Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > ท่องเที่ยว > วิ่งออกกำลังกาย

วิ่งออกกำลังกาย

พิมพ์ PDF

คืนวันที่ ๒๔ มี.ค. ๕๖ ผมนอนค้างคืนที่ห้องพักรับรอง บี ๒๐๑  อาคารประสานใจ ๑  ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  โดยการร้องขอ  ไม่ไปนอนโรงแรมตามที่ท่านรองอธิการบดี รศ. ดร. จุฑามาศ ศตสุข เตรียมจัดให้  เพราะต้องการไปวิ่งออกกำลังกายตอนเช้าเพื่อรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ สมัยทำงานที่ มอ. หาดใหญ่  ที่ผมเริ่มวิ่งออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกเช้ามืด ตั้งแต่อายุ ๔๐ ปี

เช้าวันที่ ๒๕ ผมตื่นโดยเสียงปลุกของนกกางเขนบ้าน  มาร้องเจื้อยแจ้วอยู่ข้างห้องนอน  เป็นบรรยากาศที่สดชื่นด้วยธรรมชาติที่ผมชอบ  ไปนอนโรงแรมในเมืองไม่มีธรรมชาติน่าชื่นชมเช่นนี้

ระหว่างนั่งพิมพ์บันทึกนี้ ก็ได้ยินเสียงนกปรอดหน้าขาวร้องโต้ตอบกัน สลับกับเสียงนกกางเขนบ้าน  และนกเขาเล็ก   ให้ความสดชื่นยิ่งนัก

เวลา ๖.๐๐ น. ฟ้าสาง ผมออกไปวิ่ง ไปทางถนนรอบอ่างน้ำ  และเข้าไปในหมู่บ้านเก่า ไปดูบ้าน ๓/๓ และ ๓/๔ ที่ผมเคยอยู่  พบว่าบ้านพักรุ่นแรกที่เป็นบ้านพักชั้นเดียวทรุดโทรมมาก  บางหลังถูกทิ้งร้าง บางหลังกำลังซ่อมแซมใหญ่

บ้านพักกลุ่ม ๓/ ถือเป็นบ้านที่ดีที่สุด มีอยู่ ๑๐ หลัง  สมัยที่ผมไปอยู่ใหม่ๆ ปี ๒๕๑๗ เขาหวงมาก  เรียกว่าบ้านพักศาสตราจารย์  แต่เขาก็จัดสรรให้ผมซึ่งตอนนั้นเป็นแค่ ผศ. และอายุแค่ ๓๒ เข้าพักที่บ้าน ๓/๓ ซึ่งทำเลที่ที่สุดหลังหนึ่ง  เพราะด้านหนึ่งติดป่า อีกด้านหนึ่งติดกับบ้าน ๓/๔ ซึ่งสมัยนั้น ศ. ดร. ประดิษฐ์ เชยจิตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พักอยู่  และต่อมา ผศ. นพ. ไสว ลิมปิเสฐียร กับพี่พิมล มาพักอยู่นานหลายปี แล้วย้ายออกไป  เพราะท่านย้ายกลับไปอยู่กระทรวงสาธารณสุข และได้ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ไหนจำไม่ได้  จำได้ว่า ตำแหน่งสุดท้ายคือ ผอ. รพศ. ราชบุรี  เมื่อท่านย้ายออกไป เขาก็ปรับปรุงบ้าน ๓/๔ แล้วให้ผมย้ายไปอยู่ เพื่อปรับปรุงบ้าน ๓/๓ ซึ่งโดนปลวกกินอย่างรุนแรง  ในช่วงเวลา ๒๐ ปี ที่ครอบครัวผมทำงานที่ มอ. หาดใหญ่ เราจึงพักอยู่ที่บ้าน ๒ หลังนี้

ทั้งบ้าน ๓/๓ และ ๓/๔ ยังอยู่ดี  แต่บ้าน ๓/๖ กำลังซ่อมใหญ่  บ้านหลังนี้สมัยโน้น ศ. นพ. อาทร์ อาทรธุระสุข พักอยู่  ท่านเป็นหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โทปิดิกส์  ท่านเป็นโสด และจบแพทย์ศิริราชก่อนผม ๑๒ รุ่น   ท่านเป็นคนหนึ่งที่วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำ  บางวันออกวิ่งดึกๆ ก็มี  สมัยนั้นผมเห็นเป็นของแปลก  แต่มารู้ตอนนี้ว่าท่านทันสมัยมาก ท่านรู้ว่าการวิ่งออกกำลังแบบ แอโรบิก ทำให้ร่างกายแข็งแรง  ท่านเพิ่งเสียชีวิตเมื่อไม่กี่เดือนมานี้

บ้าน ๓/๕ สมัยโน้นผู้พักอาศัยคือ รศ. นพ. จงดี - ศ. พญ. วิมล สุขถมยา และลูกสาว ๒ คน  อ. หมอจงดีเป็นหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา และเคยเป็นรองคณบดี  ท่านจบแพทย์จากศิริราชก่อนผม ๖ รุ่น  ในปลายปี ๒๕๒๔ เมื่อตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์ว่าง ท่านไม่ยอมเป็นคณบดี  ผมจึงได้รับตำแหน่ง  สมัยโน้นคณะเพิ่งตั้งใหม่ๆ และคณบดีไม่ได้มาอยู่ประจำอย่างสมัยนี้  คนที่มาอยู่ประจำเป็นมือรองๆ จึงมีเรื่องระหองระแหงกันมาก  ผมเป็นคนรุ่นอายุน้อย แต่รับผิดชอบเท่าคนอื่น  คงจะมีคนหมั่นไส้ไม่น้อย  ต่อมา อ. หมอจงดี และวิมลย้ายกับไปอยู่เชียงใหม่อย่างเดิม  ท่านวางแผนซื้อไม้อย่างดีไว้สร้างบ้านที่เชียงใหม่

บ้าน ๓/๗ ผศ. นพ. ดิลก - ผศ. พญ. นพรัตน์ (ตู้จินดา) เปรมัษเฐียร กับลูกสาว (ผศ. พญ. นลินี เปรมัษเฐียร เป็นอาจารย์ที่ศิริราช) และลูกชาย นล เปรมัษเฐียร พักอยู่   ทั้ง ๒ ท่านย้ายมาจากคณะแพทยศาสตร์ มช.  พี่ดิลกเป็นอีกคนหนึ่งที่วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำ   และชอบขี่รถมอเตอร์ไซคล์  ท่านเป็นหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์  และต่อมาย้ายไปทำงาน รพ. เอกชนที่กรุงเทพ

ผมระลึกชาติกลับไปเกือบ ๔๐ ปี  หวนกลับมาตอนนี้ สภาพลำธารที่หน้าฝนมีน้ำไหลมาจากเขาคอหงษ์ มาลงอ่างเก็บน้ำ ยังอยู่ในสภาพเดิม  เวลานี้เป็นหน้าแล้งอ่างเก็บน้ำ และลำธารแห้งขอดเหมือนสมัยก่อน  ผมวิ่งวนหมู่บ้านเก่า ๑ รอบ  พบคนรู้จัก ๒ คน  แล้ววนมาที่ถนนรอบอ่างน้ำทางทิศตะวันออก  ไปพบบริเวณอนุรักษ์ป่าอยู่บริเวณทิศตะวันออกของอ่างน้ำ  ผมชอบมากที่มีการอนุรักษ์พื้นที่ตรงนั้นไว้  วิ่งไปหน้าหมู่บ้านพักแพทย์ ซึ่งถือว่าเพิ่งสร้างใหม่ ประมาณปี ๒๕๒๓  แต่ไม่ได้วิ่งเข้าไปในหมู่บ้าน  วิ่งออกลู่วิ่งรอบอ่างน้ำด้านทิศใต้  มีคนจากหาดใหญ่มาทัก ว่าผมแก่ขนาดนี้แล้วยังวิ่งได้  และถามว่าทำไมไม่เห็นนานแล้ว

ผมวิ่งไปหยุดถ่ายรูปไป  รวมแล้วใช้เวลา ๑ ชั่วโมง เหงื่อโชกทีเดียว  ไม่ได้วิ่งจนเหงื่อโชกเช่นนี้นานแล้ว  ทำให้คิดถึงสมัยอยู่หาดใหญ่ ผมวิ่ง ๔๐ นาที ด้วยความเร็วมากกว่าที่วิ่งสมัยนี้  วิ่งเสร็จเหงื่อโทรมตัว และรู้สึกตัวตึงๆ ตลอดวัน

ตอนวิ่งผ่านด้านหลังคณะวิทยาศาสตร์  และตอนไปวิ่งในหมู่บ้านเก่า ผมได้กลิ่นดอกไม้หอม  สดชื่นยิ่งนัก  ตอนเช้ามืดที่ มอ. หาดใหญ่มีคนมาเดิน/วิ่ง มากกว่าสมัยผมอยู่หลายเท่าตัว  ทั้งคนแก่และหนุ่มสาว  สมัยผมอยู่ที่นี่คนวิ่ง/เดิน ตอนเช้ามีน้อย  แต่ตอนเย็นก็มีความมากพอๆ กับตอนเช้าที่ผมเห็นวันนี้  สมัยโน้นลู่วิ่งไม่ดีอย่างสมัยนี้  ตอนนี้มีลู่วิ่งอย่างดีรอบอ่าง  แยกจากถนนสำหรับรถ   สภาพทั้งหมดนี้ บอกผมว่า สังคมที่นี่ผู้คนสนใจออกกำลังกายมากกว่าสมัยก่อน  น่าดีใจ  เพราะเป็นวิธีสร้างเสริมสุขภาพที่ง่ายและได้ผลดีที่สุด  หากทำจนเป็นนิสัย ก็จะมีคุณต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง


วิจารณ์ พานิช

๒๕ มี.ค. ๕๖

ห้องพักรับรอง บี ๒๐๑  อาคารประสานใจ  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์





บริเวณอ่างน้ำ

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/536863

 
Home > Articles > ท่องเที่ยว > วิ่งออกกำลังกาย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8610691

facebook

Twitter


บทความเก่า