปลงในทำนองเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ผู้เขียนเล่าเรื่องลูกชายอายุ ๑๓ ปีของตน ชื่อ ทักเก้อร์  ที่เรียนโดยใช้ ซอฟท์แวร์ Minecraft ในการเรียนรู้แบบ plaern (play and learn)  โดยเรียนที่บ้านในช่วงฝนตกและอากาศหนาว  ออกไปเล่นนอกบ้านไม่ได้  Minecraft เป็นซอฟท์แวร์ ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วน คล้าย Lego  เป็นเกมเพื่อการเรียนรู้แบบ constructivist, social และได้รับการรับรองจากเว็บไซต์ด้านการศึกษาหลายแห่งว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษ

ทักเก้อร์วางเป้าหมายว่าจะสร้างบ้านของตนที่ไหน บ้านมีลักษณะอย่างไร  ในท่ามกลางภูมิประเทศแบบไหน  อยู่ใกล้บ้านเพื่อนคนไหน  แต่เมื่อสร้างบ้านแล้วตกกลางคืน (ของโปรแกรม)  ก็จะมีตัวประหลาดออกมากินบ้านและสิ่งก่อสร้างทั้งหลาย  ผู้เขียนเล่าว่าในวันนั้นเอง ทักเก้อร์บ่นว่า “กลางคืนแล้ว ตัวประหลาดออกมาแล้ว  ผมยังไม่รู้วิธีจัดการมัน และยังไม่มีถ่านหินมาจุดไฟให้แสงสว่าง  พรุ่งนี้ผมต้องเริ่มสร้างบ้านใหม่”  แล้วผู้เขียนก็เห็นทักเก้อร์นั่งดูวิดีทัศน์วิธีเล่นเกมนี้  และในที่สุดก็ไปพบวิดีทัศน์ที่แนะนำวิธีเล่นเป็นขั้นตอน  ผู้เขียนเห็นทักเก้อร์เอากระดาษมาจดขั้นตอนต่างๆ  แล้วต่อมาก็เห็นทักเก้อร์ใช้คอมพิวเตอร์ของพ่อทำ วิดีโอคอนเฟอเร้นศ์ กับเพื่อนผู้ชาย ๒ คนที่เคยเล่นเกมนี้มาก่อนแล้ว และเด็กผู้หญิงอีกคนหนึ่ง  ผู้เขียนเห็นทักเก้อร์ทำงานนี้อย่างมุ่งมั่น ใจจดใจจ่อ

ภายในวันนั้นเอง ทักเก้อร์ ก็มาชวนพ่อแม่ไปเยี่ยมบ้านของเขา  พาไปชมห้องต่างๆ ในบ้าน  ซึ่งมีห้องนอน เครื่องเรือน เตาผิง และสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ  บ้านของเขาอยู่บนเนิน  นั่นบ้านของเพื่อนชื่อ เจ๊ค อยู่บนอีกเนินหนึ่งตรงกันข้ามอีกฟากหนึ่งของอ่าว  และยังมีปราสาทหลังหนึ่งอยู่บนเนิน  ทั้งพ่อและแม่ตกใจที่ลูกเรียนได้รวดเร็วถึงปานนั้น  และซักกันใหญ่ ว่าลูกเรียนอย่างไร

นี่คือการเรียนรู้ที่แท้จริง โดยไม่ต้องมีโรงเรียน  เรียนที่บ้าน ผ่านอินเทอร์เน็ต  ค้นหาความรู้เอาเองจาก อินเทอร์เน็ต  เอามาทดลองใช้  หากใช้ไม่ได้ผลก็หาใหม่ ลองใหม่  หาครูเอาเองจากอินเทอร์เน็ต  ร้องขอความช่วยเหลือไม่นานก็จะมีคนใจดีเข้ามาแนะนำ   หรืออาจจะกล่าวว่า นี่คือโรงเรียนแบบใหม่ ก็ได้

ทักเก้อร์ กำหนดเป้าหมายการเรียน หรือ “หลักสูตร” ของตนเอง  และปรับหลักสูตรของตนอยู่เสมอตามสิ่งที่ตนเรียนรู้แล้ว และสิ่งที่ตนอยากรู้ต่อไป  เขารวบรวม “ตำรา” ของเขาเอง เน้นจาก YouTube  เขาเสาะหาครูเอง จากเพื่อนๆ และจากคนที่ใช้ software นี้ทั่วโลก  เขาประเมินผลงานของตนเอง  ถ้ายังไม่ดีก็ยกเลิกแล้วทำใหม่  และอาจต่อเติมตกแต่งแก้ไข เมื่อเกิดแนวความคิดใหม่  และช่วยให้ความเห็นหรือ feedback แก่ “เพื่อนๆ” ในแวดวง อย่างสม่ำเสมอ

จะเห็นว่า ใน “โรงเรียนแบบใหม่” ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเกือบทุกสิ่ง  นี่คือการเรียนรู้ยุคใหม่ ที่อาจเรียกว่า Learners-Directed Education - การศึกษาแบบที่ผู้เรียนเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้  ซึ่งตรงกันข้ามกับการศึกษาแบบเก่า ที่ครูและผู้บริหารระบบการศึกษาเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้  นักเรียนเป็นเพียงผู้รอรับถ่ายทอดความรู้

สิ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ระหว่างโรงเรียนแบบใหม่ กับโรงเรียนแบบเก่า  คือความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ของเด็กหรือผู้เรียน  เพราะในโรงเรียนแบบใหม่ สิ่งที่เรียน (หลักสูตร) กำหนดโดยผู้เรียนเอง  และผู้เรียนเป็นเจ้าของและผู้อำนวยการ “หลักสูตร” นั้น

ในโรงเรียนแบบใหม่ การเรียนรู้ไม่ใช่การบริโภคความรู้หรือสารสนเทศ  เหมือนอย่างสมัยก่อนที่ความรู้หายาก  แต่ป็นการตั้งคำถาม /กำหนดเป้าหมายของการสร้างสรรค์ แล้วดำเนินการ หรือลงมือทำ ร่วมกับผู้อื่น  เป็นการทำงานจริง ในสภาพจริง  และแสดงบทบาทสร้างความรู้เพิ่มให้แก่โลก  ไม่ใช่บริโภคความรู้ของโลก  เป็นการสร้างนิสัยและทักษะของผู้รียนรู้ตลอดชีวิต  ในท่ามกลางโลกที่เชื่อมต่อและสารสนเทศมากล้น  จุดเน้นเปลี่ยนจากการจำเนื้อหา (content mastery) มาสู่การมีทักษะหรือความสามารถในการเรียนรู้ (learning mastery)  นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง  นักเรียนใช้ความสามารถในการเข้าถึงสาระวิชาและครู ในการทำงานสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ตามที่ตนปรารถนา

โรงเรียนและห้องเรียนแบบใหม่ กลายเป็น node ของ learning network ขนาดมหึมาในโลก  เลยจากห้องสี่เหลี่ยมหรือรั้วโรงเรียน  การเรียนรู้คือการทำงาน  เน้นการทำงานร่วมกับคนอื่น ไม่ใช่ทำคนเดียว

การสอบ ไม่เน้นสอบความรู้  แต่เน้นสอบสิ่งที่นักเรียนทำโดยการประยุกต์ใช้ความรู้  หรือสอบทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้

โรงเรียนแนวใหม่ เป็นการเรียนทำงาน หรือฝึกเพื่อชีวิตจริง  ไม่ใช่ที่เรียนวิชา เพื่อให้ได้เกรดสูง และได้หน่วยกิต เพื่อได้ประกาศนียบัตร และเพื่อการแข่งขันว่าข้าเก่ง เป็นที่ยอมรับของคนอื่น อย่างในโรงเรียนแบบเก่า

โรงเรียนแบบใหม่ มีข้อท้าทายตรงที่ประเมินแบบ quantitative ยากกว่าโรงเรียนแบบเก่า  เราจะวัดความริเริ่มสร้างสรรค์ ความอดทนทำงานต่อเนื่อง  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ทักษะความร่วมมือ  โดยการทดสอบแบบเก่าไม่ได้  เราต้องมีวิธีทดสอบแบบใหม่  ที่ให้คะแนนผลงานจริงๆ  จากการประเมินที่ทำต่อเนื่อง และเป็นการประเมินแบบ qualitative   เราต้องไม่พยายามประเมินเฉพาะส่วนที่วัดได้ และละเลยส่วนที่วัดไม่ได้ แต่สำคัญกว่า

ในโรงเรียนแนวใหม่ ความรู้เชิงเนื้อหา และความสามารถพื้นฐานมีความสำคัญ  เพื่อการสื่อสาร ทำงาน และแสดงเหตุผล นักเรียนต้องอ่านออกเขียนได้พูดเป็น  รวมทั้งต้องมีพื้นฐานแน่นด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ  แต่นักเรียนต้องไม่ใช่แค่รู้วิชาเหล่านี้  ต้องสามารถเอาความรู้เหล่านี้ไปต่อความรู้อื่น และประยุกต์ใช้ประโยชน์เป็น

วิจารณ์ พานิช

๑๒ เม.ย. ๕๖

 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532978

 
Home > Articles > การศึกษา > มีโรงเรียนไปทำไม : 4. โรงเรียนแบบใหม่

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8607014

facebook

Twitter


บทความเก่า