Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > เศรษฐกิจ > พลังประชาชน

พลังประชาชน

พิมพ์ PDF

ผมได้อ่านบทความของคุณเปลว สีเงิน เห็นว่าเป็นบทความที่น่าสนใจจึงนำมาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน ขอให้อ่านอย่างมีสติ ทำความเข้าใจและหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสร้างปัญญาให้กับตัวเรา ส่วนเรื่องการเมื่อก็ให้ติดตามอย่างใกล้ชิดอย่างมีสติ ประชาชนทุกคนต้องสนใจและเอาใจใส่เรื่องการเมื่อง คิดและกระทำอย่างสร้างสรรค์ พลังประชาชนมีอำนาจเหนือนักการเมื่อง แต่ต้องใช้อย่างมีสติและเพื่อสร้างสรรค์เท่านั้น ถ้าใช้พลังประชาชนในทางที่ผิดเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อเอาชนะกัน ประเทศชาติก็จะเสียหาย
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
ปล. ปรากฎการณ์สามานย์ธิปไตยกินรวบชาติ

แบงก์ชาติในภาวะคอรัปชั่นล่มชาติ

ยิ่งลักษณ์ "ขาขึ้น" มานาน แต่ตอนนี้ส่ออาการ "ขาลง" ยังไงชอบกล เกิดเพราะแดงสาดเลือดที่ทำเนียบฯ หรือต้องมาตายเพราะแดงเลือดสาดที่ทำเนียบฯ เฮ้อ...ก็ได้แต่เอาใจช่วยอยู่ลึกๆ ช่วงนี้ พยายามซ่อนลิ้นไว้ในปากได้จะเป็นศรีกับตัว แต่บอกจะไปโชว์ "ยิ่งลักษณ์ สปีช" ในงานประชุมเรื่องน้ำที่เชียงใหม่วัน-สองวันนี้ ไม่เข็ด...ก็อย่าไปยก "อุทาหรณ์" ประชาธิปไตยมองโกเลียอีกก็แล้วกัน!
พูดถึงสปีชที่มองโกเลีย ทำเอาผมเหงาไปหลายวัน เพราะนายกฯ ขวัญใจผมหายจ้อยไปจากจอเลย เพิ่งเมื่อวาน (๑๔ พ.ค.๕๖) โผล่มาจ้อออกจอด้วยเรื่องนั้น-เรื่องนี้อีกแล้ว 
คงติดใจที่สั่งให้รัฐมนตรีคลัง "นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง" เชิญผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ สภาอุตสาหกรรม พาณิชย์ และคณะกรรมการนโยบายการเงิน ที่รู้จักกันดีในนาม กนง.มาคุยกัน เป็นทั้งการจูนคลื่น เป็นทั้งการบีบเรื่องบาทอ่อน-บาทแข็ง ที่รัฐบาลมีวิสัยทัศน์แค่ว่า 
ลดดอกเบี้ยนโยบายเมื่อไหร่ ก็จะหายแข็งเมื่อนั้น!?
แหม...ก็แม่เป็นรัฐบาลไม่ถึง ๒ ปี เล่นกู้ซะขนาดนั้น ตั้งแต่มีประเทศมาก็เพิ่งนี่แหละ กู้แบบขายบ้าน-ขายเมือง ขืนสกัดกั้นทางเดินเงินไหลเข้า แล้วเงินที่ไหนจะไหลมาให้รัฐบาลแม่คุณผลาญทันล่ะ?
จะมาโบ้ยให้ใช้มาตรการทางการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยให้ยุ่งยากทำไม...พ่อขุนคลังกิตติรัตน์ ก็ใช้มาตรการทางการคลัง ลดดอกเบี้ยพันธบัตรเงินกู้ของกระทรวงซะเองไปเลย ง่ายๆ แบบนั้นทำไมไม่ทำ? 
ทำเมื่อไหร่ เงินนอกจากยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น ที่ไหลมาหากินดอกเบี้ยก็จะลดน้อยไปเมื่อนั้น ไม่มีใครกระเทือนมาก นอกจาก ๓.๕ แสนล้าน และอีก ๒.๒ ล้านล้าน ไม่มีใครเอาเงินมาให้รัฐบาลกู้ เพราะดอกถูก แต่ถ้าลดดอกเบี้ยนโยบาย "แบงก์พาณิชย์รวย-คนฝากเงินกินดอกซวย" มันก็เท่านั้น
ก็รู้ทั้งรู้ กินอยู่กับปาก-อยากอยู่กับกู้ เจตนาสร้างข่าวให้แบงก์ชาติเป็นหมู "หวังเชือดทิ้ง" ละซี้?
แต่อะไรก็ช่าง ดูท่านายกฯ ติดใจวิธีนี้ซะแล้ว บอกให้กิตติรัตน์....เอาอีก Two Times คราวนี้ให้เชิญหน่วยงานอื่นๆ มาด้วย คือนอกจากแบงก์ชาติ กนง. สภาอุตฯ หอการค้า พาณิชย์แล้ว ให้เชิญกระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม มาร่วมถกเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวม
ทำไป-ทำมา ทั้งแบงก์ชาติ และทั้ง กนง.จะกลายเป็นหน่วยงาน "ลูกมือ-ลูกตีน" รัฐบาล ต้องทำงานภายใต้คำสั่งรัฐบาลโดยตรงไปแล้วก็ไม่รู้ ถ้าจะเอาแบบนี้ ก็สั่งให้แบงก์ชาติ กนง.เข้าประชุม ครม.ไปด้วยทุกนัดก็หมดเรื่อง?
อ่าน "ต่วย'ตูน" ว่าฮาแล้ว แต่ดูต่วย'ต่วย... ฮากว่า!
ก็ทะแม่งๆ เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน ที่ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ และ กนง.ผู้รับผิดชอบด้านกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน จะถูกฝ่ายการเมือง คือนายกฯ สั่งให้มาประชุมกับรัฐมนตรีคลัง ในเป้าหมาย....
"ต้องไปลดดอกเบี้ยลงมา เพื่อให้บาทอ่อน พวกพ่อค้าส่งออกจะได้ไม่โวย!"
ประชุมกันไปครั้งก็ติดใจ แต่ต่อจากนี้ ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ และคณะกรรมการนโยบายการเงิน จะยอมเอาอีกด้วยหรือไม่ ผมก็ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆ นายกฯ ของผม "ต้องการ"
เรื่องอย่างนี้ "พูดยาก" นะ ถ้าจะยกบทบาท-หน้าที่ของแต่ละฝ่ายมาขึงตึง กรณีนี้ดูน่าเกลียด ที่แบงก์ชาติและ กนง.คล้ายตกเป็นเครื่องมือ "อำนาจรัฐบาล" สั่งให้หันซ้าย-หันขวา เป็นบทบาทที่เปราะบางต่อทัศนคติคนทั่วไปในด้าน "ความน่าเชื่อถือ"
แต่ถ้ามองด้วยใจกว้างๆ ไม่หยิกหย็อย-หยุมหยิม "เพื่อประโยชน์ร่วมกัน" มันก็เป็นที่เข้าใจได้ ถืองานรวมเป็นใหญ่ การมานั่งปรึกษาหารือกัน หลายหัว หลายมุมมอง หลายปัญหา หลายตำรา และหลายประสบการณ์ "เถียงเพื่อชาติ" กัน
เมื่อ "หลายปัญญา" ช่วยกันขยำปัญหา มันก็อาจเกิดประโยชน์มากกว่าคิดหยุมหยิมตรงนั้น-ตรงนี้ ขอให้แต่ละท่าน ซึ่งตามตำแหน่งแล้ว ควรต้องเป็นวิญญูชนของชาติ....ก็ควรเป็นเช่นนั้นจริงๆ
อย่างนั้น "ฉัน-เสีย..แก-ได้" ก็จะไม่มี มีแต่ "ประเทศของเรา..ความแข็งแกร่งของพวกเรา"!
แต่ข้อสำคัญ คนเป็นผู้นำคือนายกฯ ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ในสถานะอิสระของผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ และคณะกรรมการนโยบายการเงิน 
ไม่ใช่สั่งแล้วเขาก็มา ก็เลยได้ใจ นึกว่าคนในตำแหน่งผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ และในตำแหน่ง กนง.ก็เหมือนพวกไพร่รายรอบขอบกระโปรง และพวกคลานไปยกไข่แม้วทั้งหลาย
ได้ใจ...นึกว่าได้แบงก์ชาติ-กนง.เป็นเมืองขึ้นแล้ว ทั้งโต้ง ทั้งปู เลยเอากันใหญ่ ชี้นิ้วสั่งดอกขึ้น-ดอกลงตามใจชอบ ประเทศไทยกลายเป็นบริหารด้วย "รัฐบาลลอยดอก"
ทีนี้ละ เป็นได้ดอกกันไปทั้งประเทศ!
ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ท่านไปพูดในวงสัมมนาที่มาเลเซีย เมื่อปี ๒๕๐๗ ในเรื่อง "บทบาทของธนาคารกลางในโลกแห่งความตึงเครียด" เป็นภาษาอังกฤษ คุณชูศรี มณีพฤกษ์ แปลเอาไว้และผมเคยอ่าน ตอนหนึ่งท่านพูดว่า....
.........ในโลกสมัยใหม่ ธนาคารกลางเป็นสถาบันซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของ ได้รับมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการออกธนบัตร ทำหน้าที่เหมือนธนาคารของรัฐบาลและของธนาคารพาณิชย์ด้วย ธนาคารกลางสามารถสร้างและควบคุมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นเงินรูปหนึ่งได้
ธนาคารแห่งแรกคือ ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ตั้งขึ้นในรูปบริษัทเอกชนโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหาเงินมาใช้จ่ายในการทำสงครามกับฝรั่งเศส ต่อมาธนาคารแห่งประเทศอังกฤษและธนาคารกลางอื่นๆ ได้แยกตัวเองออกจากการเมือง
ที่ถูกแล้ว ผู้ว่าการธนาคารกลางจะต้องเป็นอิสระ และจะต้องแสดงออกให้เห็นว่าเขาเป็นอิสระจากรัฐบาล เขาดูแลนโยบายการเงิน ให้คำแนะนำ หลอกล่อด้วยคำหวาน และในบางคราวก็อาจจะถึงกับข่มขู่ (อย่างมีชั้นเชิง) รัฐบาล เพื่อชักนำให้นโยบายการหาเงินและนโยบายการคลังเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง
และหากมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงในหลักการของนโยบายกับรัฐบาล ผู้ว่าการฯ ก็พร้อมที่จะยื่นใบลาออก ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการประท้วงอย่างรุนแรงต่อนโยบายของรัฐบาล 
ข้าพเจ้าหวังว่าท่านคงจะเห็นด้วยกับข้าพเจ้าว่า ในภาวะที่ปราศจากความจำเป็นที่จะต้องหาเงินมาใช้จ่ายในการทำสงคราม และการได้รับมอบความรับผิดชอบ พร้อมกับเครื่องมือที่มีอำนาจที่จะทำตามความรับผิดชอบ ธนาคารกลางจะมีบทบาทมากต่อที่มาของความสงบและความรุ่งเรืองของประเทศ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางจะต้องใช้หลักการอย่างกล้าหาญ และมีจินตนาการ....ฯลฯ.....
อีกตอนหนึ่ง อดีตผู้ว่าฯ แบงก์ชาติผู้มีคุณูปการแก่ชาติกล่าวว่า....
.....อย่างไรก็ตาม หลักการก็เช่นเดียวกับชาตินิยม หรือความรักชาติ ยังไม่เป็นการเพียงพอ ข้าพเจ้าขอแนะว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางในประเทศกำลังพัฒนาจะต้องมีจินตนาการและความกล้าหาญมากกว่าที่เขาเคยได้รับการยกย่องมาก่อน 
และข้าพเจ้าขอบอกไว้ก่อนว่า มันเป็นงานที่ไม่ง่ายนัก มันเป็นงานที่ต้องอาศัยความเอาใจใส่ ความตื่นตัวและการฉวยโอกาส....ฯลฯ....
ครับ...เมื่ออ่านแล้วทำให้เข้าใจ สมบัติของคนเป็นผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ไม่ใช่หอคอยงาช้าง หากแต่เป็น "จินตนาการและความกล้าหาญ" ในการบริหารหลักการ และจากในเรื่อง "ศาสตร์และศิลป์แห่งการเป็นผู้ว่าการธนาคารกลาง" ดร.ป๋วยท่านยังกล่าวไว้อีกว่า
"....ตำแหน่งของผู้ว่าการธนาคารชาตินี้ ในทำเนียบราชการไทยเป็นตำแหน่งที่ต่ำกว่ารัฐมนตรี และเราจำเป็นที่จะต้องติดต่อกับรัฐมนตรีอยู่ เฉพาะอย่างยิ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้กำกับการงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่เฉพาะแต่ผู้ว่าการเท่านั้น ผู้ใหญ่คนอื่นในธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
เพราะฉะนั้น การติดต่อกับรัฐมนตรี เพื่อที่จะเกลี้ยกล่อมรัฐมนตรีให้ดำเนินนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งที่ธนาคารเห็นสมควร ก็ย่อมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้านโยบายต่างๆ ไม่ประสานกัน การดำเนินราชการแผ่นดินก็จะเป็นไปราบรื่นมิได้............
ถ้าเราไม่สามารถที่จะเกลี้ยกล่อมท่านได้ หน้าที่ของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะด้อยลงไป ความรับผิดชอบและประโยชน์ที่เราจะทำให้ก็จะเสียหายไปเช่นเดียวกัน 
เพราะฉะนั้น ในการที่จะติดต่อกับรัฐบาล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้มีความเชื่อถือ ให้รัฐบาลหรือบุคคลในรัฐบาลเชื่อถือว่าเราไม่ได้เห็นประโยชน์ของส่วนตัว ไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์ของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่เห็นแก่ประโยชน์ของแผ่นดิน....ฯลฯ...
ครับ...เห็นพอกล้อมแกล้มเข้าสถานการณ์ได้ ก็เลยยกสิ่งที่ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล "ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ" คนปัจจุบันมีอยู่-ทำอยู่ครบถ้วน มาให้ได้อ่าน...ก่อนพายุคอรัปชั่นจะพังชาติ

เปลว สีเงิน

 
Home > Articles > เศรษฐกิจ > พลังประชาชน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8560482

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า